ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของวัดหน้าพระเมรุ
วามสำคัญทางประวัติศาสตร์ พงศาวดาร กรุงศรีอยุธยา (พระจักรพรรดิ์ และ หนังสือไทย รบกับพม่า ของสมเด็จ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ) ตอนหนึ่งว่า เมื่อปีกุน พ.ศ. ๒๑๐๖ พระเจ้าหงสาวดีกำลัง มีอานุภาพแผ่ไพศาล ไปทั่วทุกสารทิศ ได้ยิน กิติศัพท์ คำสรรเสริญ จากบางประเทศว่า สมเด็จพระมหา จักรพรรดิ์ มีบุญญาธิการยิ่งใหญ่ ไพศาล ยิ่งนัก มีช้าง เผือกคู่พระบารมีถึง ๗ เชือก เลื่องลือถึง หงสาวดี เมื่อได้ยินกิติศัพท์เช่นนั้น จึงไม่สบาย พระทัยว่าเราก็มีบุญญาธิการ ประกอบกับมี พระชนมพรรษามากกว่า เห็นว่าจะละไว้เป็น คู่แข่ง พระบารมีหาได้ไม ่จึงได้ทรงดำริที่จะแผ่พระบารมีมายัง กรุงศรีอยุธยา ให้จงได้ และมี พระทัยที่จะได้ ช้างเผือก มาเป็นคู่ พระบารมีด้วย แต่หวั่นพระทัย ว่า พวกมอญไม่เต็มใจ ที่จะเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา เพราะเคยล้มตายได้ความลำบากมากมาย เมื่อคราวก่อนด้วย พระอัจฉริยะอันชาญฉลาดของ พระเจ้า หงสาวดี บุเรงนอง จึงทำทีว่าเป็นมิตร ส่งราชฑูตเชิญ ข่าวสาส์นกับ เครื่องราชบรรณาการ เข้ามาถวาย สมเด็จพระมหา จักรพรรดิ์ เป็นทำนอง เจริญพระราชไมตรี ในพระราชสาส์นเนื้อความว่า "พระบารมี เลื่องลือถึงหงสาวดี ว่าสมเด็จ พระเชษฐา (พระมหาจักรพรรดิ์) มีบุญญาธิการมากมาย มีช้างเผือกมาสู่ คู่ บารมีถึง ๗ เชือก กรุงหงสาวดีหามี ช้างเผือก สำหรับพระนครไม่ ขอให้สมเด็จพระ เชษฐา เห็นแก่ พระไมตรี ขอพระราชทานช้างเผือกแก่ ข้าพระพุทธเจ้า ผู้เป็นอนุชา ไว้เป็นศรีนครสัก ๒ เชือก พระราช ไมตรีทั้ง ๒ พระนคร จะได้เจริญวัฒนา สืบไป สมเด็จพระมหา จักรพรรดิ์ ทรงทราบ พระราชสาส์นก็ทรงเข้าพระทัยทันทีว่า พระเจ้าหงสาวดี มีพระราชประสงค์ที่จะ แผ่อำนาจ เหยียบย่ำ กรุงศรีอยุธยาอย่าง แน่นอน ถ้าพระราชทาน ช้างเผือก ตามขอก็เหมือนกับ กรุงศรีอยุธยาสิ้นคนดีอยู่ในอำนาจของพระเจ้า หงสาวดี เพราะช้างเผือกเป็น ช้างคู่พระบารมี บุญญาธิการ ไม่มี เยี่ยงอย่างประเพณีที่ พระราชา ผู้มี อิสริยยศเสมอกันจะให้แก่กัน คงมีแต่ ประเทศราช จะถวายแก่พระราชาธิราชเท่านั้น พงศาวดารว่า ความเห็นในที่ ประชุมแตกกัน ๒ ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเห็นควรว่าให้ เพราะพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง มี อานุภาพยิ่งใหญ่กว่า พระเจ้า ตะเบงชะเวตี้ซ้ำขณะนั้นได้เมืองเชียงใหม่ไว้ เป็นกำลังด้วย การที่ กรุงศรีอยุธยา จะเอาชนะ เห็นจำเหลือกำลัง เสียช้างเผือกดีกว่าเกิดศึกสงคราม ไพร่ฟ้า ข้าแผ่นดิน เดือดร้อนฝ่าย สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระราเมศวร พระยาจักรี และ พระยาสุนทรสงคราม ผู้ว่าราชการ เมืองลพบุรี มีความเห็นว่า การที่จะยอมสละช้างเผือกให้ไม่ใช่เป็นทางป้องกัน ไม่ให้เกิดศึก สงครามได้ไม่สมควรสละให้สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ มีพระทัยเห็นชอบด้วย จึงมีพระราชสาส์นตอบ พระเจ้าหงสาวดีว่า "ช้างเผือก ย่อม เกิดสำหรับบุญบารมี ของพระเจ้า แผ่นดินผู้เป็นเจ้าของ เมื่อพระเจ้าหงสาวดีทรงบำเพ็ญราชธรรม ให้ไพบูลย์ก็คงจะได้ ช้างเผือกมาสู่คู่พระบารมี อย่าได้ทรงวิตกว่า "(ข้อความตอนนี้ได้ค้นคว้า จาก พงศาวดาร ของ พม่า และนำมาตรวจสอบตรงกับพงศาวดารไทย) พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ทราบ พระราช สาส์นแน่พระทัยว่ากรุงศรีอยุธยาตัดทางไมตรีแล้ว ประกอบ กับมีพระราชประสงค์ ที่จะย่ำยี กรุงศรีอยุธยาอยู่แล้ว จึงยาตราทัพออกจากพม่า เมื่อวันจันทร์ เดือน ๑๒ ปีกุน พ.ศ.๒๑๐๖ ชุมนุม ที่เมืองเมาะตะมะ จัดกระบวนเป็น ๕ ทัพ ทัพพระมหา อุปราชาราชโอรส ทัพพระเจ้า อังวะบุตรเขย ทัพพระเจ้าแปรราชอนุชา ทัพพระเจ้าตองอูราชอนุชา ทัพหลวงของ พระเจ้า หงสาวดี รวมเบ็ดเสร็จ ๕๐๐,๐๐๐ คน ฝ่าย กรุงศรีอยุธยามีพระยาจักรีคุมพล ๑๕,๐๐๐ คน รักษาชานพระนครเจ้าพระยา มหาเสนา คุมพล ๑๐,๐๐๐ คน รักษาทางด้านตะวันออก พระยาคลัง คุมพล ๑๐,๐๐๐ คน รักษา ด้านใต้ พระสุนทรสงครามคุมพล ๑๐,๐๐๐ คนรักษา ด้านตะวันตก ด้านน้ำเตรียม เรือรบเป็น จำนวน มาก ทำการตะเวน ฝ่ายกองทัพของพม่าทั้ง ๕ ทัพ เข้าตีทางหัวเมือง ทางเหนือ ตลอด จนถึงกรุงฯ ถึง ทุ่งลุมพลี ทุ่งหันตรา เข้าล้อม กรุงไว้ทั้ง สามด้าน (ด้านตะวันออกที่ทุ่งวัดโพธาราม) (ด้านทิศเหนือ ที่ทุ่งพะเนียด และทุ่งลุมพลี) (ด้านทิศ ตะวันตกที่ทุ่งประเชฏ ทุ่งวัดวรเชษฐ์และ วัดพุทไธศวรรย์ ) พระมหาจักรพรรดิ์ทรงดำริว่าเห็นจะเอาชนะข้าศึกไม่ได้ ชาวพระนครพากันครั่น คร้าม ประกอบกับพระเจ้าหงสาวดีมีพระราชสาส์นเข้ามายังพระเจ้าจักรพรรดิ์ว่า จะทรงรบหรือ จะยอมไมตรี พงศาวดารกล่าวว่าที่พระเจ้าหงสาวดีมีพระราชสาส์น มาดังนั้น หวั่นพระทัยว่า ถึงล้อมไว้ ดังนั้น แล้วก็คงจะตีเอากรุงศรีอยุธยา ให้ได้ ในคราวนี้เห็นจะยาก สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์จึงยอมเป็นไมตรี
พงศาวดารกล่าวว่า พระมหาจักรพรรดิ์ กับพระเจ้า หงสาวดีใช้สถานที่เจรจาสงบศึกครั้งนั้นที่ วัดพระเมรุราชิการาม เชื่อมต่อกับ วัดหัสดาวาส(วัดช้าง) จัดสร้างพลับพลา อัญเชิญ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ประดิษฐานเป็นประธาน สมเด็จ พระมหาจักรพรรดิ์ กับพระเจ้าหงสาวดี เสด็จพบ
ณ พลับพลานั้น พระเจ้าหงสาวดีขอช้างเผือก ๔ เชือก กับขอพระราเมศวร พระยาจักรี พระยาสุนทรสงครามผู้เป็นหัวหน้าที่คิดให้เกิดศึกเอาไปเมืองหงสาวดี
พงศาวดารพม่า กล่าว ว่าพระเจ้าหงสาวดีให้ไทยส่งส่วย ปีละ ๓๐ ช้าง และเงินปีละ ๓๐๐ ชั่ง กับยอมให้ประโยชน์ ภาษีอากร ที่เก็บได้จาก เมือง มะริด เป็นของพม่าด้วย วัดหน้าพระเมรุ จึงมีความสำคัญ ทาง ประวัติศาสตร์ ตามใน ประวัติศาสตร์ ดังกล่าว แลัวตอนหนึ่งนั้น
อีกตอนหนึ่ง เมื่อคราวสมเด็จพระเจ้าอะลองพญา มาตีกรุงศรีอยุธยา เมื่อเดือน ๖ ขึ้น ๑ ค่ำ พ.ศ.๒๓๐๓ พม่าเอา ปืนใหญ่มาตั้งที่วัดพระเมรุราชิการาม กับวัดหัสดาวาส (วัดช้าง) พระเจ้าอะลองพญา ทรง บัญชาการ และ ทรงจุด ปืนใหญ่เอง ปืนใหญ่ที่ตั้งอยู่ ในวัดพระเมรุราชิการาม แตกต้องพระองค์ บาดเจ็บ สาหัส ประชวรหนัก ในวันนั้น พอรุ่งขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๖ พ.ศ.๒๓๐๓ พม่าเลิกทัพกลับไปทางเหนือ หวังออก ทาง ด่านแม่ละเมา แต่ยังไม่พ้นแดน เมืองตาก พระเจ้าอะลองพญาก็สิ้นพระชนม์ ระหว่างทาง
วัดหน้าพระเมรุจึงมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกตอนหนึ่ง ด้วยบุญญาธิการ อันศักดิ์สิทธิ์แห่ง หลวงพ่อพระ พุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์ บรมไตรโลกนาถ พระประธานในพระอุโบสถ จึงทำให้กรุงศรีอยุธยารอดพ้น จากข้าศึก มาตลอด สมควรที่ ประชาชนชาวไทยทั้งหลายไปนมัสการ ชมพระ บารมีซึ่ง ยังมีพระลักษณะ คงสภาพเดิม อยู่ทุกส่วน

 

HOME

1