ความเป็นไปได้ในการผลิตงาโดยใช้เมล็ดพันธุ์ชั่วรุ่นที่ 2 และ 3

ที่เก็บต่อจากเมล็ดพันธุ์งาลูกผสมชั่วรุ่นที่ 1

Possibility of Sesame Production Using F2 and F3 Seeds

Derived from F1 Hybrid Seeds.

ศุภลักษณ์  แพงไธสงค์ 1    ประสิทธิ์  ใจศิล1    จิรวัฒน์ สนิทชน1

Supaluk Pangtaisong    Prasit Jaisil    Jirawat Sanitchon

บทคัดย่อ

การปรับปรุงพันธุ์งาลูกผสมเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจในการเพิ่มผลผลิตงา เนื่องจากงาลูกผสมมีความดีเด่นเหนือพ่อแม่ แต่ต้นทุนการผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมยังสูงมาก ดังนั้นถ้าหากสามารถใช้เมล็ดในชั่วรุ่นที่ 2 และ 3  เป็นเมล็ดพันธุ์เพื่อผลิตงาต่อได้ ก็จะช่วยลดต้นทุนในส่วนของค่าเมล็ดพันธุ์ได้มาก การทดลองครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตงาโดยใช้เมล็ดพันธุ์ชั่วรุ่นที่ 2 และ 3 ที่เก็บต่อจากเมล็ดพันธุ์งาลูกผสมชั่วรุ่นที่ 1 ดำเนินการทดลองที่หมวดพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยผลิตเมล็ดพันธุ์งาลูกผสมชั่วรุ่นที่ 1 ในปี 2546 และปีต่อมาได้ผลิตเมล็ดพันธุ์งาชั่วรุ่นที่ 2 และ 3 จากนั้นในปี 2548 เปรียบเทียบผลผลิตและลักษณะทางการเกษตรของงาลูกผสมชั่วรุ่นที่ 1 2 และ 3 กับงาพันธุ์แท้ โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ ใช้ระยะปลูก 50x10 เซนติเมตร ขนาดแปลงย่อยละ 6 แถว ยาวแถวละ 5 เมตร ผลการศึกษาพบว่าคู่ผสมระหว่าง UB1xMR13 ซึ่งมีเมล็ดสีน้ำตาล สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ในชั่วรุ่นที่ 2 และ 3 ไปปลูกต่อได้ เนื่องจากให้ผลผลิตเทียบเท่ากับการใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมชั่วรุ่นที่ 1 ของคู่ผสมระหว่าง KKU1xMR13 ซึ่งเป็นคู่ผสมที่ดีที่สุด อีกทั้งยังไม่มีความแปรปรวนในเรื่องของสีเมล็ดอีกด้วย

ABSTRACT

Using hybrid variety is an alternative to increase crop yield, because some hybrid varieties will show high heterosis and will only appear in F1 generation. However, the production cost of hybrid seeds is very high. Possibility of sesame production using F2 and F3 seeds will be help to reduce cost of seeds. The objective of this experiment was to study possibility of sesame production using F2 and F3 seeds derived from F1 hybrid seeds. The trial was conducted at Experimental Farm, Department of Agronomy, Faculty of Agriculture, Khon Kaen University. Production of F1, F2 and F3 hybrid seeds was done in 2003–2004 and yield comparison between F1, F2, F3 populations and pure line varieties was studied in 2005. The experiment was laid out in RCB with 4 replications, 6 rows plot, 5 m long and 50x10 cm of row x plant spacing. The results revealed that F2 and F3 seeds derived from F1 hybrid seeds of UB1xMR13 can be used for sesame production since they gave the yield equal to KKU1 x MR13, the best F1 hybrid variety and there was no variation in seed color in F2 and F3 populations.

 

 

1 ภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002

  Department of Agronomy, Faculty of Agriculture, Khon Kaen University, Khon Kaen 40002

บทนำ

งา (Sesamum indicum L.) เป็นพืชไร่ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย และมีแนวโน้มสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะงาเป็นพืชที่มีศักยภาพในการผลิตและการตลาดสูง สามารถเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร เมล็ดงาและน้ำมันงามีคุณค่าทางด้านโภชนาการสูง ในเมล็ดจะมีน้ำมันประมาณร้อยละ 47-60 (Thomas, 2005) มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงประมาณร้อยละ 86 คือ กรดโอเลอิค ร้อยละ 47 และกรดลิโนเลอิค ร้อยละ 39 ซึ่งมีคุณสมบัติในการช่วยรักษาระดับโคเลสเตอรอลในร่างกาย (สมใจ และคณะ, 2539)     นอกจากนี้เมล็ดงายังมีสาร lignan ที่เป็นสารประกอบเชิงซ้อนในกลุ่ม phenyl ได้แก่ sesamin และ sesamolin     ซึ่งเป็นสาร antioxidants มีบทบาทสำคัญในการเป็นสารกันหืนธรรมชาติ (natural antioxidant) (Suh et al., 2003) ปัจจุบันงาเป็นพืชที่ตลาดทั้งภายในและต่างประเทศมีความต้องการสูง ตลาดโลกมีความต้องการใช้เมล็ดงาปีละ 400,000-500,000 ตัน และน้ำมันงาปีละ 800,000 ตันเมล็ด ในขณะที่ปีเพาะปลูก 2545/2546  ประเทศไทยมีผลผลิตรวมเพียง 39,532 ตัน (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2548) ซึ่งสามารถส่งออกในรูปของเมล็ดงาประมาณร้อยละ 65  ส่วนที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 35 ใช้ภายในประเทศในรูปของน้ำมันร้อยละ 20 และในรูปเมล็ดร้อยละ 80 การผลิตงาของประเทศไทยจึงยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศซึ่งมีความต้องการเพิ่มขึ้นทุกปี พื้นที่เพาะปลูกของไทย ในแต่ละปีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากผลตอบแทนที่ได้จากการปลูกงาต่ำ จึงไม่เกิดแรงจูงใจให้เกษตรกรปลูกงา เพราะงาที่ใช้อยู่ในปัจจุบันให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ต่ำ ดังนั้นจึงควรหาแนวทางเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น ซึ่งอาจทำได้โดยการปรับปรุงวิธีเขตกรรมให้เหมาะสม แต่วิธีนี้ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและเพิ่มต้นทุนในการผลิต ในขณะที่สามารถเพิ่มผลผลิตได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น การปรับปรุงพันธุ์ให้มีความสามารถในการให้ผลผลิตสูงจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้นได้

พัชนี และคณะ (2546) ได้ผลิตเมล็ดพันธุ์งาลูกผสม (F1 hybrid) เพื่อการค้า และได้พิสูจน์แล้วว่ามีความเป็นไปได้ในการใช้เมล็ดพันธุ์งาลูกผสมเพื่อผลิตงาในเชิงพาณิชย์ แต่เนื่องจากต้นทุนการผลิตเมล็ดพันธุ์มีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้นถ้าสามารถใช้เมล็ดพันธุ์ในชั่วรุ่นที่ 2 หรือ 3 ในการผลิตงาต่อไปได้ ก็จะช่วยลดต้นทุนการผลิตในส่วนของค่าเมล็ดพันธุ์ได้ อย่างไรก็ตามในทางทฤษฎีแล้ว ผลผลิตของงาที่ได้รับจากการใช้เมล็ดพันธุ์ในชั่วรุ่นที่ 2 หรือ 3 คงจะลดลงบ้าง แต่ยังไม่มีผู้ใดศึกษาว่าเสถียรภาพของการให้ผลผลิตและความแปรปรวนของลักษณะทางการเกษตรต่างๆ นั้น จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และการใช้เมล็ดพันธุ์งาในชั่วรุ่นที่ 2 หรือ 3 นี้ จะคุ้มค่าหรือไม่ จึงได้ศึกษาเรื่องนี้เพื่อเป็นข้อมูลและแนวทางในการพัฒนาการผลิตงาต่อไปในอนาคต

อุปกรณ์และวิธีการ

          ดำเนินงานทดลองตั้งแต่ฤดูปลูกปี พ.ศ. 2546 ถึง พ.ศ. 2548 ที่แปลงทดลองหมวดพืชไร่ ภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยปลูกงาพันธุ์พ่อแม่ ซึ่งได้แก่ งาขาวพันธุ์ KKU1 และ MK60 งาดำพันธุ์ KU18 และ KKU2 งาแดงพันธุ์ UB1 และ MR 13 เพื่อสร้างลูกผสมชั่วรุ่นที่ 1 โดยการผสมข้ามด้วยมือ ได้เมล็ดงาลูกผสมจำนวน 9 คู่ผสม ได้แก่ คู่ผสมระหว่าง KKU1xMK60 KKU1xKU18 KKU1xMR13 UB1xMR13 UB1xKU18 MR13xMK60 KU18xKKU2 KU18xMR13 KU18xKKU1 หลังจากได้เมล็ดลูกผสมชั่วรุ่นที่ 1 แล้วนำเมล็ดส่วนหนึ่งของลูกผสมชั่วรุ่นที่ 1 ปลูกต่อเพื่อผลิตเมล็ดชั่วรุ่นที่ 2 หลังจากได้เมล็ด ชั่วรุ่นที่ 2 แล้ว นำเมล็ดส่วนหนึ่งมาปลูกต่อเพื่อผลิตเมล็ดชั่วรุ่นที่ 3 จากนั้นปลูกเปรียบเทียบระหว่างพ่อแม่ 6 สายพันธุ์  กับงาลูกผสมชั่วรุ่นที่ 1 2 และ 3 ภายใต้สภาพแวดล้อมเดียวกัน ในการทดลองมีทั้งหมด 33 กรรมวิธี จำนวน 4 ซ้ำ ในแต่ละกรรมวิธีใช้แปลงย่อยขนาด 6 แถว ยาวแถวละ 5 เมตร ระยะปลูก 50 x 10 เซนติเมตร       ใส่ปูนขาวอัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดินก่อนปลูก คลุกเมล็ดงาด้วยสารป้องกันเชื้อราเบนเลท อัตรา 5 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม และป้องกันแมลงโดยโรยฟูราดานข้างแถวปลูกอัตรา 3 กิโลกรัมต่อไร่ และใส่ปุ๋ยเกรด 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ ถอนแยกให้เหลือ 2 ต้นต่อหลุมเมื่ออายุ 10 วันหลังงอก และถอนแยกอีกครั้งให้เหลือ 1 ต้นต่อหลุมเมื่องาอายุ 20 วันหลังงอก พร้อมทั้งใส่ปุ๋ยเกรด 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่อีกครั้ง กำจัดวัชพืช ฉีดพ่นสารป้องกันและกำจัดโรค แมลง และให้น้ำระบบพ่นฝอยตามความจำเป็น

             บันทึกข้อมูลลักษณะทางการเกษตรต่างๆ ได้แก่ สีเมล็ด อายุดอกแรกบาน อายุออกดอก 50 เปอร์เซ็นต์ น้ำหนัก 1,000 เมล็ด (กรัม) ผลผลิตเมล็ด (กิโลกรัมต่อไร่) โดยเปรียบเทียบแต่ละกรรมวิธี และวิเคราะห์ผลการทดลองแบบ RCB

ผลการทดลองและวิจารณ์

จากการทดสอบผลผลิตของงาลูกผสมเปรียบเทียบกับงาพันธุ์แท้ พบว่างา 33 สายพันธุ์ ที่ศึกษามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งในทางสถิติ ของลักษณะอายุถึงดอกแรกบาน อายุออกดอก 50 เปอร์เซ็นต์ น้ำหนัก 1,000 เมล็ด และผลผลิต (Table 1) โดยพบว่าอายุถึงดอกแรกบานมีค่าระหว่าง 31.5 – 32.5 วัน สายพันธุ์ที่มีอายุถึงดอกแรกบานเร็วที่สุดคือ MK60 และ (KKU1xMK60) F2 มีค่าเท่ากับ 31.5 และ 31.8 ตามลำดับ สายพันธุ์ที่มีอายุถึงดอกแรกบานช้าที่สุดคือ KKU2 KU18 และ MR13 มีค่าเท่ากับ 35.3 วัน

สำหรับอายุออกดอก 50 เปอร์เซ็นต์มีค่าระหว่าง 34–40 วัน สายพันธุ์ที่มีอายุออกดอก 50 เปอร์เซ็นต์เร็วที่สุด ได้แก่ (KKU1xMK60) F2 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 34 วัน ส่วนสายพันธุ์ที่มีอายุออกดอก 50 เปอร์เซ็นต์ช้าที่สุด ได้แก่ MR13 (UB1xMR13) F1 KKU2 และ (UB1xMR13) F3 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 40.0 39.8 39.3 และ 38.5 วัน ตามลำดับ 

สายพันธุ์ที่น้ำหนัก 1,000 เมล็ด มากที่สุดได้แก่ MK60 (UB1xMR13) F1 (MR13xMK60) F2     (MR13xMK60) F1 (KKU1xMK60) F1 และ (UB1xMR13) F3 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 3.44 3.42 3.37 3.34 3.27 และ 3.26 กรัม ตามลำดับ สายพันธุ์ที่มีน้ำหนัก 1,000 เมล็ด น้อยที่สุด คือ KKU2   มีค่าเท่ากับ 2.79 กรัม

สำหรับผลผลิตต่อไร่พบว่า สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่สูงที่สุด ได้แก่ (KKU1xMR13) F3 (KKU1xMR13) F1 (UB1xMR13) F2 และ (UB1xMR13) F3 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 331 291 288 และ 283 กิโลกรัมต่อไร่ สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ต่ำที่สุดคือ KU18 มีค่าเท่ากับ 161 กิโลกรัมต่อไร่

 

 

 

 

 

 

Table 1 Yield and some agronomic traits of pure lines, F1, F2 and F3 hybrids of sesame.

Lines

Days to first flowering

Days to 50% flowering

1,000 seeds weight (g)

Seed yield

(kg/rai)

%  check1/

(KKU1xMK60) F1     

      32.0 fg

     34.8 k-n

      3.27 a-e

      264 b-g

91

(UB1xMR13) F1

      34.3 a-d

     39.8 ab

      3.42 ab

      239 c-j

82

(KU18xKKU2) F1

      34.0 a-e

     37.3 d-h

      3.22 a-g

      243 b-i

84

(KU18xMR13) F1

      34.8 ab

     38.3 bcd

      3.17 a-h

      270 b-f

93

(UB1xKU18) F1

      34.5 abc

     37.8 c-f

      3.18 a-h

      239 c-j

82

(KU18xKKU1) F1

      33.5 b-f

     36.0 g-l

      2.90 hi

      233 d-j

80

(KKU1xKU18) F1    

      32.0 fg

     35.3 j-n

      3.10 e-i

      238 c-j

82

(MR13 xMK60) F1     

      32.0 fg

     35.5 i-n

      3.34 a-d

      256 b-h

88

(KKU1xMR13) F1  

      33.0 c-g

     37.0 d-i

      3.16 a-h

      291 ab

        100

(KKU1xMK60) F2     

      31.8 g

     34.0 n

      3.06 d-i

      239 c-j

82

(UB1xMR13) F2

      33.5 b-f

     38.3 bcd

      3.14 b-h

      288 abc

99

(KU18xKKU2) F2

      34.5 abc

     38.3 bcd

      3.12 c-h

      231 e-k

79

(KU18xMR13) F2

      33.0 c-g

     38.3 bcd

      2.98 f-i

      199 i-m

68

(UB1xKU18) F2

      33.5 b-f

     38.0 cde

      3.14 b-h

      222 f-l

76

(KU18xKKU1) F2

      33.5 b-f

     38.0 cde

      3.04 e-i

      227 f-l

78

(KKU1xKU18) F2    

      35.0 ab

     37.5 d-g

      3.02 e-i

      181 klm

62

(MR13 xMK60) F2     

      32.8 d-g

     35.0 j-n

      3.36 abc

      280 b-e

96

(KKU1xMR13) F2 

      32.5 efg

     36.5 e-j

      3.04 e-i

      278 b-e

95

(KKU1xMK60) F3     

      32.5 efg

     34.5 lmn

      3.18 a-h

      210 h-m

72

(UB1xMR13) F3

      34.8 ab

     38.5 a-d

      3.26 a-e

      283 a-d

97

(KU18xKKU2) F3

      33.0 c-g

     37.0 d-i

      3.12 c-h

      218 g-l

75

(KU18xMR13) F3

      33.0 c-g

     37.5 d-g

      3.04 e-i

      208 h-m

71

(UB1xKU18) F3

      32.5 efg

     35.8 h-m

      3.00 e-i

      225 f-l

77

(KU18xKKU1) F3

      34.5 abc

     38.3 bcd

      2.98 f-i

      207 h-m

71

(KKU1xKU18) F3    

      34.3 a-d

     37.8 c-f

      2.93 hi

      221 f-l

76

(MR13 xMK60) F3     

      32.3 fg

     35.3 j-n

      3.25 a-f

      248 b-i

85

(KKU1xMR13) F3   

      32.8 d-g

     36.3 f-k

      2.91 hi

      331 a

        114

KKU1

      32.5 efg

     35.5 i-n

      2.94 ghi

     177 lm

61

KKU2    

      35.3 a

     39.3 abc

      2.79 i

     177 lm

61

KU18      

      35.3 a

     38.0 cde

      3.14 b-h

     161 m

55

MR13

      35.3 a

     40.0 a

      3.06 d-i

     191 j-m

66

MK60       

      31.5 g

     34.3 mn

      3.44 a

     182 klm

63

UB1

      35.0 ab

     37.8 c-f

      3.16 a-h

     217 g-l

75

CV (%)

3.20

3.25

6.44

15.44

-

Mean within column followed by the same letter are not significantly different at 1% of probability by LSD.

**  = significant at P < 0.01

1/ Using (KKU1 x MR13) F1 as a check variety           

สำหรับลักษณะสีของเมล็ดงา พบว่าสายพันธุ์ที่มีเมล็ดสีดำทั้งหมด ได้แก่ (KU18xKKU2) F1 (KU18xMR13) F1 (UB1xKU18) F1 (KU18xKKU1) F1 (KKU1xKU18) F1 (KU18xKKU2) F2 (KU18xKKU2) F3 KKU2 และ KU18 สายพันธุ์ที่มีเมล็ดสีน้ำตาลทั้งหมด ได้แก่ (UB1xMR13) F1 (MR13 xMK60) F1 (KKU1xMR13) F1 (UB1xMR13) F2 (UB1xMR13) F3 MR13 และ UB1 สายพันธุ์ที่มีเมล็ดสีขาวทั้งหมด ได้แก่ (KKU1xMK60) F1 (KKU1xMK60) F2 (KKU1xMK60) F3 KKU1 และ MK60 สายพันธุ์ที่มีทั้งเมล็ดสีดำ น้ำตาล และน้ำตาลเข้ม ได้แก่ (KU18xMR13) F2 (UB1xKU18) F2 (KU18xMR13) F3 และ (UB1xKU18) F3 สายพันธุ์ที่มีทั้งเมล็ดสีดำ ขาว และเทา ได้แก่ (KU18xKKU1) F2 (KKU1xKU18) F2 (KU18xKKU1) F3 และ (KKU1xKU18) F3 สายพันธุ์ที่มีทั้งเมล็ดสีน้ำตาล น้ำตาลอ่อน และขาว ได้แก่ (MR13xMK60) F2 (KKU1xMR13) F2 (MR13 xMK60) F3 และ (KKU1xMR13) F3 (Table 2)

 

Table 2 Variation in seed color of pure lines, F1, F2 and F3 populations of sesame.

Lines

Seed  color   (%)

black

brown

white

dark brown

light brown

grey

1

(KKU1xMK60) F1     

-

-

100

-

-

-

2

(UB1xMR13) F1

-

100

-

-

-

-

3

(KU18xKKU2) F1

100

-

-

-

-

-

4

(KU18xMR13) F1

100

-

-

-

-

-

5

(UB1xKU18) F1

100

-

-

-

-

-

6

(KU18xKKU1) F1

100

-

-

-

-

-

7

(KKU1xKU18) F1    

100

-

-

-

-

-

8

(MR13 xMK60) F1     

-

100

-

-

-

-

9

(KKU1xMR13) F1  

-

100

-

-

-

-

10

(KKU1xMK60) F2     

-

-

100

-

-

-

11

(UB1xMR13) F2

-

100

-

-

-

-

12

(KU18xKKU2) F2

100

-

-

-

-

-

13

(KU18xMR13) F2

66

25

-

9

-

-

14

(UB1xKU18) F2

68

25

-

7

-

-

15

(KU18xKKU1) F2

52

-

30

-

-

18

16

(KKU1xKU18) F2    

56

 

31

 

 

13

17

(MR13 xMK60) F2     

 

53

33

 

14

 

18

(KKU1xMR13) F2 

 

55

32

 

13

 

19

(KKU1xMK60) F3     

-

-

100

-

 

 

20

(UB1xMR13) F3

-

100

-

-

-

-

21

(KU18xKKU2) F3

100

-

-

-

-

-

22

(KU18xMR13) F3

72

26.5

-

1.5

-

-

23

(UB1xKU18) F3

72

26

-

2

-

-

24

(KU18xKKU1) F3

59

-

34

-

-

7

25

(KKU1xKU18) F3    

63

-

34

-

-

3

 

Table 2 ( continue)

Lines

Seed  color   (%)

black

brown

white

dark brown

light brown

grey

26

(MR13 xMK60) F3     

 

61

37

 

2

 

27

(KKU1xMR13) F3   

 

60

37

 

3

 

28

KKU1

-

-

100

-

-

-

29

KKU2    

100

-

-

-

-

-

30

KU18      

100

-

-

-

-

-

31

MR13

-

100

-

-

-

-

32

MK60       

-

-

100

-

-

-

33

UB1

-

100

-

-

-

-

สรุปผลการทดลอง

เมื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการผลิตงาโดยใช้เมล็ดพันธุ์ชั่วรุ่นที่ 2  และ 3 ที่เก็บต่อจากเมล็ดพันธุ์งาลูกผสมชั่วรุ่นที่ 1 จะต้องพิจารณาทั้งสีเมล็ดและผลผลิตที่ได้จากงาลูกผสมเมื่อเปรียบเทียบกับงาชั่วรุ่นที่ 1 2 และ 3 จากการศึกษาพบว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเก็บเมล็ดไว้ปลูกต่อ สำหรับงาลูกผสมที่ได้จากการผสมระหว่างพ่อกับแม่ที่มีสีเดียวกัน เนื่องจากว่าจะไม่มีความแปรปรวนในลักษณะของสี ผลการทดลองสรุปได้ว่าคู่ผสมระหว่าง UB1xMR13 ซึ่งมีเมล็ดสีน้ำตาล สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ในชั่วรุ่นที่ 2 และ 3 ไปปลูกต่อได้เนื่องจากให้ผลผลิตเทียบเท่ากับการใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมชั่วรุ่นที่ 1 และคู่ผสมระหว่าง KKU1xMK60 ซึ่งเป็นคู่ผสมที่ให้ผลผลิตสูงโดยมีค่าเท่ากับ 99 และ 97 เปอร์เซ็นต์ในชั่วรุ่น F2 และ F3 ตามลำดับ อีกทั้งยังไม่มีความแปรปรวนในเรื่องของสีเมล็ดเนื่องจากพ่อและแม่มีเมล็ดสีเดียวกัน สำหรับคู่ผสมระหว่าง KKU1xMR13 ถึงแม้จะให้ผลผลิตต่อไร่สูงทั้งในชั่วรุ่นที่ 1 2 และ 3 แต่ไม่สามารถที่จะใช้เมล็ดในชั่วรุ่นที่ 2 และ 3 ไปเป็นเมล็ดพันธุ์ต่อได้ เนื่องจากมีข้อจำกัด คือ มีความแปรปรวนในเรื่องของสีเมล็ดในชั่วรุ่นที่ 2 และ 3

            จากการประเมินผลผลิตเฉลี่ยของชั่วรุ่นที่ 1 จากทุกคู่ผสมเปรียบเทียบกับชั่วรุ่นที่ 2 ชั่วรุ่นที่ 3 และสายพันธุ์แท้ พบว่าผลผลิตลดลงจาก 100 เปอร์เซ็นต์ เหลือ 94 94 และ 73 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าผลผลิตที่ลดลงในชั่วรุ่นที่ 2 และ 3 อยู่ในระดับใกล้เคียงกันคือ 94 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ถ้าไม่มีความแปรปรวนในเรื่องของสีเมล็ดที่เกิดขึ้น

คำนิยม

            ขอขอบพระคุณ ศูนย์วิจัยปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ให้ทุนสนับสนุนในการทำงานวิจัยในครั้งนี้ จนสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

เอกสารอ้างอิง

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2548. ส่งเสริมงาดำ. http : //www.doae.go.th/plant/sesame.htm.

พัชนี  เค้ายา  ประสิทธิ์  ใจศิล สนั่น จอกลอย และนิมิตร  วรสูต. 2546. ความเป็นไปได้ในการผลิตเมล็ดพันธุ์          งาลูกผสมเพื่อการค้า. ว.แก่นเกษตร 32 (1) : 63–73. 

สมใจ โควสุรัตน์ บุญเหลือ ศรีมุงคุณ และโสภิตา  ฉัตรเจริญทอง. 2539. สถานการณ์งา. ใน : รายงานประจำปี        2539. สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

Suh M.C., M. J. Kim, C. G. Hur, J. M.Bae, C. H. Chung and C. W. Kang. 2003. Comparative analysis         of expressed sequence tags from Sesamum indicum and Arabidopsis thaliana developing          seeds. Plant Mol Bilo. 52(6) : 1102 – 1123.

Thomas, J. 2005. Sesame. (Cited 23 March 2005) Available from: URL: http://www.jeffersonin             Stitute.org/pubs/sesame.shtml