สมเด็จพระเจ้าหงวาวดีทรงปรารถนาช้างไทยมาตั้งแต่แรกดังได้กล่าวมาแล้ว
ครั้นทราบ เรื่อง สมเด็จ พระมหาจักรพรรดิ ทรงได้ ช้างเผือกคู่บารมีถึง ๗ เชือก
ก็เกิดกิเลสอยากได้สัก ๒ เชือก จึงมีพระราช สาส์นให้ สมิงโยคราชกับไพร่ร้อยหนึ่ง
ถือมาพระนครถวายแก่ สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว พระราชสาส์น มี ความสำคัญตอนหนึ่ง.....
สมเด็จพระเชษฐา เราประกอบไป ด้วยบุญญาธิการเป็นอันมาก มี เศวตกุญชรชาติ พลายพังถึงเจ็ดช้าง
พระราชอนุชาท่าน ประสงค์จะขอช้างเผือก พลายสองช้าง มาไว้ เป็นศรีในกรุงหงสาวดี
ให้ สมเด็จพระเชษฐา เราเห็นแก่ พระราชไมตรีพระอนุชา ท่านเถิด กรุงหงสาวดี กับพระนครศรีอยุธยา
จะได้เป็น ราชสัมพันธ์ไมตรี สนิท เสน่หา เป็นมหาพสุธาทองแผ่นเดียวกันไป ตราบเท่ากัลปาวสาน
ถ้าสมเด็จพระเชษฐาเรา จะ ยึดถือทิฐิมานะ และรักช้าง ทั้งสอง ช้าง ยิ่งกว่าพระราชไมตรี
ก็เห็นว่ากรุงหงสาวดีกับ กรุงศรีอยุธยาขาดจากกันแล้วน่าที่จะได้ร้อนอกสมณพราหม
ณามาตยาประชาราษฏรทั้งปวง" พระราชสาส์นนี้สรุปว่า
พระเจ้าหงสาวดี ขอช้างพลายเมือก ๒ ช้าง หากไม่ให้ก็จะ ยกทัพ ลงมาชิงเอาถึงพระนครเลยทีเดียว
เมื่อพระเจ้าอยู่หัว ทรงสาส์น นั้น ก็ได้ตรัสปรีกษามุขมนตรีมีความเห็นประการใด
ได้รับกราบทูล 'สมเด็จพระเจ้าหงสาวดี ลิ้นดำ อันเป็น ใหญ่ในรามัญประเทศพระองค์นี้
มีกฤษฏาธิการผ่านแผ่ พระเดชานุภาพ ไป ทั้งสิบทิศ(ผู้ชนะสิบทิศ) และ ให้มี พระราชสาส์น
เป็น ทางพระราชไมตรีมาขอ พระยาช้าง โดยสุนทรภาพสวัสดิ์แล้ว สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีก็ไว้ทางพระราชไมตรีครั้งให้สมเด็จพระเจ้า
ลูกเธอทั้งสองพระองค์ มามากมายอยู่ควรให้ช้างจะได้เป็นพระ เกีย0รติยศ ไปในนานา
ประเทศ' แต่ฝ่ายพระราเมศวรราชบุตร พระยาจักรี พระสุนทรสงคราม เจ้าเมืองสุพรรณบุรี
ทูลแย้ง 'ช้างเผือกเป็นศรีพระนคร ซึ่งจะให้นั้นไม่ควร ถึง พระเจ้าหงสาวดี มีไมตรีนั้น
ก็ขอ ช้างพลายศรีมงคล และพลายมงคลทวีป ซึ่งชนะงา ทั้งสองช้าง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ให้แล้ว
หากทว่าเอาไปมิได้ และซึ่งจะส่ง พระยาช้าง ตระกูลไปนั้นจะเสีย พระ เกียรติยศ
ไปใน นานา ประเทศ จะว่าให้โดย เกรง อานุภาพพระเจ้าหงสาวดี' พระเจ้าอยู่หัว ทรง
สดับแล้วตรัส ' ถ้าเรามิให้ช้างเผือกไป พระเจ้าหงสาวดีจะยกทัพใหญ่มา ยังจะป้องกันพระนครได้หรือ
' สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระราเมศวร พระยาจักรี พระสุนทรสงคราม ทูลว่า 'ถ้าศึกหงสาวดีจะยกใหญ่
หลวงมาประการใดก็ดี ข้าพระพุทธเจ้าทั้งสาม จะขอ ประกัน พระนครไว้ ' สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ก็ทรง บัญชาตาม มีพระราชสาส์น ตอบ ปฏิเสธโดยอ้าง..... 'เป็นบูรพประเพณี ผู้ใดมี
สมภารบารมีที่ถึงที่ บรมจักรแล้ว ก็มี จักร แก้ว ดวงแก้วมณี นางแก้ว ช้างแก้ว
ม้าแก้ว ขุนพลแก้ว ขุนคลังแก้ว ถ้าหาก บุญบารมีไม่ถึง ผู้อื่นจะหาให้ก็ รักษามิได้
ธรรมดาประเทศธานีใดมีนางรูปงาม มีช้าง เผือก ช้างเนียม บ่อแก้ว บ่อทอง ก็เป็นประเพณีที่จะเกิด
ยุทธนาการอย่าให้พระอนุชา เราน้อยพระทัยเลย ' เมื่อสมเด็จพระเจ้า หงสาวดีทรงรับพระราชสาส์นตอบเช่นนั้นก็ตรัสว่า
'ขอบใจพระมหาจักรพรรดิ เรา ต้องประสงค์ ช้างเผือกแค่สองช้าง ควรหรือตัดทางพระราชไมตรีได้
อันพระนครศรีอยุธยา กับกรุงหงสาวดี ตั้งแต่วันนี้ไป จะเป็นปรปักษ์กันแล้ว ' จากนั้นทรงวางแผนการรบ
มุ่งยึด พระนครศรีอยุธยา โดยนำ ผลที่ยกไปตีสองครั้งแล้วไม่สำเร็จ เป็นแนวทางครั้งนี้
ที่ต้องทำให้ สำเร็จ เหตุที่ไม่สำเร็จในสอง ครั้งแรก ประเมินออกมาได้ดังนี้
๑.พระนครศรีอยุธยามีน้ำล้อมรอบดุจเขาพระสิเนรุราช อันมีสีทันดรสมุทรแวดล้อมเป็นชั้นๆ
๒.ขัดโดยเสบียงอาหาร จะทำการปีมิได้
๓.เมืองพิษณุโลก เมืองสวรรคโลก เมืองสุโขทัย เมืองกำแพงเพชร เมืองพิชัย ห้าหัวเมืองนี้ยังเป็นกำลังที่สำคัญของพระนครศรีอยุธยาอยู่
ทั้งเสบียงอาหารก็บริบูรณ์ ถ้าได้เมืองฝ่าย เหนือนี้ด้วยแล้ว พระนคร ศรีอยุธยา
ก็ไม่พ้นเงื้อมมือ ไปได้อย่าง แน่นอน ดำริ และรับเห็นชอบ จาก มุขมนตรีทั้งปวง
ก็ทรงกำหนดแผนการตีพระนคร โดยเพิ่ม กำลังรบเป็น ๓ เท่าของครั้งก่อน มีพระราช
กำหนด ถึงพระเจ้าอังวะ ราชบุตรเขย พระเจ้าแปรผู้เป็นพระราชนัดดา พระเจ้าเชียงใหม่
และท้าว พระยาหัวเมือง ทั้งปวง ให้เกณฑ์ทัพบำรุงช้างม้ารี้พลไว้สรรพ ออกพระวัสสาแล้วจะ
กรีฑา ทัพ ศักราช ๙๑๐ ปีวอก สัมฤทธิศก (พ.ศ. ๒๐๙๑) สมเด็จพระเจ้าหงสาวดี เกณฑ์ทัพทั้งหมดเป็นคนเก้าสิบหมื่น
ช้างเครื่องเจ็ดพัน ม้าหมื่นห้าพัน ให้พระมหา -อุปราชา เป็นกองหน้าถือพลยี่สิบหมื่น
ม้าสามพัน ช้าง เครื่องพันห้าร้อย พระเจ้าอังวะ เป็นปีกขวา ถือพลสิบหมื่น ม้าพันหนึ่ง
ช้าง เครื่องห้าร้อย พระเจ้าแปร เป็นปีกซ้ายถือพลสิบหมื่นม้าพันหนึ่ง ช้างเครื่องห้าร้อย
พระเจ้า เชึยงใหม่เป็นกองหลัง ถือพล สิบหมื่น ช้าง เครื่องห้าร้อย ม้าพันหนึ่ง
พอวันพุธ ขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๑๒ รุ่งแล้วสอง นาฬิกาหกบาท ได้ศุภวารดิถี ก็ทรงนำพลเคลื่อนลงมาพระนคร
ถึงเมือง พิษณุโลก ก็ใช้ กำลังพลที่เหนือกว่า ' บีบ ' สมเด็จพระมหา ธรรมราชา
ผู้ครองเมือง ซึ่งได้รับ เงื่อนไขให้สวามิภักดิ์จะไม่ย่ำยี จากพระเจ้าหงสาวดี
ก็พิจารณาเห็นว่าถ้ามิออกไป สวามิภักดิ์ ถูกเหยียบเอาเมืองสมณชีพราหมณ์ อาณาประชาราษฏร์
จะพินาศ ฉิบหาย สิ้นทั้งพระพุทธ ศาสนา ก็จะเศร้าหมอง ก็ดูมิควรเลยจำต้องออกไปศิโรราบ
แม้สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ราชาธิราช พระเจ้า ช้างเผือกจะทรงพิโรธเอาโทษถึงชีวิตก็ยอมตาย
แต่ตัวเอาชีวิตอื่นให้ รอด ไว้ดีกว่า จึงออกไปสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าหงสาวดี เพราะ
ไม่มีทางเลือก แจ้งข่าวศึก ไปยัง พระนครแล้วไม่มีวี่แววจะมาช่วยได้ทัน ขืนเอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุงรังแต่จะย่อยยับ
ฝ่ายพระเจ้า ช้างเผือก เมื่อได้ ทราบข่าว เมือง พิษณุโลก และเมืองฝ่ายเหนือทั้งปวงสูญเสียสิ้นแล้ว
ขณะนี้พระเจ้าหงสาวดี ก็ยกลง มาถึงเมืองนครสวรรค์ สมเด็จพระมหาธรรมราชา ก็ลงมา
ด้วยจึงเสียพระทัยนัก พระราเมศวร พระยา จักรี พระสุนทรสงคราม ต้นความคิดตะหนี่
ช้างจน เกิด สงคราม ใหญ่ ต่างให้ความมั่นใจว่า ถ้าทัพ พม่ามอญลงมาใกล้พระนครเมื่อใด
จะยก ออกไปตี พร้อมกับจัดทัพรักษาพระนคร กันเป็น สามารถ ระหว่างเตรียมทัพให้พร้อม
สรรพที่เมืองนครสวรรค์ พระเจ้าหงสาวดีทรงตรัสถาม สมเด็จพระมหาธรรมราชา ถึงเรื่องขอ
ช้าง มาแล้วไม่ได้เพราะเหตุใดมีผู้ใดทัดทาน เมื่อรับตอบโดยสัตย์ ทั้งหมด ก็ ทรงสรวล
' เป็นธรรมดาคนโมหจิต มิได้รู้จักกำลังตนกำลังท่าน เหมือน สัตย์สองจำพวก คือนกน้อย
คือกระต่ายและกระต่ายขาตัวสั้นเท่านั้น หมายจะหยั่ง ท้อง มหาสมุทรได้และว่ายน้ำ
ออกไปยัง มิทันได้หยั่งก็จมน้ำถึงแก่กาล กริยาตาย นกน้อยเล่า ปีกหางก็เท่านั้น
ชวนพระยาครุฑบินข้าม พระมหา สมุทรและบินเต็มพักของตน ยังมิได้กวักแห่งพระยาครุฑ
ก็ตกน้ำทำกาลกริยาตายสัตว์สองจำพวกนี้ เหมือนกับผู้ปรึกษาและรับประกันพระนครไว้
' ผลสรุปสมเด็จ พระมหาจักรพรรดิ เห็นพลังฝ่าย หงสาวดีเกินกำลังสู้จริงๆ ประกอบกับ
ฝ่าย หงสาวดี ส่งสาส์นออกมาชวนรบอีก เมื่อเห็นซุกเงียบ อยู่ใน พระนคร ทั้งๆที่ศึกประชิด
และ เปิดทางให้สนทนากัน มิฉะนั้นจะโหมบุก จึงยอมเจรจาด้วย สุดท้าย ต้องเสีย ช้าง
พลายเผือก สี่ช้างมี พระคเชนทโรดม พระบรมไกรสร พระรัตนากาศ พระแก้ว ทรง มาศ กับต้องมอบตัว
พระราเมศวร พระยาจักรี พระสุนทรสงคราม ไปสุดที่จะบ่ายเบี่ยงที่เจาะจงเอา ทั้งสาม
เพราะ เป็นต้นคิด ไม่ยอมเสียช้างเผือก หมายเสี่ยงสู้ศึกแต่สิ้นทาง ไม่มีใครรู้เจตนา
สมเด็จ พระเจ้า หงสาวดีที่ต้องการตัวบุคคลทั้งสามไป โดยอนุญาตให้รับบุตรภรรยา
ของทั้งสามตามไป ยัง หงสาวดีด้วย สงครามช้างเผือก ระหว่างพระเจ้าช้างเผือก สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชา
กับ สมเด็จพระเจ้า หงสาวดี ก็ยุติลงโดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ เพียงเสียช้าง กับเสียคน
ไปรวม ๗ ชีวิตเท่านั้น