...ศึกใหญ่ของกรุงศรีอยุธยาเกิดขึ้นอีกครั้งใน
ปี พ.ศ. ๒๐๘๖ เมื่อสมเด็จพระ เจ้าหงสาวดี ยกทัพ มามากกว่าครั้งก่อนสิบเท่า หมายเอากรุงศรีอยุธยา
เป็น เมืองขึ้นให้ได้ ไม่เหยียบชานเมือง มองเฉย เหมือน ครั้งก่อนโดยเคลื่อนพล
เมื่อวันอาทิตย์ขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๒ เวลาอุษาโยก ทรงช้างพระที่นั่ง พลายมงคล ปราบทวีป
เป็นพระราชพาหนะ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราช ทรง ทราบข่าวศึก ก็ตรัสให้เทครัว
เมืองตรีจัตวาและแขวงจังหวัดเข้าพระนคร มีพระราชกำหนดขึ้นไปถึง พระพิษณุโลก ว่าถ้าศึกหงสาวดี
มาติดพระนครศรีอยุธยา เมื่อใด ให้สมเด็จพระมหาธรรมราชา เกณฑ์ทัพเมืองเหนือ ทั้งปวง
ยกมาเป็น ทัพขนาบ ให้พระยาจักรีขึ้นไปตั้งค่ายที่ตำบลลุมพลีถือพลหมื่นห้าพัน
ใส่เสื้อแดง หมวกแดง พระมหานาควัดภูเขาทอง
ได้สึก ออกมาตั้งค่ายสกัดกั้น ทัพเรือพม่าทำการขุดคลองนอกค่าย ตั้งแต่วัดภูเขาทอง
จนถึงวัด ป่าพลู เรียก "คลองมหานาค" (ดังปรากฏให้เห็น จนตราบ ทุกวันนี)้
เจ้าพระยามหาเสนา ถือพลหมื่นหนึ่งตั้งค่าย ณ บ้านดอกไม้
ป้อม ท้องนาหันตรา พลใส่เสื้อเขียว หมวกเขียว พระยาพระคลังถือพลหมื่นหนึ่งตั้งค่ายป้อมท้ายคู
พลใส่เสี้อเหลืองหมวกเหลือง พระยาสุนทร สงคราม เจ้าเมือง สุพรรณบุรีถือพลหมื่นหนึ่งตั้งค่ายป้อมจำปา
พลใส่เสี้อดำหมวกดำ ในพระนครก็ตกแต่ง ป้องกัน เป็นสามารถ ศึกหงสาวดี ครั้งนี้มีบันทึก
ใน ประวัตืศาสตร์ชาติไทยถึงวีรสัตรีคนแรก และ สมเด็จ พระเจ้าหงสาวดี อาศัย ฤกษ์
ยามขับพล เข้าตีทัพสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเรียกว่า ศุภนิมิต ราชฤกษ์ คือพระอาทิตย์แจ่ม
ดวง หมดเมฆหมอก มีคิชณราชบินนำหน้าทัพ ถ้าเรียกใน ศัพท์สมัย ใหม่ ก็ว่า "ตะวันกล้ามหากาฬ"
การศึกระหว่าง กรุงหงสาวดี กับ ไทย ในครั้งนั้น เกิดขึ้นในวันอาทิตย์ ขึ้น ๖
ต่ำ เดือน ๔ ปีเถาะเบญจศก ศักราช ๙๐๕ (ตรงกับ พ.ศ. ๒๐๘๖) สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า
ทรง เครื่องราช อลังการยุทธทรงช้างต้นพลายแก้วจักรพรรดิ สูงหกศอกคืบห้านิ้ว เป็น
พระคชาธาร ประดับคชา อลังการยุทธเครื่องมั่น มีกลางช้างและควาญ ส่วน สมเด็จพระสุริโยทัยเอกอัครราชมเหสี
ประดับพระองค์ เป็น พระยามหาอุปราช ทรงเครื่องสำหรับ ราช ณรงค์เสด็จทรงช้างพลายทรงสุริยกษัตริย์
สูงหกศอก เป็น พระคชาธาร ประดับคชาภรณ์ เครื่องมั่นเสร็จ มีกลางช้างและควาญ พระราเมศวร
ทรงเครื่องสิริราช ปิลันธนาวราภรณ์ สำหรับพิชัยยุทธ สงคราม เสร็จ เสด็จทรง ช้างต้นพลายมงคลจักรพาฬ
สูงห้าศอก คืบ สิบนิ้ว ประดับ คชาภรณ์เครื่องมั่น มีควาญ และกลางช้าง พระมหินทราธิราช
ทรงราช วิภูษนาลังการาภรณ์ สำหรับพระมหาพิชัยยุทธ เสด็จทรง ช้างต้น พลายพิมาน
จักรพรรดิ สูงห้าศอกคืบ แปดนิ้ว ประดับอุญชรอลงกต เครื่องมั่น มีกลางช้าง และ
ควาญ ครั้นเมื่อได้มหาศุภวารฤกษ์ราชตฤถี พระโหรา ลั่นฆ้องชัยประโคม อุโฆษแตรสังข์อึงอินทเภรี
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า ก็ยาตรา พระคชาธารข้ามฟากไปพระอัครมเหสี
และ พระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์ ควาญ ประจำท้าย ล้อมเป็น กรรกงโดยขนัด แล้วถึงหมู่พยุหแสนยากร
โยธา หาญ เดินเท้าถือดาบดั้งสโลโตมร หอกใหญ่ หอกคู่ ธงทวน ธนู ปืน นกสับ คับคั่งซ้าย
ขวา หน้า หลัง โดยกระบวนคชพยุหสงครามเสียงเท้าพลและเท้าช้าง สะเทีอน ดังพสุธาจะทรุด
สมเด็จ พระมหา จักรพรรดิราชาธิราชเจ้าเสด็จยืนพระคชาธาร ประมวลพลและคชพยุห ณ
โคกพระยา
ฝ่ายสมเด็จพระเจ้าหงสาวดี ประทับใน ค่ายหลวง ตำบลกุ่มดองทราบ
จากกอง ตะเวน รามัญว่า พระเจ้าอยู่หัวไทยยกทัพช้าง มาคง หมายกระทำ คขพยุห สงครามด้วย
จึงตรัสให้ยกพลหลวงจากค่าย ตั้ง กระบวน พระองค์เอง ก็ทรง เกราะเครื่อง พิชัยยุทธทับถม
ด้วย วิชาศัสตราเวทคาถา สอดพระมหา สุวรรณ สังวาลประดับเพชรพื้นถมสรรพคุณ เวทคาถาต่างๆ
ทรงพระมหามาลาลง เลข ยันต์ กันสรรพ ศัสตราวุธ ภยันตรายสำหรับราช ณรงค์ยุทธเสร็จ
เสด็จทรงช้างต้น พลายมงคลปราบทวีปสูงเจ็ดศอก เป็นพระ คชาธาร ประดับ คชาภรณ์ เครื่องมั่น
มีกลาง และควาญช้าง เครื่องสูงสำหรับราขณรงค์ แห่ โดยขนาด มีหมู่ทหารถือ ดาบดั้งหมื่นหนึ่ง
ล้อมพระคชาธาร พระเจ้าแปร ทรงอลังการเครื่องพิชัยยุทธ ทรงช้างต้น พลาย เทวนาคพินายสูงหกศอกคืบเจ็ดนิ้วเป็นพระคชาธาร
ประดับ คชาภรณ์ เครื่องมั่น มีควาญและ กลางช้าง ยกเป็นกองหน้า มีทหารดาบสองมือ
พันห้าร้อยล้อมพระคชาธาร และช้างท้าว พระยารามัญ คับคั่ง ทั้งกระบวน กรรกง เป็นขนัด
สรุปว่าทั้งสองกองทัพ พระเจ้าแผ่นดินไทย และ หงสาวดี ต่างสะพรึ่บ สะพรั่งด้วย
ขุนศึกและพลรบ เปรียบช้างทรงแล้ว ช้างทรง กษัตริย์ไทยสูงเพียง หกศอก คืบ ห้านิ้ว
ส่วน ช้างทรงหงสาวดีสูงถึงเจ็ดศอก เมื่อเผชิญหน้ากันห่างประมาณ ร้อยเส้น เจ้า
หงสาวดีเสด็จ ยืนพระ คชาธาร คอยฤกษ์ ตรัสให้พลม้า รำทวน ชักชิงคลองกันไปให้พลเริงหน้าทัพ
ฝ่ายพลเครื่อง เล่นเต้นรำร้อง เฮฮา เป็นกุลาหล พลดาบดั้งดาบสองมือก็ลำล่อเลี้ยวกัน
ไปมายั่วยุ กองทัพไทย เป็น เชิงตัดไม้ข่มนาม ในตัวสมเด็จ พระเจ้าหงสาวดีทอดพระเนตรดูบนอากาศ
ดู ฤกษ์ยาม เป็นผู้เชื่อในไสยศาสตร์เวทมนตร์ คาถาและโหรา พอเห็นพระอาทิตย์ แจ่มดวง
หมดเมฆหมอก มีคิชฌราชบินนำหน้าทัพ ก็ทรงให้ลั่นฆ้องชัย อูโฆษ แตรสังข์อึงอินทเภรี
ขึ้นพร้อมกัน แล้วตรัส ให้ ขับพล เข้าโจมทัพ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ฝ่าย สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
ดำรัสให้ แยกพลเป็น ปีกกา พลโยธาหาญ ทั้งสองฝ่ายบ้างเห่โห่ เป็นโกลาหล เข้าปะทะ
ประจัน ตีฟันแทง แย้งยุทธ ยิงปีน ระดม ศัสตราธุฆาการ ตอบไป ทั้งอากาศพล ทั้งสองฝ่ายบ้าง
ตาย บ้างลำบากกลิ้งกลาด เกลื่อนท้องทุ่งเป็นอันมาก ครานั้นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า
ก็ทรงขับพระคชาธาร เข้าชน ช้างกองหน้า พระเจ้าหงสาวดี พระคชาธารเสียที ให้หลังข้าศึก
เอาไว้ไม่อยู่ พระเจ้าแปร ได้ ท้ายข้าศึก ดังนั้นก็ขับพระคชาธารตามไล่ช้างพระมหาจักรพรรดิ
พระสุริโยทัย เห็น พระ ราชสามีเสียที ไม่พ้นมือ ข้าศึกเป็นแม่นมั่น ทรงตัดสินพระทัยด้วย
พระกตัญญูภาพ ขับพระคชาธาร พลายทรงสุริยกษัตริย์สะอึกเข้าขวางออกรับ พระคชาธารพระเจ้าแปรได้ล่างแบกถนัด
พระคชาธาร พระสุริโยทัย แหงนหงายเสียที พระเจ้าแปรจึงจ้วงฟันด้วย พระแสงของ้าว
ต้องพระอังสา พระสุริโยทัย ขาดสะพายแล่ง ถึงราวพระถัน ประเทศฟุบพับสิ้นพระชนม์
กับคอช้าง พระที่นั่งในทันที พระราเมศวร กับ พระมหินทราธิราช ซึ่งเห็น เหตุการณ์เพลี่ยงพล้ำ
ของ พระราชมารดาแต่แรก พยายามไสช้าง เข้ากู้ สถานการณ์ แต่เหตุเกิดขึ้นเร็วเกินกว่าจะแก้ทัน
จึงต้องสูญเสียพระมารดาไปต่อหน้าต่อตา ทำได้แค่ขับ ช้างป้องกันพระศพที่ควาญช้างพยายามนำฝ่าทัพศัตรูเข้าพระนครจนสำเร็จ
สมเด็จพระ มหาจักรพรรดิ ราชาธิราช ซึ่งพ้นวิกฤตการณ์ถึงพระชนม์ชีพมาได้ โดยพระอัครมเหสีเข้ารับกรรม
แทน ทรงเสียพระทัย อย่างสุดซึ้ง มิเป็นอันได้ ทำศึกต่อทรงนำทัพถอยเข้าพระนคร
โปรดให้เชิญพระศพ พระสุริโยทัย วีรสตรี ผู้เป็น พระหอัครมเหสีมาตั้งบำเพ็ญพระราชกุศล
ที่ตำบลสวนหลวง ทางฝ่าย หงสาวดีไม่ยอมปล่อย นาทีทองนั้นสูญเปล่ารุ่งขึ้นพระมหาอุปราชาแต่งพลเข้าตีค่ายพระสุนทรสงคราม
ต่อรบข้าศึกเป็นสามารถ แต่เช้ายันค่ำศึกหนุนแน่นเข้าหักค่าย พระสุนทรสงคราม แตกเสีย
ค่ายป้อม จำปา รี้พลล้มตายลำบากมาก รุ่งอีกวันสมเด็จพระเจ้าหงสาวดี ทรงช้างต้น
พลายกามกวม สูงเจ็ดศอก ตัวทาแดง เสด็จยกพลมาถึง ทุ่งลุมพลี สั่งทหารเดินเท้าแซงตามทิวไม้สองฟากทุ่ง
เสด็จยืนช้างชี้พระหัตถ์เร่งทหารม้าห้าร้อย เข้ายั่วหน้า ค่ายพระยาจักรทำให้พระยาจักรีขับทหารออกรบ
โดยไม่เฉลียวในกลศึก เป็นเหตุทหาร หงสาที่ซุ่มแซง สองข้างชายทุ่งยกออกซ้ำฆ่าฟันทหาร
พระยาจักรีล้มตายสุดจะนับแลัวตัดหัวไปเป็น บำเหน็จ พระยาจักรี กับทหาร ที่เหลือไม่อาจต่อกรได้
ต้องลาดเข้าพระนครทิ้งค่ายแตก พระเจ้าหงสาวดีได้ชัยชนะ ศึกครั้งนี้แล้ว เสด็จกลับยังค่ายหลวง
ทรงสำรวจผลการรบของฝ่ายทหารม้า ปรากฎว่าได้ศรีษะชาวพระนคร ไปประมาณ สี่ส่วน ที่มิ
ได้ศรีษะไปประมาณหนึ่งส่วน จึงทรงโปรดปลูกร้าน ยกพื้นสูงขึ้นแต่ง เครื่อง มัจฉมังสาสุราบาน
ให้ทหารม้ารับพระราชทาน โดยจัดฝ่ายได้ศีรษะ มาเป็นผลงานขึ้นนั่ง รับพระราชทานใต้ถุนร้าน
ให้ฝ่าย บนร้าน ราดน้ำล้างมือลงมาใส่ พวกใต้ถุนร้านเป็นการทำโทษ พระราชทานเลี้ยงเช่นนั้น
๓ วัน โปรดให้พ้น โทษ ความ สูญเสียใหญ่หลวงเป็นเหตุ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า
มิอาจย่อท้อโดยง่าย แม้ทหาร หงสายังแสดงพลานุภาพหาญกล้าร่าเริงยั่วยุ เสบียง
อาหาร ก็ไม่ขัดสน ตรัสแก่มุขมนตรีว่า จำจะ รักษามั่น หน่วงไว้คิดการ เดือนคอยทัพเมืองพระพิษณุโลก
ซึ่งจะลงมาขนาบนั้น ด้วยระหว่าง รอคิด เอาปืนใหญ่ล้างค่ายทำลายความคิดให้อ่อนลง
ค่อยคิดการเอาชัย ชำนะเมื่อ ภายหลังเห็นจะได้ โดย ง่าย มุขมนตรีทั้งหลาย ก็เห็นด้วย
จึงให้เชิญ 'ปืนนารายณ์สังหาร' ลงสำเภาฉ้อขึ้นไปทางบ้านป้อม แต่ง ทัพบก ป้องกัน
สองฝั่งฟากขึ้นไปถึงขนอนปากคุ ทหาร รามัญ มาตั้งกองร้อยคอยเหตุอยู่ ฝ่าย ทหาร
รามัญเห็น เช่นนั้น รีบยรายงานข่าวไปทูลพระเจ้าหงสาวดี ณ ทัพหลวงว่า ชาวพระนคร
ล้อสำเภาขึ้นมา มีทัพบก ป้องกันสองฝั่งฟาก เห็นทีจะบรรทุก ปืน ใหญ่ขึ้นมาล้างค่ายทูลยังไม่ทันขาดคำ
เสียงปืน นารายณ์สังหาร ก็ คำรามก้อง กระสุนตกใกล้พลับพลาพระเจ้าหงสาวดี