พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสด็จผ่านพิภพปราบดาภิเษก
เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๕ พอทรงระงับดับยุคเข็ญในกรุงธนบุรีราบคาบ และได้โปรดให้มีสารตรา
ให้หากองทัพกลับมาจากกรุงกัมพูชาแล้ว ก็ให้เริ่มการย้ายพระนครข้ามฟากจากเมือง
ธนบุรีมาสร้างกรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทรฯทางข้างฝั่งตะวันออก มูลเหตุซึ่ง
สร้างกรุงรัตนโกสินทร ในหนังสือพระราชพงศาวดารกล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงรังเกียจที่พระราชวังเดิม
ด้วยอยู่ใกล้ชิด
ติดอุปจารวัดแจ้งและวัดท้ายตลาดล้อมอยู่ทั้ง ๒ ด้านดังนี้ ชวนให้เข้าใจความผิดไป
เป็นเสมือนหนึ่งมีพระราชประสงค์จะสร้างวังที่ประทับใหม่ จึงให้ย้ายพระนครมา
สร้างทางฝั่งตะวันออกแต่ฝั่งเดียว เหตุที่จริงนั้นเป็นอย่างอื่นและเป็นข้อสำคัญยิ่งกว่า
จะสร้างวังมาก ด้วยทรงพระราชดำริว่าพม่าคงจะมาตีเมืองไทยอีก กรุงธนบุรีสร้าง
ป้อมปราการทั้ง ๒ ฝั่ง เอาแม่น้ำไว้กลางเมืองเหมือนอย่างพิษณุโลกมีประโยชน์ที่อาจ
เอาเรือรบเข้าไว้ในเมือง เมื่อเวลาถูกข้าศึกมาตั้งประชิด แต่การสู้รบรักษาเมือง
คนข้างใน จะถ่ายเทช่วยรบพุ่งรักษาหน้าที่ไม่ใคร่ทันท่วงที ด้วยต้องข้ามน้ำ
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้เคยรักษาเมืองพิษณุโลกสู้ศึกอะแซหวุ่นกี้
เมืองพิษณุโลกลำน้ำแคบและพื้นพอทำสะพานข้ามได้ยังลำบาก ทรงพระราชดำริ เห็นว่าที่กรุงธนฯแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งกว้างทั้งลึก
จะทำสะพานข้ามไม่ได้ ถ้าข้าศึกเข้ามา ได้ถึงพระนคร จะไม่สามารถต่อสู้ข้าศึกรักษาพระนครได้
ข้างฝั่งตะวันออก เป็นที่ชัยภูมิ เพราะเป็นหัวแหลมถ้าสร้างเมืองแต่ฟากเดียวจะได้แม่น้ำใหญ่เป็นคูเมืองด้านตะวันตก
และด้านใต้ต้องขุดคลองเป็นคู เมืองแต่ด้านเหนือกับด้านตะวันออกเท่านั้น ถึงข้าศึก
จะเข้ามาได้ถึงพระนครก็ต่อสู้ได้ ด้วยเหตุจึงโปรดให้ย้ายพระนคร มาสร้างข้างฟาก
ตะวันออกแต่ฝั่งเดียวน่าจะถึงได้เคยเป็นปัญหาปรึกษากันในรัฐบาลแต่ครั้งกรุงธนบุรี
เมื่อแรกเสร็จศึกอะแซหวุ่นกี้และบางทีจะถึงได้ตรวจแผนที่เสร็จแล้ว แต่จะเป็นด้วย
พระเจ้ากรุงธนบุรีไม่ทรงเห็นชอบด้วยพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลกหรือมิฉะนั้นจะติดราชการศึกสงครามอยู่จึงค้างมา
ข้อนี้พึงเห็นได้ด้วย พอเสด็จปราบดาภิเษกแล้ว ก็ให้ลงมือสร้างพระนครใหม่ทันทีและธรรมดาการ
สร้างเมือง ซึ่งจะคิดทำโดยปัจจุบันทันทีไม่ตรวจตราภูมิลำเนาให้รู้แน่ชัด
และไม่คิด ประมาณการทั้งกำลังซึ่งจะสร้างให้ตลอดก่อนนั้นใช่วิสัยที่จะเป็นได้
จึงเห็นว่าการย้าย พระนครมาสร้างทางฝั่งตะวันออกเป็นการที่ได้มีความคิดมาแต่ครั้งกรุงธนบุรีแล้ว
การสร้างกรุงรัตนโกสินทร์เป็นอันยุติว่า จะตั้งราชธานีอยู่ที่บางกอกนี้ต่อไป
ไม่คิด กลับคืนขึ้นไปตั้งที่กรุงศรีอยุธยาอย่างโบราณ
จึงมีรับสั่งให้ขึ้นไปรื้อกำแพงกรุงเก่า เอาอิฐลงมาสร้างป้อมปราการกรุงเทพฯ
และ จะมิให้กรุงเก่าเป็นที่อาศัยของข้าศึกด้วย อีกประการหนึ่งสร้างพระนครอยู่
๓ ปี จึงสำเร็จเมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๒๘ พอสมโภชพระนครแล้วไม่ช้า ในปีนั้นเองพม่าก็ยก
กองทัพใหญ่มาตีเมืองไทย
ในตอนนี้จะต้องขอย้อนไปเล่าเรื่องพงศาวดารพม่าเสียก่อนคือ เมื่อพระเจ้าอลองพญาผู้เป็นต้นราชวงศ์สิ้นพระชนม์
มังลอกราชบุตรองค์ใหญ่ ได้ครอง แผ่นดินพม่าต่อมา พระเจ้ามังลอกมีราชบุตรกับมเหสีองค์
๑ ชื่อว่ามังหม่อง เมื่อ พระเจ้ามังลอกสิ้นพระชนม์ มังหม่องยังเป็นทารกอยู่ราชสมบัติจึงได้แก่มังระราชอนุชา
ครั้นมังหม่องเติบใหญ่ขึ้น พระเจ้ามังระมีความรังเกียจเกรงจะชิงราชสมบัติ
คิดจะ ประหารมังหม่องเสีย แต่นางราชชนนีผู้เป็นย่าของมังหม่องขอชีวิตไว้รับว่าจะ
ให้ไป ศึกษาบวชเรียนอยู่ในวัดจนตลอดชีวิต มิให้มาเกี่ยวข้องด้วยราชการแผ่นดิน
พระเจ้า มังระจึงมิได้ทำอันตรายแก่มังหม่อง พระเจ้ามังระเสวยราชย์มามีราชบุตร
๒ องค์ องค์ใหญ่เรียกกันว่าจิงกูจาแ»ลว่าผู้กินส่วยเมืองจิงกÙเป็นลูกพระมเหสี
องค์น้อยชื่อ แชลงจาเป็นลูกพระสนม จิงกูจาพอโตขึ้นก็ชอบคบคนพาล ชักชวนให้ประพฤติ
เสเพล มาเนืองๆ พระเจ้ามังระมิใคร่เต็มพระทัยจะให้เป็นรัชทายาท ครั้นปีวอก
พ.ศ. ๒๓๑๙ พระเจ้ามังระ ประชวรหนักจวนจะสิ้นพระชนม์ จะมอบราชสมบัติให้ผู้อื่นเกรงจะเกิด
จราจล จึงมอบราชสมบัติแก่จิงกูจาบุตรใหญ่ พระเจ้าจิงกูจาได้ราชสมบัติแล้ว
สงสัย ว่ามีผู้จะคิดร้าย จึงให้จับแชลงจาราชอนุชาสำเร็จโทษเสีย แล้วให้อะแซหวุ่นกี้
กลับไป จากเมืองพิษณุโลกไปถึงก็พาลหาเหตุ ถอดอะแซหวุ่นกี้เสียจากยศบรรดาศักดิ์
แล้วจับ พระเจ้าอาองค์ใหญ่ชื่อมังโปซึ่งเรียกกันว่า ตะแคงอะเมียง ตามตำแหน่งยศเป็นเจ้า
ของเมืองอะเมียงสำเร็จโทษเสียองค์หนึ่ง และให้เนรเทศพระเจ้าอาอีก ๓ องค์
คือ มังเวงตะแคงปดุง มังจูตะแคงพุกามและมังโพเชียงตะแคงแปงตะแล ไปเสียจาก
เมืองอังวะเอาไปคุมไว้ในหัวเมือง พระเจ้าจิงกูจามีมเหสีแต่ไม่มีพระราชบุตร
แล้วได้ ธิดาของอำมาตย์อะต่วนหวุ่นมาเป็นนางสนม แต่แรกมีความเสน่หาแก่นางนั้นมาก
ถึงยกขึ้นเป็นสนมเอกรองแต่พระมเหสีลงมา บิดาของนางก็เอามายกย่องให้มียศ เป็น
ขุนนางผู้ใหญ่ แต่พระเจ้าจิงกูจานั้นมักเสวยสุราเมาและประพฤติทารุณร้ายกาจต่างๆ
อยู่มาวันหนึ่งพระเจ้าจิงกูจากำลังเมา เกิดพิโรธให้เอานางสนมนั้นไปถ่วงน้ำเสีย
แล้ว ถอดบิดาของนางลงเป็นไพร่ อะต่วนหวุ่นโกรธแค้น จึงคบคิดกับตะแคงปดุง
ซึ่งเป็น พระเจ้าอาองค์ใหญ่และอะแซหวุ่นกี้ ซึ่งถูกถอดนั้นปรึกษากันจะกำจัด
พระเจ้าจิงกูจา เสียจากราชสมบัติทำนองตะแคงปดุงจะเกรงเจ้าน้องอีก ๒ องค์
จะไม่ยอมให้ราชสมบัติ ในชั้นแรกจึงอุดหนุนมังหม่องซึ่งบวชเป็นสามเณรอยู่ให้คิดชิงราชสมบัติ
เพราะมังหม่อง เป็นลูกมเหสีของพระเจ้ามังลอก อันอยู่ในที่ควรจะได้ราชสมบัติแต่ก่อนแล้ว
ถึงปี ฉลู พ.ศ. ๒๓๒๔ พระเจ้าจิงกูจาออกไปประพาสหัวเมือง