![]() |
![]() |
![]() |
เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
เป็นเรือพระที่นั่งกิ่ง คือเรือพระที่นั่งลำดับชั้นสูงสุดสำหรับพระมหากษัตริย์
ประทับ เรียกว่า 'เรือพระที่นั่งทรง' ปรากฏหลักฐานการสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาสร้าง
ขึ้นใหม่ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า
'เรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์' ต่อมาได้ชำรุดผุพังลง
จึงได้สร้างลำปัจจุบันขึ้นแล้วเสร็จใน รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
โดย พระราชทานนามใหม่ว่า 'เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์' ลักษณะ:โขนเรือเป็นรูปหงส์
จำหลักลายปิดทอง ลำเรือด้านนอกทาสีดำ ภายในทาสีแดง
ขนาด:ความยาว ๔๖.๑๕ เมตร กว้าง ๓.๑๗ เมตร กินน้ำลึก ๐.๙๔ เมตร
กำลัง:๓.๕๐ เมตร
เจ้าพนักงานประจำเรือ:ฝีพาย ๕๐ นาย นายท้าย ๒ นาย
ปัจจุบันเก็บรักษาที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี คลองบางกอกน้อย
เรือพระที่นั่งอนันตนาคราชเป็นเรือพระที่นั่งกิ่ง
สำหรับพระมหากษัตริย์ประทับหรืออัญเชิญวัตถุสำคัญ
เรียกว่า เรือพระที่นั่งรอง สร้างขึ้นครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงพระราชทานนามว่าเรือพระที่นั่งบัลลังก์อนันตนาคราช
ต่อมาถึงกาลชำรุดเสื่อม
โทรมไป พระบาทสมเด็จ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างใหม่ พระราชทานนามว่า
'เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช' กระทั่งถึง ปัจจุบัน
ลักษณะ : โขนเรือเป็นรูปพญานาคเจ็ดเศียร จำหลักลายปิดทองประดับกระจก ภายนอก
ทาสีเขียว ภายในทาสีแดง
ขนาด : ความยาว ๔๔.๘๕ เมตร กว้าง ๓.๑๗ เมตร กินน้ำลึก ๐.๙๙ เมตร
กำลัง : ๓.๐๒ เมตร
เจ้าพนักงานประจำเรือ : ฝีพาย ๕๔ นาย นายท้าย ๒ นาย
ปัจจุบันเก็บรักษาที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี คลองบางกอกน้อย
เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์จัดเป็นเรือพระที่นั่งศรี
ในลำดับชั้นรองใช้ในการเสด็จพระราชดำเนิน
ลำลอง ต่อมาภายหลังจึงนำเข้ากระบวนพยุหยาตราชลมารค เรียกว่าเรือพระที่นั่งรอง นับเป็นเรือ
พระที่นั่งลำแรก และลำเดียว ที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่
๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ลักษณะ : โขนเรือจำหลักลายปิดทองรูปพญานาคเล็กๆ จำนวนมาก ภายนอกลำเรือทาสี
ชมพู ภายในทาสีแดง
ขนาด : ความยาว ๔๕.๖๗ เมตร กว้าง ๒.๙๑ เมตร กินน้ำลึก ๐.๙๑ เมตร
กำลัง : ๓.๕๐ เมตร
เจ้าพนักงานประจำเรือ : ฝีพาย ๖๑ นาย นายท้าย ๒ นาย
ปัจจุบันเก็บรักษาที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี คลองบางกอกน้อย
เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่๙
![]() |
เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ
รัชกาลที่๙ เป็นเรือพระที่นั่งศรีในลำดับชั้นเรือพระที่นั่ง
เรียกว่า 'เรือพระที่นั่งรอง' เป็นเรือพระที่นั่งที่มีมาแต่ครั้งรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นพระราชทานนามว่า 'เรือมงคลสุบรรณ' โขนเรือเป็นพญาครุฑ ต่อมาเสริมรูปจำหลักพระนารายณ์ประทับยืนบนหลังพญาครุฑ
ในสมัย รัชกาลที่ ๔ แล้ว
ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า 'นารายณ์ทรงสุบรรณ' และร่วมกระบวนพยุหยาตรา
ชลมารค กระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรุดโทรมลง
เรือ
พระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ ลำปัจจุบันจัดสร้างขึ้นใหม่โดย กองทัพเรือและกรมศิลปากร
เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเนื่องในวโรกาส ครบรอบ ๕๐ ปีแห่งการครองสิริราชสมบัติ ของพระบาท
สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๙
ลักษณะ : โขนเรือจำหลักรูปพระนารายณ์ ๔ กร ทรงเทพศาสตราตรีคทาจักรสังข์ ทรงเครื่อง
ภูษิตาภรณ์ และ มงกุฏยอดชัย ประทับยืนบนหลังพญาครุฑ ปิดทอง ประดับกระจก พื้นลำเรือ
ทาสีแดงชาด ลำเรือแกะสลักลงรัก ปิดทองประดับกระจก เขียนลายดอกพุตตาน
ขนาด : ความยาว ๔๔.๓๐ เมตร กว้าง ๓.๒๐ เมตร กินน้ำลึก ๑.๑ เมตร
เรือเสือทะยานชลและเรือคำรณสินธุ์
เรือทั้งสองลำนี้จัดเป็นเรือแชในลำดับประเภทของเรือเหล่าแสนยากร
มีหน้าที่เป็นเรือพิฆาต
ในกระบวน พยุหยาตรา ไม่พบหลักฐานการสร้าง แต่มีถึง ๖ คู่ในสมัยรัชการที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
และมีเพียงคู่เดียว นับจากรัชการที่ ๖ เป็นต้นมา กระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๕๒๔ จึงมีการซ่อมแซมครั้งใหม่
ลักษณะ:โขนเรือเขียนลายน้ำยาสีเป็นรูปหัวเสือ ลำเรือเขียนรายเสือทาสีเหลือง
ภายในทาสีแดง
ขนาด: เรือเสือทะยานชล ความยาว ๒๒.๒๐ เมตร กว้าง ๑.๗๕ เมตร กินน้ำลึก ๐.๗๐ เมตร
เรือ
เสือคำรณสินธุ์
ความยาว ๒๒.๒๓ เมตร กว้าง ๑.๗๕ เมตร กินน้ำลึก ๐.๗๐ เมตร
กำลัง: ทั้งสองลำ ๒.๐๐ เมตร
เจ้าพนักงานประจำเรือ : ฝีพาย ๒๖ นาย นายท้าย ๒ นาย
ปัจจุบันเก็บรักษาที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี คลองบางกอกน้อย
เรือทองขวานฟ้าและเรือทองบ้าบิ่น
เรือทั้งสองลำจัดเป็นเรือดั้งในลำดับประเภทของเรือเหล่าแสนยากร
มีหน้าที่เป็นเรือประตูใน
กระบวนพยุหยาตราชลมารค สำหรับพระราชพิธีพระราชทานพระกฐินในวโรกาสกาญจนาภิเษกนี้
ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างแต่เมื่อ ครั้งสงครามโลกที่ ๒ ได้รับความเสียหายอย่างหนัก
ต่อมากรมศิลปากรได้นำส่วนหัวและท้ายเรือมาสร้างต่อเติมใหม่ในปี พ.ศ. ๒๕๐๗
ลักษณะ : โขนเรือตัดแหลม ปิดทองทั้งหัวและท้ายลำเรือทาสีน้ำมันดำ ไม่มีลวดลาย
ขนาด : เรือทองขวานฟ้า ความยาว ๓๒.๐๘ เมตร กว้าง ๑.๘๘ เมตร
ความยาว ๓๒.๐๐ เมตร กว้าง ๑.๘๓ เมตร
กินน้ำลึก ๐.๖๔ เมตร
เจ้าพนักงานประจำเรือ : ฝีพาย ๓๙ นาย นายท้าย ๒ นาย
ปัจจุบันเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี คลองบางกอกน้อย
เรือเอกชัยเหินหาวและเรือเอกชัยหลาวทอง
เป็นเรือประเภทเรือเอกขัยในลำดับชั้นของเรือพระที่นั่ง
ซึ่งเกือบเทียบเท่าเรือพระที่นั่งกิ่ง
ทำหน้าที่เป็นเรือ คู่ชักใน กระบวนพยุหยาตรา สำหรับชักลากเรือพระที่นั่ง สร้างขึ้นใน
สมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปรากฏ มีเพียง ๒ ลำ เท่านั้น ต่อมาถูกระเบิดได้รับ
ความเสียหายทั้งสองลำ จากสงครามโลกครั้งที่ ๒ กรมอู่ทหารเรือ และ กรมศิลปากร จึงได้ซ่อมแซม
ขึ้นใหม่ เมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๐๘ จากหัวและท้ายเรือเดิม
ลักษณะ : โขนเรือเป็นไม้รูปดั้งเชิดสูง เขึยนลายรดน้ำรูปเหราหรืด จรเข้ ปิดทอง
ขนาด : เรือเอกชัยเหินหาว ความยาว ๒๙.๗๖ เมตร กว้าง ๒.๐๖ เมตร กินน้ำลึก ๐.๖๐ เมตร
เรือเอกชัยหลาวทอง ความยาว ๒๙.๖๔ เมตร กว้าง ๑.๙๖ เมตร กินน้ำลึก ๐.๖๐ เมตร
กำลัง : เรือเอกชัยเหินหาว ๓.๐๐ เมตร เรือเอกชัยหลาวทอง ๒.๖๕ เมตร
เจ้าพนักงานประจำเรือ : ฝีพาย ๓๘ นาย นายท้าย ๒ นาย
ปัจจุบันเก็บรักษาที่ พิพิธภัณฑสถานเรือพระราชพิธี คลองบางกอกน้อย
เรือครุฑเหิรเห็จและเรือครุฑเตร็จไตรจักร
จัดเป็นเรือรูปสัตว์
ในประเภทเรือเหล่าแสนยากร ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง สันนิษฐานว่า
มีมาแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ ในระหว่างสงครามโลก ครั้งที่ ๒ ได้รับความเสียหายจากระเบิด
ในปี พ.ศ.๒๕๑๑ กรมศิลปากร จึงนำโขนเรือเดิมมา ซ่อมแซมขึ้นใหม่ จนถึงในปัจจุบัน
ลักษณะ: โขนเรือเป็นรูป พญาครุฑยุดนาค เรือครุฑเหิรเห็จสีแดง เรือครุฑเตร็จไตรจักรสีชมพู
ขนาด: เรือครุฑเหิรเห็จ มีความยาว ๒๘.๕๘ เมตร กว้าง ๒.๑๐ เมตร กินน้ำลึก ๐.๕๖ เมตร
เรือครุฑเตร็จไตรจักร ยาว ๒๘.๗๒ เมตร กว้าง ๒.๐๘ เมตร กินน้ำลึก ๐.๕๕ เมตร
กำลัง: ทั้งสอง ๒.๖๑๐ เมตร
เจ้าพนักประจำเรือ: ฝีพาย ๓๔ นาย นายท้าย ๒ นาย
ปัจจุบัน เรือครุฑเหิรเห็จเก็บรักษาที่ พิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือ พระราชพิธี คลองบางกอกน้อย
เรือครุฑเตร็จไตรจักร เก็บรักษาที่ โรงเรือท่าวาสุกรี
เรือพาลีรั้งทวีป และเรือสุครีพครองเมือง
เรือทั้งสองลำเป็นรูปสัตว์
ในประเภทเรือเหล่าแสนยากร จัดเป็นเรือรบโบราณ ติดตั้งปืนใหญ่
ที่โขนเรือ ไม่ปรากฏหลักฐาน การสร้าง
ลักษณะ : โขนเรือเป็นรูปพญาวานร ปิดทองประดับกระจกภายในสีแดง ภายนอก ทาสีดำ
เขียนลวดลายดอกพุตตาน สีทอง เรือพญารั้งทวีปโขนเรือสลัก รูปพญาวานรสีเขียว เรือสุครีพครองเมืองโขนเรือสลักรูปพญาวานรสี
แดง
ขนาด : เรือพาลีรั้งทวีป ความยาว ๒๙.๐๓ เมตร กว้าง ๒.๐๐ เมตร กินน้ำลึก ๐.๖๓ เมตร
เรือสุครีพครองเมือง ความยาว ๒๙.๑๐ เมตร กว้าง ๑.๙๘ เมตร กินน้ำลึก ๐.๖๐ เมตร
กำลัง : ทั้งสองลำ ๒.๖๐ เมตร
เจ้าพนักงานประจำเรือ: ฝีพาย ๓๔ นาย นายท้าย ๒ นาย
ปัจจุบันเก็บรักษาที่ โรงเรือท่าวาสุกรี
เรือกระบี่ราญรอนราพณ์และเรือกระบี่ปราบเมืองมาร
เรือทั้งสองลำเป็นเรือรบโบราณ
เพราะมีช่องติดตั้งปืนใหญ่ที่ใต้โขนเรือ ในลำดับชั้นของเรือ
เหล่าแสนยากร จัดเป็น เรือรูปสัตว์ ใม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง ในปี พ.ศ.๒๔๗๘ ได้รับความเสียหาย
จากระเบิดระหว่าง สงครามโลก ครั้งที่ ๒ กรมศิลปากรได้จัดสร้างเรือกระบี่ราญรอนราพณ์ขึ้นใหม
่ทั้งลำเมื่อปี
พ.ศ. ๒๕๐๙ และซ่อม เรือกระบี่ ปราบเมืองมารจากหัวเรือเดิม เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐
ลักษณะ: โขนเรือสลักรูปขุนกระบี่ ปิดทองประดับกระจก ลำเรือ ทาสีดำ เขียนลายดอกพุตตาน
สีทอง เรือกระบี่ ราญรอนราพณ์เป็นขุนกระบี่สีขาว เรือกระบี่ปราบเมืองมาร เป็นขุนกระบี่สีดำ
ขนาด : เรือกระบี่ราญรอนราพณ์ ยาว ๒๘.๓๐ เมตร กว้าง ๒.๑๐ เมตร กินน้ำลึก ๐.๕๖ เมตร
เรือกระบี่ปราบเมืองมาร ยาว ๒๘.๘๕ เมตร กว้าง ๒.๑๐ เมตร กินน้ำลึก ๐.๕๖ เมตร
กำลัง : ทั้งสองลำ ๒.๖๐ เมตร
เจ้าพนักงานประจำเรือ : ฝีพาย ๓๖ นาย นายท้าย ๒ นาย
ปัจจุบันเรือกระบี่ราญรอนราพณ์เก็บรักษาที่ โรงเรือท่าวาสุกรี เรือกระบี่ปราบเมืองมาร
เก็บรักษาที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตืเรือพระราชพิธี คลองบางกอกน้อย
เรืออสูรวายุภักษ์และเรืออสูรปักษี
เรือทั้งสองจัดเป็นเรือรูปสัตว์
ในประเภทของเรือเหล่าแสนยากร มีช่องปืนที่ใต้โขนเรือ ทำหน้าที่
เป็นเรือรบ ในสมัยโบราณ ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง แต่มีการซ่อมแซมตกแต่งเรืออสูรวายุภักษ์
ขึ้นใหม่ใน พ.ศ.๒๕๑๔
ลักษณะ : โขนเรือสลักเป็นรูปยักษ์กายเป็นนก ปิดทองประดับกระจก เครื่องแต่งกายสีม่วง
ด้านหลังสีเขียว ลำเรือ ภายนอก ทาสีดำเขียนลายดอกพุตตานสีทอง ภายในทาสีแดง
เรืออสูรวายุภักษ์กายสีคราม ส่วนเรือ อสูรปักษีกาย สีเขียว
ขนาด : เรืออสูรวายุภักษ์ ความยาว ๓๑.๐๐ เมตร กว้าง ๒.๐๓ เมตร กินน้ำลึก ๐.๖๑ เมตร
กำลัง : ทั้งสองลำ ๒.๖๐ เมตร
เจ้าพนักงานประจำเรือ : ฝีพาย ๓๐ นาย นายท้าย ๒ นาย
ปัจจุบัน เรืออสูรวายุภักษ์เก็บรักษาที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี คลอง
บางกอกน้อย เรืออสูรปักษี เก็บรักษาที่ โรงเรือท่าวาสุกรี