ความสำคัญของพระที่นั่งสรรเพชญปราสาท
พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยานั้นเป็นสิ่งที่ทำกันในพระวิหารวัดพระศรีสรรเพชญ
จริงอยู่ที่ในรัชกาล สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถเป็นช่วงเวลาที่เพิ่งเริ่มต้น วัดพระศรีสรรเพชญคงยังไม่ได้ก่อสร้างอะไรที่ใหญ่โตดังเช่นในสมัยรัชกาลหลังๆลงมา
ซึ่งมีการสร้างพระพุทธรูปศรีสรรเพชญหุ้มทองคำเป็นพระประธาน และพระมหาสถูป เจดีย์
๓ องค์ เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุขึ้น แต่ก็ต้องระลึกให้ดีว่าทุกอย่างนี้คง
กำหนดกันไว้ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถมาก่อนแล้ว ดังเห็นได้จากการ
กำหนดเรียกชื่อวัดว่า วัดพระศรีสรรเพชญและการสร้างพระที่นั่งสรรเพชญปราสาท
คำว่า "สรรเพชญหมายถึง พระพุทธเจ้า"
ได้นำมาใช้ให้สัมพันธ์กับ พระมหากษัตริย์ เพื่อนำเอาคติการเป็นจักรพรรดิ
ราชทางพุทธศาสนาเข้ามาปรุงแต่ง
ในราชสำนักอยุธยาãนช่วงเวลาของ การปรับเปลี่ยนจากการเป็นรัฐอิสระ มาเป็นราชอาณาจักร
นอกจากนี้จากคำว่า "สรรเพชญ" แล้วพระนามพระมหากษัตริย์คือ
"บรมไตรโลกนารถ" เองก็ส่อให้เห็น การเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกันด้วย
ยิ่งกว่านั้นก็ยังมีตำแหน่ง "หน่อพุทธางกูร" เป็น ตำแหน่งของเจ้านายที่มีพระอิสริยยศรองลงมาจากพระมหากษัตริย์เพิ่มเติมอีกด้วย
เพราะฉะนั้นถ้าพิจารณาให้ลึกซึ้งแล้วก็จะเห็นได้ว่าการสร้างพระราชวังที่มีกำแพง๓ชั้น
และการสร้างวัดพระศรีสรรเพชญผนวกอยู่ในเขตพระราชวังนั้น มีความหมายทาง สัญลักษณ์ที่สะท้อนให้เห็นการรวมกันของศาสนากับรัฐอย่างเป็นรูปธรรม
ทำให้การ ประกอบประเพณีพิธีกรรมที่สร้างความชอบธรรมให้แก่พระมหากษัตริย์ในเรื่องของพระ
ราชอำนาจมาทำกันในพระราชวังพระราชวังของพระนครศรีอยุธยาตั้งแต่รัชกาลสมเด็จ
พระบรมไตรโลกนารถ จึงเป็นศูนย์แห่งอำนาจที่เรียกว่า พระบรมมหาราชวังเป็นสถาน
ที่มีเฉพาะในพระนครที่เป็นราชธานีของอาณาจักรเท่านั้น
เมื่อมาถึงตอนนี้ก็อาจตั้งคำถามได้ว่าบริเวณใดในพระบรมมหาราชวังที่นับได้ว่าอยู่
ในฐานะและบทบาทที่มีความสำคัญที่สุดในการปกครองราชอาณาจักร คำตอบก็คงเป็น บริเวณพระราชฐานชั้นที่
๒ ตรงที่มีพระมหาปราสาทอันเป็นพระที่นั่งที่พระมหากษัตริย์ เสด็จออกว่าราชการและเป็นที่ประกอบพระราชพิธีสำคัญของรัฐ
และบ้านเมืองนั่นเอง ดังนั้นก็จะเห็นได้ว่าพระมหาปราสาทที่สำคัญและเก่าแก่ที่สุดก็คือ
พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท นับเป็นพระมหาปราสาทที่ประดับพระบารมี
สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถโดยแท้ ในช่วงเวลาอันยาวนาน
นับตั้งแต่รัชกาลสมเด็จ
พระบรมไตรโลกนารถลงมา จนถึงวาระสุดท้ายของพระนคร ศรีอยุธยา ชื่อของพระที่นั่งและ
ตำแหน่งที่ตั้งเป็นสิ่งที่ไม่มÕการ เปลี่ยนแปลง แม้ว่าพระมหา ปราสาทจะได้รับการบูรณะ
ปฏิสังขรณ์หลายครั้งหลายคราก็ตาม ผิดกันกับพระที่นั่งที่มีมาก่อนหรือพร้อมๆกัน
ที่มีการเปลี่ยนแปลงไป ดังพระที่นั่งมังคลาภิเษกที่มีมาแต่รัชกาลสมเด็จพระราเมศวร
นั้น หมดสิ้นไปโดยมีการสร้างพระที่นั่งวิหารสมเด็จขึ้นมาแทนในรัชกาลสมเด็จพระเจ้า
ปราสาททอง
ในขณะที่พระที่นั่งเบญจรัตนมหาปราสาทเปลี่ยนไปเป็นพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์
ใน รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระที่นั่งสรรเพชญปราสาทนั้นทรงความสำคัญ
ทั้งในยามปกติและในเวลาที่เป็นมงคลฤกษ์ นั่นก็คือ ในยามปกติเป็นที่เสด็จออกว่า
ราชการของพระมหากษัตริย์มากกว่าพระที่นั่งองค์อื่นๆ ส่วนในเวลามงคลฤกษ์และ
โอกาสพิเศษนั้นคือสถานที่ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และปราบดาภิเษก ของ
พระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาขึ้นครองราชย์ กล่าวได้ว่าเกือบทุกรัชกาล ที่กล่าวถึงใน
เอกสารเก่าและพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยานั้นทรง ประกอบพระราชพิธี บรมราชาภิเษกพระที่นั่งสรรเพชญปราสาททั้งสิ้น
นอกจากนั้นพระราช¾ิธีมงคลอื่นๆ เช่น พระราชพิธีโสกันต์ของพระเจ้าลูกเธอที่สำคัญก็ทำกัน
ณ มหาปราสาทองค์นี้ทั้งสิ้น ดังในพระราชพงสาวดารกล่าวถึงพระราชพิธีโสกันต์ของเจ้าฟ้าพระขวัญ
พระราชโอรส สมเด็จพระเพทราชาเป็นต้น ที่น่าประหลาดก็คือในพระบรมมหาราชวัง พระนคร
ศรีอยุธยานั้นมีไฟไหม้บ่อยๆ พระมหาปราสาทองค์อื่นๆโดนไฟไหม้เสียหายจนถึงกับ
มีการสร้างใหม่หลายองค์ แต่พระที่นั่งสรรเพชญปราสาทäม่เคยมีการกล่าวถึงว่า
โดน ไฟไหม้แต่อย่างไร
พระที่นั่งสรรเพชญปราสาทไม่เคยถูกใช้เป็นที่ตั้งและประกอบ พระราชพิธีเกี่ยวกับ
พระบรมศพของพระมหากษัตริย์แต่พระที่นั่งอื่น นับแต่พระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์
พระที่นั่งบรรยงค์รัตนาสน์ล้วนเคยเป็นที่ประดิษฐานพระบรมศพพระมหากษัตริย์ ของ
กรุงศรีอยุธยาทั้งสิ้น