วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์
เป็นวัดที่มีความสำคัญ มีความสัมพันธ์กับ การสร้างกรุง รัตนโกสินทร์ และพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีหลายรัชกาล
จึงทำให้วัดนี้มีประวัติ ความ เป็นมาที่น่าสนใจ ในส่วนของศิลปกรรมนั้นแม้จะมีเหลืออยู่ไม่มากนัก
แต่ก็เป็นศิลปกรรม เก่า แก่ที่น่าสนใจไม่น้อย
ประวัติความเป็นมาของวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์
เป็นวัดโบราณ ที่มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อว่า "วัดสลัก"
กล่าวกันว่า เมื่อครั้งกรมพระราชวัง บวรสถานมงคลยังเป็นนายสุจินดา ได้ลงเรือโกลนหนีพม่ามาจาก
กรุงศรีอยุธยา ได้หลบพม่า อยู่ที่วัดนี้ ทรงอธิษฐานว่าหากหนีรอดไปได้และได้เป็นใหญ่ในภายหน้าจะ
บูรณะปฏิสังขรณ์วัด นี้ให้ใหญ่โต ซึ่งก็เป็นตามคำอธิษฐาน เพราะเมื่อกรมพระราชวังบวรฯ
ทรงดำรงตำแหน่งพระ มหาอุปราช ในรัชกาลที่ ๑ ได้โปรดให้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดสลัก
โดยให้สร้างพระอุโบสถ พระวิหาร และพระมณฑปขึ้นใหม่ เฉพาะพระมณฑปนั้นกล่าวกันว่า
เดิมทรงดำริจะสร้าง ปราสาทขึ้น ในวังหน้า แต่เกิดเหตุอาถรรพณ์ คือมีกบฏ ๒ คนแอบเข้าไปทำร้ายพระองค์
แล้ว เกิดฆ่าฟันกันตาย ตรงที่จะสร้างปราสาท กรมพระราชวังบวรเห็นว่า วังจันทรเกษมในกรุง
ศรีอยุธยา ก็ไม่มีปราสาทอาจจะเกินวาสนา จึงเกิดเหตุมิดีขึ้น จึงโปรดให้เอาเครื่อง
ปราสาท ไปสร้างเป็นพระมณฑปในวัดสลัก ภายในพระมณฑปสร้างพระเจดีย์องค์เล็ก บรรจุพระบรม
สารีริกธาตุ แล้วให้ก่อพระระเบียงรอบ และสร้าง กุฏิตึกขึ้น ๓ หลัง พระราชทาน
พระวันรัต ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสขณะนั้น แล้วสร้างกุฏิเครื่องไม้ฝากระดาน เป็นเสนาสนะ
สำหรับ พระสงฆ์ ทั้งอาราม เมื่อทรงปฏิสังขรณ์เสร็จแล้ว จึงพระราชทานนามวัดใหม่ว่า
"วัดนิพพานาราม"
วัดนิพานาราม หรือ วัดมหาธาตุฯ นี้เป็นวัดที่อยู่ระหว่างพระราชวังหลวงและวังหน้า
จึงเป็นวัด ที่ พระพุทธยอดฟ้าฯ และ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาทเสด็จไปประกอบพระราชพิธีต่างๆ
อยู่เสมอ โดยเฉพาะ เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ โปรดฯให้มีการทำสังคยนาพระไตรปิฏก
ก็กระทำที่วัดนี้ ครั้นเมื่อทำสังคายนาเสร็จแล้ว จึง พระราชทานนามใหม่ให้ชื่อว่า
" วัดพระศรีสรรเพชญดาราม" อันเป็นชื่อที่สองของวัดสลัก
ในช่วง รัชกาลที่ ๑ ต่อมาเมื่อมีการแปล พระคัมภีร์ปริยัติธรรม ในวัดนี้เสร็จแล้ว
จึงพระราชทาน นาม วัดนี้ใหม่ว่า "วัดมหาธาตุราชวรวิหารพระอารามหลวง"
วัดมหาธาตุเป็นวัดสำคัญยิ่ง วัดหนึ่งใน สมัยรัชกาลที่ ๑ เพราะเป็นวัดที่กรมพระราชวังบวรฯโปรด
เกล้า ให้สร้างขึ้น ทรงใช้เป็นวัด ส่วน พระองค์ที่ทรงประกอบพระราชพิธีหลายสิ่งหลายอย่างที่วัดนี้และเป็นวัดที่ผนวช
และประทับ อยู่ ๗ วัน เชื่อว่า วัดมหาธาตุฯคงเป็นวัดที่เจ้านาย และพระราชวงศ์
ทั้ง วังหน้า และวังหลัง ทรง ประกอบพิธีต่างๆอยู่เสมอทุกรัชกาล ดังจะเห็นได้จากที่พระมหากษัตริย์หลายพระองค์
ทรง บูรณะปฏิสังขรณ์วัดนี้อยู่เสมอ เช่นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ
ให้ ปฏิสังขรณ์วัดนี้ และสร้างกุฏิเป็นตึกอย่างถาวร ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯให้ปฏิสังขรณ์วัดนี้ ด้วยพระราชทรัพย์ของสมเด็จพระบรม
โอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ จึงได้พระราชทานชื่อวัดเป็น
" วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์"
ดังกล่าวแล้วจะเห็นว่าวัดมหาธาตุฯเป็นวัดเก่าแก่ที่มีความสัมพันธ์กับพระมหากษัตริย์
ของไทย หลายพระองค์โดยเฉพาะในสมัยต้นๆ ของกรุงรัตนโกสินทร์ ดังนั้นวัดนี้ จึงเป็นวัด
ที่ยังมีศิลปกรรม ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเหลืออยู่ให้ศึกษาได้ แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่า
ศิลปะโบราณวัตถุที่สร้างขึ้น ในรัชกาลต้นๆ ไม่ว่าจะเป็นรัชกาลที่ ๑ หรือ รัชกาลที่
๓ ก็ตาม ในปัจจุบันได้ถูกบูรณะเปลี่ยนรูป เปลี่ยนร่างไปเสียมาก แต่ก็พอจะมีเหลือให้ชมกันอยู่บ้าง
แม้จะไม่มากก็ตาม
ศิลปกรรมของวัดมหาธาตุฯ
ศิลปกรรมของวัดมหาธาตุฯที่ควรชมมีดังต่อไปนี้คือ
พระอุโบสถและพระวิหาร เดิมเป็น
ศิลปกรรมที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ แต่ตัวพระอุโบสถได้รับการ บูรณะเสริมผนัง
และ เสา ให้สูงขึ้นกว่าเดิม พระวิหารได้ต่อมุขให้ยาวเท่าพระอุโบสถและสร้าง ศาลาราย
รอบนอกพระ ระเบียงในสมัยรัชกาลที่ ๓ พระอุโบสถและพระวิหารนี้มีศิลปกรรมสมัย รัชกาลที่
๑ ที่ควร แก่ การศึกษาคือหน้าบันซึ่งเป็นฝีมือช่างวังหน้าเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑ
ลงรัก ประดับกระจก ลักษณะหน้าบันเป็นท้องนาคเส้นตรงไม่มีนาคสะดุ้งเป็นแบบที่เรียกว่านาคลำยอง
นอกจากนี้ พระอุโบสถยังมี เสมาแบบแปลกตาคือ ติดไว้ที่มุมพระอุโบสถ ภายในพระอุโบสถ
มีพระ ประธานเป็นฝีมือช่าง สมัยรัชกาลที่ ๑ ส่วนภายในวิหารมีพระพุทธรูป ตู้พระไตรปิฏก
ที่มีค่า ควรชมหลายตู้
พระอุโบสถและพระวิหาร ของวัดมหาธาตุฯ ตั้งขนานกันหันด้านสกัดไปทางทิศตะวันตก
หรือ ทางแม่น้ำ เจ้าพระยา ส่วนทางทิศตะวันออกมีศิลปสถาปัตยกรรมที่สำคัญ ที่มีมาครั้งรัชกาลที่
๑ คือ พระมณฑป พระมณฑป หลังนี้สร้างมาตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่
๑ โดยกรมพระราชวังบวร สถานมงคล โปรดให้เอาเครื่อง ปราสาทมาสร้างขึ้นดังกล่าวแล้ว
แต่พระมณฑปเดิมนั้น ได้ถูก ไฟไหม้เสียเมื่อครั้งรัชกาลที่ ๑ ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า
"ครั้น ณ วันศุกร์ เดือน ๔ แรม ๕ ค่ำ ปีระกา
ตรีศก จุลศักราช ๑๑๖๓ เวลายามเศษ เกิดเพลิงไหม้ มณฑปวัด พระศรีสรรเพชญ์ด้วยพระสงฆ์
สามเณรศิษย์วัดจุดดอกไม้เพลิงเล่น จะเป็นกรวดหรือนกบิน เข้าไปติดรังนกพิราบเป็นเชื้อขึ้น
ไฟไหม้พระมณฑปจนสิ้นเหลือแต่ผนัง พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระอนุชาธิราช
กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ได้เสด็จไปช่วย ดับเพลิงแต่สมเด็จพระอนุชาธิราชทรงพิโรธมาก
ให้ชำระเอาความตัวผู้จัดดอกไม้ ได้สามเณร องค์หนึ่ง เชื่อว่าเป็นเจ้าของดอกไม้และจุดด้วย
รับสั่งให้สึกออกจากสามเณร จะให้เอาไป ประหารชีวิตเสียแต่ในเวลาค่ำ วันนั้นสมเด็จพระสังฆราชถวายพระพรวิงวอนขอชีวิตไว้
ก็โปรด ยกโทษพระราชทานให้ ภายหลังเติบโตขึ้นอุปสมบทแล้ว ได้เป็นพระครูอยู่วัดเมือง
สมุทรปราการและดอกไม้ก็ไม่ทิ้ง ทำกรวด ตะไล ไอ้ตื้อ ดีนัก พระมณฑปนั้น ก็โปรดให้ทำ
เป็นหลังคา จตุรมุข มิได้ทำเครื่องยอดตามเดิม " พระมณฑปนี้ภายในมีศิลปกรรมที่มีค่ายิ่งคือพระเจดีย์พระธาตุปิดทองซึ่งเป็นฝีมือช่างสมัย
รัชกาล ที่ ๑ ซึ่งเป็นพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ รูปทรงสวยงามมาก พระอุโบสถ
พระวิหารและพระมณฑป ดังกล่าว มีพระระเบียงล้อมรอบศิลปกรรมทั้งสามไว้ ไม่ให้ปะปน
หรือนำสิ่ง ก่อสร้างอื่นๆ เข้าไปสร้างปะปนได้
นอกจากศิลปกรรมสำคัญดังกล่าวแล้วบริเวณสังฆวาส ของวัดมหาธาตุฯมีกุฏิสงฆ์
ก่อด้วย ปูนรูปทรงเป็นแบบกุฏิเก่าๆ ที่น่าดูอยู่หลายหลัง แต่ส่วนมากมักจะถูกดัดแปลง
ต่อเติมเสียจน เสียรูปทรง และ ลักษณะดั้งเดิม
อย่างไรก็ตามวัดมหาธาตุฯนับว่าเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์
ซึ่งมี ประวัติศาสตร์ ความเป็นมาที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ พระราชวังหลวงและวังหน้า
ทั้งยัง มีศิลปกรรม เก่าแก่ เหลืออยู่ให้ศึกษาหาความรู้ได้หลายสิ่งหลายอย่างดังกล่าวแล้ว