หลังจากพระเจ้าหงสาวดีตีกรุงศรีอยุธยาแตก
เมื่อวันเสาร์แรม
๑๑ ค่ำเดือน ๙ ศักราช ๙๑๘ ปีมะโรง อัฐศก (พ.ศ. ๒๐๙๙) เพลาเช้า ๓ นาฬิกา
ด้วยอุบาย ของพระมหาธรรมราชา ที่ให้พระยาจักรีเป็นไส้ศึกดังกล่าวแล้ว
ก็นำสมเด็จ พระมหินทราธิราช เจ้าแผ่นดินไปพร้อมราชวงศ์และไพร่ฟ้าตามเสด็จไปหงสาวดี ทรงมอบหมายให้
สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชขึ้นครอง กรุงศรีอยุธยาแทนทรงพระนาม สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่
๑ มีพระราชพิธีปราบดาภิเษก เมื่อวันศุกร์ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะโรง อัฐศกศักราช
๙๑๘ หรือ พ.ศ. ๒๐๙๙ นั่นเอง ส่วนสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้า ซึ่งทรงโทมนัสใหญ่
หลวงจากการสูญเสียแผ่นดิน ด้วยฝีมือ คนไทย ที่สวามิภักดิ์กับศัตรู โดยเสด็จพระเจ้าหงสาวดี
ถึงเมือง แครงก็ทรงพระประชวรหนัก แม้พระเจ้า หงสาวดีจะส่งแพทย์หลวงปรีชา สามารถ
สูงเข้า รักษา โดยคาดโทษว่าถ้าเจ้าแผ่นดินไทยสวรรคต จะลง โทษถึงสิ้นชีวิต ก็ไม่อาจแย่งพระชนม์สมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้า
จากพระหัตถ์พญามัจจุราช ได้ทรงรับ การรักษาพยาบาลอยู่เพียง ๑๑ คืน ก็สิ้น พระชนม์
โดยดึงชีวิตแพทย์ พม่ามอญไทย รวม ๑๑ คน ที่รักษา พยาบาลพระองค์ไปด้วย ตามการคาดโทษ
ของ พระเจ้าหงสาวดีเมื่อ พระราชทาน เพลิงเสร็จ ทรงพระ กรุณาให้เอาพระอัฐิ และพระสนมเครื่องราชูปโภคทั้งปวงส่งกลับพระนครศรีอยุธยาแล้ว
สมเด็จ พระเจ้าหงสาวดี ก็เสด็จคืนสู่เมืองหงสาวดี
ต่อมาลุศักราช ๙๑๖ ปีชวด ฉศก (พ.ศ. ๒๑๐๗) สมเด็จ พระเจ้าหงสาวดี
ทรงพระประชวรหนัก และ สวรรคต ณ วันเสาร์ขึ้น ๙ ค่ำ เดือนยี่ รวมพระชนมายุ ๖๕
พรรษา อยู่ในราชสมบัติ ๓๕ พรรษา บังเอิง ราชบุตรผู้เป็นพระมหาอุปราชา ได้ขึ้นครองราช
เป็นพระเจ้า กรุงหงสาวดีแทน และให้ มังสามเกลียด ราชบุตรเป็นพระมหาอุปราชา ซึ่งต้นรัชกาลนั้นฝ่าย
เมืองรุม เมืองคังฉวยโอกาส แข็ง เมือง เจ้ากรุงหงสาวดี องค์ใหม่แจ้งข่าวมายังพระนเรศวร
ราชบุตรสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช หรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๑ พระเจ้าแผ่นดินไทยซึ่งบุเรงนองผู้ชนะสิบทิศ
พระเจ้ากรุงหงสาวดีองค์ก่อน นำไปชุบเลี้ยงสมัยยังพระเยาว์ และพระเจ้ากรุงหงสาวดี
องค์ใหม่ ทรงนับเป็น "พระเจ้าหลาน" ขอ ให้ขึ้นไปช่ายปราบเมืองรุมเมืองคัง สมเด็จพระนเรศวรจึงนำความขึ้น
กราบทูล พระราชบิดาให้ทรง ทราบและทรงให้เสด็จไปช่วยกรุงหงสาวดี จึงทรงกราบ บังคมทูลลานำกองทัพไทยไปถึงตำบล
พระตำหนักไม้ไผ่ใกล้กรุงหงสาวดี มีหนังสือบอกเข้าไป พระเจ้าหงสาวดีทรงดีพระทัย
ให้แต่งเสบียง อาหาร และเครื่องเสวย ให้ข้าหลวงนำมาถวาย และนำเสด็จ ขึ้นไปเฝ้า
ณ กรุงหงสาวดี ทรงมอบหมายให้ สมเด็จพระนเรศวร กับพระมหาอุปราชา และ พระสังขทัต
ยกไปเอาเมืองรุม เมืองคัง ให้จงได้ ทั้งสาม จึงกรีธาทัพ ของตนไปยังจุดหมายปลายทางตั้งค่ายใกล้เมืองนั้น
เมื่อประชุมวางแผนเข้าตี พระมหา อุปราชา ตรัสว่าจะ เข้ารบ พร้อมกันทั้งสามทัพ
ไพร่พลจะตะรุมบอน กันนัก ทางที่ดีควรผลัดกัน เข้ารบ ทัพละวัน โดยพระมหาอุปราชาจะนำวันแรก
พระสังขทัต นำวันสอง สมเด็จพระนเรศวรนำวันสาม หากวันแรกมีชัยอีกสองทัพก็ไม่ต้องรบ
เมื่อยังตีเมืองไม่ได้ก็จะเวียนรบ กัน ทัพละวัน เช่นนี้ ตกลงกันแล้ว พระมหาอุปราชานำทัพเข้าตีก่อน
ในวันจันทร์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๕ เพลาสี่ทุ่ม เดือนตก ข้าศึกอยู่ บน เขา ชัยภูมิสูงกว่า
ต้องปีนเขาขึ้นตี จึงเสีย เปรียบมาก ถูกข้าศึกงัดก้อนศิลากลิ้งลงมา ทับรี้พล
ล้มตายเป็นอันจน ปัญญา จะขึ้นตีได้สำเร็จ ต้องถอย กลับ ในเวลาจวนรุ่ง วันต่อมาทัพพระสังขทัตก็ขึ้นไปรบถูกข้าศึกงัดก้อนศิลาทับรี้พลล้มตายหนักหนา
จะหักเอาเมืองมิได้ จำต้อง ถอยลงมาอีก
ถึงเวลาสมเด็จพระนเรศวรนำทัพเข้าตี เป็นวันที่สาม ทรงพิจารณาเห็น ความ ล้มเหลว
ของสองทัพแรกแล้ว จึงทรงวาง แผนแบ่ง พลเป็น ๓ หน่วยให้พลปืนฝีมือดีปีนเขาอย่างเงียบเชียบแซงขึ้นสองข้าง
ทางด้านกลาง อันเป็นทางลุยขึ้นของสองทัพเดิมนั้น สั่งอีก หน่วยหนึ่งอยู่แต่เชิงเขา
ห่างภัยจากก้อนศิลา ที่ข้าศึกงัดกลิ้ง ลงมา ให้โห่ร้องเหมือนบุกขึ้นเขาทางนี้
ทรง ลงมือปฎิบัติการ ตาม แผนเมื่อ เวลาตี ๑๑ ทุ่ม หน่วยกลาง ด้านหน้าโห่ร้อง
ก้อง แผ่นดินทำนองหนุนปีนขึ้นบุก ข้าศึกหลงกล งัดศิลากลิ้งมาหมาย ทำลายรี้พล
ซึ่งได้ ผลมาสองคืนแล้ว แต่ไม่มีใครเป็นอันตราย ขณะเดียวกัน พล ปืนทั้งสองด้าน
ซึ่งปีนขึ้นไปโดยมี สมเด็จ พระนเรศวร นำด้านหนึ่งระดมยิงถูกข้าศึกบนเนินบาดเจ็บล้มตายเป็นอันมากแตกระส่ำระสาย
ไม่อาจ ต้านทัพไว้สำเร็จ เพลาสามโมงเช้าสมเด็จพระนเรศวร ก็เข้า ตีเมืองรุมเมืองคังได้สำเร็จจับเจ้าเมืองลงมา
ยังค่ายแล้วทั้งสามทัพก็กลับ เมืองหงสาวดี สมเด็จ พระเจ้าหงสาวดีทราบ เรื่อง
ก็ตรัสชม ฝีมือ และ ความคิดสมเด็จพระนเรศวร ว่าเป็นเลิศในการทำศึก สำเร็จครั้งนี้
แล้วพระราชทานทองคำใส่พระภูษา องค์หนึ่ง ทองหนัก ห้าชั่งจำหลักเป็น รูป เทวดา
เป็น เหตุน้อยพระทัยแก่พระมหาอุปราชายิ่งนัก จากนั้น สมเด็จพระนเรศวรก็ทูลลาพระเจ้าหงสาวดี
นำทัพกลับพระนครศรีอยุธยาซึ่งพระเจ้าหงสาวดีได้ มอบหมาย ให้ มังทุ มังอนัน มังอสารจอถ่าง
สมิงพัตเบิด ลงไปอยู่หัวเมืองรายทาง จ่ายเสบียงเลี้ยงดูไพร่พล ของ สมเด็จพระนเรศวรจนกว่าจะถึงแดนพระนครศรีอยุธยา
เมื่อสมเด็จพระนเรศวร เสด็จกลับถึงเมือง พระพิษณุโลกก็เปลื้องเครื่องทรงออกบูชาถวาย
พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ กระทำสัพท์สมโภช การมหรสพ สามวัน แล้วเสด็จ ลงมาเฝ้า
สมเด็จ พระราชบิดาที่พระนคร สมเด็จพระพุทธเจ้า อยู่หัว ดีพระทัยในชัยชนะครั้งนี้
ให้แต่งสมโภช สมเด็จ พระอัครโอรสาธิราช เจ้า ๗ วัน พระราชทานปูนบำเหน็จ แกล้วทหารทั้งปวงโดยสมควร
จากนั้น พระนเรศวร ก็กลับเมืองพระพิษณุโลก ฝ่ายพระมหาอุปราชา กรุงหงสาวดีริษยาสมเด็จพระนเรศวร
หาทางเพ็ดทูลพระเจ้าหงสาวดีพระราชบิดา ต่างๆนานา ซึ่งพระเจ้า หงสาวดี มิได้ ตั้งในทศพิศราชธรรม
อยู่แล้ว ดำริว่าพระนเรศวรประกอบไปด้วย ปัญญาหลัก แหลม ลึกซึ้ง การสงครามก็องอาจ
กล้าหาญนานไปเห็นจะเป็น เสี้ยนศัตรูต่อเมืองหงสาวดี เป็นมั่นคงจึงคิดเทครัว อพยพหัวเมืองฝ่ายเหนือ
ทั้งปวง มาไว้เป็นกำลัง ในเมือง หงสาวดี การศึกพระนเรศวรก็จะถอยกำลังลง ครั้นดำริแล้วตรัสให้นันทสู
กับ ราชสังครำ ถือพลหมื่นหนึ่งไปตั้ง ยุ้งฉางอยู่ ณ เมือง กำแพงเพชร แล้วคิดอุบาย
มีศุภอักษรถึง พระนเรศวรว่า บัดนี้กรุงรัตนบุรอังวะ เป็นกบฏแข็งเมือง ต่อพระนคร
หงสาวดี ให้เชิญ พระนเรศวร ยกทัพมาช่วยการสงครามตีกรุงรัตนบุรอังวะ เป็นแผนลวงสมเด็จ
พระนเรศวรมาติดกับ เพื่อจับประหาร ชีวืตสิ้นเสี้ยนหนาม ในหัวใจ โดยตรง ทรงรับศุภอักษรพระเจ้าหงสาวดีแล้ว
สมเด็จพระนเรศวร ทรงสำคัญว่าการนั้นจริง จึงเสด็จลงไปทูลลาพระราชบิดา ที่กรุงศรีอยุธยา
เพื่อยกทัพ ไปช่วยเมืองหงสาวดี ที่มีพระคุณชุบเลี้ยงพระองค์มา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงบัญชา ตามจึงกราบบังคม ทูลลา กลับสู่ เมืองพระพิษณุโลก จัดกำลังทัพเตรียมยกไป
ตาม ฤกษ์การยกทัพไป ครั้งนี้ก็พลฉกรรจ์ ลำเครื่องแสนหนึ่ง ช้างเครื่องแปดร้อย
ม้าพันห้าร้อย ส่วนพระองค์ทรงพระคชาธารพร้อมด้วยพยุหแสนยากร ทรงเคลื่อน ทัพในเวลา
เพชรฤกษ์วันอาทิตย์แรม ๖ ค่ำ เดือน ๓ ปีฉลู สัปศก(พ.ศ.๒๑๐๘) เพลา ๑๑ ทุ่ม๙บาท
ขณะนั้นพระบรมสารีริกธาตุ เสด็จปาฏิหาริย์ ประดุจดวงโคมสว่าง นวลเท่าผล มะพร้าวปอก
แล้วลอยจากบุรพทิศผ่านพระคชาธารทรง ไปทางปัจฉิมทิศ ทรงเห็นเต็มพระเนตร ถึอเป็น
สิริมงคล พนมกรวันทา แล้วนำ ทัพหลวง ยาตราไป ทางประตูชัยแสน เคลื่อนพลถึงตำบลวัดยมท้ายเมือง
กำแพงเพชร เวลาบ่าย ๕ โมง เกิดมหาวาตะ เป็นพายุใหญ่ พัดกระหน่ำ หอบฝนลงมาเทเป็นห่าใหญ่
ซ้ำยังเกิด แผ่นดินไหว เป็นอัศจรรย์อีก พระองค์มิได้ทรงเฉลียวใจ ในอาถรรพณ์ ทั้งหลาย
แต่ประการ ใด รุ่งขึ้นก็ยกทัพหลวงเสด็จต่อไปถึงเมืองกำแพงเพชร ตั้งประทับแรม
อยู่ตำบลหนองปลิง ๓ ว้น แล้วยกทัพไปทาง เชียงของกุมตะเหมาะ
สมเด็จพระนเรศวรจะทรงเผชิญเหตการณ์ร้ายดีอย่างไรในกาล
ข้างหน้าไม่มีรู้ในขณะนั้น...