ลักษณะทางอนุกรมวิธาน
ชื่อสามัญ     Gaur
ชื่อวิทยาศาสตร์   Bos gaurus Smith, 1827
กระทิงจัดอยู่ใน              
อันดับ        Artiodactyla
วงศ์            ฺBovidac      
วงศ์ย่อย     Bovinae       
 สกุล            Bos            
 สกุลย่อย      Bibos         
 ชนิด            gaurus        
  ชนิดย่อย     gaurus          
                readei        
               hubbacki     

 กระทิง                                                                                     
       Gaur


Bos frontalis
(Lambert; 1804)

ลักษณะ
  
:   กระทิงเป็นวัวป่า ที่มีขนาดใหญ่   เมื่อโตเต็มที่สูงที่ไหล่ถึง 1.8 เมตร  และมีน้ำหนักเกือบ 1,000 กิโลกรัม
มีหนอกคอสูง  เห็นเป็นสันชัดเจน  แล้วหักลงตรงกลางหลัง  ลำตัวสีดำ หรือสีน้ำตาลแกมดำ  หน้าผากมีขนสีขาวเทา
หรือสีเหลือง   เรียกว่า หน้าโพ   ส่วนขาทั้งสี่ตั้งแต่ระดับหัวเข่าลงไป ถึงกีบสีขาว  เช่นเดียากับสีหน้าผาก   ดูคล้ายสวม
ถุงเท้าสีขาว  กระทิงมีเขาทั้งสองเพศ  ส่วนฐานของเขาสีน้ำตาลไหม้  ตอนกลางสีเหลือง  และปลายเขาสีออกดำ


อุปนิสัย   
:  กระทิงชอบออกหากินสลับไปกับ   การพักนอนตลอดทั้งวัน  โดยเวลากลางวัน   จะหากินในป่ารกทึบ
และเวลากลางคืนหากินในป่าโปร่งและทุ่งหญ้า   อาหารได้แก่  หญ้า  ไม้พุ่ม  ไม้เถา  และใบไม้   กระทิงอยู่กันเป็นฝูง
8-12 ตัว  มีตัวผู้ที่มีขนาดใหญ่ทำหน้าที่เป็นจ่าฝูง  ผสมพันธุ์ในเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนมกราคม  ตกลูกครั้งละ 1 ตัว

ที่อยู่อาศัย  
:   กระทิงสามารถอยู่ในป่าได้เกือบทุกประเภท  แต่ชอบป่าที่มีความชื้นมาก ๆ

เขตแพร่กระจาย  
:   กระทิงมีแพร่กระจาย อยู่ในประเทศอินเดีย   เนปาล   ยูนนาน   พม่า   อินโดจีน   และแหลมมลายู
ในประเทศไทย  เคยพบทั่วไปในป่าทุกภาค   แต่ปัจจุบันพบอาศัยอยู่เฉพาะ  ในเขตอุทยานแห่งชาติ  และเขตรักษาพันธุ์
สัตว์ป่าบางแห่งเท่านั้น     เช่น  อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่  น้ำหนาว  ทุ่งแสลงหลวง  เอราวัณ  แก่งกระจาน  และในเขต
รักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ  ห้วยขาแข้ง  ทุ่งใหญ่นเรศวร  คลองแสง  ภูหลวง  ภูเขียว  เขาบรรทัด  อมก๋อย  และเขาสอยดาว

สถานภาพ  
:   กระทิงจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง  และอนุสัญญา CITES จัดไว้ใน Appendix 1     

สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์   :   ปัจจุบัน กระทิงได้ลดจำนวน ลงอย่างรวดเร็ว   เนื่องจากการตัดถนน เข้าไปชักลากไม้
ในป่าสัมปทาน     ทำให้พรานสามารถบุกลึกเข้าไปล่ากระทิงได้   อีกทั้งประสิทธิภาพของปืนที่ใช้ล่า  มีสูงมากกระทิงจึง
ถูกไล่ยิง  เพื่อเอาเขาที่สวยงามมาขาย   ให้แก่บุคคลที่นิยมชมชอบเขาสัตว์   และเอาเนื้อมาใช้เป็นอาหาร

เอกสารอ้างอิง              หนังสือพืชและสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ในประเทศไทย
โดย                            สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สาขาวิจัยนิเวศวิทยา
ร่วมกับ                       มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย  ในพระบรมราชินูปถัมภ์
ผู้สนับสนุน                
UNITED STATES OF AMERICA  ,  WWF            

menu