ตัดหัวลาวสอนเขมร 

ชัยชนะของสมเด็จพระนเรศวรเจ้ากับพระเอกาทศรถ พระอนุชาธิราช ที่มีต่อทัพ พระเจ้า เชียงใหม่ผู้ได้ โหรา บอกฤกษ์แพ้เป็นฤกษ์ชนะครั้งนี้ สมเด็จพระนเรศวรฯ ได้เชลย เป็นอัน มากตั้งแต่ พระยาเชียงแสน กับลูก และ ล่ามพร้อมทั้ง มางจอจวย ลูกแม่นมพระเจ้า เชียงใหม่กับไพร่พลพม่า มอญ ลาว อีกกว่าหมื่นคน นอกจากนั้น ยังได้ช้างพลาย พระที่นั่ง ของพระเจ้าเชียงใหม่ กับช้างอื่นๆขนาดสูงใหญ่มีชื่อเป็น สำคัญ หลายสิบเชือก ม้าอีกร้อย เศษ เรือรบเรือเสบียงสี่ร้อยเศษ เครื่องสรรพยุทธ์รวมถึง เครื่องราชาบริโภค ของพระเจ้า เชียงใหม่ คราวนี้ยับเยิน และสูญเสียเป็นที่สุด
เสร็จทัพ วันเสาร์ รุ่งขึ้นวันอาทิตย์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๕ พระมหาธรรมราชา หรือ สมเด็จพระ สรรเพชรญ์ที่ ๑ พระเจ้าอยู่หัวเสด็จถึงบางพุทรา พระราชโอรสทั้งสอง ก็เข้ากราบ ทูลผลการ รบทั้งหมด พระองค์ทรงโสมนัสยินดี ประทับแรมอยู่สองเวน ต่อเมื่อวันอังคาร แรม ๗ ค่ำ เดือน ๕ สมเด็จ พระราชบิดา ก็เลิกทัพคืนเข้าพระนครโดยทางขลมารค ส่วนสมเด็จพระนเรศวร และพระเอกาทศรถนั้น ยัง คงรอทัพที่ไล่ตามพระเจ้าเชียงใหม่อยู่ กระทั่ง วันศุกร์ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๕ กองทัพไล่ตาม พระเจ้าเชียงใหม่ กลับมาถวายรายงานแล้ว สมเด็จพระนเรศวร กับ สมเด็จพระเอกาทศรถ จึงเลิกทัพกลับ พระนคร โดยเรือ พระที่นั่ง พระชลวิมานพร้อมขบวน เรือครบถ้วนด้วยเรือดั้ง เรือกัน เรือนำ และ เรือตาม เป็นขบวนยาว
เมื่อมาถึงตำบลโพธิ์สามต้นทอดพระเนตรเห็นเรือของพระศรีสุพรรณมาธิราชพระอนุชาพระยา ละแวกเจ้า กรุงกัมพูชา ที่นำทัพ มารอช่วยรบอยู่ ณ ที่นั้น พรั่งพร้อมด้วยนายทัพ นายกอง เขมรทั้งปวง จอดอยู่ ณ ฝั่ง ตะวันตก ขณะที่เรือพระที่นั่งแล่นผ่าน พระศรีสุพรรณมาธิราช ถือตัวว่าเป็นเจ้าผู้ใหญ่ มิได้ หมอบเคารพ ตามราชประเพณี คงนั่งดูเสด็จอยู่บนเรือตน ยังให้สมเด็จ พระนเรศวร ทรงพระพิโรธยิ่ง ในการไม่รู้จัก การะเทศะ ทรงให้รอเรือพระที่นั่งไว้ แล้วตรัสให้ หลวงพิชัยบุรินทรา ตัดหัวลาวเชลยที่จับมาคนหนึ่ง นำไป เสียบตรงเรือ พระสุพรรณมาธิราช ซึ่งหลวงพิชัยบุรินทรา ก็ปฏิบัติตามทุกประการ สมเด็จพระนเรศวร กับ สมเด็จ พระอนุชา จึงรับสั่งให้ขบวนเคลื่อนคืนเข้าพระนคร ฝ่ายพระศรีสุพรรณมาธิราช ได้รับ สอนมารยาท เช่นนั้นก็น้อยพระทัย คิดอาฆาตแค้นในใจ โดยมิได้แสดงออก ทางวาจา แต่ประการใด แท้แล้วอดสูต่อแม่ทัพ นายกองของตนยื่งนักในการ 'สอนมารยาท' อย่างแรง ของ สมเด็จพระนเรศวรเช่นนั้น คล้ายกับว่าโทษ ของ เจ้านั้นถึงขั้นตัดศีรษะ ฐานมิได้แสดง ความเคารพต่อทัพกษัตริย์ แต่ยังทรงปราณีตัดหัว คนอื่น มาเสียบสอน แทน! และนี่เองที่ เป็นชนวนให้ สัมพันธไมตรีระหว่างไทยกับเขมร ซึ่งเพิ่งมีขึ้นไม่ นาน ต้องขาดสะบั้นลง พระยาละแวกกระทำการทรยศ ลอบกัด ไทยทางด้านตะวันออก หลายต่อหลายครั้ง จนสมเด็จพระนเรศวร ต้องเสด็จไปเอาเลือด พระยาละแวก ล้าง พระบาทในเวลาต่อมา แต่ก่อนจะถึงวันนั้น ไทยต้องทำศึกกับ พระเจ้าหงสาวดีอีก หลายยก แต่ละครั้งล้วนรุนแรง โดยสมเด็จพระนเรศวรกับพระราชอนุชา  ต้องกรำศึก อย่างหนักเคียงบ่าเคียงไหล่ จวนเจียน จะเสียพระชนม์ชีพในการรบ หลายต่อหลายครั้ง แต่ด้วยเดชะ บุญญา บารมีของทั้งสอง พระองค์แรงกล้า โดยเฉพาะสมเด็จพระนเรศวร มีพระพุทธานุภาพปกเกล้าอยู่ ให้ความ คุ้มครองโดยตลอดในการศึกสำคัญๆ พระบรม สารีริกธาตุ จะแสดงปาฏิหารย์ให้เห็น ต่อ พระพักคร์เสมอ  พระองค์ก็นบน้อมสักการะ บูชาคารวะ ในอิทธิฤทธิปาฏิหารย์ กล่าวถึง พระเจ้าหงสาวดีทราบถึงการพ่ายแพ้ทั้งรี้พล และหน้าตาของพระเจ้าเชียงใหม่ ในครั้งนี้ ทรงพระพิโรธ จนตัวสั่น จะเอาโทษพระเจ้า เชียงใหม่ ก็เกรงเสียเขตขัณฑเสมา เมืองลาว จึงตรัสแต่เพียงว่า 'ครั้งก่อนกำหนด ให้พระเจ้าเชียงใหม่ยกไปบรรจบกับทัพ พระยาพสิม ก็ไม่ทัน จนเสียทัพทัพพระยาพสิม ครั้งหนึ่งแล้ว ครั้งนี้ ยกพลลงไปถึงแสนหนึ่ง ก็แตกแก่ ข้าศึก ขึ้นมาทำการมิมั่นคงดุจ ทารกโคบาลให้เสียรี้พล มากมาย ข้าศึกได้ใจ ดังนี้ เมื่อพระเจ้า เชียงใหม่ มิได้มีความ ละอายไม่ไว้เกียรติยศ บนแผ่นดินแล้วไปเถิดออกพระวัสสาแล้ว ทัพหลวงจะยกไป กระทำ อย่าให้พระเจ้าเชึยงใหม่ตั้งอยู่ ณ เมืองกำแพงเพชรเลย ให้เป็น กองลำเลียง ขึ้นไป จัดแจงเสบียงอาหาร ณ เมืองเชียงใหม่ ผ่อนลงมาไว้ให้พอพลสามแสน อย่า ให้ขัดสนได้ ถ้าขัดสนเสบียง อาหารมิทันมีพอพลสามแสนจะมีโทษ' เมื่อพระเจ้า เชียงใหม่ซึ่งรอทัพอยู่ ณ เมืองกำแพงเพชร ได้รับ หนังสือ พระเจ้าหงสาวดีเช่นนั้น ก็กลัว พระราชอาญา  รีบนำทัพที่เหลือกลับขึ้นเชียงใหม่ เร่งทำการลำเลียงตาม รับสั่ง จนถึงเดือน สิบสอง ปีมะเส็ง เอกศก (พ.ศ.๒๑๑๒) พระเจ้าหงสาวดียกช้างม้ารี้พลมา โดยทางเชียงของ และชุมพลทางบกทางเรือทั้งปวงที่เมืองกำแพงเพชร ฝ่ายพระเจ้า เชียงใหม่ ก็ยกทัพลำเลียง ลงมาถึง ทัพพระเจ้าหงสาวดีพลสองแสน  ช้างเครื่องพันหนึ่ง ม้าเจ็ดพัน เรือกระจังเลาคา อีกพันลำ ส่วนทัพ พระมหา อุปราช ช้างเครื่องสี่ร้อย ม้าสาม ร้อย พลห้าหมื่น  กองทัพพระเจ้า เชียงใหม่เป็นทัพลำเลียง มีเรือรบเรือ ลำเลียงห้าร้อย พลสองหมื่น พระเจ้าหงสาวดี ยกช้างม้า รี้พลลงมาถึงเมืองนครสวรรค์ ให้ทัพพระมหา อุปราช และพระยาตองอู ยกมาทาง ฟากตะวันออก ให้พระเจ้าเชียงใหม่คุมทัพเรือ ทัพ พระเจ้าหงสาวดี ยกมาทาง ฟากตะวันตก ถึงวันพฤหัสบดี ขึ้น ๒ ค่ำ เดือนยี่ พระเจ้า หงสาวดีก็ยกทัพใหญ่เข้ามาตั้งมั่น ณ ตำบลขนอน ปากคู และมังหมอด ลูกพระเจ้า หงสาวดีกับ พระยาราม มาตั้งมั่น ณ ปากน้ำพุทเลาทัพหนึ่ง พลหมื่นห้าพัน ให้นันทสู มาตั้งตำบลขนอนบางล่างฟากตะวันออกทัพหนึ่ง พลห้าพัน เรือ กระจังเลาคา สี่ร้อยลำ การศึกนี้ ใหญ่หลวงนัก เมื่อทัพพระมหาอุปราชากับพระยาตองอู มาตั้งมั่นที่ตำบล ชายเคือง พระเจ้าอยู่หัว จึงทรง มีพระบัญชาให้ท้าวพระยา พระหัวเมือง ขุนหมื่นทั้งหลาย ตรวจตราจัดพลทหารอาสา ทัพบกทัพเรือ ทั้งปวง เตรียมพร้อม ให้แต่งพล ทหารอาสา เป็นกองไปคุ้มกันให้ราษฎรเกี่ยวข้าวในนาที่เหลืออยู่  อย่าให้ข้าศึกได้ เป็นกำลัง แล้ว จึงจะยกทัพใหญ่ออกตีทีเดียว สองพระราชบุตร จึงปฏิบัติตามแผนรบนั้น แต่งขุนหมื่น ทหาร อาสาทั้งหลายถือพลอาสาออกไปหลายกอง คุ้มกันราษฎรใน การเกี่ยวข้าวมา เป็น เสบียงปรากฏว่า ต้อง ปะทะกับฝ่ายศัตรูทุกวัน ได้ศีรษะฝ่ายรุกราน เข้ามาถวาย เป็นประจำ มิได้ขาด พระเจ้าอยู่หัวก็ทรง พระราชทานรางวัล แก่นายทัพนายกอง และ พลทหารทั้งปวง มากน้อยตามสมควรเห็นแก่ กรณี มีแต่ด้าน เจ้าพระยากำแพงเพชร ที่รับ กระแสนำพลทหาร ล้อมวังออกไปป้องกันราษฎรที่เกี่ยวข้าว อยู่ชายทุ่งเคือง ซึ่ง ทัพพระมหาอุปราชตั้งอยู่ โดน พลม้าประมาณพันหนึ่ง ของข้าศึกยกออกมาตีทัพ เจ้าพระยาแตกเข้านคร สองพระราชบุตร ทรงพิโรธยิ่งนัก ตรัสให้ลงพระอาญาโทษ เจ้าพระยากำแพงเพชร ตามพระอัยการศึก แต่ สมเด็จพระราช บิดาทรงพระกรุาตรัส ว่า เจ้าพระยาหกำแพงเพชรเป็นแต่พลเรือน มิได้เป็น ทะแกล้วทหาร ขอโทษเจ้าพระยา กำแพงเพชรไว้ครั้งหนึ่งก่อน สมเด็จพระนเรศวรกับพระเอกาทศรถ ก็มิได้ลงโทษ แต่ตรัส ปรึกษากับท้าวพระยา เสนา มาตย์โยธาหาญ ทั้งหลายว่า ข้าศึกคงดีใจ ที่ตีทัพ เจ้าพระยาแตกพ่ายในครั้งนี้ จะนิ่งช้าไว้ มิชอบ จำต้องยกทัพหลวงออกตีทัพ พระมหาอุปราชาอย่าให้ตั้งอยู่ ณ ชายเคืองนั้นได้ ราษฎร ทั้งปวงจึงจะเกี่ยวข้าวสะดวก เหล่า โยธาหาญก็สาธุการในพระปรีชาสามารถนั้น จึงตรัสให้ ตรวจช้างม้ารี้พล ทหารอาสา เอาเครื่องสรรพยุทธ์ปืนใหญ่จ่ารง มณฑกนสับลงบรรจุเรือรบ เรือไล่สองร้อยลำ แต่ง ทหารให้ลอบ ออกไปทางบก ทางเรือที่ชอบกล ซุ่มทหารปืนใหญ่น้อยไว้ จึงยั่วให้ ข้าศึก ออกไล่ เห็นได้ทีแล้วจะออก ทะลวงตี ทั้งปืนใหญ่น้อยยิง ระดมสาดเอาข้าศึก ให้แตก ฉาน อย่าให้คุมกันติดกลศักครั้งนี้จะ สำเร็จดั่งพระ บัญชาหรือไม่ ในเมื่อ พระมหา อุปราชามีฝีมือ มีไพล่พลเต็มอัตราศึก พร้อมอาวุธปืนใหญ๋น้อย หนักหนา เตรียมการ พร้อมมา เช่นกัน เป็นเรื่องที่น่าติดตามต่อไปศึกครั้งนี้สองพระราชบุตรไทยเจอหมู เขี้ยวตันเข้าแล้ว! 

HOME

 

 

1