ภายในเดือนกันยายน 2546 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 2 เป็นองค์กรที่บริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานภายในเขตพื้นที่การศึกษาได้อย่างทั่วถึง และมีคุณภาพ ครู บุคลากร มีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติงานตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาคารสถานที่ วัสดุ ครุภัณฑ์ เทคโนโลยีได้มาตรฐานสำนักงาน เด็ก และเยาวชน มีความรู้ ความสามารถและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เป็นคนดี คนเก่ง มีความสุขและสามารถประกอบอาชีพของตนเองได้

  การวิเคราะห์ศักยภาพของเขตพื้นที่การศึกษา เขตที่ 2

สถานภาพของเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี  เขต 2

ผลการประเมินสถานภาพของเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 2

เขตพื้นที่การศึกษาที่ 2 ซึ่งประกอบด้วย อำเภอกุมภวาปี อำเภอศรีธาตุ อำเภอโนนสะอาด อำเภอวังสามหมอ อำเภอหนองแสง
และกิ่งอำเภอประจักษ์ศิลปาคม ได้ทำการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก และสภาพแวดล้อมภายใน สรุปผลการวิเคราะห์ ได้ดังนี้

ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก

1.  สภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นโอกาสต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา มี 3 ด้าน ดังนี้ คือ

      1. ด้านสังคมและวัฒนธรรม (Socio-cultural Factors: S) จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมด้านนี้พบว่าประชากรส่วนใหญ่ในเขตพื้นที่การศึกษา เขตที่ 2 ของจังหวัดอุดรธานี นับถือศาสนาพุทธ ดังนั้นขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนค่านิยมต่าง ๆ จึงมีลักษณะคล้ายคลึงกันใน ทุก ๆ อำเภอ ทุกตำบล และทุกหมู่บ้าน การคมนาคม มีความสะดวก การประกอบอาชีพของแต่ละชุมชนเหมือนกันเป็นส่วนมาก มีรายได้พอเพียง เช่นการค้าขาย การทำไร่อ้อย ซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนส่วนใหญ่ ดังนั้นการที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาเดียวกัน เป็นสังคมชาวพุทธ เหมือนกัน ค่านิยมและความเป็นอยู่ที่ไม่แตกต่างกัน ตลอดจนการสื่อสารและการคมนาคมสะดวกรวดเร็ว และที่สำคัญประชากรมีการศึกษาอยู่ในระดับที่พอเหมาะกับศักยภาพของตนเอง เพราะมีระบบการศึกษาที่ส่งเสริมให้สังคมเกิดการเรียนรู้ตลอดเวลา ส่งผลให้ขีดความสามารถในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษาที่ 2 เพิ่มขึ้น
      2. ด้านเทคโนโลยี (Technological Factors: T) จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมด้านนี้พบว่า เขตพื้นที่การศึกษา เขตที่ 2 สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปของพื้นที่ ได้มีการนำเอาเทคโนโลยี และเครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ จากทางหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่ออำนวยความสะดวก และสนองความต้องการของประชาชนโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักรกลขนาดใหญ่ในโรงงานอุตสาหกรรม หรือในครัวเรือน เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกประเภท เครื่องอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร การเดินทาง เครื่องอุปโภค บริโภค ภูมิปัญญาท้องถิ่นในสาขาวิชาต่าง ๆ มากมาย สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งสิ้น
      3. ด้านการเมืองและกฎหมาย (Political and Legal Factors: P) จากการวิเคราะห์สภาพด้านนี้พบว่า การเมืองไทยในยุคปฏิรูปการศึกษา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 และนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ พบว่า ระบบการเมืองของไทยในยุคนี้ซึ่งเป็นยุคที่ทำการปฏิรูประบบราชการ ที่กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ที่มีการกระจายอำนาจไปยังท้องถิ่น ซึ่งเป็นหน่วยงานปฏิบัติโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทวงศึกษาธิการ ที่มีนโยบายชัดเจนในเรื่องการกระจายอำนาจ และจากผลของการประกาศใช้กฎหมายทางการศึกษา คือพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ส่งผลให้ท้องถิ่นมีความมั่นใจ และเข้าใจในวิธีการหรือแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของท้องถิ่นตนเองต่อไป

2.  สภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 1 ด้าน คือ

ด้านเศรษฐกิจ (Economic Factors: E) จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมด้านนี้พบว่า สภาพเศรษฐกิจของประชากรในพื้นที่เป็นอุปสรรคอย่างยิ่งในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เพราะมีสาเหตุและปัจจัยหลายประการที่ส่งผลกระทบต่อรายได้ของประชากรส่วนใหญ่ เช่นสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่ยังอยู่ในสภาพที่ยังไม่คล่องตัว ราคาพืชผลการเกษตรที่ตกต่ำไม่คงที่
ความไม่สมดุลของอัตราดอกเบี้ย ราคาน้ำมันที่มีแต่ขึ้นไม่มีลง ราคาสินค้าที่มีแต่ถีบตัวสูงขึ้น กับรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อคน
ไม่สมดุลกัน ฯลฯ ทำให้รายได้น้อย สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน

    1. สภาพแวดล้อมภายในที่เป็นจุดแข็งในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา มี 4 ด้าน คือ
      1. ด้านบุคลากร (Man: MI) จากการวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมด้านนี้ พบว่า บุคลากรในเขตพื้นที่การศึกษาที่ 2 นี้ มีความพร้อมและมุ่งมั่นในการปฏิรูปการศึกษา มีความเหมาะสมกับบทบาทหน้าที่ ตลอดจนมีความรู้ ความสามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่ตามโครงสร้างใหม่ให้มีประสิทธิภาพต่อไป ดังนั้นไม่ว่าจะเป็น ผู้บริหาร ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาทุกคน จึงพยายามที่จะพัฒนาตนเองอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเขตพื้นที่ฯ อย่างแน่นอน
      2. ด้านการบริหารจัดการ (Management : M4) จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในด้านนี้พบว่า การบริหารจัดการของสำนักงานฯ และสถานศึกษาต่าง ๆ ในเขตพื้นที่ฯ มีความพร้อมสูงในการที่จะพัฒนาคุณภาพการศึกษา เห็นได้จาก การบริหารแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ เช่น คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการกลุ่มโรงเรียน คณะกรรมการการประถมศึกษาอำเภอ คณะกรรมการการประถมศึกษาจังหวัด เป็นต้น ซึ่งคณะกรรมการในแต่ละคณะล้วนมีความสำคัญและมีส่วนส่งเสริมสนับสนุนให้บริหารจัดการศึกษาในระดับต่าง ๆ มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล มีความคล่องตัว มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และที่สำคัญมีการกระจายอำนาจสู่ผู้ปฏิบัติอย่างชัด
      3. ด้านผลผลิตและการบริการ (Products and Service : S2) ซึ่งเป็นจุดเน้นสำคัญในการจัดการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษาเขตที่ 2 ซึ่งหมายถึงการจัดการบริการทางด้านการเรียน การส่งเสริมสุขภาพของผู้เรียนรวมทั้งการจัดแหล่งเรียนรู้ให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าที่ครบถ้วนทั่วถึง ส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับที่น่าพอใจ
      4. ด้านวัสดุอุปกรณ์ (Material : M3) ในด้านนี้เขตพื้นที่การศึกษา เขตที่ 2 มีวัสดุอุปกรณ์เพียงพอในการดำเนินการให้สำนักงานหรือสถานศึกษาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ถึงแม้ว่าวัสดุอุปกรณ์บางอย่างจะชำรุดและขาดคุณภาพไปบ้าง แต่ก็ถือว่าเพียงพอต่อการใช้งาน
    2. สภาพแวดล้อมภายในที่เป็นจุดอ่อน มี 2 ด้าน คือ
      1. ด้านประสิทธิภาพทางการเงิน (Money : M2) การเงินหรือประสิทธิภาพทางการเงินถือว่าเป็นอุปสรรคอันดับที่ 1 ในการบริหารจัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา เขตที่ 2 ซึ่งก็เป็นผลมาจากสภาพการเงินที่มีน้อยตามท้องที่ในแต่ละอำเภออยู่ก่อนแล้ว ซึ่งเป็นเงินงบประมาณจากทางราชการ ที่จัดสรรให้ตามรายหัวของนักเรียน
      2. ด้านโครงสร้างและนโยบาย (Structure : S1) สาเหตุที่ด้านนี้เป็นจุดอ่อน ของเขตพื้นที่ฯ กล่าวคือ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติงานทั้งในสำนักงานและสถานศึกษาไม่มีความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจนในความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษา ทั้งเกี่ยวกับกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และกรอบ ภารกิจ โครงสร้างของเขตพื้นที่การศึกษา ตลอดจนหลักเกณฑ์ วิธีการ และแนวทางปฏิบัติตนในการเตรียมตัวเข้าสู่ตำแหน่งภายในใต้กรอบและ โครงสร้างของเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งยังขาดความชัดเจนซึ่งเมื่อทำการประเมินสถานภาพโดยขององค์กรแล้ว พบว่า เขตพื้นที่การศึกษา เขตที่ 2 อยู่ในสถานภาพที่เอื้อและแข็ง หมายความว่า ปัจจัยภายนอกเป็นโอกาส หรือพร้อมให้การสนับสนุนองค์กร และปัจจัยภายในที่เข้มแข็งพร้อมที่จะพัฒนาการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ขององค์กรให้เจริญเติบโตยิ่งขึ้น

แนวทางในการใช้ประโยชน์จากโอกาสและจุดแข็งขององค์กร

เขตพื้นที่การศึกษา เขตที่ 2 ได้กำหนดแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่โดยอาศัยโอกาสจากสภาพแวดล้อมภายนอก และความเข้มแข็งของสภาพแวดล้อมภายใน ดังนี้

    1. อาศัยสภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม ที่เห็นความสำคัญของการจัดการศึกษาอาศัย เทคโนโลยีที่ทันสมัย และอาศัยนักการเมืองและกฎหมายที่เปิดโอกาส และสนับสนุนการพัฒนาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ โดยขอความร่วมมือในด้านต่าง ๆ จากชุมชน
    2. อาศัยความสามารถของบุคลากร ระบบการบริหารที่มีประสิทธิภาพ วัสดุอุปกรณ์ที่เพียงพอดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยทุกคน ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ประกอบกับ ผลพวงของการเปลี่ยนทางด้านโครงสร้างของหน่วยงานทางการศึกษาทั้ง 3 ข้อต่อไปนี้ คือ
    3. กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศเตรียมการเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อดำเนินการเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการบริหารงาน บริหารบุคคล และการวางระบบการทำงานในเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อให้เกิดความพร้อมในการดำเนินงานเมื่อกฎหมายมีผลบังคับ
    4. กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการมอบหมายให้ศูนย์ปฏิบัติการปฏิรูปการศึกษาจังหวัดดำเนินการเตรียมความพร้อมในเขตพื้นที่การศึกษา ตามปฏิทินกิจกรรมหลักเพื่อปรับเปลี่ยนเข้าสู่การบริหารจัดการแบบเขตพื้นที่การศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
    5. ศูนย์ปฏิบัติการปฏิรูปการศึกษาจังหวัดอุดรธานี ได้แต่งตั้งคณะดำเนินการเตรียมการเพื่อเข้าสู่เขตพื้นที่การศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อปฏิบัติตามปฏิทินกิจกรรมหลักและรายงานผลดำเนินงานตามที่ศูนย์ปฏิบัติการปฏิรูปการศึกษาจังหวัดอุดรธานีมอบหมายซึ่งเมื่อพิจารณารายละเอียดทั้ง 5 ข้อข้างต้นแล้ว เขตพื้นที่การศึกษา เขตที่ 2 คงได้ดำเนินการตามยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ และประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ อย่างครบถ้วนต่อไป

ทิศทางของเขตพื้นที่

พันธกิจ (Mission)

    1. จัดให้เด็ก เยาวชน ประชาชน ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
    2. ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอน
    3. เพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน
    4. ส่งเสริมให้โรงเรียนจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาและใช้หลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
    5. พัฒนากรอบสาระกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางและความต้องการของท้องถิ่น
    6. พัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ในการจัดการศึกษาและฝึกอาชีพ
    7. ส่งเสริมและพัฒนาครู ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาให้ได้ใบประกอบวิชาชีพ
    8. พัฒนาระบบการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา
    9. พัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
    10. พัฒนาผู้เรียนในด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ และความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

กลยุทธ์ในการพัฒนา

แนวทางในการพัฒนาการศึกษา ตามแผนกลยุทธ์ ของเขตพื้นที่การศึกษา เขตที่ 2จังหวัดอุดรธานี ได้ยึดแนวทางการพัฒนาจากนโยบายของ ฯพณฯ ปองพล อดิเรกสารรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แนวทางจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แนวทางจากสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ แนวทางตามแผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระยะที่ 9 (พ.ศ. 2546-2549) ของกระทรวงศึกษาธิการ และแนวทางการพัฒนาตามนโยบายของศูนย์ปฏิรูปการศึกษาจังหวัดอุดรธานี โดยมี เป้าหมายหลักและกลยุทธ์ต่าง ๆ ดังนี้

เป้าหมายหลัก ภายในปี 2549 การจัดการศึกษาและการอบรม ต้องมุ่งให้เกิด

    1. เด็ก,เยาวชน,ประชาชนไม่ว่าจะเป็น ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสและผู้มีความ
    2. สามารถพิเศษ ที่ประสงค์จะได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ต้องได้เรียนอย่างทั่วถึง และมีคุณภาพโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ยกระดับการศึกษาเป็น 9 ปี และยกระดับการศึกษาของกำลังแรงงานในเขตพื้นที่ให้ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไป ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของกำลังแรงงาน ด้วยรูปแบบการศึกษาในระบบโรงเรียน ระบบนอกโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยความร่วมมือระหว่างครอบครัว บุคคล ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานประกอบการ สถานบันศาสนา ภาครัฐ เอกชน และเครือข่ายอื่น ๆ ทางสังคมในการจัดและร่วมจัดการศึกษาวิชาชีพพิเศษที่จัดในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน
      และการประกอบอาชีพอิสระ

    3.  
    4. เพิ่มคุณภาพการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาต่าง

ประเทศ และความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งกิจกรรมการเรียนรู้ด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม กีฬา ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน และการเมืองการปกครองในระบบประชาธิปไตย ต้องได้รับความสำคัญ บูรณาการอยู่ในกระบวนการเรียนรู้ทุกหน่วยการเรียน

4. ครู คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา ต้องได้รับการพัฒนาให้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติภารกิจ การจัดการเรียนการสอน อาทิการบริหารจัดการหลักสูตร จัดสิ่งแวดล้อมในองค์กร และวัฒนธรรมในองค์กรที่เอื้อต่อการปฏิรูปการเรียนรู้

5. เด็ก เยาวชน และประชาชน มีความรู้คู่คุณธรรม สามารถปฏิเสธ อบายมุข และ สารเสพติด ดำรงชีวิตอย่างมีความสุข มีความคิดเป็นวิทยาศาสตร์ รักการอ่าน สามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และเรียนรู้ตลอดชีวิต รู้จักประกอบสัมมาอาชีพและดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมที่ดีงานของชาติ

6. สถานศึกษาทุกแห่ง มีการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาที่ชัดเจนและเป็นระบบต่อเนื่อง และได้รับการเตรียมพร้อมสำหรับการประเมินคุณภาพภายนอก ภายในปี 2546

จากเป้าหมายหลักทั้ง 6 ข้อที่กล่าวมา การดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา เขตที่ 2 จังหวัดอุดรธานี จะประสบผลสำเร็จได้นั้น จำเป็นจะต้องอาศัยยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์เป็นตัวขับเคลื่อนให้นโยบายต่าง ๆ ลงไปสู่แผนงาน สู่โครงการตลอดจนกิจกรรมเพื่อให้ ภารกิจหรือพันธกิจสำเร็จและส่งผลถึงการทำให้วิสัยทัศน์เป็นจริงต่อไป ดังนั้นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขตที่ 2 จังหวัดอุดรธานี จึงได้กลยุทธ์ ไว้ดังนี้

กลยุทธ์ที่ 1 การเพิ่มประสิทธิภาพและความทั่วถึง ในการจัดการศึกษา โดยเพิ่มโอกาสเข้าถึงการ เรียนรู้ของทุกคนด้วยรูปแบบการศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเครือข่ายสังคมอื่น ๆ

กลยุทธ์ที่ 2 การปฏิรูปการเรียนรู้ โดยยึดหลักผู้เรียนสำคัญที่สุด หลักการเรียนรู้ด้วยตนเอง และหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่เรียนรู้แบบบูรณาการ ภายใต้ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาและหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544

กลยุทธ์ที่ 3 การเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ โดยส่งเสริมการกระจ่ายอำนาจที่ใช้ในโรงเรียนเป็นฐานการพัฒนาครู คณาจารย์ ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งการสนับสนุนการผลิตและกระจ่ายสื่อเทคโนโลยี และเครือข่ายสารสนเทศให้เพียงพอทั้งในเมือง และชนบท