ก่อนอื่น ๆ เพื่อน ๆ ก็ต้องมารู้จักกับความเป็นมาคร่าว ๆ ของสัตว์พวกนี้กันก่อนนะคะ

             ชายฝั่งทะเลของประเทศไทยจัดอยู่ในบริเวณอินโดแปซิฟิก  มีระยะทางรวมกันประมาณ  2,000  กิโลเมตร  แบ่งออกเป็นสองฝั่งคือ  อ่าวไทย  ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ลักษณะชายฝั่งคือ  อ่าวไทย  ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ลักษณะชายฝั่งทะเลของอ่าวไทยแบ่งออกเป็นสองด้านคือ  อ่าวไทยด้านตะวันออก  มีอาณาเขตตั้งแต่จังหวัดตราด  จันทบุรี  ระยอง  ชลบุรี  ถึงสมุทรปราการ  ชายฝั่งทะเลด้านนี้มีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้  พัดเข้าฝั่งในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนสิงหาคม  และอ่าวไทยฝั่งตะวันตก  มีอาณาเขตตั้งแต่จังหวัดสมุทรสาคร  เพชรบุรี  ประจวบคีรีขันธ์  ชุมพร  สุราฎร์ธานี  นครศรีธรรมราช  สงขลา  ปัตตานี  และนราธิวาส  ซึ่งมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดเข้าฝั่งในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์  อีกด้านหนึ่งเป็นชายฝั่งทะเลอันดามัน  ซึ่งเป็นทะเลเปิดติดต่อกับมหาสมุทรอินเดีย  มีอาณาเขตตั้งแต่จังหวัดระนอง  พังงา  ภูเก็ต  กระบี่  ตรัง  และสตูล

               อ่าวไทยกับฝั่งทะเลอันดามัน  ถูกแบ่งกั้นโดยผืนแผ่นดินทางภาคใต้ของไทย  มาเลเซียและสิงคโปร์  จึงเป็นเสมือนกำแพงแบ่งกั้นการแพร่กระจายของสัตว์ทะเลจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง  อีกทั้งสภาพแวดล้อมทางทะเลของทั้งสองฝั่งยังมีความแตกต่างกันโดยอ่าวไทยมีลักษณะเป็นชายฝั่ง  และมีแม่น้ำหลายสายไหลลงสู่ทะเล  เช่น  แม่น้ำเจ้าพระยา  ทำให้อ่าวไทยได้รับปริมาณน้ำจีืืดที่ไหลลงไปมาก  ตามบริเวณชายฝั่งและอ่าวไทยตอนบนจึงมีความเค็มค่อนข้างต่ำเฉลี่ยประมา่ณ  20-28  ส่วนในพันส่วน  ขึ้นอยู่กับฤดูกาลและปริมาณน้ำฝนในแต่ละปี

                  สัตว์ทะเลส่วนใหญ่เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง  ได้แก่่  ฟองน้ำ  ไนดาเรีย  ครัสเตเชียน  หอย  หมึก  เอคไคโนเดิร์ม  และสัตว์ไฟลัมย่อย  (minor  phyla)  ส่วนสัตว์มีกระดูกสันหลังที่พบมากในทะเลคือ  ปลามีทั้งปลากระดูกอ่อนและปลากระดูกแข็งชนิดต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีเต่าทะเลและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลอีกส่วนหนึ่งด้วย  สัตว์เหล่านี้ล้วนมีบทบาทสำคัญต่อระบบนิเวศน์ในทะเล  เพราะมีการกินเป็นทอด ๆ ตามสายโซ่อาหาร  (food  chain)  ในที่สุดก็จะส่งผลถึงมนุษย์ที่ได้บริโภคสัตว์ทะเลเหล่านี้เป็นอาหาร

                     สัตว์ที่อาศัยอยู่ในทะเลจำแนกออกไปตามลักษณะความเป็นอยู่ได้  3  พวกใหญ่ ๆ คือ

                     1.  แพลงค์ตอน  (plankton)  หมายถึงสัตว์ขนาดเล็กหรืออาจมีขนาดใหญ่ที่ล่องลอยอยู่ในน้ำทะเลสามารถว่ายน้ำเคลื่อนที่ไปมาด้วยกำลังของตัวเองเพียงเล็กน้อยโดยมากจะถูกพัดพาไปตามทิศทางของกระแสน้ำและคลื่นลม  ตัวอย่างเช่น  แมงกะพรุน  และตัวอ่อนของสัตว์ทะเลชนิดต่าง ๆ

                       2.  เนคตอน  (nekton)  หมายถึงสัตว์ขนาดใหญ่ที่มองเห็นด้วยตาเปล่าได้  สามารถว่ายน้ำไปมาได้อย่างอิสระด้วยกำลังของตัวเอง  แม้จะต้องว่ายน้ำไปมาได้อย่างอิสระด้วยกำลังของตัวเอง  แม้จะต้องว่ายทวนกระแสน้ำหรือคลื่นลม  พบอาศัยอยู่ตั้งแต่ผิวทะเลในเขตน้ำขึ้นน้ำลงไปใต้ทะเลระดับต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น  หมึก  ปลาทะเล  เป็นต้น

                       3.  เบนโทส  (benthos)  หมายถึงสัตว์ที่อาศัยอยู่ตามพื้นทะเลตั้งแต่ริมชายฝั่งจนถึงสะดือทะเล  สามารถจำแนกออกไปตามลักษณะถิ่นอาศัยได้  3  พวกย่อยคือ

                                             3.1  พวกที่ขุดรู  (burrowing)  หรือพวกฝังตัวอยู่ตามพื้นทะเลที่เป็นดินโคลนหรือดินทราย  เช่น  ดอกไม้ทะเลบางชนิด

                                             3.2  พวกเกาะกับที่  (sessile)  บางชนิดอาจเกาะติดจนเคลื่นที่ย้ายแหล่งอาศัยไม่ได้  เช่น  ฟองน้ำ  ปะการัง  เป็นต้น

                                             3.3  พวกคืบคลาน  (demersal)  เป็นสัตว์หน้าดินที่บางครั้งอาจมีการฝังตัวหรือขุดรูอาศัยอยู่ชั่วคราวตามพื้นทะเลด้วย  เช่น  กุ้ง  กั้ง  ปู  หมึกสาย  เอคไคโนเดิร์ม  และปลาหน้าดินชนิดต่าง ๆ