ระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เมื่อวันที่ ๔ พย. ๒๕๔๒

มื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ ได้มีการจัดกระบวนเรือพยุหยาตรา
ทางชลมารคขึ้น ในงานพระราชพิธี เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน
ณ วัดอรุณราชวรารามเนื่องในในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา
๖ รอบ พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
นักโบราณคดี
สันนิษฐานว่า ประเพณีเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำ หรือ"พยุหยาตราชลมารค" ของพระมหากษัตริย์ไทย มีมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีแต่หลักฐาน
ที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบันเกี่ยวกับกระบวนเรือพระราชพิธีในอดีตดูเหมือนจะมี
บันทึกไว้ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น
ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์
มหาราชปรากฏหลักฐานว่า เมื่อพระองค์แปรพระราชฐานไปยัง
หัวเมืองต่างๆจะมีการจัด กระบวน พยุหยาตราชลมารค ซึ่งเรียกว่า "กระบวนเพชรพวง"เป็นริ้วกระบวน
ที่ยิ่งใหญ่งดงามนิโคลาสแซร์แวส์ บุคคลในคณะฑูตฝรั่งเศสผู้หนึ่งซึ่ง
เดินทางเข้ามาในประเทศไทยสมัยนั้น
บรรยายไว้ในหนังสือชื่อ"ประวัติศาสตร์แห่งอาณาจักรสยาม"กล่าวถึง กระบวน
พยุหยาตราชลมารคของสมเด็จพระนารายณ์ใมหาราชว่า
"......จะไม่สามารถเทียบความงามกับกระบวนเรือที่มโหฬารมีเรือตั้ง ๒๐๐ ลำโดยเรือ
พระที่นั่งพายเป็นคู่ๆไปข้างหน้า เรือพระที่นั่งนั้นใช้ฝีพายของแขนแดงที่ได้รับการฝึก
พายมาจนชำนาญ ทุกคนสวมหมวกเสื้อปลอกเข่าปลอกแขนมีทองคำประกอบ เวลาพาย จะพายพร้อมกันเป็นจังหวะจะโคน พายนั้นก็เป็นทองเหมือนกัน เสียงพายกระทบน้ำเป็น
เสียงประสานไปกับทำนองเพลงยอพระเกียรติชองพระเจ้าแผ่นดิน...."

การเคลื่อนกระบวนพยุหยาตราทาง
ชลมารคจะควบคู่ไปกับการเห่เรือพร้อมด้วย
เครื่องประโคม จนเกิดเป็นวรรณกรรมร้อยกรอง ที่ไพเราะยิ่งคือกาพย์เห่เรือที่เจ้าฟ้า
ธรรมาธิเบศร์หรือเจ้าฟ้ากุ้งในสมัยพระเจ้า
อยู่หัวบรมโกศ ตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา
แต่งบรรยายถึงความงดงามและลักษณะของเรือ
ในกระบวนพยุหยาตราชลมารคในครั้งนั้น บทเห่เรือครั้งนั้นได้เป็นแม่บทของการแต่งกาพย์
เห่เรือในปัจจุบัน
เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดยกระบวนพยุหยาตรา ทางชลมารค ณ วัดอรุณราชวราราม ในบ่ายวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ เสียงเห่เรือก็
ดังก้องกังวานเหนือคุ้งน้ำเจ้าพระยาอีกวาระหนึ่งกาพย์เห่เรือที่ใช้ในกระบวนพยุหยาตรา
ชลมารคในครั้งนี้มี ๔ บท ซึ่งขึ้นต้นด้วยโคลงสี่สุภาพ ดังนี้

บทที่ ๑ ชมเรือกระบวน
"ลอยลำงามสง่าแม้น มณีสวรรค์
หยาดโพยมเพียงหยัน ยั่วฟ้า
เหมราชผาดผายผัน โผนแผ่น นภาฤา
พายพระแพรวพรายถ้า ถี่พร้อมผันผยอง"
บทที่ ๒ บุญกฐิน
"ลอยลำงามสง่าแม้น มณีสวรรค์
หยาดโพยมเพียงหยัน ยั่วฟ้า
เหมราชผาดผายผัน โผนแผ่น นภาฤา
พายพระแพรวพรายถ้า ถี่พร้อมผันผยอง"
บทที่ ๓ ชมเมือง
"สยามเอยอุโฆษครื้น คุณชจร
สุขสถิตสถาพร ผ่านฟ้า
ไตรรงค์ลิ่วลมสลอน อวดโลก
ตราบดมื่อนี้เมื่อหน้า เมื่อโน้นนิระนดร์เกษ

บทที่ ๔ สรรเสริญพระบารมี
"ยอกรเหนือเกศก้ม กราบยุคล
แทบบาทองค์ภูมิพล ผ่านฟ้า
หกรอบนักษัตรนุสนธิ์ สมโภช
บุญบพิตรผดุงหล้า โลกล้วนสรรเสริญ"

แต่ละบทยังต่อด้วยกาพย์เห่เรือที่สละสรวยด้วยภาษาและเสียงไพเราะจากเสียงขับเห่
จากพนักงานเห่ก้องกังวานตรึงตาคนทั้งแผ่นดิน ผู้ประพันธ์กาพย์เห่เรือที่ใช้ในการเห่
ทั้ง ๔ บท ในครั้งนี้คือนาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัยและพนักงานเห่คือ นาวาเอก
ม§คล แสงสว่าง นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย เล่าถึงการประพันธ์กาพย์เห่เรือว่า กาพย์เห่เรือแต่โบราณเนื้อหาส่วนใหญ่จะเป็นชมเรือที่ไปในกระบวนชมธรรมชาติข้างทาง ชมนกชมไม้ตามสภาพในกระบวนพยุหยาตราชลมารค เป็นทำนองเดียวกันไม่เรียกว่า
ร้องเพลงแต่เรียกเห่เรือตามรูปแบบการเห่เรือก็จะประกอบไปด้วยการชมเรือชมนก
ชมไม้ "แต่ครั้งนี้ใช้ลีลากาพย์เห่เรือแบบโบราณ แม้ว่าเนื้อหาเปลี่ยนไปแต่ยังคงมีที่แต่ง
ไว้ครั้งนี้ โดยเฉพาะก็คือชมเรือกระบวนชมเรือที่ประกอบเข้าเป็นกระบวน ก็จะมีเรือ
พระที่นั่งลำนี้ลำนั้น เรือพระที่นั่ง สุพรรณหงส์ งามยังไง ชมเรือกระบวนทั้งหมด อย่าง เรือสุพรรณหงส์เหมือนหงส์ที่กำลังจะบินขึ้นสู่ท้องฟ้า หงส์ทองรองรับเป็นพระราช
พาหนะของพระพรหม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเปรียบเสมือนพระ พรหม ที่มา ให้ความร่มเย็นกับโลกมนุษย์ประทับเรือสุพรรณหงส์ เนื้อหาในบทสรรเสริญพระบารมี ก็พูดถึงพระราชกรณียกิจที่ทรงบำเพ๊ญให้แก่พสกนิกรชาวไทย อย่างท่อนที่ไพเราะ และ กินความหมายลึกซึ้งมากท่อนหนึ่ง
".....วังทิพย์คือท้องทุ่ง ม่านงามรุ้งคือเขาเขิน
ร้อนหนาวในราวเนิน มาโลมไล้ต่างรสสุคนธ์
่ย่างพระบาทที่ยาตรา ยาวรอบหล้าฟ้าสากล
พระเสโทที่ถั่งทน ถ้าไหลรวมคงท่วมไทย
นาวาเอก ทองย้อย อธิบายว่าอยากจะบอกว่าวังทิพย์ของพระองค์ก็คือทองทุ่ง ไม่ได้
ประทับอยู่ในวังเหมือนกษัตริย์ทั้งหลาย ม่านที่ประดับวังก็คือท้องฟ้า พระเสโทที่ไหล
ออกมาถ้ารวมมันทุกหยดแล้วก็คงเป็นทะเลท่วมประเทศไทยได้ ย่างพระบาทที่พระราช ดำเนินต่อกันก็คงจะรอบโลก เป็นการพรรณาในเชิงจินตนาการ ท้ายสุดถวายพระพร ให้พระชนมพรรษายิ่งยืนนาน
"....ขอจงทรงพระเจริญ พระชนม์เกินร้อยปีปลาย
อาพาธพินาศหาย ผองพาลพ่ายแพ้บุญใบ
จงเสวยสวัสดิ์ พูนพิพัฒน์ปราบมารภัย
ผ่องแผ้วพระหฤทัย ทุกทิพาราตรีกาล
พระประสงค์ทุกสิ่งเสร็จ แม้สรรเพชญพระโพธิญาณ
ดำรงรัชย์ชัชวาล ดั่งเวียงสวรรค์นิรันดร์เทอญ"

HOME

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1