จดหมายเหตุของราชฑูตลังกา
เรื่องราวความวิจิตรงดงามของพระที่นั่งสรรเพชญมหาปราสาท
ดูเหมือนได้ รับการบันทึกไว้ค่อนข้างละเอียดในจดหมายเหตุชาวต่างประเทศอีกแห่งหนึ่ง
คือจดหมายเหตุของราชฑูตลังกาที่เข้ามาพระนครศรีอยุธยา ในรัชกาลสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
ในปี พ.ศ.๒๒๙๓ เพื่อทูลขอพระสงฆ์สยามไปสอน พระพุทธศาสนาในประเทศลังกาคณะราชฑูตลังกาได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี
ในการเดินทางมายังพระนครศรีอยุธยา ดังมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
"ถึงวันที่
๑๑ เดือน กตกะ (กรกฏาคม) เวลา ๕ โมงก่อน รุ่งอรุณข้าราชการไทย ๓ คน นำเรือขบวนมารับราชฑูต
จาก ที่พักไปขึ้นบกที่ท่าถนน มีประตู ใหญ่อยู่กับกำแพงเมือง ทูตานุทูตขึ้นรถเทียมม้าไป
ตามถนนหลวงสองฟาก¶นนผูกแต่งด้วยผ้าต่างๆ มีโคมรูป เหมือนแตงโม หุ้มตะกั่วประดับกระจกแขวน
เป็นระยะกันไปตามถนน นับด้วยหมื่น แสงโคมเหล่านี้ส่องถนนสว่างราวกับแสงเดือน
รถทูตานุทูต ขับไปตามถนน จนถึง ประตูประราชวัง อันมีชื่อว่า ยัมทัก ตั้งแต่ท่าตลอดมา
ทั้งสองข้างถนนขึงผ้าห้าสีปักทอง มีร้านขาย เครื่องเงิน เครื่องทอง เครื่องทอง
เหลือง ทองแดง ทองสำริด และสะงกะสี ขายไม้จันทร์แดง จันทร์ขาว ขายฟูก เบาะ และม่านปัก
ขายเครื่องยา ต่างๆ มีทั้งร้าน ขายข้าวสาร ขายมะพร้าว ขายกล้วยส้ม ขนมหวาน ดอกไม้
และเครื่องกิน เครื่องดื่ม ต่างๆ ร้านเหล่านี้ ตกแต่งประดับประดาด้วยลายทอง แลดูถนนงามอร่าม
ตลอดไป เมื่อถึงเขตพระราชวัง แลเห็นปราสาทราชมณเฑียร ล้วนแต่ปิดทองอร่าม พวก
ทูตานุทูตลงจากรถแล้วไปพักที่ศาลาแห่งหนึ่ง(ศาลาลูกขุน) ซึ่งผูกม่านแต่ง ไว้งดงาม
เจ้าพนักงานนำดอกสะปุมาให้ ทูตานุทูตตามประเพณีไทย เมื่อได้เวลาแล้วเจ้าพนักงานจึงนำทูตานุทูตเข้าไปในพระราชวังผ่านประตู
เข้าไป ๒ ชั้นที่ประตูประดับประดาด้วยสีทองและสีอื่นๆ เมื่อล่วงประตูชั้นที่
๒ เข้าไป ก็ถึงพระที่นั่งสองข้างฐานมุขเด็จพระที่นั่งมี รูปภาพต่างๆ ตั้งไว้คือรูปหมี
รูปราชสีห์ รูปราษส รูปโทวาริก รูปนาค รูปพิราวะยักษ์ รูปเหล่านี้ล้วนปิดทอง
ตั้งอย่างละคู่ ตรงหมู่รูปขึ้นไปเป็น(มุขเด็จ)ราชบัลลังก์สูงประมาณ ๑๐ คืบ ตั้ง
เครื่องสูงรอบๆ(มุขเด็จ)ราชบัลลังก์นั้นผูกม่านปักทองงามน่าพิศวง ฝาผนัง พระที่นั่งก็ปิดทองบนราชบัลลังก์ตั้งบุษบกที่ประทับ
เสด็จออกที่บุษบกนั้น พวกทูตานุทูตเข้าเฝ้าราชฑูตถวายพระสาส์นและเครื่องราชบรรณาการ
เสร็จแล้ว พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาจึงทรงพระกรุณาโปรดพระราชทาน อนุญาต ให้พวกทูตานุทูตไปเที่ยวดูสถานที่ต่างๆในพระราชวังต่อไป
ข้างฝ่ายขวา (พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท)มีโรงช้างปิดทองมีพระยาช้างยืนแท่นปิดทอง
ตัวหนึ่งสีตาสีขนเหมือนกับกับสีทองแดง อีกโรงหนึ่ง เป็นโรงอย่างเดียวกัน มีช้างพลายกระข้างฝ่ายซ้ายพระที่นั่งก็มีโรงช้าง
๒ โรงเหมือนกัน หน้าประตู พระราชวัง(ชั้นใน) ออกมาฝ่ายหนึ่งมีโรงลายทองยืนม้าต้นหลายตัว
ล้วนพู่ เครื่องทองอันงามวิจิตร อีกฝ่ายหนึ่งมีโรงยืนช้างผูกเครื่องทอง เป็นหลายเชือก
ต่อนั้นมามีพลทหารนั่งกลบาตอยู่เป็นอันมาก บ้างถือดาบฝักลายทองบ้าง สวมเกราะถือตรีศูลบ้างถือธนูสะพักแล่งปิดทองบางพวกล้วนแต่เป็น
คนที่รูป ร่างล่ำสัน สวมลอมพอก บางพวกยืนถือปืนมีคันชีพ
นอกจากพวกทหารยังมีคนพวกอื่นมานั่งอยู่อีกเป็นอันมาก ล้วนแต่งตัวโอ่อ่า มีผ้าโพกศีรษะสีต่างๆคนเหล่านี้เป็นแขกชาวเมืองปัตตานีบ้าง
เป็นแขกมัวร์ บ้าง เป็นแขกไวทีกบ้าง มุกะระบ้าง มีทั้งชาวเมืองเดลี เมืองมะละกา
เมืองชวา เมืองกาวิสี พวกจีน พวกฝรั่ง พวกวิลันดาพวกสัญญาสี พวกโยคี พวกอังกฤษ
ฝรั่งเศส พวกสเปน พวกเดน และพวกเมืองสุรัส เมือง อังวะ เมือง หงสาวดี ดูมีคนมาประชุมกันทุกชาติทุกภาษา
ที่ริมประตูพระราชวังทั้งสองข้างมีแท่น ตั้งปืน ใหญ่อันหล่อด้วย ทอง เบญจโลหะ
และมีพลถือตะบองประจำรักษาปืน ประตูพระราชวังก็ดี ศาลา ลูกขุนอันเป็นที่เจ้าพระยามหาอุปราช
และ ข้าราชการประชุมกันก็ดีล้วนตกแต่งเครื่องประดับประตูพระราชวัง ยอดปิดทอง
ประดับด้วยดอกแลเครือไม้ เมื่อแลดูกลับเข้าไปเห็นพระที่นั่งหลังคา ๕ ชั้น มียอดอันปิดทอง
ต่อพระที่นั่งออกมาทั้ง ๔ มุม มีหอสูง ๕ นั้นล้วนมีหน้าต่างลูกกรง แลยังมี พระราชมณเฑียรอีกหลายหลัง
ล้วนปิดทองแลทำหลังคาเป็น ๒ชั้น ตำหนัก พระราชโอรสและตำหนักพระมเหสีทั้ง ๓ ก็มีรูปอย่างเดียวกัน
พระราชวังอัน งามวิจิตรที่กล่าวมานี้สร้างที่ริมกำแพงใกล้แม่น้ำ กำแพงนี้ติดต่อตั้งแต่
พระราชวังเวียนวกไปจนบรรจบรอบพระนคร ตั้งแต่ประตูที่ทำขึ้น(กำแพงเมือง) มีเชิงเทินตลอดไปทางข้างขวาจนมาบรรจบที่แม่น้ำภายในกำแพงเมือง
มีคลองหลายสายยืนเป็นแนวเดียวกัน มีเรือและผู้คนที่ไปในทางเรือมากมาย เหลือที่จะพรรณา
แต่คลองในเมืองยังมีเรือไปมามากมายถึงเพียงนี้ ใครจะ ประมาณได้ว่าในแม่น้ำจะมีเรือขึ้นล่องไปมามากสักเพียงใด
บนบกก็มีถนน นับสายไม่ถ้วนเต็มไปด้วยผู้คนแลร้านรวงของขายสิ่งของสินค้าต่างๆ
กล่าวเพียงเท่าที่ได้เห็นแก่ตาเฉพาะภายใน พระนครศรีอยุธยา..."