น้ำสัตย์าธิษฐาน 'นเรศวร'

    ารที่สมเด็จพระนเรศวรทรงรอดพ้นภัยที่พระเจ้าหงสาวดีองค์ใหม่วางแผนลวงไปประหาร
ชีวิต เพราะพระมหาเถรคันฉ่อง ซึ่งรับทราบเหตุจากพระยาเกียรติ พระยาพระราม กราบ บังคมทูล ขณะเสด็จตาม แผน ลวง ด้วยความซื่อจนถึงขั้น 'จ่อปากเสือ'  ทำให้สมเด็จ พระนเรศวรทรงพ้นภัยชีวิตหวุดหวิด ทรงทำพิธีหลั่งน้ำ ประกาศอิสรภาพ ณ เมืองแครง ไม่ผูกพันกรุงหงสาวดี อีกต่อไป แล้วทรงยกทัพที่จะไปช่วยศึกลวง ของ หงสาวดีกลับ พระเจ้า หงสาวดีทราบเรื่องก็ส่งกำลังตามล่าสมเด็จพระนเรศวร แต่ต้องแตกพ่ายเพราะบุญญา บารมี ของยุวกษัตริย์ไทย สุญเสียแม่ทัพซึ่งต้องปืนที่ทรงยิงข้าม แม่น้ำสะโตงอันกว้างเกินกำลัง กระสุน จะพุ่งถึงกระสุนนัดนั้นปลิดชีวิต สุรกำมา แม่ทัพ หน้าหงสาวดี ตกคอช้างตาย กลางดิน เป็นอัศจรรย์ ทัพหน้าหงสาวดีเสียขวัญแตกกระเจิง คืนถิ่น สมเด็จพระนเรศวร ยุวกษัตริย์ นำทัพกลับถึงพระนครศรีอยุธยา
กราบทูลเรื่องทั้งหมดแด่สมเด็จพระมหาธรรมราชา หรือ สมเด็จพระสรรเพขญ์ ที่๑ พระราช บิดาทรง ทราบทุกประการ  จึงทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯให้ พระมหาเถรคันฉ่อง กับสองพระยา ที่ตามเสด็จมากับทัพ สมเด็จ พระนเรศวร ได้บำเหน็จความชอบทั่วหน้า พระ มหาเถรคันฉ่อง ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จ พระอริย วงศญาณปริยัติวราสังฆราชาธิปดี ศรีสมณุตมาปรินายก ติปิฏภธราจารย์สฤษติขัตติยสารสุนทรมหาคณฤศรอุดรวาม คณะ สังฆาราม คามวาสี สถิตอยู่ ณ  วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรวิหาร  พระอารามหลวง ทรงถวาย สัปทนกรรชิงคารหาม คนหาม จันหันนิจภัตรเครื่อง สมณบริขารต่างๆ และซึ่ง สมเด็จพระ วันรัตนสังฆราช คามวาสีเดิมนั้น โปรดให้ว่าแต่คณะปักษ์ใต้เป็นฝ่ายขวา และ คณะคามวาสี ซึ่ง แบ่งออกเป็นสองคณะ จำเดิมแต่นั้นมาจนตราบ เท่าทุกวันนี้ ส่วนพระยาเกียรติ พระยา พระราม ก็พระราชทานเจียดทอง เต้าน้ำทอง กระบี่บั้งทอง เงินตรา เสื้อผ้าพรรณนุ่งห่ม และเครื่องอุปโภค บริโภคเป็นอันมาก ครอบครัวมอญซึ่งกวาดลงมา ก็พระราชทาน ให้พระยา พระราม พระยาเกียรติ ควบคุมว่า กล่าวด้วยโดยโปรดให้ สอง พระยาอยู่ที่ตำบลบ้านชมิ้น วัดขุนแสน  ญาติโยมของ พระมหาเถรคันฉ่อง โปรดให้อยู่ตำบลบ้านหลังวัดนก ทุกคนต่างรับ พรมหากรุณาธิคุณ อยู่อย่างสุขสบาย ภายใต้พระบรม โพธิสมภาร ตามกรรมดีที่สร้างไว้  เสร็จการแล้วสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าก็กราบ ถวายบังคมลาพระราชบิดา ขึ้นไปยัง เมือง พระพิษณุโลก เสด็จ เข้าไป ถวายนมัสการพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ ทรงพระราช อุทิศศรัทธา เปลื้อง เครื่องสุวรรณอลงการ์ขัตติยาภรณ์ ออกทำ สักการบูชา แล้วเสด็จออก พร้อมด้วยมุขมนตรี  หลวงโกษา กับ ลูก ขุนทั้งปวง ผู้รักษาเมือง นำบรรดานายไทยใหญ่ เข้าเฝ้าฯ กราบทูล ถึงนันทสู กับราชสังครำ ซึ่งมาตั้ง ณ เมือง กำแพงเพชร มีหนังสือให้ส่ง ไทยใหญ่และครอบครัวที่หนีมาอยู่ ณ เมือง พระพิษณุโลก กลับไปให้เขาตาม พระราช บัญชาพระเจ้าหงสาวดี สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า มีรับสั่งให้ตอบไปว่า  'ธรรมดาพระ มหากษัตราธิราช ผู้ดำรงทศพิธราชธรรมนั้น อุปมาดังร่มพระมหาโพธิ์อันใหญ่ และ มีผู้มาพึ่ง พระราชสมภาร หวังจะให้พ้นจาก ภัย อันตรายต่างๆ ซึ่งนันทสู กับราชสังครำ จะให้ส่ง ไทยใหญ่ไปนั้น ไม่ควร ด้วยคลองขัตติราชประเพณี' ฝ่ายนันทสูกับราชสังครำ รับแจ้งดังนั้น ก็ปรึกษากันว่าชะรอยจะ ยั้ง ทัพอยู่ที่นี่ ไม่ได เสียแล้ว จำต้องเลิกครัวเมืองกลับหงสาวดี เพราะสมเด็จ พระนเรศวร ทรงมีท่าที ไม่ขึ้นกับ หงสาวดี แน่นอน  ข่าวการจะยกครัวกลับ หงสาวดีของนันทสู กับ ราชสังครำ แจ้งถึงเมืองพระพิษณุโลก สมเด็จพระ นเรศวรทรง ประชุมท้าว พระยา มุขมนตรีปรึกษาว่า จะละให้ชาวเมืองกำแพงเพชร ฉิบหายพลัดพราก จาก ภูมิลำเนานั้น มิชอบจำต้องยกไปตี นันทสู กับ ราชสังครำ มิให้เอาครัวเมืองกำแพงเพชร ไปได้ ที่ประชุมเห็นโดยพระองค์สมเด็จพระนเรศวรทรงนำรี้พลจากเมือง พระพิษณุโลก ไปยัง เมืองกำแพงเพชร สมเด็จพระนเรศวร ตรัสให้พระยาชัยบูรณ ขุนพระศรี กับพระหัวเมือง ทั้งปวงยกรี้พลช้าง ม้าเป็น กองหน้า ทัพหลวง ติดตามไปและตามทันที่ตำบลแม่ระกา ต่างสู้รบกันเป็นสามารถ ฝ่ายหนึ่งจะจับ อีกฝ่ายหนึ่งจะหนีพระยาชัยบูรณ ขี่ช้างพลายปืน พระรามชนช้างกับนันทสู จังหวะช้างนันทสูได้ล่าง ช้างพระยาบูรณเสียทีแปรไป นันทสู จ้วงฟันด้วยของ้าว พระยาชัยบูรณ ยกมือขึ้นปัดถูกของ้าวตัดนิ้วชี้ขาด พอดีกับ ช้าง กลับได้ล่างค้ำถนัด ช้าง นันทสูทานกำลังไม่ได้ ขวางพ่ายไป ขุนพระศรี ขี่ช้างพลาย ศัตรูพินาศ ชนช้างกับราชสังครำ ช้างราชสังครำ พ่าย หนีไปสมทบกับนันทสู  แล้วทั้งคู่ ก็เตลิด ไปทางเชียงฃอง โดน ไทยใหญ่ชาวแสนหวี มีเจ้าฟ้าเมืองจี่ เจ้าฟ้าเมือง ลองแจใหม่ เมืองปากสมิงตีม้ายาเยื่อ กับไทยใหญ่ ชาวบ้านทั้งปวง ที่มาพึ่งพระบรม โพธิสมภารไทย ตีขนาบ ถึงตำบลแม่รางสะราง  ระหว่างนั้นพระยาพิชัยข้าหลวงเดิมแจ้งว่า สมเด็จพระนเรศวรกับพระเจ้าหงสาวดี เป็นปรปักษ์กันก็คิดการกบฏ นอกจากไม่ ยกรี้พล ไปช่วยตามพระราชกำหนด ยังล้อมลุมผู้คนชาวเมือง กวาด ครัวไปเข้าด้วย พระยา สวรรคโลก เจ้าเมืองสวรรคโลก คิดเข้าตีเมืองพระพิษณุโลก หลวงปลัด ขุนยกกระบัตร ขุนนรนายก มิเห็นด้วยพระยาพิชัย กับพระยา สวรรคโลกจึงจับกุมไว้การกบฏทราบถึง สมเด็จพระนเรศวร เป็นเจ้า จึงยกทัพหลวงเสด็จจากเชียงของไปเมืองสวรรคโลก ครั้นถึง สุโขทัย ก็ตั้งทัพหลวงที่ตำบล วัดฤาษีชุม ทรงพระกรุณาตรัสให้ชาวพ่อ ชุมนุมพราหมณาจารย์ เอาน้ำในบ่อพระสยมภูวนาถ และ เอาน้ำ ตระพังโพย สีมาตั้งบูชาโดยกิจพิธีกรรม เป็นน้ำ สัตยาธิษฐาน เอาพระศรีรัตนตรัย เจ้าเป็นประธานให้ท้าวพระยา เสนาบดี มนตรี มุขทหาร ทั้งหลาย กินน้ำสัตยานั้น เป็นเครื่องกระตุ้นสำนึกในสมานสามัคคีพิทักษ์ชาติ และแผ่นดิน ยิ่งชีวิต
รุ่งขึ้นก็ยกทัพหลวงขึ้นไปทางเขาคับ ถึงเมือง สวรรคโลก วันศุกร์ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๘ ตั้งทัพหลวง ที่ตำบลไม้งาม ยังมิทรงเข้าตีด้วย มี พระกรุณาให้ พระยาทั้งสองได้คิด โดยตรัสให้ข้าหลวงเข้าไปร้องประกาศว่า ให้พระยา ทั้งสองออกมาถวายบังคม ทรงพระกรุณา ไม่เอาโทษ แต่พระยาพิชัย พระยาสวรรคโลก นอกจากมิได้โดย พระราชโอวาท ยังสำแดงความอุกอาจตรวจตรา จัดไพร่พลขึ้นรักษา หน้าที่ เชิงเทินป้องกันเมือง ซ้ำยังฆ่า หลวงปลัด ขุนยกกระบัตร ขุนนรนายก ที่มิเห็นด้วย ตัดศีรษะ ซัดออกมาให้ ข้าหลวงผู้ไปร้อง ประกาศ แทน คำตอบ สมเด็จพระนเรศวร ทรง พระพิโรธในความโอหังบังอาจของสองพระยาเป็นอันมาก เพลาค่ำก็ตรัส ให้ ยกพล ทหาร เข้าปล้นเมืองที่ตำบลประตูสามเกิดประตูหม้อและประตูสะพานจัน สามแห่งพร้อมกัน ปล้นแต่ค่ำ ถึงเที่ยงคืนเผาป้อม ชั้นนอก ประตูสามเกิด แล้วก็ยังเข้าเมืองมิได้ จึงมีพระ ราชโองการตรัสถามโหราจารย์ ซึ่ง โดยเสด็จในทัพหลวงด้วยว่า ยังจะได้เมือง สวรรคโลก อยู่หรือ โหราจารย์ ตรวจสอบเลขผานาที ตามตำรา โดยละเอียดแล้ว กราบบังคมทูลพระกรุณา'คงจะได้พระเจ้าข้า แต่ซึ่งจะปล้น ข้างประตู สามเกิดเห็น จะได้ด้วย ยากถ้าปล้นข้างทิศดอนแหลมไซร้ เห็นจะได้โดยง่าย เพราะทิศข้างนั้นเป็นอริแก่เมือง' การณ์ครั้งนี้ จะเห็น ชัดถึงโหราศาสตร์มิใช่ศาสตร์เชื่อถือไม่ได้หรือมอมเมางมงาย แม้การศึกสงคราม คอขาดบาดตายยังต้องอาศัย โหราศาสตร์ เข้าช่วยสมเด็จพระนเรศวร เป็นเจ้าทรงเชื่อโหราศาสตร์ ทรงเปลี่ยนกลยุทธ์ตามนั้นโดยทรงมีราช โองการให้ พระยาชัยบูรณ ขุนหลวง ธรรมไตรโลก ขุนราชรินทร์ ยกพลจากประตูสะพานจัน มาตั้งที่ประตู ดอนแหลม ทิศที่โหราจารย์ ระบุเป็นอริแก่เมืองเป็นช่องทาง ชัยชนะ แล้วเร่ง แต่งการ อันจะเข้าปล้นเมือง โดย เร็ว ส่วนประตูสามเกิดกับประตูหม้อ ก็คงให้แต่ง พลทหารเข้ารบพุ่งแต่จนสว่างก็ยัง เข้าเมืองมิได้รุ่งขึ้น วัน อาทิตย์ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๘ ทัพหลวง ที่ตั้ง ด้านประตูดอนแหลม เริ่มเข้าตีปล้นเมือง ถูกชาว เมืองยิงปืนไฟ พุ่งศัสตราวุธ มาต้อง พลข้าหลวงป่วยเจ็บล้มตายเป็นอันมาก จะปีนกำแพงขึ้นมิได้การณ์ไม่เป็นไปตาม โหราจารย์ ทำนายเพราะเหตุใด สมเด็จพระนเรศวรตรัสให้ลงโทษขุนอินทรเดชะ ผู้เป็น ยกกระบัตร บังคับ ต้อนพล เข้าปล้นเมืองและนายทัพนายกองทั้งหลาย โดยให ้มัดตระเวน รอบทัพที่กระทำการไม่สำเร็จ ขุนอินทรเดชะ กับข้าหลวงทั้งปวงก็ถวายทานบนว่า จะ ขอ ปล้น เมืองให้ได้ ขณะเดียวกัน พระยาชัยบูรณ บังคมทูลว่า 'มิได้ตั้งค่ายประชิด จะปีนปล้น เมืองดังนี้ พลทหารทั้งหลายจะทำการ มิสะดวก เพราะชาวเมือง ป้องกัน ถนัด ขอทำค่าย ประชิดและปลูกหอรบให้สูงเทียมกำแพง จะได้ยิงปืนใหญ่น้อยสาดเข้าไป เจ้าหน้าที่ จะ ระส่ำระสาย เห็นจะได้เมือง โดยง่าย พระเจ้าข้า' ทรงเห็นชอบด้วยก็ให้ตัดไม้ใหญ่และ ไม้โตนดมาทำตาม พระยาชัยบูรณกราบทูล ครั้นวันจันทร์ แรม ๓ ค่ำ เดือน ๘ เวลารุ่ง สองนาฬิกาห้าบาทยกพลทหาร เข้าเผา ประตูดอนแหลมนั้นทลายลง ให้พลทหารตรูกันเอา บันได เข้าพาด กำแพงปีนเข้าไป ใน เมืองนั้นได้  พระยา สวรรคโลก หนีไปพึ่งอยู่บน กุฏิ พระสงฆ์  ณ วัดไผ่ใต้ ทหารตามไปคุมตัวนำมาถวาย  พระยาพิชัย หนีจาก เมือง สวรรคโลกไปถึงแดนกรัจุนจะไปพึ่งเมืองเชึยงใหม่ชาวด่านก็กุมเอาตัวมาถวายไม่อาจ หนีพระราชอาญา ได้ สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า ดำรัสให้มัดพระยาสวรรคโลก พระยา พิชัย ตระเวนรอบทัพแล้วให้ฆ่าเสีย ตรัส ให้เทครัว อพยพทั้งปวงมายังเมือง พระพิษณุโลก ให้เชิญรูปพระยาร่วงพระยาลืออันรจนาด้วยงา ช้างเผือกงาดำ มาด้วย ถึง ณ วันพฤหัสบดี แรม ๖ ค่ำ เดือน ๘ เวลาสิบเอ็ดทุ่ม ๘ บาท  ขณะทรงเรียกช้างพระที่นั่ง ประทับ เกยนั้นเห็นพระสารีริกบรมธาตุเสด็จปาฏิหาริย์แต่ตะวันตก ผ่านช้างพระที่นั่ง มาตะวันออก โดย ทางที่จะเสด็จ ขนาดเท่าผลมะพร้าวปอกแล้ว  คงจำได้ว่าพระสารีริกบรทธาต ุได้แสดง ปาฏิหาริย์ให้สมเด็จพระนเรศวร เป็นเจ้า ประจักษ ์ด้วยพระเนตรมาสองครั้งแล้ว ครั้งแรก เมื่อยกทัพไปช่วยพระเจ้าหงสาวดี ตามกลลวงท่านไป ปลงพระชนม์ชึพ แต่รอดมาได ้ด้วยพระมหาเถรคันฉ่องกราบทูลความลับ ครั้งที่สอง หลังจากทรงหลั่งน้ำ ประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง ขณะทรงให้นำพระคชาธาร เข้าเทียบเกยเช่นเดียวกับการแสดงปาฏิหาริย์ ครั้งที่สามนี่ปาฏิหาริย์ของพระสารีริกบรมธาตุแต่ละครั้งเสมือนพระพุทธบารมีคอยปกป้อง พระนเรศวร อยู่ ตลอดเวลา ปรากฏให้เห็นในเหตุการณ์สำคัญทั้งก่อนเกิดเหตุและหลังเหตุการณ์สงบเรียบร้อยแล้ว การกบฏ ที่เมือง สวรรคโลก เสร็จสิ้น พระองค็ทรงนำทัพกลับเมืองพระพิษณุโลก  
กาลครั้งนั้นพระยาละแวก แห่งกัมพูชาได้แต่งฑูตมาเจริญไมตรี ขออภัยที่เคยรุกรานไทย รำพึง ถึงเหตุการณ์ ครั้งสมเด็จพระ มหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าช้างเผือก ทรงมีพระมหา กรุณาธิคุณชุบเลี้ยงพระเชษฐาเขา ทั้งรับ เอานักพระสุโท นักพระสุทัน มาชุบเลี้ยง เป็น ราชบุตรบุญธรรมด้วยเป็นพระคุณใหญ่หลวง 'ฝ่ายข้าพระบาท นี้เล่าก็เป็นคนโมหจิต คิดประทุษร้าย เป็นปัจจามิตร ต่อพระองค์ แต่ก่อนนั้น โทษผิดนัก ขอพระองค์ จงให้อภัย โทษแก่ข้าพเจ้าบัดนี้ข้าพระบาทกับท้าวพระยาเสนาบดีมนตรี มุขสมณพราหมณาจารย์ ทั้งหลาย ขอเป็น พระ ราชไมตรีด้วย'สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๑ กับสมเด็จพระ นเรศวรราช โอรส ทรงรับการพระราชไมตรีของ พระยา ละแวกด้วยความยินดี และอภัยโทษให้เพื่อความสงบสุขของอาณาประชาราษฏร์สมณ พราหมณาจารย์ ทั้งสองประเทศ ฝ่ายพระเจ้า หงสาวดีทราบเหตุจากนันทสูกับราชสังครำ ที่หนีตายจากสมเด็จพระนเรศวร ก็ทรง พระพิโรธ คิดอาฆาตหมาย จะเอาพระนคร ศรีอยุธยา ให้ได้  ครั้นถึงศักราช ๙๒๙ ปีเถาะ นพศก (พ.ศ.๒๑๑๐) ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๑๐ ได้ตรัสให้พระเจ้าเชึยงใหม่ ยกช้างม้า รี้พล ทัพบก ทัพเรือประมาณ ๑ แสน ลงมาทางเมือง กำแพงเพชร ให้พระยาพสิมผู้เป็นอา ยกช้างม้ารี้พลประมาณ ๓ หมื่น มาทาง กาญจนบุรี เพื่อหมายตีเอา พระนครศรีอยุธยา ลบรอยแค้น พระเจ้าเชียงใหม่ให้จัดช้างม้ารึ้พลโดยกระบวนทัพบก ทัพเรือพร้อมสรรพ วันพฤหัสบดีขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๑๒ เวลาเช้า ๓ โมง ๖ บาท ได้มหาศุภวารดิถีวิชัยฤกษ์ อันอุดม ก็เสด็จทรงพระคชาธาร พร้อมพล แสนยากรทวยหาญ มโหฬารดิเรก ด้วยกลิ้ง กลด และฆ้องกลองแตรสังข์ศัพทเภรินฤนาท กึกก้อง มาโดยรัถยางควิถีทาง เมือง กำแพงเพชร ส่วนทัพ พระยาพสิมนั้น ยกมาถึงเมืองสุพรรณบุรีใน วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑ ค่ำ เดือนอ้าย ขณะทัพพระเจ้าเชียงใหม่ ยัง เคลื่อนไปไม่ถึงเมืองนครสวรรค์ ศึกแค้นของ พระเจ้าหงสาวดีครั้งนี้ แจ้งถึงพระบาทสมเด็จบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว ไทยว่า มีสอง ทัพสองทาง จึงตรัสให้ พระบรมราชโอรสธิราช ทั้งสององค์คือสมเด็จพระนเรศวร และ สมเด็จ พระเอกาทศรถ เตรียมช้างม้ารี้พล ทัพบก ทัพเรือไว้พร้อมสรรพ ตรัสให้พระยาจักรี องครักษ์ สมุหนายกเป็นกองทัพเรือ ตรัสให้พระยาพระคลัง เป็นยกกระบัตร ยกทัพเรือ ไปสุพรรณบุรี  ครั้นทัพเรือไปถึงพนะยาพสิมก็พร้อมอยู่แล้ว ก็ยกทัพออก มารบ ด้วย ทัน ที ฝ่านทัพไทยได้วางปืนใหญ่ขึ้นไปจากทัพเรือ ต้องพลข้าศึกล้มตายเป็นอันมาก จน ทัพพระยาพสิม มิอาจตั้งอยู่ได้ ต้องเลิกออกไปทางราชสิงห์ ไปตั้งมั่นอยู่ที่ตำบล เขา พญาแมน ณ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๒ ค่ำ เดือนยี่ เวลายามกับสองนาฬิกา ๙ บาทสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชทั้งสอง เสด็จยกพยุหยาตราจากพระนคร ศรีอยุธยาไปโดยชลมารคเสด็จขึ้นเหยียบชิงชัยภูมิตำบลลุมพลีให้พระยาพิชัยสงครามทำ
พิธีตัดไม้ข่มนาม แล้ว เสด็จจากลุมพลี ประทับเรือพระที่นั่ง ณ เมืองวิเศษไชยชาญ จึงเสด็จพยุหยาตรา ทัพขึ้นโดยสถลมารคไปตั้ง ทัพหลวง ณ ตำบลสามขนอน เมื่อตั้งทัพ อยู่ที่สามขนอนนั้น ได้เกิดอาถรรพณ์ขึ้น ม้าตัวหนึ่งตกลูกเป็นสองตัว แต่ศีรษะเดียวกัน มีเท้าตัวละสี่เท้า ลักษณะชิงศีรษะกัน มิได้มี การทำนายทาย อาถรรพณ์นั้นเป็นหลักฐาน ว่า มีผลเป็นเช่นไร ทรงบัญชาให้เจ้าพระยาสุโขทัยเป็นนายกอง ท้าวพระยาพระหัวเมือง ทั้งหลาย ยกช้าง ม้า รี้พล หมื่นหนึ่งก้าวสลักออกไปตีทัพพระยาพสิม ณ เขาพญาแมน และพบทัพหน้า ข้าศึก จึงได่รบพุ่งกัน พม่า มอญ แตกฉานล้มตายเป็นอันมาก เป็นเหตุให้พระยา พสิม ล้มเลิก ทัพ ยกหนีไป เจ้าพระยาสุโขทัย และข้าหลวง  ยกตามไปถึง กาญจนบุรี จับได้ฉางชวี กับช้างม้ามาถวาย และทัพหลวงตั้งอยู่ตำบลสามขนอนนั้น ๗ วัน ก็ เสด็จยกทัพหลวง เลี้ยวมาทางสุพรรณบุรี เสด็จคืนเข้าพระนคร  ในเดือนเดียวกันกับที่ ทัพพระยาพสิม แตกฉาน ยับเยินนั้น พระเจ้าเชียงใหม่ไม่รู้เลยได้ยกทัพบก ทัพเรือ ลงมา เมืองนครสวรรค์ ล่วงลงมาถึงเมือง ชัยนารถ ให้ไชยกะยอสู ยกช้างม้าและพลประมาณหมื่นห้าพัน เป็นทัพหน้าลงมาตั้งถึงบางพุทรา บางเกี่ยว ข้าว...

เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นเช่นไร โปรดติดตามในชื่อตอน 'พระแสงปืนประกาศิต' 

[HOME]

 

1