ระบบภาษาไทยใน Windows
95
1.โปรแกรมเสริมพิเศษ
เป็นโปรแกรมที่คนไทยคิดค้นและพัฒนาขันมาเอง เพื่อนำมาใช้ร่วมกับ Windows 95 โดยเฉพาะ
มีหน้าที่เพียงแต่จัดการให้เราสามารถกรอกข้อมูลและพิมพ์ผลงานทีเป็นภาษาไทยได้ ซึ่งจะต้องมีรูปแบบอักษรของภาษาไทย
ให้เราเลือกใช้ และอาจมีสัญลักษณ์บางอย่างที่ปรากฎบนจอภาพแตกต่างไปจากต้นฉบับของ
Windows 95 บ้างเล็กนัอย การใช้งานก็ไม่ ยากนัก เพราะส่วนใหญ่ใช้วิธีติดตั้งเพิ่มเติมขึ้นใน
Windows 95 (เหมือนกับโปรแกรมธรรมดาทั่วไป) และจะถูกเรียกขึ้นมาใช้งานตอนที่ เราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์และเข้าสู่ระบบ
Windows 95 โดยอัตโนมัติ คือมีภาษาไทยใช้งานได้ทันที แต่บางครั้งถ้าเราไม่ต้องการใช้
ระบบภาษาไทยดังกล่าวอาจสั่งยกเลิกได้ตลอดเวลา (ตามกรรมวิธีของโปรแกรมนั้น) ก็จะกลับไปเป็นระบบ
Windows 95 ชุดภาษา อังกฤษอย่างเดิม ซึ่งโปรแกรมเสริมภาษาไทยเหล่านี้ผลิตขึ้นมาตั้งแต่สมัยที่ยังเป็น
Windows 92 รุ่นทดลอง (Beta) เช่น THAI MASTER 95 เป็นต้น.
2. Window 95 Thia Edition เป็นโปรแกรมชุดภาษาไทยซึ่งผลิตโดยบริษัท Microsoft
สาขาของไทย จึงมีระบบภาษาไทย ติดมาด้วยในตัวโปรแกรม windows 95 เลย ไม่ต้องตั้งโปรแกรมเสริมอื่นใดให้ยุ่งยาก
แถมยังมีการดัดแปลงมาตราฐานบางตัว เช่น Worpad เป็นต้น ให้สามารถรับรู้และใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้องตามหลักไวยกรณ์อีกด้วย
ซึ่งผู้เขียนขอรุ่น Thai Edition เป็นหลักใน การบรรยายเนื้อหาต่อไปนี้ เพราะถือว่าเป็นมาตราฐานสำคัญของ
Windows 95 ทีเดียว ข้อดีของ Window 95 ถึงแม้ว่า Window 95 จะเป็นระบบปฏิบัติการเวอร์ชันถัดจาก
Window 3.1 แต่มันถูกสร้างขึ้นใหม่เกือบหมด โดย เฉพาะการเปลี่ยนแปลงสถาปัตยากรรมหรือการทำงานภายในแบบ
32 บิต และการที่ไม่ต้องอาศัย MS-DOS ในตอนเริ่มต้นทำงานเหมือนกับ Window 3.1 อีกต่อไป
จะเห็นได้ว่าความใหม่จำนวนมากถูกใส่เข้ามาใน
Window 95 เพื่อนให้เป็นระบบปฏิบัติการบนเครื่องพีซีที่มีสมรรถภาพสูง สำหรับความ
สามารถเหล่านี้ได้แก่ 1. เป็นระบบปฏิบัติการที่ดึงความสามารถของพีซีมาใช้อย่างเต็มที่เช่นในเรื่อง
1.1 ทำให้มีความสามารถในการรันโปรแแกรมพร้อมๆกันหลายโปรแกรมอย่างแท้ริง 1.2 สนับสนุนการเชื่อมต่อเน็ตเวิร์กแบบ
32 บิต ซึ่งให้ทั้งความเร็วและเสถียรภาพในการทำงานอย่างดี 1.3 อ่านเขียนดิสก์ และพิมพ์ได้เร็วขึ้น
2. ใช้งานได้ง่ายกว่า เพราะวิธีการติดต่อกับผู้ใช้หรือยูสเซอร์อินเตอร์เฟสนั้นถกออกแบบข฿นมาอย่างปราณีตและใช้เวลาในการ
ทดสอบยาวนาน เพื่อให้สามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้ง่ายที่สุด 3. สามารถตั้งชื่อไฟล์ไว้ยาวถึง
225 ตัวอักษร ในขณะที่ Window 3.1ตั้งชื่อและสกุลได้ยาวแค่ 11 ตัวอักษรเท่านั้น
4. มี Window Explorer ซึ่งเป็นตัวจัดการไฟล์ที่เก่งและสามารถเชื่อมต่อกับเน็ตเวิร์กได้
5. มีการสนับสนุนการก็อปปี้ ลบ หรือเคลื่อนย้ายไฟล์ด้วยวิธี Drag and Drop 6. มีการช่วยลดความซ้ำซ้อนของไฟล์ด้วยการใช้คุณสมบัติ
Shrotcut 7. สามารถเขียนเมนูคำสั่งของ "วัตถุ" ทุกอย่างของระบบได้ด้วยการคลิกเมาส์ปุ่มขวาที่ออบเจ็คนั้นเลย
8. สามารถกำหนดตัวอักษรที่ใหญ่ เลือกแสดงผลด้วยสีที่มีความแตกต่างสูง ทำให้เห็นได้ชัดเจนนอกจากนั้นยังสามารถเลือก
เมาส์พอยเตอร์ขนานใหญ่ เพื่อให้ดูตำแหน่งบนหน้าจอได้ชัด และยังสามารถกำหนดคีย์พิเศษแทนการใช้เมาส์ได้ด้วย
9. Window 95 มีความสามารถทางด้านมัลติมีเดียโดยมีระบบการเล่นภาพวีดีโอที่เร็วขึ้น
และแม้กระทั่งเกมส์มันๆบน DOS อย่างเช่น DOOM ก็สามารถรันได้ดีมาก 10. มีคุณสมบัติ
Plug and Play ทำให้สามารถติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆได้ง่ายดาย เพราะ Window 95 จะมีการกำหนดข้อมูล
ด้านเทคนิของอุปกรณ์ ที่มีการติดตั้งเพิ่มไม่ว่าเป็นพริ้นเตอร์ ซีดีรอม นอกจากนั้นยังสามารถติดตั้งหรือลบโปรแกรมควบคุมหรือ
ดีไวซ์ ไดรเวอร์ของอุปกรณืต่างๆ ขณะทำงานอยู่ได้ 11. มีการสอนวีธีการใช้งาน Window
95 และโปรแกรมต่างๆ นอกจากนั้นยังมีวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นและระบบแบบคำแนะนำ
แบบทีละขั้นตอน นอกจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นยังมีดัชนีและฐานข้อมูลของ Help ในการค้นหาคำที่ต้องการ
ข้อกำหนดของเครื่องพีซีที่ใช้กับ Wimdow 95 ตามข้อมูลของทางไมโครซอฟต์นั้นเครื่องพีซีที่ใช้กับ
Window 95 จะต้องเป็นเครื่องที่ใช้ซีพียูตั่งแต่ 80386DX และมี RAM 4 MB เนื้อที่ฮาร์ดดิสก์อย่างน้อย
60 MB ซึ่งถือว่าเป็นข้อกำหนดที่ต่ำที่สุดที่พอที่จะติดตั้ง Window 95 ได้เท่านั้นแต่จริงๆ
ขอแนะนำว่าใน การใช้งานควรจะมีเครื่องที่มีขีดความสามารถไม่ต่ำกว่าข้อกำหนดต่อไปนี้
1. CPU486DX-33 ขึ้นไป 2. RAM 8 MB ( ถ้าเป็ย 16 MB จะดีมาก ) 3. Hard disk ขนาด
540 หรือ 850 MB ขึ้นไปเพราะ Window 95 เองก็ใช้เนื้อที่ประมาณ 60- 100 MB และยังต้องใช้ที่ว่าง
ในระหว่างการทำงานอีกส่วน