บทเรียนในอดีตอันเป็นประวัติศาสตร์ บ่งชี้ให้ความแตกแยกรุนแรง จาก กิเลส ตัณหา เป็นตัวต้น ความ แค้น เคืองเป็นตัวแปร 'มือที่สาม' หรือสมัยใหม่เรียกว่าประเทศที่สามเป็นตัวหนุนยังผลลัพธ์ให้ เป็น'วิบัติ' ไม่เฉพาะ ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดวิบัติฉิบหายด้วยกันทั้ง ๓ ฝ่าย ต่างเพียงหนักเบากว่ากัน เท่านั้น จะหารอดจาก วิบัติเป็นไม่มี ดัง เหตุการณ์ในปลาย รัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระเจ้าช้างเผือก) ยุคที่สอง
ต่างฝ่ายต่างขัดกันแยกผิดแยกถูกไม่ออกมาตลอด
ตาต่อ ตาฟัน ต่อฟัน ไม่ยอม เป็นน้ำฝ่ายหนึ่งเป็นไฟฝ่ายหนึ่งลาดน้ำ
ใส่กัน ทั้งคู่ก็เปียก มะล่อก มะแล่ก หรือสาดไฟ ใส่กันก็ไหม้ วินาศสันตะโรตามๆ
กรณี ระหว่างพระมหาธรรมราชา กับพระมหินทราธิราช อันมีพระเจ้าหงสาวดี เป็นตัวหนุน
คือเหตุและผล อันเป็นสัจธรรม ถึงความวิบัติ จากความ เครียดแค้น ร้อนแรงปราศจากหลักธรรมของพระพุทธเจ้า
พระพุทธองค์
ตรัสไว้มีปัญหาใดควรหันหน้าหารือแก้ปัญหานั้นด้วยธรรมะไม่มีปัญหาใดที่ธรรมแก้ไม่ได้ในโลก
การแก้
ปัญหาด้วยธรรมะ มีแต่ความสงบเย็นไม่เร่าร้อนรุนแรง โดยเฉพาะ เวรย่อมระงับ ด้วยการไม่จองเวร
เปรียบ กับแค้นย่อมระงับด้วยการไม่แค้นใครโกรธเรานอกจากไม่โกรธตอบยังแผ่เมตตาให้เขาความโกรธก็ดับอยู่แค่
นั้น เหล็กต่อเหล็กกระทบกัน เป็นประกายไฟฉันใดโกรธกับโกรธ กระทบกัน ก็ไม่ผิดแผกความแค้น
ของ พระมหาธรรมราชา ที่ถูกยึดลูกยึดเมีย ไปถึงกับขอให้พระเจ้าหงสาวดีช่วยได้
กลายเป็นไฟสงคราม ร้ายแรง ที่สุด อีกครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย สมัยแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิยุค
๒ ครานั้นลุศักราช ๙๑๗ ปีเถาะ สัปตศก(พ.ศ. ๒๐๙๘) วันพฤหัสบดี ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน
๑๒ เพลารุ่งแล้ว สองนาฬิกาหกบาท สมเด็จ พระเจ้าหงสาวดีเสด็จสรงพระปริตโตทกธาราภิเษกเสร็จ
เสด็จทรงเครื่องสิริราชวิภูศนาธาร สำหรับออกศึก ครบถ้วนวิชัยยุทธ แล้วทรงช้างต้นพลายชมพูทัดสูงหกศอกสองนิ้ว
พร้อมพลรบตาม ตำราพิชัยสงคราม พอได้ฤกษ ์ก็ยกพลพยุท ทั้งทัพบกทัพเรือมายังเมืองนครสวรรค์
พระเจ้าแปร เป็นนายกกองทัพเรือ พหลพลไกร
ครั้งนั้นพระเจ้าหงสาวดีเกณฑ์พลพม่า มอญในหงสาวดี อังวะ ตองอู เมือง ปรวน เมืองประแสนหวี
เมือง กอง เมืองมิด เมืองตาละ เมืองหน่าย เมืองอุมวง เมืองสะพัวบัวแส เมืองสรอบ
และเมืองไทยใหญ่ จำนวน มหาศาล ส่วนทัพเชียงใหม่พอดีกับพระเจ้าเชียงใหม่ประชวร
ได้แต่งให้พระแสนพลวงพิงชัยเป็นนายกองถือ พลลาวเชียงใหม่มาด้วย กำหนดพลครั้งนั้นรวมบัญชี
ถึงร้อยหมื่น พระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า เป็นนายกอง ถือพลหัวเมืองเหนือเจ็ดหัวเมืองมาด้วยอีกทัพหนึ่ง
ฝ่ายสมเด็จพระมหาจักรพรรดิพระเจ้าช้างเผือกกับ สมเด็จพระมหินทราธิราช ราชบุตรทราบข่าวศึกก็ให้ขับพลเมือง
นอกทั้งปวงเข้าพระนคร ได้แต่ในแขวง จังหวัดใกล้ พระนคร ทั้งสี่แขวงเพียงส่วนหนึ่ง
อีกส่วนไม่ได้เข้ามาด้วย เพราะออกอยู่ป่าเป็นอันมาก พวกที่ เข้าเมืองมีแต่ เจ้าเมืองกับพลสำหรับเจ้าเมืองเท่านั้น
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ พระยาราม ตรวจจัดพล สรรพยุทธขึ้น ประจำหน้าที่กำแพงรอบพระนคร
และค่ายทั้งปวงให้มั่นคง แต่งกองแล่นไว้ทั่ง ๔ ด้านๆละ ๕ กองรอบพระนคร ตัวพระยารามตั้งทัพในท้องสนามหลวงเป็นกองกลาง
สามารถให้เป็นหน่วยเคลื่อนที่เร็ว ยกไปช่วยได้ทั้ง ๔ ด้าน หน้าที่ใดเป็นหน้าที่กวดขัน
พระเจ้าอยู่หัว ทรงไว้ใจพระยา กลาโหม พระยา พลเทพ เมืองชัยนาท เมืองสุพรรณบุรี
เมืองลพบุรี เมืองเพชรบุรี เมืองราชบุรี
เมืองนครนายก เมืองสระบุรี เมือง พรหมบุรี เมืองสรรคบุรี เมืองสิงคบุรี เมืองนครชัยศรี
เมืองธนบุรี เมืองมฤคอยู่ประจำหน้าที่แต่ ประตู หอรัตนชัย ลงไปเกาะแก้วซึ่งมีแต่คูหาแม่น้ำกั้นมิได้
หน้าที่ทั้ง ๓ ด้านแต่นายก่าย ไปถึงประตูชัย พระยา พระคลัง เป็นนายกองใหญ่ แต่ประตูชัยถึงประตูวังชัย
พระยา อินทรานครบาล เป็นนายกองใหญ่ แต่ประตู วังชัยถึงประตูชีชัน พระท้ายน้ำเป็นนายกองใหญ่
แต่ประตูชีชัน ไป ถึงมุมศาลหลวง พระยาสีหราชเดโช เป็นนายกองใหญ่ แต่มุมศาลหลวง
มาพระราชวัง แต่พระราชวังไป ถึงขื่อ หน้าพระยาธรรมาเป็นนาย กอง ถือพลทหาร ในทั้งปวง
รักษาหน้าที่
เมื่อพระเจ้าหงสาวดียกทัพมาถึงพระนครศรีอยุธยา ในวัน พุธขึ้น ๑ค่ำเดือนอ้าย ตั้งทัพมั่นที่ตำบลลุมพลี
พระยาราม ก็ทักทายด้วยปืนนารายณ์สังหาร ยาว ๓ วา เศษ กระสุน ๑๒ นิ้ว ซึ่งลากไปตั้งไปช่องมุมสบสวรรค์
จังก้ารอที่ลั่นตูมออกไป ๑ นัด กระสุนนตกกลางทัพพระเจ้าหงสาวดี ช้างม้ารี้พล
ล้มตายมากมาย กระสุนตก ใกล้พลับพลาพระเจ้าหงสาวดี จึงทรงให้เอากระสุนขึ้นสรวงพลี
แล้วเลิกทัพมาตั้ง ณ มหาพราหมณ์ พอทัพบกทัพเรือมาถึงพร้อมก็ตรัสให้รายล้อมพระนคร
ในขื่อหน้าทิศบูรพา เป็นทัพพระมหาอุปราชา และทัพพระมหาธรรมราชา ทัพพระเจ้าอังวะ
ไปตั้งข้างทักษิณ ทัพพระยาทะลบะ
และ ทัพพระยาพสิม และทัพพระยาแสนหลวงชาวเชียงใหม่ไป ตั้งข้างปัจจิมทิศ ทัพพระยาพสิม
และ ทัพ พระยาตองอู ทัพพระยาอภัยคามินี พระยาลาวเจ้าเมืองเมาะตะมะ พระยาพัตบะพัตเบิดตั้งทิศอุดร
ฝ่าย ทัพหลวงยกเข้าไปตั้งในวัดมเหยงค์ ทัพที่ล้อมพระนครทั้งสี่ด้านนั้น เมื่อแรกยกเข้าล้อม
ตั้งไกลริมน้ำออกไป ประมาณ ๓๐ เส้น เอาไม้ตาลเป็นค่ายพูนดินกันปืนใหญ่ กว่าจะตั้งค่ายมั่นคงได้
ชาวพระนคร ยิงปืนใหญ่ ออกไปต้องพลพระเจ้าหงสาวดีตายเกลื่อน ครั้นตั้งค่ายมั่นกันปืนใหญ่ได้แล้วประมาณ
๑๐ วัน ก็ยกเข้า มาตั้งค่ายอีกชั้นหนึ่ง ห่างค่ายเดิม ๑๐ เส้น ยังประมาณ ๒๐ เส้น
ถึงจะถึงริมน้ำ ชาวพระนครแต่งพลอาสา ออกมาทะลวงฟันยิงปืนใหญ่ออกไปต้องพลพระเจ้าหงสาวดีเมื่อตั้งค่ายตายหนักอีก
ทำให้ต้องเปลี่ยนการ ตั้งค่ายจาก กลางวันเป็นกลางคืน จึงสำเร็จ พระเจ้าหงสาวดีให้ยกเข้าตั้งค่ายอีกชั้นหนึ่งให้ถึงริมน้ำคูเมือง
ค่ายชั้นนี้ยิ่งตั้งได้ยาก ชาวพระนครยิงปืนใหญ่ และปืนจินดาจ่ารงมณฑก ได้ถนัดเต็มแม่นยำ
พลทั้งปวง ต้องปืนไฟตายเป็นเบือ พระเจ้าหงสาวดี จึงให้ขุดอุโมงค์ เป็นทางเดินพลเข้าประชิดเมือง
หลายสาย ครั้นถึง ริมแม่น้ำที่จะตั้งค่ายก็ขุดอุโมงค์แล่นหากันตรงหน้าค่าย อาศัยความมืดตอนกลางคืนลอบตั้งค่าย
โดยไม่ให้ มีเสียงอึกทึกครึกโครม ทางฝ่ายพระนครรู้ว่าชาวหงสาวดี ขุดอุโมงค์เข้าประชิด
ยิงปืนใหญ่ออกไปก็ไม่ได้ผล จึงจัดพลอาสาออกไปทะลวงฟันได้หัวข้าศึกมาถวายหลายครั้ง
กระนั้นชาวหงสาวดีใช้ เวลาเดือนเศษ ก็ตั้งค่ายประชิดสำเร็จโดยพระเจ้าหงสาวดียกมาตั้งค่ายล้อม
สามครั้งประมาณสองเดือนเศษ จึงเข้าล้อม ได้ถึงริมแม่น้ำคูเมือง
สมเด็จพระมหินทราธิราช ทรงเห็นว่าศึกนี้หนักนัก จึงให้พระยารามแต่งศุภอักษรให้ขุนราชเสนา
ขุนมหา วิไชย กับไพร่ฟ้าสิบ ขึ้นไปยังเมืองล้านช้างขอกองทัพ พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตมาช่วย
พระนครศรีอยุธยา เป็นการด่วน ขณะที่พระเจ้าหงสาวดียกพลตั้งค่ายล้อมกรุง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
(พระเจ้าช้างเผือก) เสด็จเลียบพระนครมิได้ขาดทรงแต่งขุนหมื่นทหาร ออกไปกองละ
พันสองพันทั้งสี่ด้านเป็นหลายหมู่ หลายกองออกทะลวงรบ ฝ่ายหงสาวดีที่มาตั้งค่ายได้หัวมาถวายมากมายทุกวัน
แต่ฝ่ายนั้นก็ไม่ย่นย่อ ทุ่มเท กำลังตั้งค่ายจนสำเร็จ พระเจ้าหงสาวดี ถึงกับทรงปรารภแก่พระมหาอุปราช
พระเจ้าแปร พระเจ้าอังวะ และ ขุนศึกว่า 'เราไปรบเมืองทุกแห่งไซร้ ครั้นยกเข้าล้อมได้แล้วดังนี้ก็แต่งการที่จะ
เข้าปีนปล้นเอาได้ ด้วย ฉับพลัน แต่แผ่นดินอยุธยานี้เป็นราชธานี ใหญ่หลวงเอาสมุทรเป็นคูคันรอบ
ดุจเขาพระสุเนรุราชอัน มีแม่น้ำ สีทันดรนทีรอนคอบ ที่จะปล้นได้ไซร้เห็นแต่ชื่อด้านเดียวถึงดังนั้นก็ดีจะปล้นเอาเหมือนนครทั้งปวง
นั้นมิได้ และซึ่งจะเอาอยุธยาครานี้ เราจะแต่งการ เป็นงานปี จึงจะได้ให้ท้าวพระยาทั้งหลาย
กำหนด ให้แก่นายทัพ นายกองทั้งปวงให้รักษาแต่มั่นไว้อย่าเพ่อรบพุ่งให้แต่งกันออก
ลาดหา ข้าวไว้เป็นเสบียงรี้พล ให้ ครบปีหนึ่ง แล้วจะให้สำรวจเอาให้ถ้วนตัวจนทุกหมู่ทุกกอง
ถ้านายทัพนายกองคนใดเสบียงพลนั้นมีไม่ครบถึง ปีไซร้ จะให้ลงโทษต่อนายทัพนายกองถึงสิ้นชีวิตมิมีการลดหย่อนผ่อนปรนใดๆทั้งสิ้นให้ท้าวพระยาทั้งหลายไปถือ
ปฎิบัติดังนี้' คำสั่งดังกล่าว เมื่อถึงเวลาสำรวจมีหมวดมะโดดข้าหลวงเดิมถูกประหาร
เพราะได้เสบียง ไม่ ครบปี
ขณะนั้นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ(พระเจ้าช้างเผือก)ทรงพระประชวรได้
๒๕ วัน ก็สวรรคต ใน ศักราช ๙๑๗ ปีเถาะ สัปตศก (พ.ศ.๒๐๙๘) สิริรวม อยู่ในราชสมบัติ
๒ สมัย ๒๗ ปี
แผ่นดินสิ้นกษัตริย์
ระหว่าง ศึกจะเป็นเช่นใด ?