บทที่ 8 การต่อสายไฟฟ้าแบบต่างๆ

การต่อสายแบบต่าง ๆ (Electrical Connections)

แบบพิกเทล จอยท์  Pig tail joint ใช้ปลายทั้งสองพลาดไขว้กัน () แล้วใช้คีมจับควบบิดควั่นเป็นเกลียวจนแน่น () แบบการต่อปลายลวดสายไฟที่เรียกว่า  ทวิสช์ (Twist)นั้น คือต่อเครื่องหมาย ก.  ส่วนเครื่องหมาย ข. เรียกว่า เทิน (Turns)

      จาก ก. ปลายลวดทั้งทาบสวนปลายกันไปตามความยาวที่ต้องการแล้วจึงบิดไขว้รัดกันเองไปตามรูปที่แสดง

      จาก ข. ปลายลวดพันรัดรอบส่วนที่เป็นเส้นตรงแบบนี้บางที่ก็เรียกว่าพันเกลียวตัวหนอน

การต่อสายแบบตัวหนอน

     

การต่อสายแบบเกลียว

 

      การพันสายต่อกันแบบของ เบ็ล แฮ็งเก่ออะซ์ ซึ่งการพันแบบนี้เป็นแบบพันที่ไม่แต่เพียงจะเหมาะสมในการใช้ในด้านกระแสไฟฟ้าและในด้านแม็คคานิคเท่านั้น  ยังเป็นแบบแน่นหนาและมั่นคง  ใช้ได้กับงานอื่น ๆ ที่ต้องการความทนทานต่อแรงดึงที่ไม่มากกมายเกินไปนักอีกด้วย

การต่อสายแบบ เล็ล แฮ็งเกอร์

      เบลแฮ็งเอะซ์  ปลายทั้งสองเส้นจะถูกปอกฉนวนหุ้มมีความยาวประมาณ  3  นิ้วทั้งคู่  และเมื่อทำความสะอาดผิวเรียบร้อยแล้ว  จึงจัดแจงต่อ  ดูจากภาพถัดไป

การต่อสาย 2

      เบ็ล แฮ็งเก่อะซ์  วางปลายลวดทั้งสองที่จะต่อกันพาดไขว้ตรงระหว่างกึ่งกลางของคู่เส้นลวด  ในแบบนี้ถ้าเป็นสายขนาดเล็กอาจใช้บิดพันกันด้วยมือ  แต่ถ้าเป็นลวดเส้นใหญ่ก็ต้องใช้คีมบิดพัยตามแบบภาพต่อไปนี้

การต่อสายสำเร็จ

เบ็ล แฮ็งเก่อะซ์  แสดงแบบที่ต่อพันเรียบร้อยเพียงแต่รอการบัดกกรีให้ติดกันแน่น  และพันเทปในขั้นสุดท้ายเท่านั้น  วิธีนี้เรียกอีกอย่างว่า  Westurn Union

 

การต่อพันสายไฟ  แบบของ  เทินแบ็ค  จอยท์

      การปอกสายที่จะต่อทั้งสองเส้น  มีระยะปอกไม่เท่ากัน  คือปลายเส้นหนึ่ง ปอกฉนวนหุ้มยาวประมาณ  3  นิ้ว  ส่วนอีกเส้นหนึ่งยาว  5  นิ้ว

เทินแบ็ค จอย 1

แบบ เทิร์นแบ็ค  จอยท์  สายไฟ  .  ปอกปลายสายออก  3   นิ้ว  และสายไฟ  .  ปอกออกยาว  5  นิ้ว  เสร็จแล้วขัดผิวลวดให้สะอาด

      แบบเทิร์นแบ็ค จอยท์  ใน ก. ใช้ปลายลวดเส้นหนึ่งที่ยาวกกว่าทาบไปตามยาวในทิศทางเดียวกัน  แต่ให้ปลายที่ปอกทั้งสองเส้นเสมอกัน จากนั้นใช้คีมจับร่นระยะปล่อยปลายไว้ประมาณหนึ่งนิ้ว  แล้วบิดให้เข้าเกลียวกันใน ข. โคนสายยาวที่เหลืออยู่ให้งอทาบไปตามเส้นลวดที่บิดไว้ ให้สังเกตดูภาพใน ค. ส่วนปลายสายที่เหลือจากบิดเกลียวให้ใช้เป็นลวดพันเป็นทบๆ ตามแบบในภาพ ค. ซึ่งเป็นการพันเสร็จสิ้นลงเรียบร้อยแล้ว และส่วนที่พันทบตอนหลังนี้ ควรจะจัดช่วงให้เส้นยืนยาวพอที่จะรับพันทบได้หลายๆ ทบ

เทินแบ็ค จอยส์ สำเร็จ

แบบของการต่อสายเทิร์นแบ็ค จอยท์ เป็นแบบที่ใช้ต่อพันสายที่ต้องต้านทานการดึงที่ตึงเครียดจะได้ประโยชน์มาก

การต่อสายไฟแบบของบริแทนเนีย จอยท์

      เฉพาะแบบนี้ บางทีก็ใช้ในการขึงสายไฟในที่สูงที่ต้องทนทานต่อกำลังดึงอย่างเครียดและก็มีใช้อยู่ในการเดินสายทั้งภายในและภายนอกเคหะสถานที่ใช้สายไฟเส้นเดียวขนาด No.6 หรือใหญ่กว่า ส่วนลักษณะและวิธีต่อสายจะได้แยกแสดงภาพกล่าวข้อความให้เข้าใจไว้พอสังเขปดังต่อไปนี้

บริเทนเนียจอยท์ ขั้นที่ 1

      แบบบริแทนเนีย จอยท์ แสดงปลายลวดที่ปอกฉนวนแล้ว และงอส่วนปลายสุดเป็นมุมฉากจงอยสั้นๆ ทั้งสองเส้น      

บริเทนเนียจอยท์ ขั้นที่ 2

      แบบบริแทนเนีย จอยท์ เริ่มต่อสายด้วยการวางสาย เกยกันยาวประมาณ 3 นิ้ว หันปลายจงอยออกทั้งสองด้านตามแบบของเครื่องหมาย ก. ส่วนเครื่องหมาย ข. คือสายไฟสำหรับพันหุ้มสายเกย

      แบบบริแทนเนีย จอยท์ แสดงการใช้สายไฟหุ้มฉนวนพันส่วนปลายสายไฟที่ต่อเกยกันดังปรากฏแบบของการต่อ

บริเทนเนียจอยท์ ขั้นที่ 3

      แบบบริแทนเนีย จอยท์ ทั้ง ก. และ ข. จากภาพอักษร ก. ซึ่งเป็นภาพการพันที่ต่อเนื่องกัน ปลายสายพันของด้านซ้ายมือจะถูกสอดไปตามร่องสายที่เกยกันภายใต้สายพันเตรียมจะไปพันยึดสายไฟอันล่าง ดูจากภาพ ข. ต่อมาจะเห็นว่าการพันสายต่อได้สำเร็จรูปลงเรียบร้อย โดดยใช้ปลายสายที่สอดผ่านร่องทั้งซ้ายและขวาพันเข้ากับสายไฟที่ต่อข้างละเพียงสองสามรอบ แล้วรัดให้แน่นต่อจากนั้นจึงบัดกรีด้วยตะกั่ว

บริเทนเนียจอยท์ ขั้นที่ 4

การต่อสายพันแบบ ซะคาร์เฟด จอยท์

      เป็นแบบต่อสายขนาดใหญ่ที่ใช้อยู่ในที่แจ้งและต้องการความแข็งมั่นคง ลักษณะการต่อแบบนี้ไม่ใช่แบบของการต่อที่จะใช้การเดินสายชนิดต้องขึงอย่างตึงเครียดซึ่งจะสังเกตได้จากภาพแสดงการต่อปลายสายต่อไปนี้

      แบบซะคาร์เฟด จอยท์ ปลายสายที่นำมาต่อกันจะเสี้ยมปลายให้ลาดแหลมยาวประมาณ 3 นิ้ว ทั้งสองปลายเท่ากัน ซึ่งเมื่อนำปลายทั้งสองมาต่อโดยทาบกันแล้วจะอยู่ในลักษณะคล้ายเป็นสายเส้นเดียวตลอด

ซะคาร์เฟดจอยท์ ขั้นที่ 1

      แบบซะคาร์เฟด จอยท์ ที่บัดกรีรอยทาบของปลายเสี้ยมที่ต่อกันเรียบร้อยแล้วจึงใช้สายไฟเบอร์ 18 หรือ 20 พันทับรอยต่อตามแบบที่แสดงในภาพ

แบบ ดูเพล็กซ์ จอยท์

      การต่อสายพันแบบ ดูเพล็กซ์ จอยท์ เป็นแบบที่ใช้ต่อสายคู่ในระบบสายหุ้มปลอกหรือหุ้มวัตถุหนาๆ ของสายไฟสองสาย ซึ่งวิธีต่อจะทราบได้จากภาพแสดงต่อไปนี้

ซะคาร์เฟดจอยท์ ขั้นที่ 2

      ให้สังเกตการปอกฉนวนหุ้มสายในสองสายนั้นช่วงนั้นการปอกมีระยะต่างกัน คือสาเส้นหนึ่งของคู่ต่อทททั้งสองจะปอกไว้ยาว ซึ่งจะเห็นส่วนปลายฉนวนตัดออกไปสั้นกว่าคู่ต่อทั้งสองอีกเส้นหนึ่ง เปรียบเทียบจากเส้นระหว่าง ก. และ ข. ทั้งคู่ที่จะต่อกัน

ซะคาร์เฟดจอยท์ ขั้นที่ 3

      แบบ ดูเพล็กซ์ จอยท์ การต่อสายที่ปอกแล้วจะต้องต่อสลับสายกัน, ระหว่างปลายสายที่ปอกฉนวนสั้นกับปลายสายที่ปอกฉนวนยาว และเมื่อต่อเสร็จแล้ว ระหว่างขั้วต่อทั้งสองสายจะเหลื่อมพ้นกัน เป็นการป้องกันวงจรลัดหรือเท่ากับเป็นฉนวนในตัว

 

 

การต่อสายแยก

      หรือที่เรียกว่า Taps (แท็พซ์) เป็นแบบและวิธีหนึ่งที่ใช้ปลายสายไฟที่จะต่อแยกไปทางใดทางหนึ่งต่อเข้ากับสายไฟอีกเส้นหนึ่งตรงกลางสาย (ไม่ใช่ต่อปลาย)

      ขั้วต่อสายแยกมีอยู่หลายแบบ แต่ละแบบจะต้องเลือกใช้ให้เหมาะกับแต่ละสภาพของงานที่ใช้ ซึ่งมีแบบอย่างที่ควรศึกษาไว้มีดังต่อไปนี้

ต่อสายแยก ขั้นที่ 1

      แบบต่อสายแยกชนิดธรรมดา ให้ปอกลำตัวของสายไฟเอาฉนวนหุ้มสายออกที่อักษร ก. ยาวประมาณ 1.5 นิ้ว ส่วนปลายสายที่จะนำไปต่อให้ปอกฉนวนยาวประมาณ 3 นิ้ว แล้วพาดให้ห่างจากฉนวนด้านซ้ายของสายเส้นตรงประมาณ 1/4 นิ้ว แล้วงอพันลงดังภาพที่แสดง

ต่อสายแยกขั้นที่ 2

จากแบบแทพซ์ธรรมดาในภาพ  ส่วนปลายที่เหลือของสายโค้งพับที่จะต่อกับสายตรงจะถูกพับเป็นทบๆ  ประมาณ 5 หรือ 6 ทบไปตามแนวสายไฟเส้นตรง ข้อที่ควรสังเกตตรงช่วงว่างสั้นๆ ของ A นั้น ควรให้มีระยะห่างจากปลายฉนวนประมาณ 1/4  นิ้ว และช่อง B ระยะห่างควรเป็น 1/2  นิ้ว ที่ต้องทำเช่นนี้ ก็เพื่อป้องกันมิให้ฉนวนทั้งสองข้างไหม้ในเมื่อต้องการบัดกรีส่วนที่ต่อกันนี้ และเพื่อสะดวกหากต้องการใช้ผ้าเทปพัน

ต่อสายแยก 2

      แบบข้างบน คือแบบน็อททิดแท็พ จากภาพ 1 สายไฟเส้นตรงจะถูกปอกฉนวนหุ้มออก 1.5 นิ้ว ถึง 2 นิ้ว คือสาย A ส่วนสาย B นั้น เป็นปลายสายต่อแยกให้ปอกฉนวนหุ้มออก 3 นิ้ว จากภาพ 2 ให้สังเกตการต่อพันของสาย B จะเข้าใจได้โดยไม่ต้องให้คำอธิบาย

น็อททิดแท็พ

แบบของน๊อททิดแท็พ ที่พันเสร็จเรียบร้อยแล้ว

ต่อสายแยก 2 ทาง

      แบบของภาพนี้เป็นแบบ ดับเบิ้ลคร้อซแท็พ จากสาย A ให้ปอกฉนวนหุ้มสายยาวประมาณ 2 .5  นิ้ว ส่วนปลายสาย B,C แต่ละสายปอกออกประมาณ 2 นิ้ว ให้สังเกตว่า สายต่อแยก (B) เริ่มต้นต่อพันจากกึ่งกลางของสาย A แล้วจึงออกไปทางหนึ่ง ส่วนสายต่อแยก (C) ก็จะเริ่มจากกึ่งกลางเส้น A แต่พันแยกออกไปอีกทาง ทั้งสองสายนี้มันจะแยกกันตรงกึ่งกลางออกไปคนละด้าน

ต่อสายแยก 3 ทาง

แบบดูเพล็กซ์ คร้อชแท็พ สายไฟตรงต่อฉนวนหุ้มออกประมาณ 2 นิ้ว ส่วนปลายสายที่ใช้พันทั้งสองสายปอกออกประมาณ 3 นิ้วเท่ากัน ใช้พันควบคู่กันจากปลายเส้นตรงที่ปอกฉนวนไว้ข้างใดข้างหนึ่งไปจนสุดอีกข้างหนึ่ง สังเกตจากภาพ

แรพพิต แทป

            แบบ แรพพิต แท็พ การต่อสายไฟชนิดนี้ใช้สายไฟขนาดเบอร์ 6 ทั้งสายตรงและสายต่อ ปอกฉนวนออกประมาณ 4 นิ้วเท่าๆ กัน โดยเหตุที่เป็นสายไฟขนาดใหญ่มากไม่สะดวกต่อการจะเอาสายต่อไปพันยึดติดกับสายตรงจึงต้องใช้วิธีต่อตามภาพที่แสดงต่อไปนี้

แรพพิตแทป 2

      แบบแรพพิด แท็พ จากภาพ ให้เอาปลายสายต่อทาบลำตัวสายตรง แล้วหักมุมลงมาตามแบบภาพ ก. นี้มีความยาวถึงปลายฉนวนที่ประมาณ 1 นิ้ว ซึ่งมองดูจะมี ลักษณะเป็นอักษร L ต่อจากนั้นใช้สายไฟหุ้มฉนวนขนาดที่ใช้ในแบบ บริแทนเนียพันยึดให้แน่นดังภาพ  .

การต่อสายไฟซะพไลซ์ (Splice)

      แบบวิธีต่อสายที่ผ่านมาแล้ว การต่อสายไฟแบบจอยท์ (Joint) ซึ่งเป็นการต่อสายไฟแบบเส้นเดี่ยว ส่วนการต่อ Splices นี้คือสายไฟที่จะต่อกันนั้นเป็นสายไฟประเภทหลายๆ เส้นรวมพันเป็นมัด แล้วหุ้มฉนวนเป็นสายไฟเดียวซึ่งมีแบบและวิธีต่อสายประเภทนี้อยู่หลายแบบเช่นเดียวกัน

Spilice 1

            ตามแบบที่เรียกว่า ซิงเกิ้ล แรพพิดซะพไลซ์ สายไฟที่ต่อจะพันปลายต่อปลายจะต้องปอกฉนวนออกประมาณปลายละ 6 นิ้ว แล้วทำความสะอาดกลุ่มปลายสายทั้งสองข้าง

แบบซิงเกิ้ล แรพพิดซะพไลซ์ให้แกะปลายเส้นลวดสายไฟทั้งสองปลายที่จะต่อกันแยกออกมาประมาณ 5 นิ้ว โดยง้างแต่ลพเส้นให้อ้าออกไปจากกลุ่มเป็นมุม 30 องศา ทุกๆ เส้น

Spilice 2

            แบบซิงเกิ้ล แรพพิด ซะพไลซ์ จากปลายเส้นลวดที่แยกจากกลุ่ม ให้นำมาประสานถักไขว้กันระหว่างตัวอักษรกับตัวเลข กล่าวคือ ลวดของกลุ่มหมายเลขเส้นหนึ่งจะผ่านลวดตัวอักษรสองเส้น และเส้นที่พันรั้งเป็นตะขอเกี่ยวซึ่งกันและกัน คือ ก. กับ 1

Spilice 3

แบบซิงเกิ้ล แรพพิด ซะพไลซ์ ซึ่งพันรัดกันแน่นเป็นข้อรัดแรก

            แบบซิงเกิ้ล แรพพิด ซะพไลซ์ ซึ่งต่อพันรัดแน่นทุกๆ ปล้องเสร็จสิ้นลงจะมีลักษณะดังปรากฏในภาพ

Spilice 3

แบบออร์ดินะรี แท็พ ซะพไลซ์ ขนาดของรอยปอกฉนวนนั้นสุดแต่ขนาดของสายไฟ ปลายสายที่จะต่อกับลำดัวของสายตรงนั้นให้แยกแบ่งออกเป็นสองง่ามตามภาพแสดง

 

 

 

Tap Spilice 1

            ออร์ดินะรี แท็พ ซะพไลซ์ จากการเตรียมต่อตามแบบภาพ ที่ผ่านมา ปลายสายต่อ 1 2 3 และ 4 5 6 ก็จะพันลงระหว่างกึ่งกลางของสายตรงออกไปทั้งสองข้าง และเมื่อพันทบเสร็จแล้ว จะได้ลักษณะดังภาพ

Tap Spilice 2

แบบซะพลิท แท็พ ซะพไลซ์

            ขนาดของรอยปอกฉนวนสุดแต่ขนาดสายไฟปลายสายต่อจะแยกต่อลงกึ่งกลางสายตรง และเตรียมที่จะพันตามภาพข้างหหน้าต่อไปโดยเอาปลายสายแยกสอดเป็นช่องๆ แล้วพันออกไปทางซ้ายและขวา

Tap Spilice 3

แบบวาย ซะพไล้ซ์

            แบบวาย ซะพไล้ซ์ การปอกฉนวนหุ้มสายขึ้นอยู่กับขนาดของสายไฟ สายไฟจะสอดปลายสายทั้งหมดเข้าไปในเกลียวบิดของสายตรงเมื่อต่อเสร็จแล้วจะได้ดังภาพข้างล่างนี้

Y - Spilice 1

วาย ซะพไลซ์ จากภาพ ปลายสายต่อที่สอดอยู่นั้นจะแยกพันเรียงไปตามแนวเกลียวบิดตามยาวของสายตรงโดยรัดอย่างแน่นหนาที่เดียว

Y - Spilice 2

 

การต่อสายอ่อนกับสายแข็ง

            การต่อสายอ่อนกับสายแข็ง เข้าด้วยกันดูลักษณะการต่อดังภาพ

ต่อสายอ่อน