การคิดบัญชีแค้นระหว่างพระมหาธรรมราชา
กับพระยาราม เริ่มโดยพระมหาธรรมราชา มีหนังสือ รับสั่งไปถึง สมเด็จพระมหิน ทราธิราช
เจ้าแผ่นดินว่าเมืองพิชัยไม่มีเจ้าเมือง จะขอพระยาราม ขึ้นไป เป็นพระยาะพิชัย
ด้วย เห็นว่าเหมาะสม จงส่งตัว พระยาราม ตามขอ สมเด็จพระมหินทราธิราช ทราบ ความตามรับสั่ง
ทรงเคืองแค้นใน พระทัยนักถือว่าพระมหาธรรมราชา มีเจตนาจะริดรอน อำนาจของ พระองค์
ด้วยพระยาราม เป็นผู้มีสติปัญญา เสนอข้อคิดต่างๆเป็นประโยชน์ ฝ่ายพระยารามเมื่อทราบ
ความก็หวั่นเกรงว่า พระมหาธรรมราชา จะส่งตัว ไป หงสาวดี ปิดประตูชีวิตของตนเสีย
เพราะต่างรู้เท่า ทันกัน จึงทูลแก่สมเด็จพระมหินทราธิราชว่า 'ข้าพเจ้าได้ฟัง
ซึ่งกิจการในเมืองพระพิษณุโลกนั้น พระมหาธรรมราชาคิดการ ทั้งปวงเป็นฝ่ายข้าง
พระเจ้าหงสาวดีและ เอา เมืองเหนือทั้งปวงไปขึ้นต่อ พระเจ้าหงสาวดีแล้ว บัดนี้จะย้าย
เอาท้าวพระยาผู้ใหญ่ ในพระนครไปยัง หงสาวดี เล่าและซึ่งพระมหา ธรรมราชาบังคับบัญชาพระองค์ลงมาเป็นสิทธิ์ดังนี้
ข้าพเจ้าเห็นมิควร และถ้าศึกหงสาวดี มาถึง พระนครก็ดี ข้าพเจ้าขอประกัน การตกแต่งป้องกัน
พระนครไว้ให้ได้' ทูลเป็นเชิงขออย่าได้ส่งตัวขึ้นไปยัง เมืองพระพิษณุโลกตามประสงค์ของพระมหาธรรมราชา
สมเด็จพระ มหินทราธิราชเจ้าแผ่นดิน ทรง เห็นชอบด้วย และหารือกันถึงวิธีการแก้ไขปัญหานี้
ที่สุด ก็ตกลงตามกันโดยไปกราบทูล เรื่องราวทั้งหมด แก่พระภิกษุมหาจักรพรรดิ์
พระเจ้าช้างเผือกให้ทรงทราบเรื่องราว ทุกประการแล้วขออัญเชิญ พระองค์ ทรงลาผนวช
มาครองราชย์สมบัติอีกครั้งหนึ่ง พระภิกษุพระเจ้าช้างเผือกมิทรงรับ ด้วยเหตุผล
ที่ทรงมี ความสุข ในบั้นปลาย พระ ชนม์ชีพ ในร่มผ้ากาสาวพัสตร์สงบเย็นดี แล้วไม่อยาก
จะออกไปสู่ความวุ่นวาย ทางโลกมีข้อขัดข้อง สิ่งใด ก็จงแก้กันไปตามสติปัญญา ทั้งสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดิน
และ พระยาราม ร่วมกัน ทูลวิงวอน ยกเหตุผลต่างๆ ครั้งแล้วครั้งเล่า ให้ทรงตัดสินพระทัย
ลาผนวช เพื่อชาติเพื่อประชาชน 'บัดนี้ ภัยจะมาถึงประชาราษฏรทั้งปวงแล้วขอทรงพระกรุณา
มาครองราชสมบัติ เอาอาณา ประชาราษฏร ทั้งหลายไว้ให้รอดเถิด หากพระองค์มิทรงพระเมตตาแล้วภัยร้ายอัน
เป็นที่สุดย่อม มาถึงแน่นอน' พระภิกษุพระเจ้า ช้างเผือกทรงทนต่อคำวิงวอน ของสมเด็จพระโอรสาธิราช
ผู้ยอมสละ ราชสมบัติ เพื่อความอยู่รอด ของแผ่นดินมิได้ จึงจำต้อง ลาผนวช ในเดือน
๔ แรม ๑๓ ค่ำ ศักราช ๙๑๖ ปีขาล ฉศก(พ.ศ.๒๐๙๗) รวมเวลา ที่ทรงผนวชได้ ๘ เดือน
เป็นการครองแผ่นดินครั้งที่ ๒ ของ สมเด็จ พระมหาจักรพรรดิ์ พระเจ้าช้างเผือก
ทางด้านเมืองพระพิษณุโลก เมื่อพระเจ้าหงสาวดีทราบว่า พระยาภุกาม พระยาเสือหาญ
สองขุนพลที่ทรงส่งมาช่วยรบ พร้อมไพร่พล ฝีมือกล้า ต้องเสียทัพแก่ ชาวล้านช้าง
อย่างยับเยิน ก็ทรงพระพิโรธหนัก ทรงให้ม้าใช้มา แจ้ง ต่อสอง พระยานั้น กลับหงสาวดี
โดยด่วน ทั้งพระยาภุกามและพระยาเสือหาญตระหนักดีต้องถูกลงพระราชอาญาร้ายแรงตามอาญาทัพ
ถึงชีวิต ด้วยพระเจ้าหงสาวดีทรงมีความ เฉียบ ขาดในอาญาศึกอยู่แล้ว ไม่เลือกไพร่เลือกนาย
ฝีมือ ขนาดไหน หากพลาดพรั้งการรบเป็นที่เสื่อมเสีย จะทรงสั่งประหารหมดไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่าง
ด้วยความกลัวพระราชอาญาทั้งสองจึงทูลวิงวอน พระมหาธรรมราชา เสด็จนำไปช่วยขออภัยโทษให้ด้วย
พระมหาธรรมราชา จึงพาสมเด็จพระนเรศวรราชบุตร เสด็จขึ้นไปเมืองหงสาวดี พร้อมกับนำพระยาทั้งสอง
ไปทูลขออภัยโทษ แก่พระเจ้าหงสาวดี ซึ่งก็ตรงตามคาดคิด เมื่อพระองค์ทรงกล่าวด้วยความพิโรธว่า
'มันทั้งสองโทษถึงตายอยู่แล้ว แต่พระเจ้าน้องเราได้ขึ้นมาขอ ฉะนี้ เรายกโทษให้
'พระมหาธรรมราชา ได ้ฟังก็ทรงโสมนัสทวีความรัก ใคร่ใน พระเจ้าหงสาวดี ร้อยเท่าพันทวี
ระหว่างพระมหาธรรมราชา เสด็จไป กรุงหงสาวดี เมื่อข่าวนี้รู้ไปถึงพระนครศรีอยุธยา
สมเด็จพระมหินทราธิราชก็กราบทูลสมเด็จพระมหา จักรพรรดิ์พระเจ้าช้างเผือก พระราชบิดาว่า
'พระมหาธรรมราชา นี้มิได้ สวามิภักดิ์ต่อ พระองค์ แล้ว กลับไป ฝักใฝ่ไมตรีกับ
พระเจ้าหงสาวดีถ่ายเดียว จำจะต้อง ยกทัพขึ้นไปเชิญเสด็จ พระเจ้าพี่นาง กับ พระราชนัดดาลงมาไว้
ณ พระนครศรีอยุธยา ถึงมาตร พระมหาธรรมราชาคิดประการใด ก็จะเป็น ห่วง อาลัยอยู่
อัน พระมหาธรรมราชา เห็นจะไม่พ้นเงื้อมพระหัตถ์ ' สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ ทรงเห็น
ด้วย จึงตรัสให้พระยารามอยู่รักษาพระนคร สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับ สมเด็จพระมหินทราธิราช
โอรสาธิราช ก็กรีธาพลเสด็จโดยทางชลมารคถึงเมืองพระพิษณุโลก รับ สมเด็จพระ วิสุทธิกษัตรี
กับ พระเอกาทศรส อันเป็นพระภาคิไนยราชและครัว อพยพ ข้าหลวงเดิมซึ่งให้ขึ้นมาแต่ก่อนนั้น
ล่องจาก เมืองพระพิษณุโลก ไปประทับ ณ เมืองนครสวรรค์ แทนที่จะเสด็จคืนสู่พระนครศรีอยุธยา
สมเด็จพระ มหินทราธิราชซึ่งทรง มี ความแค้นในพระมหาธรรมราชามาตั้งแต่ต้นจากถูกกดข่มพระราชอำนาจขณะครองราชย์อยู่จนไม่อาจทน
ต้องขอให้พระราชบิดา ทรงลาผนวชมาครองราชย์แทน จึงมี ความคิดจะเชือดแค้น ใน พระทัยออกไป
ให้สิ้นทุกวิถีทาง โดยเฉพาะการริดรอน ทุกสิ่งทุกอย่างของศัตรูคู่แค้น พอได้โอกาสก็กราบทูล
พระราช บิดาว่า เมืองกำแพงเพชรเป็นทางศึก กำลังศึก จะขอทำลาย เมืองกำแพงเพชร
กวาดเท เอา ครอบครัว อพยพไปไว้ ณ กรุงศรีอยุธยา ถึงศึกมีมาก็จะได้หย่อนกำลังลง
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นชอบด้วย และ ทัพหลวงยัง ตั้งยั้งอยู่ ณ เมืองนครสวรรค์
จึงโปรดให้ สมเด็จพระมหินทราธิราช ยกกองทัพขึ้นไปยังเมือง กำแพงเพชรโดยทัพหลวง
ตั้งค่ายท้ายเมือง พระยา ศรีเป็นกองหน้า เข้าตั้งค่ายแถบคูเมือง และเตรียมการ
เข้าตี เมืองกำแพงเพชรตาม พระราชประสงค์ ขณะนั้น ขุนอินทเสนา กับขุนต่างใจ ข้าหลวง
ซึ่งตั้งไปแต่ พระพิษณุโลก รู้ข่าวศึกมาประชิด ก็ตรวจจัด รี้พลแต่งป้องกันเมือง
กำแพงเพชรเป็นสามารถ พอกองทัพ พระยาศรี เข้าตั้งแถบคูเมือง ก็ส่งพลทหาร ออกหักค่าย
โดยไม่ทันให้ตั้งตัว เป็นเหตุให้พระยาศรีพ่ายแก่ ชาว เมืองกำแพงเพชร ในการศึกยกแรก
วิสัยนักรบไม่สิ้นกำลังใจโดยง่าย พระยาศรีจึงคิดแก้มือด้วย การแต่ง กำลัง เข้าปล้นเมืองในเวลา
กลางคืนจัดชาวอาสาใน หมวดพันตรีไชยศักดิ์พันหนึ่ง เตรียมการไว้ พร้อม พอตกกลางคืนได้ฤกษ์ก็ยกเข้าตีเมือง
ตามแผนฝ่ายชาวเมือง ซึ่งระวังตัวอยู่แล้ว เห็นทัพพระยาศรี กรูเกลียว เข้ามา ก็ซุ่มดูที
เงียบ เหมือนไม่รู้ เนื้อรู้ตัว กระทั่งพลรบข้าศึกเข้ามาถึงเชิงกำแพงเมืองนั่นแหละ
จึงวางปืนไฟ และพุ่ง ศัตราวุธทุกชนิดเข้าใส่ถูกชาวอาสาล้มตายระเนระนาด ที่เหลือก็แตกถอย
ออกมา แบบว่าไม่มีทางเข้า ปล้นเมืองได้ สมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้า ส่งพลเข้าปล้นเมือง
กำแพงเพชร สามวัน สามคืน นอกจากจะไม่สำเร็จยังต้องสูญเสียรี้พลเป็นอันมาก เห็นที
จะรบแบบแมลงเม่าบินเข้ากองไฟ ไม่ไหว จึงถอยทัพหลวงคืนสู่นครสวรรค์ จากนั้นก็
พร้อมด้วยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ (พระเจ้าช้างเผือก) ก็เสด็จนำ ทัพกลับพระนครศรีอยุธยา
ทางข้าหลวงเมืองพระพิษณุโลก รีบนำความกราบบังคมทูล พระมหาธรรมราชาที่เมือง หงสาวดี
ให้ทรงทราบเรื่องราวภายในเมืองทุกประการ ทำให้พระมหาธรรมราชา ตก พระทัยเป็นอันมากด้วยคาดไม่ถึง
และเข้าเฝ้า พระเจ้าหงสาวดทันทีทูลตั้งแต่ต้นเหตุ พระยาราม กับ สมเด็จพระมหินทราธิราช
คิดการกัน แต่ต้น จนมาหักหาญรับ พระวิสุทธฺกษัตรี และพระเอกทศรถ ลงไป ยังพระนครศรีอยุธยาให้ทรงทราบ
พระเจ้า หงสาวดี ก็ทรงแค้นเตืองพระราชหฤทัยนัก ตรัสแก่ พระมหา ธรรมราชา เป็นเชิง
ปลอบ ในที 'กรุงพระมหานคร เสียสัตยานุสัตย์ กลับเป็นปรปักษ์ข้าศึก แก่ พระเจ้า
น้องเรา นั้น จะละไว้มิได้ พระเจ้าน้องเร่งลงไปจัดแจงกองทัพทั้ง ๗ เมืองเหนือ
และเสบียง อาหารพร้อม สรรพ เดือน ๑๒ เราจะยกลงไป
ฝ่ายหนึ่งแค้น อีกฝ่ายหนึ่งก็แค้น ผู้อยู่กลางยังร่วมแค้นอีก
ด้วยเมื่อแค้นเชือดแค้น เช่นนี้ อะไรจะเกิดขึ้น.........