สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงใช้เวลาประมาณ
๓ ปี รวบรวม กอบกู้ประเทศไทยขึ้นใหม่ หลังจาก กรุงศรีอยุธยาแตก เป็น ครั้งที่
๒ งานกู้ชาตินี้ ประสบความสำเร็จเต็มที่ในปี พ.ศ.๒๓๑๓
แต่ทางพม่าก็มิได้ปล่อยให้เราอยู่เป็นสุขสงบได้นาน ในปีเดียวกันนั้น
เจ้าพม่าชื่อโปมยุง่วน ซึ่งครองเมืองเชียงใหม่อยู่ ส่งกองทัพเป็นทั้งทหารพม่าและทหารลาว
ยกมาล้อมเมือง สวรรคโลก สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงสั่งเกณฑ์ทัพจากเมืองพิษณุโลก
สุโขทัย และเมือง พิชัย ยกขึ้นไปช่วย เจ้าพระยา สวรรคโลก ซึ่งจัดการ ป้องกันรักษาเมืองอยู่อย่างแข็งขัน
กองทัพไทยจากเมืองพิษณุโลก สุโขทัย และ พิชัย นี้มีพระยาสุรสีห์ (ซึ่งต่อไปเป็น
สมเด็จพระ อนุชาธิราช ในรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุง รัตนโกสินทร์) เป็น แม่ทัพ พระยาสุรสีห์เป็น
แม่ทัพที่ เก่งกาจสามารถที่สุด ในประวัติศาสตร์ของเรา ผู้หนึ่ง สามารถตีพม่า
ให้แตกกระจาย ถอย หนีไปจาก เมืองสวรรคโลกได้
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกกองทัพหลวงติดตามไปด้วยพระองค์เอง เมื่อผ่านเมืองแพร่
เจ้าเมือง แพร่ซึ่ง เป็นพม่าเห็นว่าไม่มีทางต่อสู้ ก็เข้ามาอ่อนน้อมยอมเป็นข้า
หลังจากนั้น ทัพไทยทั้งหมด จึงเข้า ล้อมเมือง เชียงใหม่ ในการต่อสู้ครั้งนี้เราไม่ประสบความสำเร็จ
ไม่ สามารถเอาชัยชนะต่อพม่า ซึ่ง ป้องกันเมืองเชียงใหม่ อยู่ได้ โปมยุง่วน เจ้าครองเมือง
เชียงใหม่ ทำการสู้รบป้องกันเมืองอย่างเข้มแข็ง ฝ่ายเราพยายามส่งทหาร เข้า ทำลายประตู
และกำแพงเมืองสักเท่าใด ก็ถูกตีกลับมาทุกครั้ง จนใน ที่สุด สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
ตัดสิน พระทัยโปรดเกล้าให้เลิกทัพ พอฝ่ายไทยแตกทัพถอยกลับ พม่า ยิ่งรู้สึกฮึกเหิมมากขึ้น
รวม พวกพลออก ติดตาม ไล่ฆ่าฟันทหารไทย จนทัพหลังของไทย นั้นแตก กระจายพ่ายแพ้
ถูก พม่าเข่นฆ่าเข้ามาถึงทัพหลวง มีความจำเป็นให้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเอง
ต้อง ชักพระแสง ดาบเข้าประจัญบานรบพุ่งกับพม่า ตัวต่อ ตัว เช่น ทหาร ธรรมดาผู้หนึ่ง
จึงเป็นผลให้ทหาร พม่าที่ติดตามมานั้น ต้องแตกพ่ายกระจายไป และกองทัพหลวง สามารถ
เดินทางกลับ กรุงธนบุรี ได้โดยเรียบร้อย
สองปีต่อมา ในพุทธศักราช ๒๓๑๕ โปมยุง่วนเจ้าเมืองเชียงใหม่ รวบรวมกองทัพพม่าเข้าล้อม
เมือง พิชัย เจ้าพระยาสุรสีห์ผู้สำเร็จราชการเมืองพิษณุโลก ยกกองทัพไปช่วยพระยาพิชัย
ไทยพม่าสู้รบ กัน อย่าง ประจัญบาน กองทัพพม่าสู้ไม่ได้ ก็แตกถอยกลับไป แต่ในปี
พ.ศ.๒๓๑๖ ฝ่ายพม่ากลับมาตี เมืองพิชัยอีกครั้ง ในการรบครั้งนี้พระยาพิชัย สู้พม่าด้วย
ความกล้าหาญ จนขนาดดาบ ของตนเอง หัก สะบั้นไปแล้ว ยังใช้ดาบ ที่หักนั้นต่อสู้ฆ่าฟันพม่าต่อไป
จนถึงกับได้รับฉายาว่า "พระยาพิชัยดาบหัก"
เจ้าพระยาสุรสีห์ผู้ครองเมือง พิษณุโลก ต้องส่ง กองทัพ ขึ้นไปช่วยเมืองพิชัยอีกครั้งหนึ่ง
พม่าจึงแตก กระจายกลับไป การที่ทหารพม่า จาก เมืองเชียงใหม่ ลงมาก่อกวน ห้อมล้อม
เมืองของไทยถึงหลายครั้งหลายคราวนี้ เป็นเหตุให้พระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงดำริว่า
มีความ จำเป็นจะต้องทำศึกใหญ่ ตีเมือง เชียงใหม่ อีกครั้ง หนึ่งจึงโปรดเกล้าให้สำรวจจำนวนชาย
ฉกรรจ์ไทยสำหรับใช้ในการศึก ผู้ใดแข็งแรง กำยำ ให้สัก ข้อมือไว้ ถึงพุทธศักราช
๒๓๑๗ จึงเกณฑ์ใหญ่ รวม พลที่เมืองตาก โปรดให้เจ้าพระยาจักรี (ซึ่งภายหลัง เป็นสมเด็จพระ
พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช)เป็นแม่ทัพฝ่ายกรุงและให้เจ้าพระยาสุรสีห์ผู้น้อง เป็นแม่ทัพ
ฝ่ายเหนือ ยกขึ้นตีเชียงใหม่ทันที การศึกครั้งนี้ พม่าคอย ฝ่ายเราอยู่ อย่าง
เตรียมพร้อม พอ ทัพไทยยกไปถึง พม่าก็ส่งทหารออกจากเมืองเชียงใหม่ เข้าปล้นค่าย
เจ้าพระยาจักรีทันที ฝ่ายทหารของเจ้าพระยาจักรีสู้รบพม่าเป็นสามารถ ตีจนพม่าแตกพ่ายหนี
กลับเข้าเมือง เชียงใหม่ไป ทันใดนั้นกองทัพไทยของเจ้าพระยาจักรี และของเจ้าพระยาสุรสีห์
ก็ยกเข้าตี พม่าในเมืองเชียงใหม่พร้อมกันคนละด้าน พงศาวดารเล่าไว้ว่า
เมื่อตำรวจผู้ตรวจการณ์นำข่าวศึกเข้ากราบทูล สมเด็จพระเจ้า กรุงธนบุรีทรงตบพระเพลาทั้งสองข้างและรับสั่งด้วยความโสมนัสว่า
"นี่จะว่าพี่หรือน้องดีกว่ากัน"
เมืองเชียงใหม่ถูกตีแตกภายในวันเดียว โปมยุง่วน เจ้าพม่าครองเมือง และโปสุพลา
ข้าหลวง พม่าที่กรุงอังวะส่งมาเป็นผู้ช่วย ต้องพา ครอบครัวหนี ออกทางด้าน ประตู
ช้างเผือก ซึ่งเป็น ด้านที่เจ้าพระยาสวรรคโลกแม่ทัพไทยผู้หนึ่งมีหน้าที่กันอยู่
จึงเป็นเหตุให้เจ้าพระยา สวรรคโลก ถูกลงโทษเฆี่ยนหลัง ๕๐ ที เพราะปล่อยให้ โปมยุง่วนและโปสุพลาตีฝ่าหนีไปได้
เสร็จศึก เชียงใหม่แล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงเสด็จกลับ ในการเสด็จกลับนี้
มีเรื่อง เล่า ในประวัติศาสตร์ ว่าเรือพระที่นั่งของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
กระทบตอไม้ใต้น้ำ ถึงกับ เรือ แตกล่มลง สมเด็จพระเจ้า กรุงธนบุรี ต้องทรงว่ายน้ำด้วยพระองค์เองขึ้นมาที่หาดทราย
หาก เป็นรัชกาลพระเจ้าแผ่นดินองค์อื่นๆในอดีต พวกนายท้าย และคนพายเรือ ทั้งหมด
คงจะต้อง ถูกประหารชีวิตไม่มีเหลือ แต่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงตัดสินพระทัยไม่ลงโทษผู้ใดเลย
ในปี พ.ศ.๒๓๑๗ พระเจ้าอังวะสั่งให้แม่ทัพเอกของพม่า คือ อะแซหวุ่นกี้ ปราบปราม
พวก มอญที่กบฏแข็งเมืองขึ้นในพม่าเป็นเหตุให้ชาวมอญที่พ่ายแพ้ทหารอะแซหวุ่นกี้
ต้องอพยพ หนี เข้ามาใน อาณาจักรไทย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระเมตตากรุณาต่อชาวมอญ
นำทหารไทยไปคอยรับและรักษาชาวมอญ อพยพทั้งหลาย ให้ได้มาพึ่งเย็นในแดนไทย อะแซหวุ่นกี้จึงส่งแม่ทัพพม่าชื่อ
งุยอคงหวุ่น ติดตามพวกมอญ เข้ามา งุยอคงหวุ่นยกทัพ มาทางด่านพระเจดีย์สามองค์
ปะทะกับ ทหารไทยซึ่งรักษาการอยู่ ฝ่ายไทยสู้ไม่ได้ ต้องถอย หนี ในการพ่ายแพ้ของไทยครั้งนี้
พงศาวดารบันทึก พระราชดำรัส ของสมเด็จพระเจ้า กรุงธนบุรีไว้ว่า
"ใช้ไปทำศึกบ้านใดเมืองใด พอมิได้สะกดหลังไปด้วยก็มิได้สำเร็จราชการ
ครั้งนี้พอไปราชการ สงครามเมืองเชียงใหม่ ให้ลูกอยู่ทำราชการข้างหลัง (พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเรียกตนเองว่าพ่อ
และเรียกข้าราชการ ทั้งหลายว่าลูกเสมอ)และมาพ่ายแพ้แก่พม่าให้ขายพระบาทพ่อ แล้ว
กล่าวโทษ กันว่า อดข้าว ปลาอาหาร อัน ทำการศึกครั้งนี้ พ่อจะชิงชังแก่ลูกผู้ใดหามิได้
รักใคร่ เสมอกัน อันเป็นกษัตราธิราช เจ้าแผ่นดิน ถ้าผู้ใดมี ความชอบมิได้ปูนบำเหน็จ
ผู้ใดผิด มิได้ เอาโทษ ทำฉะนี้ก็ไม่ควรแก่ ราชการ แผ่นดินหามิได้ ประเพณี กษัตราธิราช
ผู้ใดมีความชอบ ปูนบำเหน็จรางวัลให้ รั้งเมืองครอง เมือง ตาม ฐานานุกรมลำดับ
ถ้าโทษผิด ควรจะตีก็ตี จึง จะชอบด้วยราชการแผ่นดิน จะทำสงคราม กับพม่าไปได้ และพ่ออุตสาหะทรมาน
ทำการ สงครามครั้งนี้ ใช่จะ จงพระทัยปรารถนา หาความสุข แต่พระองค์ ผู้เดียวหามิได้
อุตสาหะ สู้ ยากลำบากพระกายครั้งนี้ เพื่อจะ ทะนุบำรุงพระศาสนาให้สมณชีพราหมณ์
ประชาราษฏร เป็นสุขทั่วขอบขัณฑเสมา เพื่อมิให้มีคนเอาสัตย์ อาธรรม และ ครั้งนี้ลูกทั้งหลาย
ทำการ พ่ายแพ้แก่พม่า ครั้นจะเอาโทษก็เสียดายนัก ด้วยได้เลี้ยงดูมาเป็นใหญ่โตแล้ว
ผิดครั้งนี้ จะ ยกไว้ให้ ทำราชการแก้ตัว ครั้งหนึ่งก่อนและ เอาบุตรภรรยา มาจำไว้สิ้นแล้ว
แลอันจะ ตั้งค่าย อยู่เมืองราชบุรีนั้น ถ้าพม่ายกมาตีรับรองหยุดมีชัยชนะแล้วจึงจะพ้นโทษ
ทั้งนายทั้งไพร่เริ่ม คิดอ่านจงดีเถิด อันพ่อจะละพระราชกำหนดบทพระอัยการศึกเสียนั้นมิได้
ถึงมาทตัว จะเป็น นายทัพนายกองมิได้ จะเพ็ดทูล ขอตัว เป็นไพร่ก็ตามใจสมัคร ถ้าจะทำไปได้ก็ให้เร่งคิดอ่าน
ทำการแก้ตัวไปให้รอดชีวิตเถิด"
รวมความว่า ในการพ่ายแพ้ครั้งนี้ เหล่าแม่ทัพนายกองหลายคนเกือบหัวขาด
ลูกเมียต้องถูก เข้าจำ คุกขัง ส่วนต้วเองนั้นได้รับ พระราชทานโอกาสแก้ตัวครั้งเดียว
หากกลับไปรบแพ้อีก ก็จะต้องถูก ถอด เป็นไพร่ จำขัง หรือฆ่าทิ้งเสีย
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรับสั่งให้พระองค์เจ้าจุ้ยลูกเธอกับพระยาธิเบศร์ภักดีจางวาง
มหาดเล็ก คุม พล ๓๐๐๐ คน ตั้งรักษาที่เมืองราชบุรี และมีตราสั่งให้เจ้าพระยาสุรสีห์
ยกทัพ เหนือจาก พิษณุโลก ลงมาเฝ้า เพื่อเตรียมต่อสู้พม่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
เสด็จลงประทับ ที่ตำหนักแพ ให้กองทัพไทย ทั้งปวง จากเมือง เหนือ และกรุงธนบุรีเข้าถวายบังคมลาทันที
เพื่อเดินทัพไปสมทบที่ เมืองราชบุรี โดยไม่ยอมให้ผู้ใดแวะเยี่ยมบ้าน ลาพ่อแม่พี่น้อง
หรือ ครอบครัวได้ แต่มีนายทหารไทยผู้หนึ่งคือพระเทพโยธาบังอาจขัดรับสั่งแอบแวะ
เยี่ยมลา ภรรยาและลูก เรื่องทราบถึงสมเด็จ พระเจ้า กรุงธนบุรี ทรงพิโรธเป็นอย่างมาก
จับตัว พระเทพโยธา เข้ามัดกับเสาตำหนักแพ ทรงชักพระแสงดาบออก และตัดศีรษะพระเทพโยธา
ขาดด้วยพระหัตถ์ของ พระองค์เอง กองทัพพม่าที่ส่งมาคราวนี้ ไล่จับผู้คนและ แย่งชิงทรัพย์
สมบัติตลอดเมืองสุพรรณบุรี กาญจนบุรี นครชัยศรี เพชรบุรี สมุทรสงคราม และตั้งมั่น
อยู่ที่ ตำบลบางแก้ว แขวงเมืองราชบุรี กองทัพของพระองค์เจ้าจุ้ยไปถึงก็ล้อมค่ายพม่าทันที
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เสด็จยกทัพตามไปทั้งๆที่ขณะนั้น กรมพระเทพามาตย์ พระราชชนนี
กำลังประชวรหนัก พระเจ้ากรุงธนบุรีก็ไม่ยอมเปลี่ยนพระทัย กลับมา กรมพระเทพามาตย์
จึงสิ้นพระชนม์ ในเวลาที่พระโอรสทอดทิ้งออกไปทำศึก สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๕ ทรงบันทึกไว้ในพระราชวิจารณ์เกี่ยวกับเหตุการณ์ตอนนี้ว่า "เมื่อกรมพระ
เทพามาตย์ ทิวงคตนั้น ปลายปีมะเมีย จุลศักราช ๑๑๓๖ กำลังล้อมค่ายพม่า บ้านบางนาง
แก้ว ปรากฏว่าประชวรพระยอดอัคเนสันทิวงคตในวันอังคารเดือน ๔ ขึ้น ๖ ค่ำ ได้พบ
จดหมายรายวันทัพ ว่าในวันอังคารเดือน ๔ ขึ้น ๖ ค่ำนั่นเองเจ้ากรุงธนบุรีได้ทราบ
ข่าว ประชวรเป็นครั้งแรก มีข้อความที่จดไว้ว่า "อนึ่งเพลาย่ำค่ำแล้ว ๕ บาท
ขุนวิเศษ โอสถมอถือ พระอาการทรงพระประชวร สมเด็จพระพันปีหลวง มาถวายในพระตำหนักค่ายวัดเขาพระ
ครั้น ทอดพระเนตรพระอาการแล้วเร่งให้ขุนวิเศษโอสถกลับไป ถ้าเจ้าคุณเห็นเหตุการณ์
สิ่งใดผิดปกติให้เอา หมอ จำไว้แล้วริบให้สิ้น แล้วตรัสว่าพระโรคหนักนักจะมิได้ไปทันเห็นพระองค์
ด้วย การแผ่นดินครั้งนี้ ใหญ่ หลวงนัก ครั้นจะไปบัดนี้ ไม่เห็นผู้ใดที่จะไว้ใจอยู่ต้านต่อข้าศึกได้
" ข้อที่ทราบ ข่าวทิวงคต จากหลวง มหาแพทย์ที่ออกไปจากกรุงธนบุรีนั้น เป็นการภายหลัง
หลวงมหาแพทย์นี้เอง แกจะออกไป เมื่อถูกริบ แล้ว หรือ เหตุใดจึงไม่จำไว้ก็ไม่ทราบ
บางทีอยากทราบพระอาการ ให้เข้ามา เอา ตัวออกไปซัก ครั้นเมื่อพม่าแตก ไปหมดแล้ว
จึงได้กลับมาทำเมรุที่วัดบางยี่เรือ(นอก) เราพอ จะได้ ความว่า สมเด็จพระราชชนนีของ
พระเจ้า กรุงธนบุรีทรงประชวรหนัก เป็นฝีขึ้นขนาด รุนแรง หมอ ประจำคือขุนวิเศษโอสถ
ทูลอาการของพระชนนี ต่อ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี แต่กลับถูกคาดโทษว่า ถ้ารักษาไม่หายจะโดนจำขังใส่คุก
และริบทรัพย์สมบัติเสียนั้น การเป็นหมอรักษาเจ้านายในสมัยโบราณดูเป็นอาชีพที่เสี่ยงอันตรายสักหน่อย
รักษาหาย ก็ดีไป แต่ถ้า ถวายหยูกยา ต่างๆแล้วอาการ ของคนไข้ไม่ดีขึ้น หมอเองอาจต้องเข้าคุกหรือหัวขาดก็ได้
ตัวอย่างอีกอัน หนึ่ง ที่เราเห็นใน ประวัติศาสตร์ คือ ตอนเจ้าพระยาโกษาปานเสียใจทนความโหดร้ายของสมเด็จพระเพทราชาไม่ได้
จึง ใช้มีด แทงตนเองตาย หมอจีนในวังซึ่งมีหน้าที่รักษาท่านถูกสมเด็จพระเพทราชากล่าวหาว่า
ให้ยา ผิดแก่ เจ้าพระยาโกษาปาน หมอเคราะห์ร้ายผู้นั้นเลย ถูกสั่งเฆี่ยนหลังเฆี่ยนท้อง
อาการ สาหัสปางตาย
"กักมันไว้ให้โซ
แล้วเอาข้าวล่อ เอาเถิด"
เมื่อเสบียงอาหารหมดเกลี้ยง ทหารพม่าหลายคนเช่น อุตมะสิงห์จอจัว
ต้องยอมพาพรรคพวก ออกมา อ่อน น้อมเป็นข้า ส่วนแม่ทัพที่แท้จริงคือ มุยอคงหวุ่นนั้น
อยากยอมแพ้แต่กลัวตาย ส่งคนเจรจาไปมา กับ สมเด็จ พระเจ้ากรุงธนบุรี เจ้าพระยาจักรี
เจ้าพระยาสุรสีห์ เป็นเวลา นาน มุยอคงหวุ่นบอกว่า ฝ่าย พม่ายอมแพ้ เต็มที่ จะมอบอาวุธ
และทรัพย์สมบัติ ต่างๆให้แก่ ไทยหมด ขอแต่ตัวกลับไปบ้านเมือง เท่านั้น ฝ่ายไทยกล่าวว่า
ถ้า ยอมแพ้ก็จะไม่ เข่นฆ่า ทำอันตราย แต่จะให้ลอยชายกลับไปเมืองพม่า ตามสบายนั้นเป็นไปไม่ได้
ระหว่าง เจรจาอยู่ พม่าก็อดตายกันมากขึ้นทุกที คำนวณว่ากว่าจะตกลง กันได้ ฝ่ายพม่าตายไปหลายพันคน
จนใน ที่สุด พวกที่ยังประทังชีวิตอยู่ได้ ต้องยอมแพ้โดยไม่มีเงื่อนไข พม่าที่เหลือ
ตายยอม ให้จับเป็นเชลยมีจำนวน เหลืออยู่เพียง ๑,๓๐๐ คนเท่านั้น เหตุการณ์ตอนนี้
สมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบันทึกไว้ใน พระราชวิจารณ์ว่า
" ได้ข่าวมุยอคงหวุ่น กองหน้า คน ๕,๐๐๐ ตะแคงมรหน่องกองหนุนคน
๓,๐๐๐ ตีทัพซึ่งให้ไป ขัดอยู่ท่าดินแดง แตก พม่าเข้ามา ลาดถึง เมืองนครชัยศรี
มีค่ายใหญ่ตั้งอยู่ปากแพรก ค่ายหนึ่ง บ้านบางนางแก้ว เมืองราชบุรี ค่ายหนึ่ง
จึงรีบ เสด็จ กลับลงมา ยกออกไปรับ ทาง ราชบุรี ทั้งในขณะนั้นก็ได้ข่าวพม่า ทางมะริดตีบ้าน
ทัพสะแก อาการกริยาของทัพพม่า ที่ยก เข้ามาคราวนี้ ลักษณะคล้ายกันกับมาตีกรุงเมื่อครั้งเสียกรุง
แยกกัน ตั้งกองใหญ่อยู่ แล้วแต่ง กองเล็กๆออกเที่ยวล่าตีตามตำบลบ้านและเมืองต่างๆ
ทัพหลวงออกไปตั้งล้อมพม่า บ้าน บางนางแก้ว อยู่ช้า นาน มุยอคงหวุ่นจึงได้บอกยอมแพ้
"
การพ่ายแพ้ของมุยอคงหวุ่นนี้ สร้างความขายหน้าให้แก่ประเทศพม่า เป็นอย่างมาก
ทำให้ อะแซหวุ่นกี้ แม่ทัพ เอกของกษัตริย์พม่าในสมัยนั้น ตัดสินใจเตรียมทัพใหญ่
ยกมาตีเมืองไทย ด้วยตนเอง คราวนี้ อะแซหวุ่นกี้ นำทหารเป็นจำนวน ๓๕,๐๐๐ คน เข้าทางด่านแม่ละเมา
ทัพพม่านี้แบ่งออกเป็นทัพหน้า ๒๐,๐๐๐คน มีน้อง อะแซหวุ่นกี้ชื่อ แมงแยยางู เป็น
แม่ทัพ อีกทัพหนึ่งจำนวนทหาร ๑๕,๐๐๐ คน มีตะแคมรหน่อง เจ้าเมืองตองอู เป็นแม่ทัพ
ส่วนผู้ บัญชาการ สูงสุด เหนือสองคนนี้คือ ตัวอะแซหวุ่นกี้ เอง เราทราบดีจากประวัติศาสตร์ว่า
อะแซหวุ่นกี้เป็นแม่ทัพเฒ่า ที่รบ เก่งที่สุดของประเทศพม่า ใน สมัยนั้น เคยชนะจีนที่เคย
รุกรานพม่า และ ปราบมอญซึ่งก่อการกบฏยุ่งยากในประเทศพม่า อะแซหวุ่นกี้ ก็เป็น
บุรุษที่มีอัชฌาสัยสุภาพ น้ำใจกว้างชวาง สมเป็นยอดนักรบที่แท้จริง เมื่อทัพ เดินมา
ถึงเมือง สวรรคโลก อะแซหวุ่นกี้จับตัวกรมการสวรรคโลกได้สองคน ไต่ถามว่า"พระยาเสือ
(หมายถึง เจ้าพระยาสุรสีห์)เจ้าเมืองพิษณุโลก อยู่หรือไม่" ขณะนั้นเจ้าพระยาสุรสีห์มิได้อยู่
ที่เมือง พิษณุโลก แต่ต้องเดินทัพขึ้นไปทางเชียงใหม่ กรมการเมือง จึงตอบว่า ไม่อยู่อะแซหวุ่นกี้
ได้ยินเช่นนั้น ก็ตัดสินใจ ไม่ตีพิษณูโลก กล่าวว่า"เจ้าของเขายังไม่อยู่
อย่าเพิ่งไปเหยียบ เมือง พิษณุโลกเลย" แล้วจึงตั้งทัพ คอย อยู่ที่กรุงสุโขทัย
อะแซหวุ่นกี้รออยู่จน เจ้าพระยาจักรี และ เจ้าพระยา สุรสีห์ เดินทัพมาถึงเมือง
พิษณุโลก เข้าเมืองเรียบร้อยแล้ว แม่ทัพพม่าผู้นี้จึง นำทหารเข้าล้อมเมืองในการรบครั้งนี้
เจ้าพระยา สุรสีห์ยกทัพ ต่อสู้พม่าแต่พ่ายแพ้ กลับเข้า เมือง ส่วนเจ้าพระยาจักรีนั้นเวลายกทัพออกต่อสู้พม่าได้ชัยชนะ
พม่าต้องหนีเข้าค่าย หลายครั้ง ทำให้อะแซหวุ่นกี้เกิดความสนใจ ว่าเจ้าพระยาจักรี
มีฝีมือดี วันหนึ่งอะแซหวุ่นกี้ จึงขอดูตัวเจ้าพระยาจักรี วันนั้นไทยและพม่าเลิกรบ
ต่างแต่งเครื่องแบบเต็มยศ ออกพบกัน อะแซหวุ่นกี้ชมเชยว่า เจ้าพระยาจักรีนั้นรูปงาม
ฝีมือดี และทำนายว่าต่อไป จะได้เป็น กษัตริย์ แต่ แม่ทัพผู้เฒ่าของพม่ายังกล่าวต่อไปอีกว่า
ในการรบระหว่างเขาและเจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห์ เพื่อชิง เมืองพิษณุโลกนี้
ฝ่ายเจ้าพระยาทั้งสองจะต้องเป็นผู้พ่ายแพ้ และ ตนเองคือ อะแซหวุ่นกี้ จะตีพิษณุโลกแตก
ได้แน่นอน หลังจากการเอาชนะนักรบ ชาวไทย ครั้งนี้ ต่อไปภายหน้า พม่าจะตีเมืองไทยไม่ได้อีก
ในวันนั้น ทั้ง สองกองทัพมีการเลี้ยงดู และ เปลี่ยนของขวัญ ต่อกันอย่าง สนุกสนาส
สิ้นวันนั้นแล้วจึงรบราฆ่าฟันกันต่อไป
เหตุการณ์นี้พงศาวดารบันทึกไว้ว่า " เจ้าพระยาจักรีจึงได้ว่ากับเจ้าพระยาสุรสีห์
ว่าทัพเจ้า เป็นหัวเมือง สู้ไม่ได้ ข้าจะออกตีเอง เจ้าพระยาจักรียกออกโจมตีชนะบ้างแพ้บ้างถึง
๙ วันถึง ๑๐ วันอะแซหวุ่นกี้ จึงให้มาบอกว่าพรุ่งนี้เราอย่ารบกันเลย ให้ "เจ้าพระยากษัตริย์ศึก"
แม่ทัพ ออกมาเราจะขอดูตัว เจ้าพระยาจักรีขึ้นม้า กั้นสัปทนออกไปให้อะแซหวุ่นกี้ดูตัว
อะแซหวุ่นกี้ จึงให้ล่ามถามว่าอายุเท่าใด ตอบว่าอายุ ๓๐ เศษ แล้วถาม อะแซหวุ่นกี้
อะแซหวุ่นกี้ตอบว่า อายุ ๗๒ อะแซหวุ่นกี้ชมว่า รูปร่าง ก็ งาม ฝีมือก็เข็มแข็งสู้รบกับผู้เฒ่าได้
จง อุตส่ารักษาตัวไว้ ภายหน้าจะได้เป็นกษ้ตริย์ แล้วให้เอา เครื่อง ม้าทองสำรับ
๑ สักหลาดพับ ๑ ดินสอแก้ว ๒ ก้อน น้ำมันดิน ๒ หม้อ มาให้เจ้าพระยาตฃจักรี "
ถึงแม้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจะทรงยกกองทัพหลวง
มีทหารหมื่นสองพันคน ขึ้นไป ก็ไม่ สามารถช่วยเหลือ เจ้าพระยาสุรสีห์และเจ้าพระยาจักรีได้เท่าไร
อะแซหวุ่นกี้ล้อมเมิอง พิษณุโลก อยู่เป็นเวลาถึง ๑๐ เดือน ตั้งแต่เดือนอ้าย ปีมะแม
พ.ศ.๒๓๑๘ ถึงเดือน ๑๐ ปีวอก พ.ศ.๒๓๑๙ ในที่สุดฝ่ายไทย ต้อง ทิ้งเมือง พิษณุโลก
ตีฝ่าวงล้อมออก ยอมให้พม่าเข้า เมือง ได้ สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่
๕ ทรงบันทึก เหตุการณ์ ตอนนี้ไว้ดังนี้ " ทัพ หลวงยกขึ้นไปนครสวรรค์ ตั้งค่ายให้พระยาราชาเศรษฐี
อยู่รักษา ทัพหลวง ขึ้นไป ตั้งปากพิง ตั้งค่ายรายขึ้นไปทั้งสองฟากน้ำจนกระทั่งถึงวัดจุฬามณี
วัดจันทร์ พม่าเข้าตีเลาะ ตามค่าย ที่ตั้งโอบหลังกัน ประเดี๋ยวพม่าโอบหลังไทยประเดี๋ยวไทยโอบหลังพม่าลงปลายที่
สุดพม่า แยกกองทัพให้ลงมา นครสวรรค์และอุทัยธานี ตัดลำเลียงแล้วยกข้ามฟากไปตั้งโอบ
หลังทัพ หลวง ที่ปากพิง ฟากตะวันออก เหตุการณ์หนักแน่น จึงได้ถอยทัพหลวงลงมาตั้งบางข้าวตอก
เสบียงอาหารก็ ส่งกันไม่ได้ เจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห์ รักษาเมืองอยู่ได้ถึง
๓ เดือน จนไม่มีอะไร จะกิน จึงได้อนุญาต ให้ทิ้งเมืองยกหักออกมา ได้เลยไปตั้งอยู่
เพชรบูรณ์ เผอิญจอแจกัน ถ้าพิษณูโลก ไม่เสีย ช้าอยู่ได้อีก หน่อย หนึ่ง อะแซหวุ่นกี้ก็คงจะต้องถอยทัพ
เหตุด้วย มังระ เจ้าแผ่นดินพม่าตาย การในเมืองพม่าเกิดหยุกหยิก พอได้เมืองพิษณุโลกแล้ว
อะแซหวุ่นกี้ ก็ถอยทัพ กลับทันที " จดหมาย เหตุของพม่าเล่าไว้ว่า วันที่กองทัพอะแซหวุ่นกี้
ยกเข้าเมืองพิษณุโลกได้นั้น อะแซหวุ่นกี้ แม่ทัพผู้เฒ่า รวบรวมทหารทั้งหมด และ
ประกาศ ต่อแม่ทัพนายกองว่า
" ไทยเดี๋ยวนี้มีฝีมือเข้มแข็งนักไม่เหมือนไทยแต่ก่อน
และ เมืองพิษณุโลก เสีย ครั้งนี้ จะได้เสีย เพราะฝีมือทแกล้วทหารแท้เรานั้นหามิได้
เพราะ เขาอด เขาขาดเสบียงอาหาร จึงเสียเมือง และซึ่งจะมารบไทยสืบไปภายหน้านั้น
แม่ทัพมีสติปัญญา และ มี ฝีมือเสมอเรา และต่ำกว่า เรานั้นอย่ามา ทำสงครามตีเมืองไทยเลย
จะเอาชัยชนะเขามิได้ แม้นดีกว่าเราจึงจะมาทำศึก กับไทยได้ชัยชนะ"
ใน พ.ศ. ๒๓๑๙ พระเจ้าจิงกาจู เจ้ากรุงอังวะ ได้เห็นว่ากองทัพของอะแซหวุ่นกี้
ที่ส่งมาตีเมือง พิษณุโลกนั้น มิได้เอาชนะไทยได้ง่ายๆ เสียผู้คนในกองทัพมากมาย
จึงทรงคิดทำการแก้ตัว เกณฑ์ กองทัพพม่าและมอญ ขึ้นอีกเป็นจำนวน ๖,๐๐๐คน มีอำมลอกหวุ่น
เป็นแม่ทัพ สมทบ กับกองทัพ โปมยุหง่วน ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองเชียงแสนรวมกำลังกันมาตีเมืองเชียงใหม่อีก
ครั้งหนึ่ง ศึกครั้งนี้เป็นการ รุกรานของพม่าครั้งสุดท้าย ในสมัย พระเจ้ากรุงธนบุรี
พระยาวิเชียรปราการ ผู้รักษาเมืองเชียงใหม่ เห็นท่าจะสู้ไม่ได้ อพยพครอบครัวหนีลงมาอยู่
นครสวรรคโลก สมเด็จ พระเจ้ากรุงธนบุรีตัดสินพระทัยว่าเมืองเชียงใหม่นี้ป้องกันลำบาก
อีกไม่นานพม่า ก็จะ ยกทัพ มาก่อกวนรังแกอีก จึงรับสั่ง ให้ทิ้งเมืองเชียงใหม่เป็นเมืองร้างเสีย
อพยพขนผู้คนออกจาก เมืองนั้นหมด จึงเป็นสาเหตุให้นครเชียงใหม่ ของเรากลายเป็นเมืองร้างว่างเปล่า
อยู่เป็น เวลานาน ๑๕ ปี จนถึง สมัยสมเด็จ พระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงได้มีการรื้อฟื้น
ตั้งนครเชียงใหม่เป็นเมืองสำคัญตามเดิม
เรื่องการสงครามระหว่างไทยและพม่า ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้า กรุงธนบุรี จึงจบลงเป็นเพียงเท่านี้
เราจะพอสังเกตได้ว่าในการรบต่อสู้พม่าตั้งแต่เริ่มแรก
คือ พ.ศ.๒๓๑๗ จนถึงพม่าครั้งสุดท้าย ใน พ.ศ.๒๓๑๙ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ไม่ต้อง
ทรงบัญชาการทัพเองเท่าใด เพราะได้อาศัย แม่ทัพสองพี่น้อง ที่มีความ เก่งกาจสามารถอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์คือเจ้าพระยาสุรสีห์และ
เจ้าพระยาจักรี เราทราบดีว่า ต่อมาอีกไม่นานเจ้าพระยาจักรีจะทรงขึ้น ครองเป็นกษัตริย์ไทย
แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ส่วนเจ้าพระยาสุรสีห์ ผู้น้อง นั้นคือสมเด็จพระอนุชาธิราช
ซึ่งพระเชษฐา ทรงยกย่องให้มีอำนาจวาสนาเทียบเท่า พระเจ้าแผ่นดินไทย องค์หนึ่ง