รายงาน
เรื่อง
ข้อสังเกตและการใช้คำภาษาอังกฤษสำหรับกฎหมาย
เสนอ
ศาสตราจารย์ ดร.จุมพต สายสุนทร
โดย
นายสมบูรณ์ วชิรบูรณ์สุข
๔๓๐๑๙๙๐๖๕๓
รายงานนี้ เป็นส่วนหนึ่งของวิชา
ENGLISH LEGAL TERMINOLOGIES
( LA 265 )
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประจำภาคเรียนที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๔๕
คำนำ
การตัดสินใจในเรื่องเรียนในขณะที่มีภาระหน้าที่การงานท่วมตัวนั้น
เป็นเรื่องที่นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถือว่าต้องใช้เวลาชั่งน้ำหนักความเหมาะสมทั้งในชีวิตการงาน
การเรียน และการครองชีพ และนับเป็นการตัดสินใจที่สำคัญและลำบากใจพอ ๆ กับการที่มีใครนำสินค้ามาเสนอขายให้ตนเอง
นั่นหมายความว่า หากชอบสินค้านั้นเพราะมันน่าสนใจก็ใช้เวลาไม่นานนักในการตัดสินใจ
ในทางตรงกันข้าม หากสินค้าไม่น่าสนใจและมิได้ชอบแม้แต่น้อย จะยัดใส่มือให้ฟรี
ๆ ก็ไม่ต้องการ รังแต่จะกลายเป็นเศษขยะรกห้องไปวัน ๆ
ความข้างต้นนี้ ต้องการแต่เพียงให้ทราบว่า ข้าพเจ้ากับการตัดสินใจที่จะเรียนวิชา
LA 265 นี้ ไม่นานเลย ท่านคงจะพอคิดเองได้ว่าวิชานี้เปรียบสินค้าประเภทใดของข้าพเจ้า
แน่นอนหากหลุดมือไปก็มีแต่ความเสียดายตลอดไป แม้ภาระจะมากมายไม่อยากอ้างแต่ด้วยความรักที่จะเรียนรู้ประกอบกับความชอบส่วนตัวด้านภาษาอังกฤษกฎหมาย
จึงทำให้ต้องลำบากใจเมื่อเลือกเรียนสองโครงการ กล่าวคือ ต้องเรียนโครงการอบรมภาษาอังกฤษสำหรับนักกฎหมาย
ด้วยภาวนาอยู่ในใจว่า อย่าให้วันเรียนของ LA265 มันชนกัน แต่การณ์ไม่ได้เข้าข้างเอาเสียเลย
แต่ด้วยรักในวิชาจึงได้ลงทะเบียนเรียนอย่างมีเงื่อนไข กระนั้นก็ตาม สิ่งที่น่าท้าทายก็คือ
เรียนวิชานี้มีการสอบมีงานให้ทำ แม้โดยส่วนตัวจะไม่นิยมการสอบเท่าไหร่นักแต่ก็เป็นจิตวิทยาการเรียนรู้ของมนุษย์มาช้านานแล้ว
ขณะที่โครงการอบรมฯ ไม่มีสอบ มูลเหตุจูงใจเลยไม่ค่อยมีมากนัก
ด้วยเหตุที่วันเรียนมันซ้ำซ้อนกัน จึงไม่ได้เข้าเรียนเป็นประจำในวิชานี้
สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกเหนือจากการเรียน คือ ความเอื้ออาทรของเพื่อน ๆ ภาคบัณฑิตในการคอยบันทึกเทปและแจ้งข่าวการสอนเสริม
ความคืบหน้าของบทเรียนพร้อมทั้งรายงานนี้ที่อาจารย์ได้มอบหมายไว้ ด้วยมิได้คำนึงถึงคะแนนแต่ประการใดจึงอยากจะทำอะไรสักอย่างไว้เป็นผลงานชิ้นเล็กเท่าที่ทำได้
จึงได้ใช้เวลาศึกษาค้นคว้าเอง ทำให้เจอหนังสือดี ๆ อีกมากมายที่เกี่ยวกับภาษาอังกฤษเฉพาะทางด้านกฎหมาย
อันเป็นความสนใจของตนเองอยู่แล้ว ทั้งที่เป็นฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ กรอปกับได้อบรมภาษาอังกฤษสำหรับนักกฎหมายกับผู้สอนวิชานี้มาเป็นเบื้องต้นแล้ว
จึงพอจะอ่านเองได้บ้าง ครั้นเมื่อทราบว่าผู้สอนใช้เอกสารชุดเดียวกันก็ติดตามได้อย่างไม่ลำบากใจนัก
การตัดสินใจเรียนวิชานี้
ไม่ได้เกิดขึ้นด้วยเหตุบังเอิญแต่อย่างใด หากเพราะความชอบ(ฉันทะ)ที่มีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
จึงต้องแสดงความมุ่งมั่น(วิริยะ)ต่อไป
ฉะนั้น ข้อความทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น มิได้มีเจตนาอื่นใดนอกจากจะขอขอบคุณผู้สอนที่สอนด้วยความตั้งใจมีความปรารถนาดีต่อศิษย์เสมอมา
เพื่อน ๆ ภาคบัณฑิตที่คอยประคับประคองกันและกันตลอดมา แม้กระทั่งเอกสารบางส่วนในรายงานชิ้นนี้ก็เป็นน้ำใจที่แบ่งกันมาอย่างสด
ๆ ร้อน ๆ เจ้าของตำราทุกเล่มที่ข้าพเจ้าได้อ่าน
บิดา มารดา ครูบาอาจารย์และทุก ๆ ท่านที่เป็นส่วนสำคัญทำให้ข้าพเจ้าเรียนรู้อะไรได้อีกมากมายบนโลกใบนี้
อนึ่ง ข้อความหรือสิ่งที่พยายามถ่ายทอดออกมาทั้งหมดนี้ ส่วนหนึ่งเป็นการเก็บตกจากในห้องเรียนและห้องอบรมโครงการภาษาอังกฤษสำหรับนักกฎหมายในตอนต้นผสมกับที่ศึกษาเพิ่มเติมอันได้มาจากการค้นคว้า
และจากการฟังเทปวิชานี้ที่เพื่อน ๆ ช่วยเป็นภาระให้ อีกส่วนก็มีความรู้เดิมของข้าพเจ้าเองอยู่ประปรายโดยเฉพาะในส่วนหลักไวยากรณ์หรือโครงสร้างภาษาอังกฤษ
ดังนั้น ความผิดพลาดและสิ่งที่เกิดจากความไม่รู้หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของข้าพเจ้าต้องมีอย่างแน่แท้
จึงไม่เป็นเรื่องน่าละอายใจอันใดเลยหากจะมีใครกรุณาบอกข้าพเจ้า และความดีใด
ๆ ที่จะพึงมีบ้างขอให้เป็นการบูชาพระคุณครูบาอาจารย์ เว้นแต่ความผิดพลาดใด
ๆ ที่พบจักเป็นของข้าพเจ้าแต่ผู้เดียว
สมบูรณ์ วชิรบูรณ์สุข
๙
พฤษภาคม ๒๕๔๖
ข้อสังเกตต่าง
ๆ ในการใช้ภาษาอังกฤษในสัญญาและเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับกฎหมาย
พร้อมทั้งคำศัพท์และถ้อยคำสำนวนที่ควรจำ
บทที่ ๑
ความเบื้องต้น
ภาษาอังกฤษด้านกฎหมายที่มีใช้ในประเทศไทยนั้น
๗๐-๘๐ เปอร์เซ็นต์ มาจากสำนวนในสัญญา
(Contract) นักกฎหมายจึงสามารถนำเอาสัญญา
(Contract) ไปใช้ในวิชาชีพที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้
จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า สัญญานั้น เป็นส่วนหนึ่งของวิชาชีพนักกฎหมายไปแล้ว
แท้ ที่จริงแล้ว
ภาษาอังกฤษกฎหมาย ก็เหมือน ๆ กับภาษาอังกฤษในวิชาทั่ว ๆ ไป ต่างกันก็แต่โครงสร้าง
ภาษา (Structure) และสำนวนกฎหมาย
(Legal Expressions) เป็นต้นเป็นองค์ประกอบรวมกันเข้าจนเป็นวัฒนธรรมอันมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
ดังนั้น
อาจจะทำให้เกิดความยุ่งยากอยู่พอสมควรสำหรับผู้ศึกษาที่ไม่คุ้นเคยกับสำนวนกฎหมายหรือศัพท์กฎหมาย
(Legal Terminologies / Terms) โครงสร้างภาษาอาจจะหาอ่านได้ไม่อยากนัก
แต่หากผู้ศึกษาได้ให้ความสังเกตในลักษณะพิเศษของการนำโครงสร้างภาษามาใช้ในสัญญา
หรือเอกสารกฎหมายทั่วไป ประกอบกับจดจำสำนวนถ้อยคำอันเป็นกฎเกณฑ์เฉพาะในนำไปใช้ร่างเอกสารกฎหมายต่าง
ๆ ก็จะทำให้ความยุ่งยากลดน้อยลงไปพอสมควร
อนึ่ง
สำนวนกฎหมายไม่ว่าจะนำไปใช้ในภาษาใด ๆ ต่างก็มีลักษณะที่คล้ายคลึงกันในหลาย ๆ ด้าน
เช่นความซ้ำซาก น่าเบื่อ ยืดยาว อันเป็นลักษณะที่ตรงกันข้ามกันทางศิลปศาตร์
กระนั้นก็ตามก็ต้องยอมรับว่า
เป็นเหตุผลทางด้านกฎหมายของนักกฎหมายที่ต้องการรักษาความหมายให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ทางกฎหมาย
กล่าวคือ ต้องการให้เกิดความรัดกุม ความชัดเจนให้มากที่สุด
ตัวอย่างคำเฉพาะที่ใช้กันและเห็นอยู่บ่อย เช่น hereto, herefor, therefore, thereby เพื่อจะย่นย่อและให้กระชับ เช่น The parties herein agree that
.
สำนวนเช่นนี้ จะเห็นได้ชัดเจนว่า คำว่า herein ได้แก่ คำว่า in this
contract หรือ in this agreement นั่นเอง จึงพอสรุปได้ว่า ด้วยเหตุผลดังกล่าว
จึงต้องรักษาสำนวนกฎหมายไว้ และทุกคำในประโยคที่เขียนไปนั้นต้องสามารถอธิบายได้
หาใช่เขียนไปตามอำเภอใจไม่ ดังนั้น
การเรียนรู้ศัพท์ด้านกฎหมายจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
ผู้ศึกษาจึงต้องอาศัยความหมั่นฝึกฝนในการอ่านทำความเข้าใจ รู้จักจดจำนำมาใช้
และร่างสัญญาหรือเอกสารด้านกฎหมายอื่น ๆ ได้อย่างคล่องแคล่วและถูกต้อง ในที่สุด
ในเรื่องความยุ่งยากของภาษากฎหมายนี้
แม้ในอารยประเทศก็ยังถกเถียงกันอยู่ว่าทำอย่างไรให้มันเข้าใจง่าย เพื่อให้เหมือน ๆ
กับภาษาทั่ว ๆไป[1]
ในเรื่องนี้ อาจารย์ธานินท์ กรัยวิเชียร ได้เขียนไว้ในหนังสือภาษากฎหมายไทย
โดยได้ให้ข้อสังเกตภาษากฎหมายของนานาประเทศไว้ว่า สำหรับภาษากฎหมายของอังกฤษ
(Legal English) โดยตรงนั้น, เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าเป็นภาษาทางวิชาการที่มีความยุ่งยากและสับสนที่สุด
ประเภทหนึ่ง,
....ส่วนภาษากฎหมายของอเมริกัน...อ่านเข้าใจยาก, ยืดเยื้อ, และยุ่งเหยิง...
หากกล่าวถึงแนวโน้มในอนาคตในหนังเล่มเดียวกันผู้เขียนได้ยกตัวอย่างที่ประเทศออสเตรเลียว่า
ได้มีศูนย์ภาษาที่เรียบง่าย (The Centre for Plain
Legal Language) ซึ่งเป็นหน่วยงานของคณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยซิดนีย์ มีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมการใช้ภาษาที่เรียบง่ายในเอกสารทางกฎหมายทั้งหมด...ตอนเริ่มก่อตั้งก็ได้รับการต่อต้านจากนักกฎหมายออสเตรเลียมิใช่น้อย
แต่ในปัจจุบันกลับได้รับการต้อนรับและสนับสนุนอย่างกระตือรือร้น
ทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน
และผู้ที่ได้รับประโยชน์อันแท้จริงจากขบวนการเพื่อการใช้ภาษาเรียบง่ายของศูนย์กฎหมายนี้
ได้แก่ นักกฎหมายออสเตรเลียเอง ดังนั้น
ความเป็นไปได้ก็คงต้องดูถึงความจำเป็นในส่วนอื่น ๆ ประกอบ
เมื่อยังไม่สามารถทำให้ภาษากฎหมายเป็นเหมือนภาษาทั่ว ๆ
ไปได้โดยสิ้นเชิงก็ยังต้องคงอาศัยผู้ที่ได้ศึกษาด้านกฎหมายและใช้ความรู้ทั้งด้านภาษาและด้านกฎหมายประกอบกัน
ความรู้ความเข้าใจภาษาอังกฤษสำหรับนักศีกษากฎหมาย
จึงเป็นเสมือนอุปกรณ์ชุดสำคัญในการใช้เป็นเครื่องมือ (Means)
เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์บางอย่าง ผู้เขียนหนังสือคำแนะนำนักศึกษากฎหมาย[2] ผู้เขียนเห็นว่าการที่จะทอดทิ้งภาษาอังกฤษเสียทีเดียวเช่นนั้นเป็นความผิดพลาดอย่างสำคัญในการศึกษาวิชากฎหมาย...ด้วยเหตุนี้ การศึกษาภาษาอังกฤษที่ปรากฏอยู่ในเอกสารต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษไม่ว่าจะเป็นสัญญาหรือตัวบทกฎหมายที่เป็นภาษาอังกฤษก็ตาม
ในการเรียนการสอนวิชา LA 265 นี้
ผู้สอนได้ตระหนักถึงความสำคัญในการเข้าใจ จดจำ
และนำไปใช้ในอนาคตของผู้เรียนในเรื่องสัญญา ธรรมชาติของสัญญา การร่างสัญญา
และเป็นผลสู่การให้ข้อคิดเห็นที่ถูกต้องกับลักษณะสัญญา ซึ่งไม่มีการสอนกันลักษณะนี้มากนัก
ส่วนใหญ่ก็ไปเรียนรู้เองจากชีวิตการทำงานเลย จึงได้นำเรื่องสัญญา แบบแห่งสัญญา
ข้อสังเกตถ้อยคำในสัญญา พร้อมทั้งความรู้ทั่วไปต่าง ๆ
จากประสบการณ์ผู้สอนมาสอนเป็นส่วนใหญ่
บทที่ ๒
ข้อสังเกตบางประการ
๒.๑ คำสรรพนาม (Pronoun)
การใช้ภาษาอังกฤษในสัญญาหรือเอกสารอื่น
ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายนั้น ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก
มิฉะนั้นอาจจะทำให้เกิดความไม่ชัดเจน กำกวม และผิดเจตนารมณ์ในเวลานำมาตีความ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งจำพวกคำสรรพนาม (Pronoun) เช่น he she they จะพยายามหลีกเลี่ยงในการนำมาใช้ทุกกรณีที่เป็นไปได้
รวมทั้งสรรพนามที่แสดงความเป็นเจ้าของ (Possession) ด้วย
เช่น his her their
๒.๒ ประโยคกัมมวาจก(Passive Voice) ในภาษากฎหมาย
การนำเอาประโยคกัมมวาจก
(Passive Voice) มาใช้เยอะมาก
โดยเฉพาะเริ่มต้นของสัญญาก็ให้รูปแบบประโยคที่เป็น Passive Voice แล้ว เช่น This contract is made by the parties herein
..
( Subject + Verb to be + V3 + by
) มักจะเป็นการนำมาใช้เพื่อแสดงถึงการให้ความสำคัญกับตัวกรรม(สิ่งหรือผู้ที่ถูกกระทำ)ในประโยคมากกว่าผู้กระทำ
ในที่นี้ หากเป็นประโยคกัตตุวาจกก็จะเป็น The parties herein make this
contract
ซึ่งน้ำหนักของใจความเน้นไปยังคู่สัญญามากกว่าตัวสัญญา
ดังนั้นเพื่อเป็นการให้น้ำหนักไปที่ตัวสัญญาว่ามีใจความเช่นใด ในเงื่อนไขใด
นั้นจึงจะสังเกตเห็นได้ว่า มักจะนิยมนำกัมมวาจกมาใช้เยอะมาก
๒.๓ การลดรูปจากอนุประโยค (Clause) เป็นวลี
(Phrase) ในสำนวนกฎหมาย
สืบเนื่องจากเอกลักษณ์ของกฎหมายภาษาอังกฤษดังกล่าวนี้
คือ ความเข้าใจในเหตุผลของการนำเอากัมมวาจก (Passive Voice)
มาใช้เยอะมากประกอบกับความเข้าใจหลักการใช้กัมมวาจกและกัตตุวาจก (Active
Voice) ในเชิงโครงสร้างภาษาอังกฤษ
ในที่นี้อยากจะให้ข้อสังเกตในการลดรูปอนุประโยค (Clause) ทั้งหลายในสังกรประโยค
(Complex Sentence) ให้เป็นวลี (Phrase) ที่เหลือแค่เพียงกริยาเติม ing หรือกริยาช่องที่สาม (V3) ในแต่ละส่วน
ด้วยเหตุผลทางภาษาที่ต้องการความเรียบง่ายแก่ความเข้าใจในการสื่อสารของนักภาษาศาสตร์
กฎเกณฑ์ภาษาของกฎหมายที่ปรากฏในเอกสารกฎหมายต่าง ๆ
ตามโครงสร้างภาษาอังกฤษเรื่องการลดรูปประโยคมาเป็นวลีดังกล่าวจึงมีให้เห็นมากมาย
หากแต่ว่าจะยากต่อความเข้าใจสักหน่อยถ้าผู้ศึกษาไม่มีความสนใจเรื่องไวยากรณ์ทางภาษา
อย่างไรก็ตาม
เพื่อให้ภาษามีความกระชับแต่คงความเดิมทุกประการตามเจตนารมณ์ของกฎหมายเช่นนี้
สามารถนำหลักเรื่องการลดรูปประโยคข้างมาใช้ได้ดี เพราะในบางประโยคสามารถที่ตัดบางส่วนในประโยคออกไปได้
เช่น ประธาน (Subject)
ที่ปรากฏในประโยคหลัก (Main Clause) และในประโยครอง
(Subordinate Clause)
หากเป็นตัวเดียวกันสามารถตัดตัวที่อยู่ในประโยครองทิ้งไปบ้าง สามารถตัดประพันธสรรพนาม (Relative
Pronoun) อันอาจได้แก่
which who that ที่มาเชื่อมและขยายคำนาม
ในกรณีของการลดรูปจากอนุประโยคคุณศัพท์ (Adjectival Clause) ให้เป็นวลีคุณศัพท์
(Adjectival Phrase) บ้าง
(จะมีประโยคตัวอย่างประกอบด้านล่าง) และในบางประโยค สามารถตัดตัวเชื่อมในประโยคชนิดที่เป็น
Subordinate Conjunction อันอาจได้แก่ when while
because if เป็นต้นในกรณีที่ต้องการลดรูปจากอนุประโยคกริยาวิเศษณ์ (Adverbial
Clause) ให้เป็นวลีกริยาวิเศษณ์ (Adverbial Phrase) บ้าง
หลังจากตัดประธานบ้าง
ตัวเชื่อมบ้างแล้ว ต่อมามักจะมีการตัดกริยาช่วยบางจำพวก(ถ้ามี)
ในอนุประโยคที่ต้องการลดรูปให้เป็นวลี
ในที่สุดก็เหลือเพียงจุดสำคัญหรือหัวใจที่จะอธิบายเรื่องนี้ คือ กริยาแท้ (Main Verb) ที่เหลืออยู่ในอนุประโยคนั้น
จะถูกทำการเปลี่ยนไปตามรูปประโยคว่าเป็น Active Voice หรือ Passive
Voice จึงสามารถแยกอธิบายได้ ๒ ส่วน คือ
ส่วนแรก
กรณีของ Active
Voice จะต้องเปลี่ยนกริยาดังกล่าวนั้น เป็นกริยา (Verb) เติม
ing (V+ing) มักนิยมเรียกกันเป็นภาษานักภาษาว่า Present
Participle อันนำมาใช้ในลักษณะรูปประโยคกัตตุวาจก (Active)
ด้วยเหตุผลว่า กริยาตัวนี้มีประธานเป็นผู้กระทำกริยานี้เอง
ส่วนที่สอง
กรณีของ Passive
Voice จะต้องเปลี่ยนกริยาดังกล่าวนั้น เป็นกริยา (Verb) ช่องที่สาม
(V3) มักนิยมเรียกกันเป็นภาษานักภาษาว่า Past Participle อันนำมาใช้ในลักษณะรูปประโยคกัมมวาจก (Passive)
ด้วยเหตุผลที่ตรงกันข้ามกับส่วนแรกว่า กริยาตัวนี้
ประธานหรือสิ่งที่กริยานี้ไปขยายมันไม่ใช่เป็นผู้กระทำกริยานี้เอง
หากแต่เป็นผู้ถูกกระทำหรือเป็นสิ่งที่ถูกกระทำ (โปรดดูตัวอย่างด้านล่าง)
ในทำนองเดียวกัน หากผู้ศึกษาเห็นรูปประโยคในลักษณะที่มีการลดรูปมาแล้ว
ก็ขอให้เข้าใจว่า ประโยคนั้นมาลดรูปประโยคมาจากประโยคใด ในความหมายเช่นใด กล่าวคือ
กัมมวาจกหรือกัตตุวาจก เพื่อที่หากจำต้องตีความกฎหมายก็ดี แปลกฎหมายก็ดี
ร่างกฎหมายก็ดี จะได้ไม่เกิดความผิดพลาดจนเสียความไป เป็นที่น่าสังเกตว่า
มีผู้ศึกษาบางท่านไม่เข้าใจประเด็นนี้จริง ๆ จะรู้สึกอึดอัดเป็นอย่างมากทั้งในเวลาแปลหรือเขียนเอง
จนไม่สามารถทำได้ เพียงเพราะไม่ทราบที่มาที่ไปของรูปประโยคนั่นเอง
จึงขอยกตัวอย่างประกอบเพื่อให้เกิดความกระจ่างชัดเจนกับผู้ศึกษาบ้าง
In consideration of the
payment of the Rental and the Tenants covenants hereinafter contained,
the Landlord hereby agrees to lease
. จะเห็นได้ว่า
จากประโยคเช่นนี้ คำที่ขีดเส้นใต้ เป็นคำเดียวแต่สร้างภาระมหาศาลแก่ผู้อ่านผู้แปล
แม้เวลาพูดก็สำหรับผู้ฟัง
เว้นแต่มีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดีตามหลักที่กล่าวอธิบายไว้แล้ว ดังนั้น คำว่า
contained เป็นกริยาที่ลดรูปมาแล้วและเป็นกริยาช่องที่สาม
(V3) หรือ Past Participle บอกเป็นนัยว่า
เป็น Passive Voice เมื่อรูปประโยคเป็นเช่นนี้
สามารถทราบได้ทันทีว่า คำว่า contained ทำหน้าที่ขยายคำนาม
คือ Covenants ซึ่งก็คือ ข้อตกลงหรือข้อสัญญานั่นเอง และ contained
แปลว่า ที่ถูกระบุหรือกำหนดไว้ มาขยายคำนามเช่นนี้ ก็เป็น Adjectival
Phrase ที่ลดมาจาก Adjectival Clause เมื่อทราบเช่นนี้
ก็ต้องเติม Relative Pronoun คือ which และกริยาช่วย คือ are มา เพราะ covenants นั้นเป็นสิ่งอื่นที่ไม่ใช่คน และเป็นพหุพจน์ เมื่อได้ which are มาแล้ว สามารถประกอบเข้าเป็น Clause ได้ว่า In
consideration of the payment of the Rental and the Tenants covenants which
are contained hereinafter (in or after this agreement), the Landlord
hereby agrees to lease
.
คำที่ได้เพิ่มเข้ามาก็เพื่อให้เห็นภาพประโยคเดิม
คือ คำว่า which are ซึ่งได้ถูกละไว้ในฐานที่เข้าใจด้วยวิธีการดังที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น
วิธีการอาจจะดูสลับซับซ้อน ซ่อนเงื่อน กระนั้นก็ดี ผู้ศึกษาพึงสังวรเสมอว่า
แม้จะยากแก่ความเข้าใจแต่จะต้องเจออยู่เสมอในภาษากฎหมายไม่แต่เพียงวันนี้พรุ่งนี้เท่านั้น
๒.๔ กาล (Tense) ในสัญญาภาษาอังกฤษ
นอกจากนี้
เรื่องของกาล(Tense) ก็เป็นเรื่องที่น่าสังเกตเหมือนกันว่า Tense
บางอย่างไม่นิยมนำมาใช้ใน
สัญญาเลย
ยกตัวอย่างเช่น Past
Perfect ไม่นิยมใช้เนื่องจากไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเล่าหรือบอกสองเหตุการณ์นั่นเอง
กระนั้นก็ตาม บางครั้งก็แทบไม่เห็น Past Simple ด้วยเหมือนกัน
ในทางตรงกันข้ามมักจะนิยมใช้ Tense ในรูปแบบปัจจุบัน คือ Present
Simple แม้จะมีคำว่า shall มาใช้ด้วยแต่ก็ยังมีความหมายเป็นปัจจุบัน
ดังนั้น shall จึงใช้แทน Present Simple ได้ อนึ่ง Present
Perfect มักจะไม่ค่อยเห็นในสัญญา
เว้นแต่ตอนท้ายของสัญญาเป็นการบ่งบอกถึงการกระทำที่เกิดก่อนหน้านี้และสืบเนื่องมาจนถึงตอนนี้
เช่นสำนวนว่า The parties have read the contract and understood
เป็นการบอกว่า คู่สัญญาได้อ่านสัญญาฉบับนี้แล้วจึงร่วมกันเซ็นไว้เป็นหลักฐาน
๒.๕ บทสรุป (Summary)
ด้วยเหตุฉะนี้
นักกฎหมายเอง นอกจากจะทราบข้อเท็จจริงทางด้านกฎหมายและมีองค์ความรู้ด้านกฎหมายแล้ว
การใช้ภาษาไม่ว่าจะเป็นภาษาไทยหรืออังกฤษก็ตาม ก็ต้องใช้ความระมัดระวังรอบคอบ
ในส่วนภาษาอังกฤษนี้ หากนักกฎหมายอยากจะเขียนได้ดี
หรืออยากประสบความสำเร็จในวิชาชีพนักกฎหมาย ก็ต้องเรียนรู้แล้วนำไปใช้ให้ได้
แม้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ดิ้นได้ก็จริง
แต่ความดิ้นจะลดน้อยลงในด้านกฎหมายหากรู้จักใช้และวิจารณ์เป็น[3]
เพราะในท้ายที่สุด ก็จะเห็นว่า จะมีกฎเกณฑ์เฉพาะในตัวของกฎหมายอยู่อย่างชัดเจน ซึ่งด้วยเหตุนี้เองที่นักภาษาหรือนักวรรณคดีทั้งหลายจะมาทำความเข้าใจกฎหมายแต่เพียงผิวเผินไม่ได้หากไม่ได้ศึกษาอย่างแท้จริง
ขอยกตัวอย่างคำว่า damage
กับคำว่า damages หากไม่สังเกตให้ดี
ก็อาจทำให้เกิดความสับสนได้ เพราะคำแรกแปลว่า ความเสียหาย
ในขณะที่คำที่สองซึ่งเป็นพหุพจน์(Plural)เสมอนั้น แปลว่า
ค่าเสียหาย จึงมีความหมายแตกต่างกันอย่างมากในการตีความของกฎหมาย นอกจากนี้
อีกตัวอย่างหนึ่ง ก็คือ คำว่า Consideration หากจะแปลกันทั่ว
ๆ ไปแล้วก็คือ การพิจารณา แต่หากเจอคำว่า In consideration of
ในสัญญาแล้วมิได้มีความหมายว่า ในการพิจารณา แต่อย่างใด หากแต่เป็นการกำหนดแบบสัญญาของกฎหมายระบบ Common Law อันหมายถึง ประโยชน์หรือสิ่งแลกเปลี่ยนระหว่างคู่สัญญาในการเข้าทำสัญญา[4]
บทที่ ๓
ถ้อยคำสำนวนที่ควรจำและนำไปใช้ในการร่างสัญญาและเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
เมื่อได้ทราบถึงข้อความเบื้องต้นและข้อสังเกตบางประการข้างต้นแล้ว
ในส่วนต่อไปนี้ จะนำถ้อยคำและสำนวนที่เห็นว่าน่าจดจำพร้อมทั้งความหมายและประโยคตัวอย่าง
อนึ่ง ข้าพเจ้าเห็นว่าความหมายที่เป็นภาษาอังกฤษเป็นประโยชน์ในการทบทวนและการเก็บไว้ใช้อ้างอิงในอนาคตของข้าพเจ้าเองด้วย
จึงได้นำมากล่าวอ้างไว้ในส่วน ๓.๑ อังกฤษ-อังกฤษ [5] และที่เป็นภาษาไทยนั้นได้รับการอนุเคราะห์จากเพื่อนร่วมชั้น
เรียนช่วยหาจึงได้นำมารวบรวมไว้เป็นส่วนที่
๓.๒ อังกฤษ-ไทย
๓.๑
อังกฤษ-อังกฤษ
ในส่วนนี้เป็นการเก็บรวบรวมในลักษณะที่เป็นความหมายและตัวอย่างจากพจนานุกรมภาษาอังกฤษเป็นอังกฤษ
ð
คำว่า เข้าทำสัญญา มีสำนวนดังนี้
คำศัพท์
|
ความหมายและตัวอย่าง |
to make, to execute, to conclude, to enter
into, - This contract is entered
into by
.. - This agreement is made by
- This contract is executed or concluded by
-
. to make a contract -
.. to conclude/execute an agreement - The conclusion of the contract
|
1. To conclude: to complete
successfully; to conclude an agreement with someone 2. To execute: to carry out (an
order); to carry out (the term of a contract); executed consideration
= consideration where one party has made a promise in exchange for which
the other party has done something for him 3. To enter into: to agree to do
something; to enter into a partnership with a friend; to enter into
an agreement or a contract |
ð
คำว่า ผิดสัญญา มีสำนวนดังนี้
คำศัพท์
|
ความหมายและตัวอย่าง |
to breach - to breach the contract |
1. To breach: to fail to carry out
the term of an agreement; 2. Breach of contract: failing to do
something which is in a contract |
ð
คำว่า จ่ายเงิน มีสำนวนดังนี้
คำศัพท์
|
ความหมายและตัวอย่าง |
to pay, to make payment, - The buyer makes payment to the Seller - The payment is made to the Seller - Payment in cash or cash payment |
1. To pay: to give money to buy an
item or a service; to pay in advance: to give money before you receive
the item bought or before the service has been completed 2. Payment: transfer of money from
one person to another to satisfy a debt or obligation |
ð
คำว่า รับ มีสำนวนดังนี้
คำศัพท์
|
ความหมายและตัวอย่าง |
to receive, to make delivery, to deliver - The delivery has been made.. - The Landlord shall deliver the Premises
to the Tenant and the Tenant shall accept the delivery of.. |
1. To deliver: to transport goods to
a customer; goods delivered free or free delivered goods 2. Delivery: transport of goods to a
customers address |
ð
คำว่า ค่าเสียหาย/ความเสียหาย
มีสำนวนดังนี้
คำศัพท์
|
ความหมายและตัวอย่าง |
damage, damages - to cause damage = to harm something - to bring an action for damages against
someone - compensatory / punitive / liquidated /
nominal damages |
1. damage: harm done to things; fire
damage = damage caused by fire, 2. damages: money claimed by
plaintiff from a defendant as compensation for harm done; to claim five
million baht in damages |
ð
คำว่า ฟ้องร้องคดี มีสำนวนดังนี้
คำศัพท์
|
ความหมายและตัวอย่าง |
to file, to bring, to institute (an action)
- to bring an action for
. - to file an action against
. - to institute a suit against somebody
|
1. To file: to make an official
request; to file a petition in bankruptcy: to ask officially to be made
bankrupt 2. To bring in: to decide a verdict;
the jury brought in a verdict of not guilty 2. To institute: to institute a suit
against somebody
|
ð
คำว่า สิทธิ มีสำนวนดังนี้
คำศัพท์
|
ความหมายและตัวอย่าง |
rights, to have a right, rights and duties ,
- to have a right to vote - to have a right to terminate this
contract
|
1. Right: Legal entitlement to
something; the staff have a right to know what the company is doing 2. to
rights: to change, transfer, reserve the rights.. |
ð
คำว่า สัญญาเช่า มีสำนวนดังนี้
คำศัพท์
|
ความหมายและตัวอย่าง |
Lease agreement, Lessee, Leaser, Landlord ,
Tenant - the Landlord hereby agrees to lease to
the Tenant and the Tenant accepts to lease from the Landlord the Unit No
.on
.Floor |
1. Lease: written contract for
letting or renting of a building or a piece of land or a piece of equipment
for a period of time 2.Landlord: person or company which
owns a property which is let 3.Tenant: person or company which
rents a house or flat or office in which to live or work |
ð
คำว่า โจทก์และจำเลย มีสำนวนดังนี้
คำศัพท์
|
ความหมายและตัวอย่าง |
plaintiff, (public) prosecutor defendant, accused - The plaintiff files an action against the
dependant before the court. |
1. Plaintiff: person who starts an
action against someone in the civil courts 2. (Public) Prosecutor: person or
(government official) who brings criminal charges against someone 3. Accused: person or persons
charged with a crime (The accused: can be either singular or
plural) |
ð
คำว่า สิ้นสุดสัญญา มีสำนวนดังนี้
คำศัพท์
|
ความหมายและตัวอย่าง |
to terminate, to expire, -
at the termination of this agreement
. -
after the expiration of the Lease Term.. - Payment in cash or cash payment |
1. To terminate: to end (something)
or to bring (something) to an end or to come to an end; to terminate an
agreement; an offer terminates on the death of offeror 2. To expire: to come to an end; the
lease expires in 1997; his work permit has expired = his work permit is no
longer valid |
ð
คำว่า ภายใต้บังคับ/ภายใต้
มีสำนวนดังนี้
คำศัพท์
|
ความหมายและตัวอย่าง |
be subject to, under, - ..shall be subject to interest at
two percent per month on the unpaid amount
- ..under section 2 of the 1997 Act - ..under the Bankruptcy Act 1974 |
1. Subject to: depending on; the
contract is subject to government approval = the contract will be valid only
if it is approved by the government 2. Under: controlled by or according
to; regulations under the Police Act; under the terms of the agreement |
ð
คำว่า ริบ มีสำนวนดังนี้
คำศัพท์
|
ความหมายและตัวอย่าง |
to forfeit, forfeiture - The Landlord may forfeit the Security
Deposit
|
1. To forfeit: to have something
taken away as a punishment; to forfeit a deposit = to lose a deposit which
was left for an item because you have decided not to buy that item |
ð
คำว่า คำบอกกล่าว มีสำนวนดังนี้
คำศัพท์
|
ความหมายและตัวอย่าง |
to serve notice, notice, - ..to serve a notice on someone
- the Landlord shall be notified
immediately
- Any notification to be sent by the
Landlord to the Tenant at the given domicile shall be considered
|
1. To serve notice on someone: to give
someone a legal notice; to give a tenant notice to quit or to serve a
tenant with notice to quit = to inform a tenant officially that he has to
leave the premises by a certain date 2. notice: piece of written
information |
ð
คำว่า วางเงินมัดจำ มีสำนวนดังนี้
คำศัพท์
|
ความหมายและตัวอย่าง |
to place a deposit, deposit, - The buyer makes payment to the Seller - The Tenant agrees to deposit with the
Landlord the sum of Baht
. - The Security Deposit shall be held by the
Landlord and shall be refunded without interest to the Tenant |
1. To place a deposit: to place a
deposit with someone; to put money into a bank account 2. Deposit: money given in advance
so that the thing which you want to buy will not be sold to someone else; to
leave Baht 10,000 as deposit; to forfeit a deposit |
ð
คำว่า ปฏิบัติตาม มีสำนวนดังนี้
คำศัพท์
|
ความหมายและตัวอย่าง |
to comply with, to expire, -
due to Tenants failure to comply with
the preceding conditions
|
1. To comply with: to obey; the
company has complied with the court order; she refused to comply with the
injunction |
ð
คำว่า ค่าปรับ มีสำนวนดังนี้
คำศัพท์
|
ความหมายและตัวอย่าง |
fine, penalty, - The Tenant shall pay the Landlord a fine
equivalent to double the amount of monthly rental and monthly service charge
to be averaged on a daily fine basis |
1. Fine: money paid as a punishment
because something wrong has been done; the court sentenced him to pay $25,000
fine 2. Penalty: punishment (such as a
fine) which imposed if something is not done or if a law is not obeyed; the
penalty for carrying an offensive weapon is a fine of
|
๓.๒
อังกฤษ-ไทย
ในส่วนต่อไปนี้
เป็นการช่วยกันรวบรวมเป็นการแปลคำต่อคำอาศัยการเรียนในห้องเป็นสำคัญ ในส่วนนี้ต้องยอมรับความจริงว่า
หากไม่ได้เพื่อน ๆ ช่วย ก็จะพลาดสิ่งเหล่านี้ไปอย่างน่าเสียดาย
CONTRACT:
To
make a contract = ทำสัญญา
To
conclude a contract = สรุปสัญญา
To
enter into a contract = เข้าทำสัญญา
To
execute a contract = ปฏิบัติตามสัญญา
To
perform a contract = กระทำตามสัญญา
To
fail to perform a contract = ไม่กระทำตามสัญญา
To
breach a contract = บิดพริ้วต่อสัญญา ผิดสัญญา
To
sanction a contract = บังคับตามสัญญา
To
enforce a contract = บังคับตามสัญญา
To
terminate a contract, termination of a contract = ยุติสัญญา
To
rescind a contract = บอกล้างสัญญา
To
disaffirm a contract = เลิกสัญญา
To
form a contract = ทำสัญญา
To
lapse a contract
To
have the legal capacity to a contract = มีความสามารถทางกฎหมายตามสัญญา
To
nullify a contract = บอกล้างสัญญา
To
amend a contract, amendment of a contract = แก้ไขสัญญา
To
modify a contract, modification of a contract = ปรับแก้สัญญา
To
construe a contract = ตีความสัญญา
Addendum
of a contract = ข้อเพิ่มเติมในสัญญา
To
recognize under a contract = ยอมรับตามสัญญา
To
be implied-in-fact contract (When the parties manifest their agreement by
conduct rather than by words, it is said to be implied-in-fact.) = สัญญาตามความเป็นจริงโดยปริยาย (ในกรณีคู่สัญญาแสดงออกตามความตกลงด้วยวิธีการประพฤติปฏิบัติยิ่งกว่าตามลายลักษณ์อักษรในสัญญา
To
be implied-in-law contract = นิติกรรมที่มีลักษณะเป็นสัญญาตามกฎหมายโดยปริยาย
เช่น ลาภมิควรได้
การจัดการงานนอกสั่ง
Quasi-contract
(Implied-in-law
contracts, referred to as quasi-contracts, are not true contracts. Rather, they are legal fictions that
courts use to prevent
wrongdoing and the unjust enrichment of one person at the expense of
another.) = (นิติกรรมที่ไม่ใช่สัญญาโดยแท้แต่กฎหมายสมมุติขึ้นเพื่อให้ศาลใช้ป้องกันการกระทำผิดและลาภมิควรได้ของบุคคลหนึ่งที่ไปเบียดบังค่าใช้จ่ายของอีกบุคคลหนึ่ง)
Valid
contract = สัญญาที่ค่าบังคับอยู่
To
act in regard to a contract = กระทำตามเนื้อหาในสัญญา
To
honor a contract = ยอมรับตามสัญญา
To
settle a contract = ตกลงกันตามสัญญา
To
deal with a contract = ดำเนินการกับสัญญา
To
void a contract = ทำให้สัญญาเป็นโมฆะ
To
cancel a contract = ยกเลิกสัญญา
The
judge renders the contract unenforceable = ผู้พิพากษาตักสินให้สัญญาบังคับใช้ไม่ได้
This
contract shall supersede ---something--- = สัญญามีอำนาจบังคับเหนือ
--- บางสิ่ง
Terms
of the contract = ข้อกำหนดแห่งสัญญา
Elements
of a contract = องค์ประกอบแห่งสัญญา
Reformation
of a contract = การจัดทำสัญญา
Contract
formation = การจัดทำสัญญา
Contract
performance = ผลการปฏิบัติตามสัญญา
Express
contract = สัญญาโดยชัดแจ้ง
Contract
action (contractual action) = ผลของการกระทำแห่งสัญญา
Tort
action, tortuous action, wrongful act
= การกระทำละเมิด
To
give a notice to someone (to serve a notice on someone) = การยื่นหนังสือให้บุคคลหนึ่งทราบในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
To
bring/file an/a action/lawsuit/suit against someone = ฟ้องบุคคลหนึ่งต่อศาล/การดำเนินคดีกับบุคคลหนึ่งต่อศาล
To
bring/file a motion/petition with the court = ร้องต่อศาล
The
judgment is for/in favor of the plaintiff/defendant = คำพิพากษาให้โจทก์/จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดี
The
judgment is against the plaintiff/defendant = คำพิพากษาให้โจทก์/จำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี
Carrier/consignor/shipper
= ผู้รับขน
Consignee
= ผู้รับตราส่ง
Bill
of lading = ใบขนสินค้า
To
award money damages = ได้รับชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน
To
sue for damage = ฟ้องเรียกค่าเสียหาย
To
claim for the damage = เรียกค่าเสียหาย
To
recover a damage = ได้รับค่าเสียหาย
To
recognize a damage = ยอมรับค่าเสียหาย
To
mitigate damages = บรรเทาความเสียหาย
Money
damages = ค่าเสียหายเป็นเงิน
Nominal
damages (usually $1 symbolizes vindication of the wrong done by the mere
breach of contract) = ค่าเสียหายในรูปสัญญลักษณ์ (ปกติศาลจะตัดสินให้จำเลยชดใช้เป็นเงิน ๑
เหรียญเพียงเพื่อแสดงให้เห็นถึงการผิดสัญญาของจำเลย)
Compensatory
(or general) damages (are the primary damages sought in most contract
actions. These damages must be a
direct, foreseeable result of the breach of contract.) = (ค่าสินไหมทดแทนในความเสียหายซึ่งเป็นผลโดยตรงและเล็งเห็นได้จากการผิดสัญญา)
Consequential
(or special) damages (To recover these special damages, evidence must
be submitted that the breaching party knew (or had reason know) that special
circumstances existed and would cause the other party to suffer additional
losses if the contract were breached.)= ความเสียหายพิเศษหรือซึ่งมีผลตามมาที่คู่สัญญาย่อมรู้อยู่หรือควรรู้อยู่แล้วว่าหากมีการผิดสัญญาเกิดขึ้นจะมีผลให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งต้องเสียหายเพิ่มเติมขึ้น
Punitive
(or exemplary) damages (the modern trend is to allow punitive damages
when the contract breach is fraudulent, oppressive, malicious, or otherwise
indicative of the breaching partys intent to harm the others reasonable
expectations under the contract.) = ค่าเสียหายที่เป็นลงโทษคู่สัญญาที่ตั้งใจผิดสัญญาโดยทุจริต
Liquidated
damages = ค่าเสียหายที่คิดเป็นจำนวนเงินได้แน่นอน
A
person is entitled to the benefits of his bargain. = บุคคลชอบที่จะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการต่อรอง
To
give someone a remedy เยียวยาให้บุคคล
(The
law gives the aggrieved party a remedy)กฎหมายเยียวยาให้บุคคลที่เสียหาย
Legal
remedies (or remedies at law)การเยียวยาตามกฎหมาย
Equitable
remedies (involve a request for something other than money) การเยียวยาด้วยสิ่งอื่นใดนอกเหนือตัวเงิน
Bargained-for
consideration ค่าตอบแทนจากการต่อรอง
To
reimburse someone for something (To reimburse someone for the taxes) การเบิกจ่ายให้บุคคลหนึ่งเพื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ค่าภาษี
Valid,
void, void able, enforceable, and unenforceable มีค่าบังคับอยู่/มีผลใช้บังคับอยู่
เป็นโมฆะ เป็นโมฆียะ บังคับใช้ได้ บังคับใช้ไม่ได้
To
comply with the law ถูกต้องตามกฎหมาย
Realty,
immovable, real property, real estate
อสังหาริมทรัพย์
Personal
property, movable property, res personam (e.g. antiques, racehorses,
heirloom and the stock of a closely held corporation.) สังหาริมทรัพย์
เช่น โบราณวัตถุ ม้าแข่ง ทรัพย์มรดกที่มีค่าทางจิตใจ และหุ้นของบริษัท
To
exercise the right/power/privilege ใช้สิทธิ/อำนาจ/สิทธิพิเศษ (อภิสิทธ์)
The
court exercises its discretion
ศาลใช้ดุลพินิจ
To
rescind (verb), rescission (noun) (Rescission will also be granted to
a minor in order that he may exercise his privilege of withdrawing from a
contract.) บอกล้าง(ผู้เยาว์ใช้สิทธิบอกล้างสัญญาที่เป็นโมฆียะได้คือการเพิกถอนสัญญานั่นเอง)
Restitution,
to make restitution (Restitution follows rescission. To rescind a contract both parties must
make restitution to each other; that is, they must return any benefit received
under the contract.) การบอกล้างสัญญาที่เป็นโมฆียะทำให้คู่สัญญากลับสู่สภาพเดิมมีผลให้ผลประโยชน์ที่ได้รับจากสัญญาต้องส่งคืนหมด
Verdict: affirmed, dismissed, reversed,
remanded คำพิพากษา/คำตัดสิน ได้แก่ ยืน ยก กลับ แก้
Trial
court, court of appeal, supreme court ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์
ศาลฎีกา
Landlord
= lessor ผู้ให้เช่า
Tenant
= lessee ผู้เช่า
Lease
= rental agreement สัญญาเช่า
To
terminate a lease เลิกสัญญาเช่า
To
surrender a lease ส่งคืนสัญญาเช่าคือเลิกสัญญาเช่านั่นเอง
Surrender
and acceptance: ส่งคืน และรับมอบ
The
tenant surrenders the lease, and the landlord accepts the surrender.ผู้เช่าเลิกสัญญาเช่า และผู้ให้เช่ารับมอบทรัพย์สินคืน
Exclusive
possession and control of the premises การครอบครองแต่ผู้เดียว
และมีอำนาจควบคุมบังคับเหนือสถานที่เช่า
Tenant
VS licensee VS lodger: ผู้เช่า ผู้ได้รับอนุญาตให้อาศัย แขกผู้ค้างแรม
A
licensee receives the temporary right to park a car in a space, occupy a seat
in a theater, or make some other nonexclusive, revocable use of the
premises. ผู้ได้รับอนุญาตมี่สิทธิใช้สถานที่จอดรถ นั่งชมภาพยนตร์ หรือทำให้ผู้อื่นไม่มีสิทธิใช้สถานที่นั้นได้
A
lodger occupies a room in a hotel but does not have legal control over the
occupied area. แขกผู้ค้างแรมมีสิทธิครอบครองห้องพักในโรงแรมได้
แต่ตามกฎหมายไม่สามารถมีอำนาจควบคุมบังคับเหนือห้องพักนั้นได้
Covenants
and conditions: A lease provision
in which the landlord or the tenant promises to do something or not to do
something is either a covenant or a condition. ข้อตกลงและเงื่อนไขในสัญญาเช่าซึ่งผู้ให้เช่าและผู้เช่าสัญญาว่ากระทำการหรือไม่กระทำการ
To
perform a covenant การกระทำการตามข้อตกลง
To
perform a condition การกระทำการตามเงื่อนไข
To
fail to perform a condition ไม่ได้กระทำการตามเงื่อนไข
To
fail to make a rent payment ไม่ได้จ่ายค่าเช่า
Tenancy
= leasehold = interest acquired by a tenant ประโยชน์ที่ได้จากผู้เช่า
Tenancy
for years, periodic tenancy ประโยชน์ที่ได้จากผู้เช่าเป็นรายปี ประโยชน์ที่ได้จากผู้เช่าเป็นคาบเวลา
Legal
right to possession สิทธิตามกฎหมายในการครอบครอง
Covenant
of quiet enjoyment ข้อตกลงในส่วนผู้ให้เช่าที่จะให้ผู้เช่าอยู่ด้วยความสงบ
Eviction/constructive
eviction การรอนสิทธิ/ตีความเป็นการรอนสิทธิ
To
remain on the premises ยังคงอยู่ในสถานที่ให้เช่า
To
abandon the property สละทรัพย์สิน
To
treat the landlords conduct as a constructive eviction ถือเอาพฤติการณ์ของผู้ให้เช่าเป็นการรอนสิทธิโดยการตีความ
To
breach a covenant ทำผิดข้อตกลง
The
law applicable/governing
กฎหมายที่ใช้
To
take an action ลงมือกระทำการ
To
take a legal action ดำเนินการตามกฎหมาย
To
take the necessary steps จัดการตามขั้นตอนที่จำเป็น
To
take a measure จัดการตามมาตรการ
To
commit waste (Restriction on use, e.g. a tenant cannot take timber or
minerals from the land unless the right to do so was expressly permitted by the
lease or by later agreement or clearly implied from surrounding
circumstances.) ข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่า
เช่น
ผู้เช่าไม่มีสิทธิตัดไม้หรือขุดแร่ในที่ดินที่เช่าเว้นแต่จะได้รับอนุญาตในสัญญาเช่า
หรือโดยความตกลงในภายหลัง หรือโดยพฤติการณ์แวดล้อมที่ชัดแจ้งโดยปริยาย
The
dependants(British English) / dependents (American English)
occupy the premises by virtue of the right of the tenants under the lease. บริวารครอบครองสถานที่เช่าโดยอาศัยสิทธิของผู้ให้เช่าภายใต้สัญญาเช่า
To
make alterations to the premises (without specific consent of the
landlord.) กระทำการดัดแปลงต่อเติมสถานที่เช่า
(โดยมิได้รับความยินยอมเฉพาะเจาะจงจากผู้ให้เช่า)
To
alter the premises กระทำการดัดแปลงต่อเติมสถานที่เช่า
To
return the premises to the landlord (The law imposes an absolute requirement
that the tenant return the premises to the landlord at the end of the lease in
exactly the same condition they were in at the beginning, except for normal
wear and tear.) ส่งมอบสถานที่เช่าคืนแก่ผู้ให้เช่า
(กฎหมายบัญญัติให้ผู้เช่าต้องส่งมอบสถานที่เช่าคืนแก่ผู้ให้เช่าเมื่อสิ้นสุดสัญญาเช่าให้กลับคืนคงสภาพเดิมทุกประการเว้นแต่ในกรณีการสึกหรอตามปกติวิสัย
Trade
fixture (Fixtures added by a business tenant are called trade fixtures) สิ่งติดตรึงเพื่อการค้า
To
impose taxes on the lessee กำหนดให้ผู้เช่าเป็นผู้จ่ายภาษี
To
impose burden of proof on someone กำหนดให้ภาระการพิสูจน์ตกอยู่แก่บุคคลหนึ่ง
The
duty to make repairs (so that the premises were substantially in the same
condition at the end of the lease as at the beginning.) หน้าที่ในการซ่อมแซมสถานที่เช่าให้กลับคืนคงสภาพเดิมเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลง
[1]
ธานินท์ กรัยวิเชียร, ภาษากฎหมายไทย, พิมพ์ครั้งที่ 9,
กรุงเทพฯ, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2543 (หน้า 23)
[2]
ธานินท์ กรัยวิเชียร, คำแนะนำนักศึกษากฎหมาย,
โครงการตำราของสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (หน้า 216)
[3]
คำพูดของผู้สอนในห้องเรียน
[4]
จุมพต สายสุนทร, English for lawyers; Contract
Drafting (การร่างสัญญา), พิมพ์ครั้งที่ 3, สนพ.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(หน้า 15)
[5]
Dictionary of Law, Second Edition,
บรรณานุกรม
1.
จุมพต
สายสุนทร, Contract Drafting,
การร่างสัญญา, พิมพ์ครั้งที่
๓, กรุงเทพฯ, สำนักพิมพ์วิญญูชน, ๒๕๔๔
2.
ทรงพร ทาเจริญศักดิ์, พื้นฐานภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษากฎหมาย,
กรุงเทพฯ, สำนักพิมพ์แห่งจุฬามหาวิทยาลัย, ๒๕๔๑
3.
ธานินท์
กรัยวิเชียร, คำแนะนำนักศึกษากฎหมาย, โครงการตำราของสมาคมสถาบันอุมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย
4.
ธานินท์
กรัยวิเชียร, ภาษากฎหมายไทย, พิมพ์ครั้งที่
๙, กรุงเทพฯ, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๓
5.
เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ,
พจนานุกรมอังกฤษ-ไทย(ฉบับใหม่), กรุงเทพฯ, สำนักพิมพ์อักษรบัณฑิต, ๒๕๔๔
6.
พีรชาติ นิลวณิช,
English for lawyers I, พิมพ์ครั้งที่ ๓, กรุงเทพฯ, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
๒๕๔๑
7.
ศัพท์นิติศาสตร์
อังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ, พิมพ์ครั้งที่ ๔ (แก้ไขเพิ่มเติม)
8.
เอกสารประกอบการเรียนการสอน,
Lease Agreement
9.
เอกสารประกอบการเรียนการสอน,
Contract
10.
Dictionary of Law, Second Edition,