วัดมหาธาตุ
อยู่ตรงหน้าพระราชวังด้านตะวันออกเชิงสะพานป่าถ่านฟากถนนข้าวใต้วัดนี้ ในหนังสือ
พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวว่า เมื่อ ปี พ.ศ. ๑๙๒๗ หลังจากเสร็จศึกทางเหนือ
และสมเด็จพระราเมศวร
กลับเข้าสู่พระนคร แล้ว วันหนึ่ง เสด็จออกทรงศีล ยังพระที่นั่งมังคลาภิเษก เมื่อเพลา
สิบทุ่ม ทอดพระเนตรไปทางทิศตะวันออก เห็นพระบรม สารีริกธาตุเสด็จปาฏิหารย์ จึงทรงเรียกปลัดวังให้เอา
พระราชยาน ทางเสด็จออกไป แล้วโปรดให้เอากรุยปัก ขึ้นไว้ตรงที่ที่ พระบรม สารีริกธาตุเสด็จปาฏิหารย์
สถาปนาพระมหาธาตุขึ้นที่นั่น สูง ๑๙ วา ยอดสูง ๓ วา ให้ชื่อว่า
พระมหาธาตุ
ปรางค์ของวัดนี้ เดิมทีเดียวสร้างด้วยศิลาแลง ปรากฏว่า ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมได้พังลงมา
จนถึงชั้น ครุฑคือชั้นที่มีรูปครุฑ ปูนปั้นปรากฏอยู่ แต่จะด้วย เหตุผลประการใดมิทราบ
จึงยังไม่มีการซ่อมแซมให้คืนดี ดังเดิม ในรัชกาลนั้น ต่อมาในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
จึงได้โปรดให้ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ โดยก่อให้สูง กว่าเดิมอีกและใช้อิฐก่อแทรกเข้าไปด้วย
รวมเป็นความสูง ๒๕ วา แต่เมื่อก่อสร้าง เสร็จแล้ว เห็นปูนพระมหาธาตุสูงชะลูดเพรียวไป
จึงโปรดให้เอาไม้มะค่า มาแทรกตามอิฐ แล้วถือปูน พอกเข้าไป ใหม่และ ยอดก็ได้พังลงมาอีก
ในปัจจุบันเหลือเพียงชั้นมุขเท่านั้น
ตั้งแต่ วันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นต้นมา กรมศิลปากรได้ขุด
ค้นซากปรางค์วัดมหาธาตุนี้ ได้พบของโบราณ บรรจุ ไว้ในกรุหลายอย่าง คือปลาทำด้วยศิลาอ่อน
มีฝาเปิด ปิดได้ ข้างในมีตลับทองคำ ฝาทำเป็นรูปสิงห์โตโคมทอง คำสานโปร่งๆ ประดับทับทิม
เม็ดเล็กๆ แหวนทองคำ
และ ของอื่นๆอีกหลายอย่าง
พระปรางค์วัดมหาธาตุ พระนครศรีอยุธยา (ภาพขวา)