Audio
|
|
|
|
|
|
Audio ในความหมายของการทำ
เพลงในคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะ ในลักษณะ harddisk record system หมายถึง file
ของเสียงที่อยู่ใน format audio ซึ่งตัว file จะอยู่ในรูป ของ wave file (windows)
ซึ่งก็จะมี audio format หลายแบบ เช่น 8 bit,16 bit, 24 bit หมายถึงคุณภาพ
ของเสียงที่จะแตกต่างกันไป ปัจจุบัน คุณภาพระดับกลางที่เป็นที่ยอมรับ กันคือ
16 bit / 44,100 Hz |
 |
Natural
Wave Form |
|
|
|
|
การทำความเข้าใจกับคุณสมบัติต่างๆของ
Audio file นั้นเป็นเรื่องจำเป็นครับ โดยเฉพาะกับการบันทึกเสียงในแบบ Digital
ซึ่งเราสามารถเปลี่ยนแปลง แก้ไข รวมถึงปรับแต่งเสียงได้มากมายหลายวิธี และเราก็สามารถจะสังเกตุเห็นถึง
ความเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นกับ wave form เหล่านี้ได้อย่างง่ายๆ แต่ถ้าเราไม่เข้าใจความหมายของมัน
เราก็จะไม่รู้ว่าเราได้ทำอะไรลงไป และมันได้เปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของเสียงไปอย่างไรครับ
ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญมาก ต่อคุณภาพของเสียงนั้นๆครับ |
|
|
|
|
Wave
Form |
|
คือกราฟรูปแบบหนึ่ง ที่ใช้รูปแบบของคลื่นเพื่อจำลองลักษณะของเสียง
หรือแสง ในกรณีของเสียงนั้น รูปคลื่นแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ความดัง(Amplitude)
กับเวลา(Time) หรือฝรั่งจะเรียก กราฟแบบนี้ว่า เป็นชนิด Time Domain
และในระดับของ cycle ก็จะแสดง ให้เห็นถึงรูปแบบต่างๆของคลื่น ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของเสียงในแต่ละ
แบบ โดยแบ่งเป็นแบบหลักๆเหล่านี้ครับ |
|
|
|
1
|
|
แบบของคลื่นต่างๆเหล่านี้
ให้เสียง ที่แตกต่างกันในทางลักษณะของ เสียง ส่วนความสูง-ต่ำของเสียงนั้น อยู่ที่ระยะห่างระหว่างคลื่น
คลื่นที่มี ช่วงความยาวของ cycle กว้าง จะให้ เสียงต่ำ และคลื่นที่มีช่วงความยาว
ของ cycle แคบ ก็จะมีเสียงสูงครับ |
 |
2
|
Sine Wave |
โดยทั่วไป
เสียงจริงๆในธรรมชาติ หรือเสียงของเครื่องดนตรีประเภท acoustic จะมีรูปแบบของคลื่นเสียง
ในทุกๆแบบเหล่านี้ผสมผสานกัน อยู่ครับ ซึ่งนั่นก็เป็นพื้นฐานในการ ที่เราพยายามทำความเข้าใจ
และ การสร้างเสียงสังเคราะห์ด้วยเครื่อง มือทางอิเล็กทรอนิกส์ก็เกิดขึ้น ด้วย
การนำเอาความรู้เหล่านี้มาใช้ ปัจจุบันเสียงสังเคราะห์จึงเหมือน เสียงจริงชนิดที่เรียกได้ว่าแยกไม่
ออกครับ |
 |
|
|
Sqare
Wave |
3
|
|
 |
ส่วนเรื่องคุณภาพของเสียงนั้น
ไม่ เกี่ยวข้องโดยตรงกับลักษณะของ คลื่น แต่เรามักจะใช้รูปแบบของ คลื่นเพื่ออธิบายคุณลักษณะต่างๆของ
เสียง เพราะช่วยให้เข้าใจได้ง่าย โดยเฉพาะเสียงที่บันทึกในระบบ digital ซึ่งจะประกอบไปด้วยตัวแปร
อื่นๆอีกมากมายครับ |
Saw Wave |
|
|
4
|
|
การบันทึกเสียงให้ได้คุณภาพของ
เสียงที่ดี นั้นหมายถึงเสียงที่ได้จาก การบันทึกต้องใกล้เคียงเสียงจริง มากที่สุดและมีเสียงรบกวนต่างๆ
น้อยที่สุด แต่การบันทึกเสียงในแบบ digital นั้น ยังมีความละเอียดของการ บันทึก
ซึ่งถือเป็นตัวแปรสำคัญของ คุณภาพของเสียงนั้นๆด้วยครับ |
 |
|
|
Triangle
Wave |
Audio
Format, Bit depth and Sampling Rate |
|
เพื่อให้เข้าใจความหมายต่างๆของระบบ
digital ได้อย่างง่ายๆ เรามาลอง ดูกระบวนการบันทึกเสียงในแบบ analogue กันก่อนนะครับ
ว่ามีหลัก การอย่างไร เพื่อที่จะเข้าใจได้ว่าการบันทึกเสียงแบบ digital นั้น
ต่างออก ไปอย่างไรครับ |
|
|
|
|
 |
Analogue
Recording Structure
|
|
|
การบันทึกเสียงแบบ analogue
นั้น เก็บเสียงอย่างต่อเนื่อง เช่น นาย ก.เปล่งเสียงร้อง อาาาาาา ในช่วง 1
วินาที เครื่องบันทึกเสียงก็จะเก็บ เสียงนั้นอย่างต่อเนื่องมาทั้งหมด ผ่านทาง
microphone โดยแปลงเป็น แรงดันไฟฟ้า และเก็บไว้ในแถบเทปแม่เหล็ก เมื่อเราต้องการฟังโดย
เปิดเครื่องเล่นเทป หัวอ่านก็จะอ่านสัญญาณไฟฟ้าบนเทปแม่เหล็ก เหล่านั้น แล้วแปลงกลับมาเป็นสัญญาณเสียงให้เราได้ยินจากลำโพง
ครับ |
|
|
|
 |
 |
 |
 |
 |
 |
|
Single
Frame 1
|
Single
Frame 2
|
Single
Frame 3
|
Single
Frame 4
|
Single
Frame 5
|
Single
Frame 6
|
Continue
|
|
|
Motive Picture Structure |
|
|
|
|
ส่วนการบันทึกเสียงในระบบ
digital ใช้หลักการเดียวกับการบันทึกภาพ เคลื่อนไหวครับ กระบวนการของการถ่ายภาพเคลื่อนไหว
คือการบันทึก ภาพนิ่งของวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง แล้วนำภาพนิ่งเหล่านั้น
มาเรียงต่อกัน และฉายแต่ละภาพด้วยความเร็วประมาณ 24 ภาพ ต่อวินาที เราก็สามารถจะเห็นภาพของวัตถุเคลื่อนไหวได้ |
|
|
|
|
|
เช่นเดียวกันครับ
การบันทึกเสียงในระบบ digital จะเก็บราย ละเอียดของ เสียงโดยเปลี่ยนเสียงให้เป็นข้อมูลเป็นชุดๆ
อย่างต่อเนื่อง แต่แยกขาด จากกัน เมื่อเราต้องการฟังเสียงเหล่านี้ เครื่องเล่นก็จะนำข้อมูลเหล่านั้นมา
เรียงต่อกัน และแปลงกลับออกมาเป็นเสียงให้เราได้ยินครับ ส่วนสำคัญที่ เราควรจะให้ความสนใจก็คือ
ความละเอียดของข้อมูลในแต่ละชุดที่เรา บันทึกมา และจำนวนครั้งในการบันทึกต่อวินาที |
|
|
|
|
ความละเอียดของข้อมูลแต่ละชุดที่เก็บ
ก็คือ จำนวน bit หรือ Bit Depth นั่นเองครับ
ส่วนจำนวนครั้งในการเก็บต่อ 1 วินาที ก็คือ Sampling Rate ครับ และเสียงที่เก็บอยู่ใน
Bit Depth และ Sampling Rate ต่างๆ ก็คือ Audio Format ต่างๆ นั่นเองครับ |
|
|
|
Bit
คือ หน่วยของข้อมูลที่เล็กที่สุดในระบบฐานข้อมูลของคอมพิวเตอร์
ประกอบตัวเลข 0 และ 1 เท่านั้น จำนวน bit ที่เรียงตัวกัน 8 ตัว ก็คือ ความละเอียดในระดับ
8 bit หรือ 16 bit ก็คือ ตัวเลข 0101 16 ตัวเรียงกันครับ |
|
|
|
|
Sampling
Rate คือ จำนวนครั้งในการเก็บข้อมูลใน 1 วินาที มีหน่วย เป็น Hertz ซึ่งหมายถึงจำนวนคลื่น
(cycle) ใน 1 วินาทีนั่นเอง |
|
|
|
|
ดังนั้น
Audio Format เช่น 8 Bit/22,050 Hz หรือ 16
Bit/44,100 Hz หรือ 24 Bit/48,000
Hz ก็คือ file ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ที่เก็บความละเอียดของเสียงไว้ ในระดับที่ต่างกันออกไปนั่นเองครับ
ซึ่งระดับกลางที่ใช้กันเป็น มาตราฐานคือ 16 Bit/44,100 Hz |
Bit
|
|
Byte
|
|
Kb.
|
|
Mb.
|
|
Gb.
|
|
?
|
8
|
=
|
1
|
|
|
|
|
|
1,000
|
=
|
1
|
|
|
|
|
1,000
|
=
|
1
|
|
|
|
1,000
|
=
|
1
|
|
|
1,000
|
=
|
1
|
|
|
|
|
|
ส่วน 8 Bit/22,050 Hz นั้นถือว่าความละเอียดของเสียง
น้อยเกินไป และ 24 Bit/48,000 Hz ก็ถือว่าเก็บรายละเอียดได้สูงมาก แต่ก็ใช้พื้นที่ในการเก็บมาก
ขึ้นด้วย เช่นกันครับ ปัจจุบันความละเอียดนั้นสามารถทำได้สูงถึง 32 Bit/96,000
Hz ครับ แต่ก็ยังไม่เป็นที่นิยมเพราะต้องใช้พื้นที่มหาศาล และอุปกรณ์ต่างๆยังมีราคาแพงอยู่มากครับ |
|
|
|
Spectrum
Analysis |
|
เป็นกราฟอีกแบบหนึ่ง ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างความถี่ของเสียงใน
ย่านต่างๆ(Frequency) ต่อความดัง(Amplitude) หรือฝรั่งจะเรียกกราฟแบบนี้ว่าเป็นชนิด
Frequency Domain |
|
|
|
|
 |
ย่านความถี่ที่เราสามารถได้ยิน อย่างชัดเจนคือ
60-14,000 Hz ส่วนความสามารถในการได้ยิน ของเราคือ 20-20,000 Hz
|
|
Spectrurm
Analysis |
|
|
กราฟชนิดนี้สามารถวิเคราะห์เสียงในด้านย่านความถี่ออกมาได้หลายรูปแบบ
ซึ่งรูปแบบหนึ่งที่เราคุ้นเคยกันดีและพบเห็นกับบ่อยๆ ก็คือแบบ Spectrum ซึ่งก็จะเห็นได้ทั่วไปตามหน้าปัดเครื่องเสียงที่จะเป็นแถบไฟเป็นเส้นๆวิ่งขึ้นลง
ตามเสียงเพลงนั่นล่ะครับ |
|
|
|
|
Perfect
Wave File |
|
เมื่อเราพูดถึง wave file
ที่ดีนั้น เราไม่ได้หมายถึง ความไพเราะของเสียงนะครับ เราหมายถึงคุณสมบัติของ
file ที่ถูกต้องตามหลัก sound engineer ซึ่งเป็นหลักสากลครับ เพราะฉะนั้น wave
file ที่ดีอาจเป็น file ที่เสียงไม่เพราะได้ แต่เสียงที่มีความไพเราะอยู่ในตัว
มักจะเป็น wave file ที่ดีเสมอครับ ซึ่งมีหลักใหญ่ๆที่เกี่ยวข้องอยู่กับคำศัพท์เหล่านี้ครับ |
|
|
|
 |
 |
Hi
Dynamic Range |
Low
Dynamic Range |
|
|
|
|
Dynamic
Range |
|
Dynamic Range หมายถึง
ความกว้างระหว่างความดังของเสียงที่เบาที่สุดและเสียงที่ดังที่สุด โดยทั่วไปว่ากันว่า
Master Track ที่ดีนั้นควรจะมี dynamic range ที่กว้าง ในขณะที่งานที่มี dynamic
range ที่แคบก็จะเป็นงานที่ไม่ดีนัก เช่น เพลงประเภท Orchestral ซึ่งในเพลงนั้น
เราสามารถจะได้ยินเสียงชิ้นดนตรีที่เบามากๆ ไปจนถึงเสียงของหลายเครื่องดนตรีที่โหมดัง
เร้าใจ ในขณะที่เพลงประเภท rock&roll นั้นตลอดทั้งเพลงก็จะมีระดับความดังเท่าๆกันทั้งหมด |
|
|
|
|
|
แต่ในด้านของการทำงานจริงๆแล้ว
งานดนตรีถือเป็นเรื่องของศิลปะ รสนิยม และความชื่นชอบของกลุ่มคน ดังนั้น ค่าของ
Dynamic Range จึงใช้เพื่อการอ้างอิง ถึงคุณภาพเสียงที่ดี มากกว่าจะเป็นตัวชี้วัดว่างานชิ้นนั้นดีหรือไม่ครับ
|
|
|
|
|
Peak,
Cliping |
|
Peak หมายถึงระดับความดังของเสียงที่ดังเกินระดับสูงสุดของสัญญาณเสียงที่บันทึกได้
โดยทั่วไปการบันทึกเสียงนั้น ควรตั้งระดับของเสียงที่จะบันทึก ให้ใกล้กับระดับสูงสุด
ของเสียงที่สามารถจะบันทึกได้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ครับ |
 |
เพื่อให้เสียงที่ได้ชัดเจนที่สุด
ซึ่งก็มักจะเกิดจุดที่เสียงบันทึกได้นั้น เกินระดับสูงสุด(Peak)ไปบ้าง ถ้าเกิดขึ้นไม่มากนัก
ก็ถือว่าไม่เป็นไรครับ แต่ถ้าเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก็จะทำให้เสียงที่ได้แตกพร่า
และจุดที่ เกิด Peak อย่างต่อเนื่องนั้น เราเรียกอาการของบริเวณนั้นว่า Cliping
ครับ |
|
Cliping
|
|
|
RMS
(Root Mean Square) |
|
RMS เป็นตัวชื้วัดระดับความดัง(หนาแน่น)ของเสียง
ในระยะเวลาทั้งหมดของเสียงตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งจบ ซึ่งมีหน่วนเป็น dB.(Decibel)
คำนวนโดยหาค่าเฉลี่ยทั้งหมดของความดังของเสียง ในระยะเวลาทั้งหมดของเสียงครับ
|
|
|
|
|
|
A
Perfect Wave File |
|
ที่จริงยังมีตัวชี้วัดอื่นๆอีกมากครับ
แต่โดยหลักกว้างๆนั้น wave file ที่ดี ก็คือ file เสียงที่มีระดับของ Dynamic
Range ที่กว้างพอเหมาะกับธรรมชาติของเสียงนั้นๆ ไม่ควรมีจุดที่เกิดการ Peak
และจะต้องไม่มีบริเวณที่เกิดอาการ Cliping ใน file เลย และสุดท้ายระดับความดังโดยรวมของ
file (RMS) จะต้องสูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยไม่ทำให้เกิดบริเวณที่ Cliping
และยังคงความกว้างของ Dynamic Range ไว้ได้อย่างเหมาะสมนั่นเองครับ ฟังดูก็เหมือนไม่มีอะไรยุ่งยาก
แต่เวลาทำงานจริงๆ เป็นเรื่องยากมากทีเดียวครับ ที่จะได้ wave file แบบนี้ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
Studee
: The Studio Education for Thai Musician..
|
|