ระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกและกรมพระราชวังบวร มหาสุรสิงหนารถทรงตั้งพระทัยที่จะสร้างกรุงเทพฯมหานครให
้งดงามรุ่งเรืองเสมอเหมือนกับ พระนครศรีอยุธยา

ามที่ได้กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่าพระที่นั่งสรรเพชญ์มหาปราสาทคือพระมหาปราสาท ที่สำคัญยิ่งของกรุงศรีอยุธยาเพราะ นอกจากจะเป็นพระมหาปราสาท ที่มีความเก่าแก่ ที่สุดแล้ว ยังเป็นพระที่นั่งที่สำคัญยิ่งในการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและ การออกรับแขกเมืองของพระมหากษัตริย์ จนเป็นที่กล่าวถึงของชาวต่างชาติที่เข้ามา ที่พระนครศรีอยุธยาอยู่เนืองๆ แม้เมื่อพระนครศรีอยุธยาโรยลับไป อันเนื่องจาก การเผาผลาญของพม่าข้าศึกและการถูกซ้ำเติมโดยคนไทยที่มีความคิดทุจริต ขุดค้น ทำลายปราสาทราชวังและวัดวาอารามเพื่อหาสมบัติความรุ่งเรืองและความโอ่อ่า ของ พระบรมมหาราชวัง ก็ยังฝังแน่นอยู่ในความทรงจำของพระมหากษัตริย์และเจ้านาย ในกรุงรัตนโกสินทร์ที่เคยเห็นกรุงศรีอยุธยาก่อนถึงกาลพินาศ
ดังในพระราชนิพนธ์ตอนหนึ่งของ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระ ราชวังบวรสถานมงคล ครั้งรัชกาลที่ ๑ กล่าวว่า

"พระที่นั่งทั้งสามงามไสว ตั้งเรียบระเบียบชั้นหลั่นไป
อำไพวิจิตรรจนา มุขโถง มุขเด็จ มุขกระสัน
เป็นเชิงชั้นลวดลายล้วนเลขา เพดานในไว้ดวงดารา
ผนังฝาคาดแก้วดังวิมาน ที่ตั้งบัลลังก์แก้วทุกองค์
ทวารลงอัฒจันทร์หน้าฉาน ปราบพื้นรื่นราบดังพระลาน
มีโรงคชาธารตระการตา ทิมดาบคดลดพื้นกำแพงแก้ว
เป็นถ่องแถวยืดยาวกันหนักหนา เป็นที่แขกเฝ้าเข้าวันทา
ดังเทวานฤมิตรประดิษฐ์ไว้ สืบทรงวงษ์กษัตริย์มาช้านาน
แต่บุราณแล้วไม่นับพระองค์ได้พระที่นั่งซึ่งตั้งอยู่ข้างใน
มีสระชลาลัยชลธี ชื่อที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์
ที่ประพาสมัจฉาในสระศรี ทางเสด็จเสร็จสิ้นสาระพันมี
เป็นที่กษัตริย์สืบมา..."

ากภาพของพระบรมมหาราชวังพระนคร
ศรีอยุธยาที่เป็นสัญลักษณ์ของความรุ่งเรือง
แห่งราชอาณาจักรดังกล่าวนี้เป็นเหตุให้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
และกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนารถ ทรง
ตั้ง พระทัยที่จะสร้าง กรุงเทพมหานคร ให้งดงาม รุ่งเรืองเสมอเหมือนกับพระนครศรีอยุธยา สิ่งสำคัญ
ในการสร้างพระมหานครที่ต้องทำก่อนอื่นก็คือ การสร้าง พระบรมมหาราชวังอันเป็นศูนย์แห่งอำนาจในการปกครองแผ่นดินและการขุดคูสร้าง
กำแพงเมืองป้อมปราการสำหรับพระนครหลวง แต่เมื่อแรกขึ้นครองราชย์นั้นยังไม่ได้ สร้างพระราชวังก่ออิฐถือปูนเพียงแต่สร้างด้วยเครื่องไม้ทั้งสิ้นล้อมด้วยปราการระเนียด เพื่อเป็นที่ประทับชั่วคราว หลังสร้างเสร็จแล้วก็ทรงประกอบพระราชพิธีปราบดาภิเษก โดยสังเขปเพื่อความเป็นสวัสดิมงคล ต่อมาภายหลัง จึงโปรดให้ก่อสร้างพระบรม มหาราชวังให้สมบูรณ์ มีการก่อกำแพงพระราชวังและบรรดาพระที่นั่งด้วยอิฐและปูน พระบรมมหาราชวัง มีลักษณะเช่นเดียวกันกับพระบรม มหาราชวังพระนครศรีอยุธยา คือแบ่งออกเป็น ๓ ตอน ได้แก่พระราชฐาน ชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน

พระราชฐานชั้นนอก เป็นที่ตั้งของสถานที่ราชการต่างๆ เช่นศาลาลูกขุนใน ฝ่ายทหาร ศาลา ลูกขุนในฝ่ายพลเรือนสถานที่ทำ การ ของทรมท่า กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมล้อมพระราชวัง และอื่นๆ รวมทั้งวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ที่เป็นพุทธสถานเช่นเดียวกับ วัดพระศรีสรรเพชญในกรุงศรีอยุธยา
ในขณะที่พระราชฐานชั้นใ¹เป็นที่ตั้งของพระตำหนักที่ประทับของพระราชวงศ์ ข้าเฝ้า ฝ่ายในและเจ้านายผู้ชายที่มีอายุก่อนผนวชเป็นสามเณรคือ ๑๓ ปี

ส่วนพระราชฐานชั้นกลางนั้น มีความสำคัญเช่นเดียวกันกับที่พระนครศรีอยุธยา คือเป็นสถานที่ตั้ง ของ พระที่นั่ง ๒ กลุ่ม คือกลุ่ม พระมหาปราสาทและกลุ่ม พระราชมณเฑียร สำหรับเป็นสถานที่ประทับและ เสด็จออกว่าราชการรับแขกเมืองและประกอบ พระราชพิธีของรัฐและศาสนา ในบริเวณที่ตั้งของ พระมหาปราสาท พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลก โปรดให้สร้างพระที่นั่งอมรินทราภิเษก ขึ้นเป็นองค์แรก โดยให้ลอกแบบพระที่นั่งสรรเพชญ ปราสาทของพระนครศรีอยุธยามาสร้างขึ้น ทรงทำ พิธียกยอดปราสาท ในปี พ.ศ.๒๓๒๗ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๒๘ ก็ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ณ พระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาทนี้ ซึ่งนับได้ว่า เป็นประเพณีที่คล้ายกันกับทางพระนครศรีอยุธยาทีเดียว
แต่ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๓๒ ฟ้าผ่าที่หน้ามุขเด็จของพระที่นั่งอมรินทราภิเษก เกิดเพลิงไหม้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงโปรดให้ "...ให้จัดการรื้อ ปราสาทเก่าเสียให้ฐาปนาปราสาทขึ้นใหม่ย่อมกว่าองค์ก่อนและปราสาทองค์ก่อนนั้นสูง ใหญ่เท่าพระที่นั่งสรรเพชญปราสาทกรุงเก่า มุขหน้ามุขหลังนั้นยาวกว่ามุขข้าง และมุข เบื้องหลังนั้นอยู่ที่ข้างในยาว ไปจดถึงพระปรัศว์ซ้าย ปรัศว์ขวา พระมหาปราสาท องค์ใหม่นี้ยกออกมาตั้ง ณ ที่ข้างหน้า ทั้งสิ้นมุขทั้ง ๔ นั้นก็เสมอกันทั้ง ๔ ทิศ ใหญ่สูง เท่าพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์กรุงเก่ายกปะราลีเสียมิได้มีเหมือนองค์ก่อน แต่มุขเด็จ ยอดทั้ง ๔ มุมนั้นยกทรวยเสียใช้รูปครุฑเข้าแทน แลัวให้ฐาปนาพระที่นั่งขึ้นใหม่ที่ ข้างใน ต่อมุขหลังเข้าไปอีกหลัง ๑ พอเสมอท้าย มุขปราสาทองค์เก่า พระราชทาน นามว่า พระที่นั่งพิมานรัถยา แล้วทำพระปรัศว์ซ้ายขึ้นใหม่คงตามเดิม และหลังคา ปราสาทและมุขกับทั้งพระที่นั่ง¾ิมานรัถยาพระปรัศว์คาดด้วยดีบุกเหมือนอย่างเก่า ทั้งสิ้น ครั้นการพระมหาปราสาทลงรักปิดทองเสร็จแล้ว จึงพระราชทานนาม ปราสาท องค์ใหม่ว่า พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท"
ส่วนบริเวณที่เป็นที่ตั้งพระมหามณเฑียรนั้น เป็นพระที่นั่งหมู่มี ๓ องค์ เรียกรวมกัน

ครั้งพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ว่าพระที่นั่งจักรพรรดิ
พิมาน เป็นที่บรรทม ของ พระมหากษัตริย์หลังจาก ทรงกระทำพระราชพิธี
บรมราชาภิเษกแล้ว และ เป็นที่ออกขุนนางทั้งฝ่ายใน และฝ่ายหน้า รวมทั้งการ ประกอบพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลด้วย พระที่นั่ง กลุ่มนี้ ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ โปรดแยกเรียกชื่อออกจากกันเป็นพระที่นั่ง จักรพรรดิ พิมานองค์ในสุด ต่อเนื่องมาองค์กลางเป็นพระที่นั่งไพศาลทักษิณ เป็นที่ว่าราชการ ฝ่ายใน ส่วนองค์นอกสุด ต่อเนื่องกับพระที่นั่งไพศาลทักษิณทางด้านเหนือ ทางพระทวารเทวราชมเหศวร คือพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรพิมานเป็น พระที่นั่ง ท้องพระโรงสำหรับเสด็จออกขุนนางฝ่ายหน้าเสด็จออกมหาสมาคมและทรงบำเพ็ญ พระราชกุศลต่างๆ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสมัยรัชกาลที่ ๑ นั้น พระมหาปราสาทมีองค์เดียว คือพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ซึ่งถ่ายแบบมาจากพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ ของ กรุงศรีอยุธยาเป็นพระมหาปราสาทที่ทรงใช้ในการประกอบพระราชพิธี สำคัญของ บ้านเมือง
แม้ว่าจะไม่ได้เป็นพระที่นั่งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯทรงประกอบพระราชพิธี บรมราชาภิเษกก็ตามแต่ก็ได้ใช้ในพระราชพิธีอุปราชาภิเษกเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร พระราชโอรสขั้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล สืบแทนสมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาสุรสิงหนาท ซึ่งเสด็จทิวงคตไปแล้ว ต่อมาเมื่อ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกเสด็จสวรรคต พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ก็ถูกใช้เป็นสถาน·Õèประดิษฐาน พระบรมศพ อัญเชิญประทับเหนือพระเบญจาในพิธีพระกุศลพระบรมศพ เกิดเป็น ประเพณีในการ ประดิษฐาน พระบรมศพของพระมหากษัตริย์ ณ พระที่นั่งองค์นี้ ในรัชกาลต่อมา ซึ่งดูแล้วเหมือนการประดิษฐานพระบรมศพ ของพระมหากษัตริย์ กรุงศรีอยุธยา ณ พระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ฉะนั้นพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ตั้งอยู่ ใกล้กับกำแพงพระบรมมหาราชวังด้านที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาเหมือนกันกับ พระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์กรุงเก่า
ในสมัยรัชกาลที่ ๓
ได้มีการบูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่ โดยรื้อหลังคาและเปลี่ยนเครื่อง บนหมด พอถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ โปรดให้สร้างพระที่นั่งบุษบกมาลา ขึ้นที่มุขด้านใต้ สำหรับเสด็จออกให้ฝ่ายในเฝ้าในรัชกาลนี้ทรงใช้พระที่นั่ง ดุสิตมหาปราสาท เป็นที่รับ แขกเมืองเช่น ฑูตอังกฤษ และฝรั่งเศสเป็นครั้งเป็นคราวไปเพราะในช่วงเวลาตั้งแต่ รัชกาลที่ ๓ ลงมามีการรับแขกเมืองจากนานาชาติบ่อยครั้ง จึงใช้พระที่นั่ง จักรพรรดิพิมานและพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทเป็นสถานที่ต้อนรับ

พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทได้รับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ ๖ โปรดให้ตัด และรื้อเสาหานที่อยู่กลางพระมหาปราสาทออกเสีย ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชา ภิเษกสมโภชเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔ และกระทำพระราชพิธีถือน้ำพระพิพ้ฒน์สัตยาด้วย ปัจจุบันในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทมีสิ่งที่เป็นศิลปวัตถุล้ำค่าประจำอยู่ ๔ อย่าง คือ พระบัญชรเนรมิตเป็นพระที่นั่งบุษบกเป็นพระราชบัลลังก์คล้าย ของสมเด็จ พระนารายณ์ที่พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญมหาปราสาทเมืองลพบุรี พระราชบัลลังก์ประดับ มุกซึ่งเป็นบัลลังก์ล้ำค่าประดับมุกชิ้นเดียวในประเทศไทย ประดิษฐานอยู่กลาง พระมหาปราสาท พระแท่นราชบรรจถรณ์ประดับมุกและบุษบกที่มุขเด็จ ภายนอก ปราสาทด้านทิศเหนือออกมหาสมาคมมีความงดงามเป็นพิเศษ

HOME BACK

1