ช่างสิบหมู่

ยินดีเสนอเรื่องราวของ "ช่างไทย" ที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานในชื่อที่ทุกท่านคงเคยได้ยินมาคือ ช่างหลวง โดยที่ศาสตร์ แขนงนี้เกือบจะ สูญหายไป ในครั้งเสีย กรุงศรีอยุธยา ครั้งที่๒ แต่ด้วย พระปรีชาสามารถ ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และปฐมกษัตริย์ราชวงศ์จักรี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงให้ รวบรวมและฟื้นฟูศาสตร์แขนงนี้ที่ได้กระจัดกระจาย อันเหตุจากภัยพิบัต ิของชาติ ในครั้งนั้น ให้กลับมาใหม่...
แต่น่าเสียดาย ที่ชนรุ่นหลัง อาจไม่ได้ สังเกตุ และเห็นถึงคุณค่า หรือไม่มีโอกาสได้ศึกษา ใน มรดกไทย ชิ้นนี้เพราะ สภาพเร่ง เร้า ทาง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และความเป็นอยู่ ในเมืองใหญ่ ซึ่งได้รับ อิทธิพล ค่านิยมและ วัฒนธรรมชองต่างชาติอยู่ทุกขณะในเวลานี้ ...
 รมช่างสิบหมู่ ความเป็นมา...เมื่อสมัยที่สยามประเทศยังคงปกครองด้วย ระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาโดยลำดับนั้น การบริหาร ราชการได้รับการปัน แบ่งเป็นส่วนๆ โดย ระเบียบตามหน้าที่และ ภาระรับผิดชอบ ต่างๆกันไปตาม  ความต้องการของราชการ ภายใต ้การปกครองของสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า ในฐานะที่ทรงเป็นพระประมุขแห่งพระราช อาณาจักร ส่วนราชการแต่ละส่วน  ซึ่งจัดปันแบ่งตามระเบียบ การบริหารราชการในระบบ  สมบูรณาญาสิทธิราชนั้นเรียกกันแต่สมัยนั้นว่า " กรม " 
โดย กรมช่างสิบหมู่ก็เป็นหนึ่งใน ส่วน ราชการ ที่มีมาแต่ สมัยนั้น ช่างหลวง คือบรรดาผู้ที่มีฝีมือ ความรู้ และ ความสามารถ เป็นช่างทำการ สร้าง สรรพสิ่ง ต่างๆ บรรดาช่างที่ได้สมัคร  เข้ารับหน้าที่ ในราชการของในหลวง หรือที่ ได้ถวายตัวแก่ เจ้านาย เข้าสังกัดเป็นข้าทำการช่างในกรม นอกจากนี้ ยังมี พวกที่ได้รับเกณฑ์ เข้ามารับราชการ ได้ทำการช่างตามความรู้ ความสามารถ ให้ประจำตามกรมกอง ในราชการ ของหลวง ก็มีอยู่มิ ใช่น้อย กรมช่างสิบหมู่เป็น หนึ่ง ในช่างหลวง ซึ่งประกอบด้วย กรมช่างมหาดเล็ก กรมช่างทหารใน กรมช่างสิบหมู่     
...ช่างสิบหมู่เป็นแต่ชื่อกรมที่รวบรวมช่างไว้ มิได้หมายความว่า ช่างในบ้านเมืองมี แค่ ๑๐ อย่างเท่านั้น  ช่างสิบหมู่ หรือ กรมช่าง สิบหมู่
จะได้รับการจัดตั้งขึ้นครั้งแรกแต่เมื่อใดนั้นไม่
ปรากฏหลักฐานระบุให้ทราบได้แน่ แต่มีเค้ารอย เป็นหลักฐานบางสิ่ง ช่วยให้ คาดคะเน ได้ว่า เมื่อสมัยแรกสถาปนา กรุงศรีอยุธยานั้นมีความ ในพระ ราชพงสาวดาร กรุงศรีอยุธยาหลายฉบับ กล่าวถึงการที่พระเจ้าแผ่นดินโปรดให้สถาปนา พระมหา ปราสาท พระราชมณเฑียร สถาปนาขึ้นเป็นที่ประทับก็ดี การสร้างพระวิหาร พระมหาธาตุเจดีย์ และ บรรดาเครื่องสำหรับ สำแดงยศ เช่น เจียดทองกระบี่ เสลี่ยงงา ที่ได้พระราชทานเป็น บำเหน็จแก่ ขุนนางก็ดี เหล่านี้ ย่อมเป็นผลที่สำเร็จขึ้น ได้ด้วย ฝีมือช่าง ในแขนงต่างๆ ทั้งสิ้น ตามพงสาวดาร กล่าวว่า...

ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ พระเจ้าแผ่นดิน ลำดับพระองค์ที่ ๘ แห่งกรุงศรีอยุธยา ได้โปรดให้ตรา พระไอยการ ตำแหน่ง นาพลเรือน และนาทหารขึ้นให้เป็น ระเบียบ ในการ บริหารราชการมีที่ระบุถึง "กรมช่างสิบหมู่" กรมช่างสิบหมู่ เมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยานี้ได้รับราชการ สนองพระราชดำริ และพระราชประสงค์ ของพระเจ้าแผ่นดิน แต่ละรัชกาลมาเป็นลำดับ ถึงกาลปัจจุบัน ก็ยังคงปรากฏ ผลงาน ช่าง สิบหมู่แต่ครั้งอดึต ที่สามารถนับย้อนหลังไป ได้หลายร้อยปีอยู่ทั่วไป ตาม โบราณสถาน และ โบราณวัตถุ ของไทย   
ช่างสิบหมู่ประกอบด้วย ช่างในสาขาแขนงต่างๆดังนี้  
๑.ช่างเขียน ๒.ช่างมุก ๓.ช่างแกะ  ๔. ช่างหุ่น ๕.ช่างปั้น  ๖.ช่างปูน ๗.ช่างรัก ๘.ช่างบุ ๙.ช่างกลึง ๑๐.ช่างหล่อ ๑๑.ช่างไม้สูง ๑๒.ช่างสลัก ๑๓.ช่างไม้ ๑๔.ช่างฉลุกระดาษ  
คำว่า"ช่างสิบหมู่" ซึ่งเป็นนามของช่างหลวงนี้ กล่าวโดยเฉพาะ คำว่า สิบ ได้เพี้ยน มาจาก สิปป ซึ่งเป็นคำ บาลีมีความหมายว่า ศิลป
เมื่อผ่านกาลเวลาอันยาวนาน การพูด เอ่ยนาม นี้ โดยขาดความระมัดระวังประการหนึ่ง ความบกพร่องและไม่พิถีพิถัน ในการ เขียนคำ สิปป ให้ครบถ้วน อีกประการหนึ่ง ก็เป็นเหตุ ให้คำ สิปป กล่อนกลายเเป็น สิบ กรมช่างสิบหมุ่ นี้ถือได้ว่าเป็นสถาบัน ผลิตต้นแบบว่า ด้วย รูปลักษณ์ หลักการ และวิธีการ ช่างศิลปแบบไทย ประเพณี งานของช่างสิบหมู่ แต่ละ สาขา ที่ได้รับการสร้างสรรค์และแสดงออกให้เห็นสามารถนำไปเป็นแบบแผนของช่างพื้นบ้าน สร้างทำงานศิลป แพร่ออกไปเป็นลำดับ มาทุก สมัย ช่างสิบหมู่ ยังควรกล่าว ได้ว่าเป็น สถาบันที่คงความเป็นเอกลักษณ์ของงาน ช่างศิลปกรรมแบบไทย กระนั้นก็ตามเมื่อกาลเวลาล่วงเลยมาสภาพสังคมและสยามประเทศ ได้รับการ เปลี่ยนแปลง การปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทำให้ต้องปรับระบอบและแบบแผนที่ เป็นระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์   แต่เดิมให้ เข้ากับ ระบอบการ ปกครองใหม่ กรมช่างสิบหมู่ ก็เป็น ส่วนราชการในระบอบเดิม จึงย่อมได้รับผลกระทบจาก การเปลี่ยน แปลงคราวใหญ่ ครั้งนั้น และ เป็นเหตุให้กรมช่างสิบหมู่หมดบทบาทสำคัญที่จะจรรโลงศิลปกรรม แบบไทย ประเพณี  ซึ่งเป็น เอกลักษณ์ ทางศิลปแห่งสยามประเทศไว้ได้ต่อไป และเป็นการสิ้นสภาพของกรมช่าง สิบหมู่ ที่เคยธำรงอยู่อย่าง ต่อเนื่อง เป็นเวลานับศตวรรษๆไปจาก สยามประเทศ ไม่อาจ ฟื้นฟู ให้กลับคืนมาอย่างครบถ้วนตราบเท่าปัจจุบัน

HOME

1