ยอกย้อนซ้อนกลศึก 

รั้นศักราช ๙๑๒ ปีชวด จัตวาศก(พ.ศ.๒๕๐๙) เดือน ๑๒ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ (พระเจ้าช้างเผือก) ได้ยก สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระ มหินทราธิราช ขึ้นครองราชย์สมบัติแทน พระองค์ ซึ่งทรงมีพระชนมายุ ๕๙ พรรษา แล้วขอ เสด็จออกไปอยู่ ณ พระราชวังหลัง อย่างสงบ ในบั้นปลายพระชนม์ชีพ ขณะนั้นสมเด็จพระมหินทราธิราชทรงมีพระชนมายุเพียง ๒๕ พระ พรรษา สมเด็จพระเจ้าช้างเผือก ทรงดูการบริหารราชการแผ่นดิน ของพระราช บุตรอยู่ ๓ เดือน ก็วางพระทัย เสด็จไปเมืองลพบุรี ตรัสให้บูรณะพระอาราม พระศรีรัตน มหาธาตุ ให้บริบูรณ์ ทรงเตรียม ออกผนวช ในอนาคตแต่งปะขาวชีสองร้อย กับข้าพระให้ อยู่รักษา พระมหาธาตุ แล้วเสด็จ ลงมายังกรุงพระมหานคร ศรีอยุธยา  ฝ่ายสมเด็จพระมหา ธรรมราชา ซึ่งครองเมือง พระพิษณุโลกอยู่ มีอำนาจครองเมืองเหนือทั้งปวงยังไม่พอ เห็น สมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดิน พระมหานครศรีอยุธยา 'ยังอ่อนเชิง'ในการครองแผ่นดิน ก็มีบังคับบัญชา ชี้นำให้ต้องกระทำการทุกประการ แทนที่ เป็นเจ้าเมืองรอง จะรับบัญชา จากพระเจ้าแผ่นดินเช่นนี้ ยังผลให้สมเด็จ พระมหินทราธิราช ขุ่นเคือง พระราชหฤทัยยิ่งนัก นำความกราบทูล สมเด็จพระ ราชบิดาให้ทรงทราบทุกประการ สมเด็จพระมหา จักรพรรดิ์ (พระเจ้าช้างเผือก) ก็ทรงน้อย พระทัย ในพฤติกรรม แต่มิอาจกระทำ การใดรุนแรงได้ ทั้งที่ โทษเช่นนั้นหนักหนา ถึงขั้นจับ ประหารได้ฐานกระทำการแข็งข้อต่อพระเจ้าแผ่นดิน ทว่า พระองค์ได้ทรงสาบานไว้ตอนขึ้นเสวยราชย์ว่า ไม่ยอมให้ใครทำสมเด็จพระมหาธรรมราชา ตกโลหิต จึงทรงนิ่งและ ครุ่นคิดหาทางแก้แต่สมเด็จพระมหินทราธิราช  มิอาจรั้งรอ บ่มทุกข์ ในพระทัยต่อไป ทรงเรียกพระยารามซึ่งออกจากที่ กำแพงเพชร มาเป็นพระยาจันทรบูรณ์ รับสั่งเป็นความลับ ให้ส่งข่าว ไปยังพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ให้ยกกำลังมาเอาเมือง พิษณุโลก โดยจะทรงวางเฉยไม่ขึ้นไปช่วยหรือหากปะเหมาะ จะส่งทัพไป กระหนาบ ให้ด้วย พระเจ้ากรุง ศรีสัตนาคนหุต ทรงแค้นเคือง พระมหาธรรมราชาอยู่แล้ว ที่เป็นต้นเหตุชักนำ พระเจ้ากรุงหงสาวดี ส่งพลมาชิงนางในดวงใจไป พอทราบข่าวเช่นนั้น ก็ระดมทัพช้างม้ารี้พล มาเอาเมืองพระพิษณุโลกในทันที พระมหาธรรมราชา ทราบข่าว ศึก ไม่ได้คิดว่าเป็นกลใน จึงส่งข่าวลงมาทูล สมเด็จพระมหินทราธิราช เจ้าแผ่นดินว่ากำลังถูกข้าศึกยกมาตีเมืองคือ กองทัพกรุงศรีสัตนาคนหุต ขอให้มาช่วย ด่วน พระเจ้าแผ่นดิน เห็นเป็นที่ชำระ ความแค้น ที่สุมแน่นในพระทัย จึงทรง ให้พระยาสีหราชเดโช กับพระยาท้ายน้ำ ยกทัพขึ้นไป ยังเมือง พระพิษณุโลกเมื่อใด ก็ให้กุมเอาพระมหาธรรมราชาไว้ ให้จงได้ นำมามอบแก่เรา จะปูน บำเหน็จให้ท่านอย่างถึงขนาด พระยาสีหราชเดโช นำทัพขึ้นไปถึงเมืองพระพิษณุโลก แทนที่ จะเก็บงำความลับกลับนำไปบอกให้ พระมหาธรรมราชาทราบทุกประการถึงแผน 'เก็บ' อันมาจากพระเจ้าอยู่หัวกับพระยาราม พระมหาธรรมราชา ทราบ เรื่องก็มิรอช้า ส่งข้าหลวง นำข่าว รุดไปทูลพระเจ้าหงสาวดี ให้ทรงทราบ และขอความช่วยเหลือ เป็นการ 'ชักศึกเข้า บ้าน'  ด้วยมีบุญคุณกับฝ่ายหงสาวดี คราวให้มาชิง พระเทพ กษัตรีไปครอง จากนั้นก็ได้มี การแต่ง เมือง รอรับศึกหน้า ศึกขนาบพร้อมสรรพ มั่นใจว่าทัพหงสาวดีมา ช่วยทัน แน่นอน พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ยกช้างม้ารี้พลถึงยี่สิบแสน โดย ประมาณ มาทางนครไทย มุ่งเมืองพระพิษณุโลก ฝ่ายพระ มหาธรรมราชาก็ให้กวาดครัวเมืองนอก ทั้งปวง เข้าเมือง พระพิษณุโลก แต่งการ ป้องกันเมืองด่วน พระเจ้ากรุง ศรีสัตนาคนหุต ยกทัพมาถึงเมือง พระพิษณุโลก เดือนยี่ แรม ๑๓ ค่ำ ปีฉลู  เบญจศก (พ.ศ.๒๐๙๖) ก็ตั้งทัพ พลับพลาไชย ใน ตำบลโพธิ์เรียง ตรงประตูสวรรค์ ไกลออกไปประมาณ ๕๐ เส้น ทัพ พระยาแสนสุรินทร์ คว่างฟ้า ตั้งที่ตำบลเต่าไห้  ทัพพระยามือไฟตั้งที่ตำบลเขาพราหมณ์  ทัพพระยานคร ตั้งที่ ตำบลสระแก้ว ทัพพระยามือเหล็ก ตั้งที่ ตำบลสะแก เตรียมบดขยี้เมือง พระพิษณุโลก ให้แหลกกระจุย จับตัว พระมหาธรรมราชา เอาเลือดล้างแค้นให้ได้ ด้านพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระมหินทราธิราช ทราบว่าทัพ พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตมาถึงเมืองพระพิษณุโลก แล้วก ็กรีธาทัพเสด็จขึ้น ไปโดยทางชลมารค ตั้งทัพหลวง ที่ตำบลพิง พระยาราม และ พระยาจักรีเป็นทัพหน้าขึ้นไป ตั้งที่ ตำบลวัดจุฬามณี และทัพเรือ ทอดรอ กำหนด วันออกศึก ตั้งแต่วัดจุฬามณีทั้งสองฟากน้ำ แน่น ตลอดลง ไปจนถึง ทัพหลวง ณ ปากน้ำพิง พร้อมกันนั้น ก็ส่ง ข่าวลวงขึ้นไปยังเมืองพระพิษณุโลก ว่า ยกเข้ามาช่วยป้องกันเมือง หารู้ไม่ว่าความลับ แตกแล้ว โดยพระยาสีหราชเดโชเป็นผู้นำมา เปิดเผยต่อพระมหาธรรมราชา และ พระมหา ธรรมราชา ก็มิได้กระโตกกระตากว่า ข้าศึกเข้า บ้าน ด้วยการแอบขอกำลังทัพ จากพระเจ้า กรุงหงสาวดี เพื่อหวังให้ มาเผด็จศึก เพียงแต่ขอให้ ทัพหลวง รั้งรออยู่ในที่ตั้งก่อน อย่าเพิ่ง ด่วนยกเข้า เมืองพระพิษณุโลก ทางฝ่ายพระเจ้ากรุง ศรีสัตนาคนหุต เมื่อทราบว่าสมเด็จ พระมหินทราธิราช ยกทัพเรือขึ้นมาตามกำหนดนัด ก็ดีพระทัย ทรงให้ยกพล เข้าตีเมือง พระพิษณุโลกทันที โดยแต่งทหารเสื้อเหลืองสามพัน หนุน พลเข้าไป ถูกเจ้าหน้าที่เชิงเทิน สาดปืนไฟแหลน หลาว เข้าใส่ราวห่าฝน ต้องพลรบชาวล้านช้าง ตายเป็นใบไม้ร่วง ทั้งนี้เพราะ เจ้าเมืองพระพิษณุโลก 'พระมหา ธรรมราชา' เป็นผู้ที่มีสติปัญญา ลึกล้ำ เหลี่ยมคูแหลมคม พร้อม 'หูตามากมาย' ดังนั้นทัพพระเจ้า กรุงศรีสัตนาคนหุต จึงมิอาจ บุกทลวงผ่านกำแพง เมืองพระพิษณุโลกได้ กลับต้องเสียรี้พลสุดคณานับ จาก การตั้งรับที่พร้อม สรรพ ทั้งกำลัง และอาวุธ ของฝ่ายพระมหาธรรมราชา เมื่อพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต เห็น เช่นนั้น ก็ยกพล เข้ายืนข้างที่นั่ง แฝงวิหาร อยู่แทบริมคูเมือง ให้เจ้าหน้าที่ทำทุบทูบังตัวข้ามค ูเข้าไป ขุดถึงเชิง กำแพงเมืองโดย ชาวเมือง พระพิษณุโลก ผู้รักษากำแพง พุ่งอาวุธ นานา ชนิด ลงมามิได้ ต้องพลรบศัตรู แต่ ประการใด การรบตรงจุดนี้ อยู่ใน สายตาของ พระมหา ธรรมราชา ซึ่งยืนช้างที่นั่งสังเกตการณ์โดยตลอด จึง แก้การศึกของพระเจ้า กรุงศรีสัตนาคนหุต ด้วยการ ให้ขุนศรีนำพลอาสาห้าร้อย ออก ทะลวงฟันแบบประชิด ติดตัว แทนการสาดอาวุธลงมา จาก กำแพงเมือง ทำให้รี้พลของ พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต แตกพ่ายออกมา แม้พระ เจ้ากรุง ศรีสัตนาคนหุตเอง ยังต้องทรงถอยช้าง ที่นั่งกลับเข้าค่ายหลวง แต่ทรงบัญชาให้ นายทัพ นายกองตั้งทัพประชิดเมืองไว้ หลังจากการ ป้องกันกำแพงเมืองไว้ได้ ในครั้งนี้ พระมหาธรรมราชา ก็คิดการทำลาย ทัพเรือของสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดิน ที่ใช้ กลศึกแบบ สามก๊ก ตอนโจโฉแตกทัพเรือ โดยตรัสให้เอา ไม้ไผ่ผูกเป็นแพกว้าง ๑๐ วา ยาว ๒๐ วา รวม ๕๐ แพ เอาเชื้อเพลิงใส่เต็มหลังแพ ทุกแพ ใช้ชันน้ำมันยางรดทั่วไปทั้งนั้น แล้วให้ แต่งเรือเร็วสองลำ สำหรับจุดเพลิงใส่แพทั้งหมด เตรียมการณ์เสร็จ เรียบร้อย โดยฝ่าย ทัพ เรือหลวง มิทราบ ระแคะ ระคายสักน้อยนิด พอล่วงเดือน ๕ ขึ้น ๔ ค่ำ เพลาเดือนตก ก็ให้ ปล่อยแพติดกันไหลเลื่อนลงตามน้ำไปจนถึงคุ้ง เหนือวัดจุฬามณี  แล้วเรือเร็วสองลำ ก็จุด เพลิงใส่เชื้อหลังแพ ตั้งแต่หัว ขบวน ถึงท้ายขบวนรวม ๕๐ แพ ลุกโชติช่วงไหลเลื่อน ตามน้ำ ที่กำลังไหลลงเชี่ยวแรง ขณะนั้นน้ำกำลัง จะแห้ง คลอง เรือที่ จอดสองฝั่งก็บีบตัวลงตามน้ำ เมื่อแพไฟไหลผ่าน ก็ปะทะ เรือรบเหล่านั้นติดไฟลุกโชติช่วง ถอยหนี ไม่พ้นทหาร ในเรือไม่เป็น อันป้องกันเรือลำพัง โดดหนีเอาตัวรอดยังไม่ทัน ไฟลุกท่วมทั้งในแพและในเรือ และ ในน้ำที่มี คราบน้ำมัน ลอยเป็นฝ้า โดดน้ำก็ถูกไฟไหม้ลวก จะลุยโคลนขึ้นฝั่งก็แสนลำบาก ไพร่พล ก็มาก จึง เยียดยัดคับคั่ง เป็นโกลาหล บาดเจ็บล้มตายเป็นอันมาก หนีรอดบ้าง เฉพาะพวก กองหน้าทั้งเรือทั้งคนที่ล้นไปยังทัพหลวงปากน้ำพิง ทางด้าน พระเจ้ากรุงหงสาวดี ทราบเรื่อง เมืองพระพิษณุโลก เกิดศึก ก็ส่งพระยา ภุกาม พระยาเสือหาญเป็นนายกอง นำทัพ ม้าหนึ่ง พันพลอีกหนึ่งพัน ลงไป ช่วยเมืองพระพิษณุโลก ทั้งสอง นำทัพมาถึง เห็นข้าศึกล้อมเมือง อยู่แล้ว จึงตีหักเข้าไปทางด้าน พระยามือเหล็ก ซึ่งตั้งในบางสะแก แหวกผ่าน เป็นช่องด้วย ทัพพระยามือเหล็กต้านไม่อยู่ ปล่อย ให้ทัพหงสาวดีเข้าเมืองพระพิษณุโลก ซึ่งเปิดประตูรับ เมื่อ ทราบรหัสนัดหมาย กันเป็นอย่างดี หลังจากเข้าเมืองพระพิษณุโลกแล้ว พระยาภุกาม กับพระยาเสือหาญพร้อมพลรบหงสาวดี ก็เข้าไปถวายบังคับ พระมหาธรรมราชา รายงานตัว ตามระเบียบ ซึ่งก็ได้รับรางวัล เป็น บำเหน็จขั้นต้น ที่ลุยทัพข้าศึกผ่านเข้ามา แสดงถึง ฝีไม้ ลายมือเป็นยอด สมเด็จพระมหินทราธิราช หลังจาก สูญเสียทัพเรือไป ทั้งยังไม่อาจช่วย ทัพ พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต บุกเมืองพระพิษณุโลกได้สำเร็จตามแผน นอกจากนั้นยังได้ ทราบเรื่อง พระเจ้ากรุงหงสาวดีส่งสอง ขุนพลทหารพร้อมนักรบชาญศึก มาช่วยฝ่าย ตรง ข้ามอีก เห็นทีจะเอาชนะศึกครั้งนี้ได้ยาก จึงเลิกทัพคืนกรุงศรีอยุธยา ฝ่ายพระเจ้ากรุง ศรีสัตนาคนหุต เห็นจะล้างแค้นไม่สำเร็จด้วย เหตุผลหลายประการ ก็ตัดสินใจเลิกทัพ กลับไปทางบ้านมุงดอนชมพู พระยาภุกาม กับพระยาเสือหาญกำลังมันมือเต็มที่ ยกทัพมา ทั้งทีไม่ได้แสดงฝีมือให้เห็น เขี้ยว เล็บอวด พระมหาธรรมราชา ข้าศึกก็ถอยทัพกันหมด จึงขอ อาสานำทัพหงสาวดีออกติดตามตีทัพ พระเจ้ากรุง ศรีสัตนาคนหุต ให้แตก กระจุยเป็น บำเหน็จมือ พระมหาธรรมราชาผู้ผ่านการศึกและแผนการรบมานักแล้ว ตรัสห้าม ด้วยเหตุผล ทัพพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตเป็นทัพใหญ่ ถอยอย่าง มี ระเบียบไม่ได้ถูกตีแตกถอยร่น การยกทัพติดตาม ไปเพื่อหมายบดขยี้นั้น ผิดธรรมเนียมการศึก สองพระยาผู้ฮึกเฮิมก็ทูล แย้งว่า พระเจ้าหงสาวดีใช้ให้มาช่วยรบ เมื่อมา แล้วไม่ได้รบพุ่ง ตาม พระบัญชา หากไม่ ยกทัพติดตามไปบดขยี้ข้าศึก หากพวกตนนำทัพกลับไปเกรงจะถูกพระเจ้าหงสาวดี เอาโทษ แน่ พระมหาธรรมราชาก็ตรัสด้วยเหตุด้วยผล 'ท่านทั้งสองยกมาก็ได้กระทำ การรบพุ่งมีชัย อยู่แล้ว ตอนที่ลุยเข้าเมืองฝ่าทัพข้าศึก ถึงขั้นนี้พระเจ้ากรุงหงสาวดี จะลง โทษอีก ขอให้เป็น ภาระธุระของเรา จะแก้ไข ให้เจ้า เอง ถ้าเจ้าไม่ฟังขืนยกไปให้ได้ เห็นจะเสียทีข้าศึก เป็นมั่น คง' พระยาภุกาม พระยาเสือหาญ หาได้ฟังบัญชาไม่ กราบบังคมลา แลัวยกทัพติดตาม ด้วยความทะนงตัว และเหิมเกริม ใน พละกำลัง ขาดสติปัญญา และแล้ว การณ์ก็เป็นไปตาม ที่พระมหาธรรมราชาคาดคิด เพราะเมื่อพระเจ้า กรุงศรีสัตนาคนหุต สั่งถอยทัพนั้น ก็ทรง บัญชาให้พระยาแสนสุรินทรคว่างฟ้า พระยานคร พระยามือไฟอยู่รั้งหลังสามทัพ พอถึง ตำบลวารี อันเป็นทางแคบ ก็ให้ซุ่มทัพเรียงรายสองข้างเส้นทาง ได้ซุ่มโจมตีทัพ พระยา ภุกาม และพระยาเสือหาญไพร่พลล้มตายไม่ทันสู้รบแสดงฝีมือ สองพระยาแทบเอาชีวิตไม่รอดต้อง ซมซาน กลับมาเมืองพระพิษณุโลก การศึกครั้งนั้น จึงยุติลง พอถึง เดือน ๘ ปีขาล ฉศก (พ.ศ.๒๐๙๗) สมเด็จพระ มหาจักรพรรดิ์ พระเจ้าช้างเผือกเสด็จทรงผนวช มีข้าราชการ ตาม บวชโดยเสด็จเป็นอันมาก พระมหา ธรรมราชา เห็นเป็นโอกาส จึงวางแผน 'คิดบัญชี' กับ พระยาราม ผู้เพ็ดทูล สมเด็จพระมหินทราธิราช เจ้าแผ่นดิน นำพระเจ้าล้านช้าง ยกทัพมาเอา เมืองพระพิษณุโลก
.....แผนการล้างแค้นจะเป็นอย่างไรเป็นเหตุให้ไทยต้องฆ่าไทย ด้วยกันอีกยาวแบบแผ่นดินไม่สิ้นอาถรรพยณ์..........

[HOME]

 

 

1