คณะวิทยาการจัดการ

โปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ

  1. ปรัชญา
  2. โปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ                                              เป็นการศึกษาด้านการบริหารธุรกิจในระดับวิชาชีพ มีลักษณะเป็นวิทยาการร่วมในหลาย ๆ ด้าน ซึ่งแบ่งออกเป็นหลายแขนง คือ แขนงวิชาการบริหารงานทั่วไป แขนงวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ แขนงการบัญชี แขนงวิชาการเงินการธนาคาร แขนงการตลาด แขนงวิชาการบริหารงานอุตสาหกรรม และแขนงวิชาการเลขานุการ โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ มีทักษะ มีความชำนาญ มีจริยธรรมและคุณธรรม มีจรรยาบรรณในวิชาชีพและสามารถประกอบอาชีพด้านบริหารธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    1. ลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์
    1. มีความรู้ในวิชาการด้านการบริหารธุรกิจทางภาคทฤษฎีและปฎิบัติ
    2. มีวิสัยทัศน์กว้างไกลสามารถคิดวิเคราะห์อย่างมีระบบและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    3. มีความสามารถในด้านการแก้ปัญหาในการปฎิบัติงานสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีทักษะในการทำงานเป็นทีมมีวินัยมีความรับผิดชอบขยันหมั่นเพียร มีน้ำใจโอบอ้อมอารี เป็นผู้มีจิตใจอ่อนโยน
    4. มีจริยธรรม คุณธรรม ห่วงใยและรับผิดชอบต่อสังคม
    5. มีความรู้ ความสามารถในการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ดี สื่อสารได้ดี
    6. มีความรู้ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์เครื่องมือปฎิบัติการสำนักงาน และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ได้เป็นอย่างดี
    7. มีความสนใจ ใฝ่หาความรู้ เพื่อพัฒนาตนเองอยู่เสมอ

 

3. วัตถุประสงค์

    1. เพื่อผลิตบัณฑิตด้านการบริหารธุรกิจ ที่มีความรู้ ความสามารถในการ บริหาธุรกิจ ระดับวิชาชีพ (Professional) และนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    2. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีเจตคติที่ดีและมีทักษะเพียงพอในการดำเนินธุรกิจและพัฒนาตนเอง ให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม
    3. เพื่อผลิตบัณฑิตที่สนองตอบความต้องาการของตลาดแรงงาน และสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
    4. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ทักษะ ในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และสามารถนำไปประยุกต์ในงานในอาชีพ

 

4. แขนงทางในการประกอบอาชีพ

    1. ประกอบอาชีพอิสระหรือธุรกิจส่วนตัว
    2. พนักงานบริษัท ห้างร้าน เอกชน เช่น
      1. พนักงานด้านบริหารทรัพยากรมนุษย์
      2. พนักงานขาย
      3. พนักงานจัดซื้อ
      4. พนักงานบัญชีและการเงิน
      5. พนักงานการตลาด
      6. พนักงานบริหารงานทั่วไป

3. รับราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ ฯลฯ

 

  1. แนวทางในการศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นไป
  2. เมื่อจบการศึกษาแล้ว สามารถศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นไป ได้ทั้งในมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนและมหาวิทยาลัยต่างประเทศ

     

  3. หลักสูตร
  4. จำนวนหน่วยกิจรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 150 หน่วยกิจ

     

    7. ระยะเวลาในการศึกษา

    ตลอดหลักสูตรใช้เวลาเรียน 4 ปี

     

    8. ลักษณะเนื้อหาวิชา

    ลักษณะเนื้อหาที่เรียนประกอบด้วย

    1. การบัญชี
    2. การตลาด
    3. การเงินการธนาคาร
    4. การบริหารงานทั่วไป
    5. การบริหารทรัพยากรมนุษย์
    6. การศึกษาดูงานนอกสถานที่
    7. การบริหารงานอุตสาหกรรม
    8. การเลขานุการ

 

9. ความรู้พื้นฐานก่อนที่จะเข้าศึกษาต่อ

วุฒิที่จะเข้าศึกษาต่อ คือ ผู้จบระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ทุกสาขาวิชา

 

 

โครงสร้างหลักสูตร

จุดมุ่งหมายของหลักสูตรสาขาวิชาศิลปศาสตร์ เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาศิลปศาสตร์ให้สามารถประกอบอาชีพตามความต้องการของสังคมและท้องถิ่น โดยมีคุณสมบัติ

    1. สามารถประกอบอาชีพโดยใช้ความรู้ ทักษะและเทคนิคเฉพาะทางด้านศิลปศาสตร์ในหน่วยงานของรัฐ เอกชน และประกอบอาชีพอิสระได้
    2. นำความรู้ทางด้านศิลปศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาและ ปรับปรุงความเป็นอยู่คุณภาพชีวิตของตนและสังคมได้อย่างเหมาะสม
    3. ตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาการทางด้านศิลปศาสตร์ที่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตการประกอบอาชีพ สังคมและสภาพ แวดล้อม
    4. พัฒนาและส่งเสริมจริยธรรม คุณธรรม เจตคติ และศรัทธาในการประกอบอาชีพทางด้านศิลปศาสตร์อันจะนำไปสู่การพัฒนาสังคมได้อย่างดี

 

สายบริหารธุรกิจและการจัดการ

จุดประสงค์เฉพาะ

    1. เพื่อผลิตบัณฑิตด้านบริหารธุรกิจที่มีความรู้ ความสามารถ ในการบริหารธุรกิจระดับวิชาชีพชั้นสูง (Professional) และนำไปประกอบอาชีพได้อย่างดี
    2. เพื่อผลิตบัณฑิตด้านบริหารธุรกิจที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทางในวิชาชีพ เช่นด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ การบัญชี การเงินการธนาคาร การตลาด การบริหารอุตสาหกรรม เลขานุการ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ การจัดการคุณภาพธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจบริหาร สามารถประกอบอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ
    3. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีเจตคติที่ดี และทักษะเพียงพอที่จะดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพและพัฒนาตนเองให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม
    4. เพื่อผลิตบัณฑิตที่สนองความต้องการของตลาดแรงงาน และสอดคล้องตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ
    5. เพื่อให้บัณฑิตสามารถนำความรู้ไปเป็นแนวทางการศึกษาในระดับสูงต่อไป

หน้าแรก