มีสทีนกับโฆษณา “กลิ่นเต่า” แนวคิดเก่า

ซ่อนเป้าหมายใหม่เพื่อดันยอดสินค้าอื่น

ส่องเส้นทางการโฆษณาที่แหวกแนวของมีสทีนหลังกล้าหยิบจุดอ่อนสินค้าผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายด้วยการชู “กลิ่นเต่า” เป็นจุดเด่นพร้อมซ่อนเป้าหมายทางการตลาดที่ต่างจากการโฆษณาทั่วไป โดยไม่หวังเพิ่มยอดขายจากฟอร์ซโรออนแต่ต้องการให้เกิดการสนธนาระหว่างสาวมีสทีนกับลูกค้าเพื่อจูงใจสู่การปิด
แคตตาล๊อกมีสทีน แก้จุดอ่อนธุรกิจขายตรงที่ไม่สามารถสร้างกิจกรรม ณ จุดขายได้

โฆษณา “เต่า” ของบริษัทเบทเตอร์เวย์(ประเทศไทย)จำกัด หรือที่รู้จักภายใต้ผลิตภัณฑ์มีสทีน ซึ่งได้สร้างความสนใจในวงกว้างสำหรับผลิตภัณฑ์ฟอร์ซโรล-ออนซึ่งหลายบริษัทต่างหลีกเลี่ยงที่จะหยิบจุดด้อย
ของสินค้าประเภทนี้ออกมาใช้เนื่องจากผลิตภัณฑ์โรลออนหรือสินค้าระงับกลิ่นกายที่ลดปัญหากลิ่นตัวหรือกลิ่นเต่านั้น ทุกบริษัทที่มีสินค้ากลุ่มนี้แทบจะปิดตายกับคอนเซ็บต์โฆษณาและการสร้างจุดขายด้วยการสร้างเรื่อง “กลิ่นเต่า” ออกมาใช้เพราะหลายคนมองว่าเป็นจุดอ่อนของสินค้าประเภทนี้ที่สำคัญคอนเซ็ปต์การชูเรื่องกลิ่นเต่าที่ต้องซ่อนปมด้อยของสินค้านี้เคยถูกนำออกมาชูให้โดดเด่นแต่ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก

แต่สำหรับมีสทีนกับฟอร์ซโรลออนในยุคนี้ กล้าที่จะดึงจุดด้อยในสินค้าตัวนี้มาเป็นจุดเด่น และสามารถสร้างการยอมรับได้ในวงกว้างในเรื่องความน่าสนใจ ของภาพยนตร์โฆษณาที่กล้าหยิบยกประเด็นดังกล่าวออกมาจนน่าสนใจ ซึ่งเป็นไปตามแบบฉบับของภาพยนตร์โฆษณามีสทีนในแนวเรียบง่าย ตรงประเด็นและสร้างความจดจำแบบพลิกความคาดหมาย

      ซ่อนความหมายมากกว่ากลิ่นเต่า อย่างไรก็ตามแม้ว่าโฆษณาดังกล่าวจะออกมาในแนวเพิ่มยอดขายผลิตภัณฑ์ฟอร์ซโรลออนอย่างชัดเจน แต่สำหรับมีสทีนในประเด็นเรื่องยอดขายนั้นได้ซ่อนความต้องการจากโฆษณาชิ้นนี้แตกต่างจากอดีตและต่างจากการโฆษณาเพื่อเพิ่มยอดขายเหมือนสินค้าทั่วไปอย่างสิ้นเชิงเช่นกัน เหราะการโฆษณาฟอร์ซโรลออนไม่ใช่เป็นเป้าหมายสำหรับการเพิ่มยอดขายผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นเต่าตัวนี้แต่อย่างใด แต่เป้าหมายหลักที่แฝงมากับโฆษณาดังกล่าว คือ การจูงใจให้ผู้บริโภคทำความรู้จักกับสินค้ามีสทีนมากขึ้นโดยมีฟอร์โรลออนเป็นจุดเป้าหมายแรกที่จะโยงใยสู่สินค้าอื่นๆเพราะมีสทีนดำเนินธุรกิจขายตรงที่มีช่องทางการขายเพียงผ่านแคตตาล๊อกเท่านั้น กระบวบการขายจึงไม่สามารถสร้างกิจกรรม ณ จุกขายได้เหมือนสินค้าคอนซูมเมอร์โปรดักซ์ที่ขายผ่านซุปเปอร์มาเกตจึงจำเป็นต้องสร้างความน่าสนใจให้กับสินค้าตัวใดตัวหนึ่งให้เกิดขึ้นเพื่อนำไปสู่การเปิดแคตตาล็อกสินค้ามีสทีนที่มีสินค้ากว่า 3,000 รายการ ดังนั้นฟอร์ซโรลออนจึงต้องการเพิ่มยอดขายให้กับสินค้าอื่นๆของมีสทีนนั่นเอง

เกิดหัวข้อสนทนาระหว่างสาวมีสทีน-ลูกค้า

“หัวข้อการสนทนา”ระหว่างสาวมีสทีนหลายแสนคนและลูกค้าทั่วประเทศเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่มีสทีนต้องการให้เกิดขึ้นในยามที่สาวมีสทีนเข้าไปเสนอขายสินค้า และสามารถเกิดขึ้นจริงๆ จากโฆษณา “เต่า”ชุดนี้ซึ่งทำให้การทำงานของสาวมีสทีนง่ายขึ้นรวมทั้งการจูงใจลูกค้าก็ง่ายตามไปด้วย การทำธุรกิจขายตรงที่ขายผ่านแคตตาล๊อกนั้นไม่เหมือนกับการขายสินค้าคอนซูมเมอร์โปรดักซ์ในซุปเปอร์มาเกตที่สามรถสร้างกิจกรรม ณ จุดขายได้แต่ขายตรงเราทำอย่างนั้นไม่ได้ การโฆษณาที่เกิดหัวข้อการสนธนาระหว่างสาวมีสทีนและผู้บริโภคจะเป็นการจุดประกายการเปิดแคตตาล๊อกขายมากขึ้น “นายสุรพล ดีโรจวงศ์ ผู้จัดการฝ่ายขายบริษัทเบทเตอร์เวย์ (ประเทศไทย)จำกัด กล่าวกับ “กรุงเทพธุรกิจ”

ทั้งนี้จากการโฆษณาดังกล่าว 98% ของผู้ชมจะชื่นชอบและจดจำโฆษณาชิ้นนี้ได้ และเป็นผลพวงในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้เทียบกับปีที่แล้วยอดขายโดยรวมผลิตภัณฑ์จะเพิ่มขึ้นประมาณ 50% โดยมีโฆษณาชิ้นนี้เป็นประตูสู่การรู้จักสินค้าตัวอื่น

“เป้าหมายของเราไม่ต้องการขายฟอร์ซโรลออนเพียงอย่างเดียวแต่ต้องการขายสินค้าในแคตตาล๊อกที่มีกว่า 3,000 รายการ จึงจำเป็นต้องสร้างจุดขายให้มาดึงความสนใจของผู้บริโภค ซึ่งยอดขายเพิ่มขึ้นถึง 50% นั้นถือว่าเราประสบความสำเร็จจากคอนเซ็บต์ดังกล่าว” นายสุรพลกล่าว

โฆษณาน่าสนใจแก้ปัญหาจุดอ่อน

“การโฆษณาโรลออนที่พูดว่าใช้แล้วมั่นใจ ใช้กันจนสินค้าไม่มีจุดเด่น ซึ่งจากการศึกษาของเราคิดว่าน่าจะใช้กลิ่นเต่ามาเป็นจุดเด่นได้ “นายปริยชาติ บลาดตา ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์บริษัท เฟมไลน์ จำกัดกล่าว

ทั้งนี้ความสนใจของโฆษณาจะทำให้จุดอ่อนของสินค้าหายไปทันที หรือผู้บริโภคลืมความน่าอายของสินค้าและไม่ส่งผลกระทบต่อการทำการตลาดต่อไป

  black