วัดระฆังโฆสิตารามมีศิลปกรรมและศิลปวัตถุหลายสิ่งหลายอย่างน่าสนใจ
แต่ก่อนที่จะกล่าวถึง
ศิลปกรรมและศิลปวัตถุเหล่านั้น ควรจะทราบประวัติความเป็นมา และความสำคัญของวัดนี้เสียก่อน
ความสำคัญและความเป็นมาของวัดระฆัง โฆสิตาราม
วัดระฆังฯเดิมชื่อวัดบางหว้าใหญ่ เป็นวัดโบราณมีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา
ปัจจุบันเป็น พระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรมหาวิหาร ในสังกัดสังฆมณฑลในประเทศ ซึ่งมีอยู่
๓ วัด คือ วัดระฆังโฆสิตาราม วัดกัลยาณมิตร และวัดจักวรรดิ์ราชาวาส วัดระฆังฯเป็นวัดที่มีความสำคัญ
เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ไทยหลายพระองค์ตั้งแต่สมเด็จพระเจ้า ตากสิน หรือ
พระเจ้ากรุงธนบุรี ไปจาถึงรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยกรุงธนบุรี
พระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเห็นว่า วัดนี้เป็น วัดเก่าโบราณที่อยู่ใกล้พระราชวัง
จึง โปรดให้ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวง แล้วอาราธนาพระเถระ สำคัญ ครั้งกรุงศรีอยุธยา
คือพระอาจารย์ ศรี ซึ่งหลบพม่าไปพำนักอยู่ในวัดที่พระนครศรีธรรมราชมาจำพรรษา
เมื่อพระเจ้า ตากสินฯ โปรดให้ อัญเชิญพระไตรปิฏกมาจากนครศรีธรรมราช พร้อมทั้งอาราธนา
พระอาจารย์ศรี เข้ามาด้วย พระอาจารย์ศรีองค์นี้ เดิมอยู่วัดพนัญเชิง เป็นผู้มีความรู้แตกฉานใน
พระไตร ปิฏกและทางวิปัสสนาธุระ เมื่อได้ อาราธนา เข้ามาที่วัดบางหว้าใหญ่แล้ว
ได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระ สังฆราช องค์แรกของกรุงธนบุรีและได้เป็นประธานชำระพระไตรปิฏกและทำสังคายนาจนเป็นที่เรียบร้อย
นอกจากความเกี่ยวข้องกับพระเจ้าตากสินมหาราช ดังกล่าวแล้ว วัดนี้ยังเกี่ยวข้องกับ
พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มาตั้งแต่ครั้งยังเป็นเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก
พระองค์ได้ทรงรื้อ เรือน กับหอนั่ง ซึ่งเป็น นิวาสสถานเดิม เมื่อครั้งที่รับราชการอยู่ในกรุงธนบุรีมาปลูกถวายวัด
ซึ่งต่อมาเรียกว่า "ตำหนักจันทร์" ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ได้เถลิงถวัลย ราชสมบัติ เป็นรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์แล้ว ได้ทรงปรารภถึงตำหนัก
และหอประทับนั่ง ที่ได้รื้อไปปลูกไว้ที่ วัดบางหว้าใหญ่ ใคร่จะปฏิสังขรณ์ให้
สวยงาม เพราะมีพระราชประสงค์ให้เป็นหอไตร จึงมีพระกระแส รับสั่งให้ สืบถามเรื่องระฆังของวัดบางหว้าใหญ่
(จากการขุดพบระฆังในวัดนี้เป็นที่มาของวัดระฆังซึ่ง เรียก กันติดปากสืบมา)ได้ความว่าขุดได้ในวัด
มีเสียงไพเราะ จึงทรงขอให้เอาระฆังเสียงดีที่ขุดได้ ไปไว้ที่วัด พระศรีรัตนศาสดาราม
แล้วทรงสร้างระฆังพระราชทานแทนไว้ ๕ ลูก พร้อมทั้งโปรดฯ ให้ขุดสระลง ในที่ ขุดระฆังได้เป็นสระรูปสี่เหลี่ยมเรียงอิฐก่อด้วยดินเหนียวกรุไม้โดยรอบกันพังทลาย
แล้วรื้อตำหนัก และหอ ประทับนั่งจากที่เดิม มาปลูกลงในสระและปรับปรุงปฏิสังขรณ์ให้สวยงามเพื่อถวายเป็น
หอไตร ทั้งนี้ได้โปรดฯ ให้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศ
สมเด็จพระเจ้า ลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เป็นผู้อำนวยการสร้าง
อนึ่งกล่าวกันว่าลายรดน้ำและลายแกะสลักในหอไตร ตำหนักจันทร์นั้น บางส่วนเป็นฝีพระหัตถ์
ของ พระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัยร่วมกับครูช่างที่มาจากกรุงศรีอยุธยา
ในสมัยรัชกาลที่ ๑ สมเด็จ พระพี่นางองค์ใหญ่ ของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ได้ทรงปฏิสังขรณ์ทั้ง พระอารามพร้อมกับได้สร้างพระปรางค์ องค์ใหญ่ขึ้นที่หน้าพระอุโบสถ(หลังเก่า)
และ พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าฯ มีพระราชดำรัส สั่งให้รื้อตำหนักปิดทอง เรียกกันว่า"ตำหนักทอง"
ซึ่งเป็นที่ประทับของ พระเจ้ากรุงธนบุรี ในพระราชวังเดิม มาปลูกทางทิศใต้ของ
พระอุโบสถ ทรงอุทิศเป็นสังฆบูชา แล้วถวายให้ เป็นที่ประทับของ สมเด็จพระสังฆราชศรี
(ตำหนักหลังนี้ถูกไฟ ไหม้หมด เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๓)
กรมพระราชวังบวรสถานภิมุขเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์(ทองอิน)พระราชโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้ากรม
พระยา เทพสุดาวดี ทรงถวายตำหนักแดง ๑ หลัง ฝาลูกปะกน กว้างประมาณ ๘ วาเศษ ระเบียงกว้าง
๑ วา ๒ ศอก ยาวประมาณ ๘ วาเศษ ฝาประจันห้องเขียนภาพพอสุภต่างชนิด มีภาพพระภิกษุเจริญ
อุสภกรรมฐาน (ปัจจุบันอยู่ ทางด้านหน้าพระอุโบสถด้านทิศเหนือ แต่ภาพเขียนภายในถูกลบหมดแล้ว)
ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯประชวรใกล้สวรรคต ได้มีพระราชดำรัสไว้ว่า
"พระเศวตฉัตรกั้น พระเมรุมาศ เมื่อเสร็จจากการพระเมรุแล้ว ให้นำไปถวายพระประธานวัดระฆัง
ด้วยเหต ุนี้ พระเศวตฉัตรแต่เดิมกั้น อยู่ในพระอุโบสถหลังเก่า(พระวิหาร) ต่อมาในสมัยรัชกาลที่
๓ โปรดให้สร้าง พระอุโบสถหลังใหม่ จึงโปรดให้นำ เศวตฉัตรนั้นมากั้นถวายพระประธานองค์ใหม่
ในสมัยรัชกาลที่ ๓ กรมหมื่นนราเทเวศร์ กรมหมื่นนเรศร์โยธี กรมหมื่นเสรีย์บริรักษ์
พระโอรสของกรม พระราชวังหลังเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ ได้ทรงสร้างพระเจดีย์คนละ
๑ องค์ ภายในกำแพง พระอุโบสถด้านทิศเหนือ ในรัชกาลที่ ๓ เกิดไฟไหม้เสนาสนะสงฆ์ลุกลาม
ตั้งแต่ทิศใต้อ้อมไปจนถึง ทิศ ตะวันตกใกล้จะถึงพระตำหนักจันทร์ ไฟก็ดับลง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงศรัทธา จึงได้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระอุโบสถ ขึ้นใหม่ และขยายเขตวัดทางด้านทิศเหนือให้กว้างออกไป
พร้อมทั้งสร้างพระประธานองค์ใหม่ด้วย พระประธาน องค์นี้กล่าวกันว่านำมาเป็นส่วนๆ
แล้วขนเข้า พระอุโบสถ จึงน่าจะสันนิษฐานได้ว่าเป็นพระโบราณนำมาจากทางเหนือ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธ
ิมีพุทธลักษณะงดงาม อาจจะเป็นศิลปะสมัยสุโขทัย แต่คงจะถูกดัดแปลงไปบ้าง พระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานผ้าพระกฐิน
มีพระราช ดำรัสว่า "ไปวัดไหนไม่เหมือนมาวัดระฆังฯ พอเข้าประตูโบสถ์ พระประธานยิ้มรับทุกที"
ในสมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาท สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสร้างกำแพง และเก๋งหนึ่งหลังทางทิศใต้
ปัจจุบันพังหมดแล้ว เหลือแต่ รากฐาน ใต้ดิน เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯทรงผนวช
ได้เสด็จไปประทับจำพรรษาที่ตำหนักนี้
ในสมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนชื่อวัดเป็นวัดคัณฑิการาม
แต่ไม่มี ผู้เรียกตาม คงเรียกว่าวัดระฆังตามเดิม อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่าวัดระฆังฯ
เป็นวัดโบราณ ที่มีความ สัมพันธ์กับพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ ตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีเป็นต้นมานอกจากนี้ยังมีพระเถระชั้นสังฆราช
และพระเถระ ผู้ใหญ่ หลายองค์ จำพรรษา นอกจากนี้วัดระฆังยังเป็นวัดที่มีพระที่พระมหากษัตริย์หลายองค์เคารพนับถือจำพรรษา
ตั้งแต่ สมเด็จพระสังฆราชศรี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ม.ร.ว.เจริญ
อิศรางกูร ณ อยุธยา) เป็นต้น
ในด้านศิลปกรรม และศิลปวัตถุ วัดระฆังโฆสิตารามก็มีหลายสิ่งที่มีค่าควรชม และศึกษา
หาความรู้ อย่างยิ่ง
ศิลปกรรมสำคัญของวัดระฆังโฆสิตาราม ศิลปกรรมที่ สำคัญของวัดระฆังฯ เริ่มแต่พระอุโบสถซึ่งพระบาท
สมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯให้สร้างขึ้นใหม่ แต่รูปทรงยังคงเป็นแบบแผนของศิลปะสมัยรัชกาลที่
๑ โดยเฉพาะ หน้าบันรูปนารายณ์ทรงครุฑ มีช่องหน้าต่างสองบาน ซึ่งเป็นศิลปะแบบรัชกาลที่
๑ แบบหนึ่ง ที่ยังเหลืออยู่ไม่กี่แห่ง ส่วนภายในพระอุโบสถก็มีพระประธานที่งดงามดังได้กล่าวแล้ว
นอกจากนี้ก็มีภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ ๑ แต่ฝีมือไม่สู้ดีนัก
ถัดจากพระอุโบสถ ก็เป็น พระปรางค์ใหญ่ หน้าพระอุโบสถด้านทิศใต้ หรือหน้าวิหาร
เป็นพระปรางค์ที่มีทรวดทรง และส่วนสัดสวย งามมากองค์หนึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสร้างช่วย
สมเด็จพระพี่นาง กรมพระยาเทพสุดาวดี เมื่อคราวทรงปฏิสังขรณ์วัดนี้
นอกจากนี้ก็ยังมีพระเจดีย์เหลี่ยมย่อมุม ๓ องค์ ที่กรมหมื่นนราเทเวศร์ กรมหมื่นนเรศร์โยธี
กรมหมื่น เสนีย์บริรักษ์ ทรงสร้างไว้ เป็นเจดีย์เหลี่ยมแบบรัตนโกสินทร์ ทรวดทรงงดงาม
ปัจจุบันยังอยู่ในสภาพดี ศิลปกรรมที่สำคัญ
ในบริเวณกำแพงพระอุโบสถอีกสิ่งหนึ่งคือ หอพระไตรปิฏกหรือหอไตร
ซึ่งเป็นตำหนักเดิม ของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช นับเป็นศิลปกรรมที่สำคัญยิ่งที่ประเมินค่ามิได้
หอไตร หรือตำหนักจันทร์นี้ เป็นปฐมบรมราชานุสรณ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
เป็น เรือนไทยแฝดสามหลังแต่เดิมหลังคามุงจากฝากั้นด้วยกระแชง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๑โปรดฯ ให้ บูรณะเปลี่ยนเป็นฝาไม้สัก ลูกปะกน ทาสีดินแดง มีหน้าต่างรอบกรอบลงรักปิดทอง
บานหน้าต่าง เขียน ลายรดน้ำ รูปเทพดาบาล บานประตูแกะสลักปิดทอง ประดับกระจกสีตามช่องไฟ
คันทวยรับชายคา แกะสลัก เป็น รูปตัวนาค ปิดทองประดับกระจก กระเบื้องเทพนมประดับอยู่รอบชายคา
หอไตรหรือตำหนักจันทร์ หลังนี้เป็นแบบ ของเรือนไทย สมัยธนบุรี หรือ กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ที่งดงามยิ่งประกอบไปด้วย ศิลปกรรมล้ำค่าทั้งภายนอกและภายใน ภายนอกหอไตรนั้น
นอกเหนือจาก รูปทรงที่แปลกตาแล้ว ก็มีซุ้มประตูชานนอก และบานประตูเข้าหอกลาง
ซุ้มประตู ชานนอกนั้นสันนิษฐาน กันว่าอาจเป็นฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศ เป็น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
เพราะทรงเป็นผู่ควบคุมการบูรณะครั้งนั้น ส่วนบาน ประตูเข้าหอกลางนั้นเป็นลายปิดทองประดับกระจก
ตัวลายเป็นลายโบราณรูปนกวายุภักษ์จับกนก มีผู้ สันนิษฐาน ว่าอาจเป็นฝีมือช่างสมัยพระนารายณ์
อาจจะนำมาจากหอไตรเดิม มาประกอบเข้ากับ หอไตร ใหม่ นอกจากบานประตูและซุ้มประตูแกะสลักคมชัด
ท่าทีเด็ดขาดงดงามมาก ส่วนศิลปกรรมที่อยู่ภายในมีหลายสิ่ง แต่ที่สำคัญคือภาพจิตรกรรมฝาผนัง
ฝีมือช่างเขียนสมัยรัชกาลที่ ๑ ในหอนั่งเป็นภาพเทพชุมนุมเขียนระบายสีอยู่เหนือหน้าต่าง
เรียงเป็นแถวทั้งสามด้าน เริ่มจากขวามาซ้าย จากเทพ ชั้นจตุมหาราช ยักษ์ ครุฑ
นาค คนธรรพ์ เทพ พรหม อินทร์ พื้นฝาระหว่างช่องหน้าต่าง เป็นภาพ ต้นไม้ ป่าเขา
นก และสิงห์ ภาพเหล่านี้ ปัจจุบันลบเลือนมาก
หอกลาง เป็นภาพเรื่องรามเกียรติ ตอนศึกกุมภกัณฐ์ ตอนสุครีพถอนต้นรัง และศึกอินทรชิต
เป็นฝีมือ ของ ช่างเขียน สำคัญสมัย รัชกาลที่ ๑ คือ พระอาจารย์นาค(พระภิกษุ)
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยา นริศรานุวัติวงศ์ ทรงนิพนธ์ไว้ว่า "พระอาจารย์นาค
พระภิกษุ ผู้มีฝีมือดีล้ำเลิศในรัชกาลที่ ๑ และประเสริฐ ยิ่งกว่าที่ไหนหมดในพระราชอาณาจักร
และดูเหมือนจะมีงานเหลืออยู่อีกชิ้นเดียวที่ฝาหอกลาง หอพระไตร ปิฏกวัดระฆังฯ
นี้เท่านั้น" ภาพเหล่านี้ได้รับ การ บูรณะอนุรักษ์ให้อยู่ในสภาพดีโดยอาจารย์เฟื้อ
หริพิทักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะไทย ซึ่งได้ดำเนินงานติดต่อกัน มาเป็นเวลาหลายปีจึงสำเร็จ
หอนอน มีภาพอุสภกรรมฐาน ที่บานประตูด้านใน ภาพเรื่องไตรภูมิบนฝาด้านซ้ายมือ ภาพนิทานธรรมบท
เรื่อง ท้าวสักกะ บนฝากระดานใหญ่ ด้านชวาเป็นภาพมฆมานพตอนมฆมานพกับภรรยาสร้างศาลา
นางสุชาดาเกิด เป็น นกยูง นางสุชาดาเกิดเป็นธิดาช่างปั้นหม้อ และนางสุชาดาเกิดเป็นธิดาอสูรเวปจิตต์
ภาพจิตรกรรมเหล่านี้อาจารย์ เฟื้อ หริพิทักษ์ กล่าวว่า "พระอาจารย์นาคเป็นผู้เขียน
ได้วางรูปเรื่องให้เหมาะ กับสถานที่ เมื่อเข้ามาในหอนอนที่ประดิษฐานพระไตรปิฏกพระสัจจธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ฉะนี้แล้ว ถือว่าเป็นหอศักดิ์สิทธิ์ ภาพเขียนภายในจำเป็นต้องน้อมใจให้เห็น ทุกข์โทษแห่งสงสารวัฎ
อันมี กิเลสตัณหาเป็นมูลเหตุ แล้วชี้เหตุแห่งการดับ ได้แก่องค์มรรค ที่นำไปสู่ความหลุดพ้น
คือพระอมตมหา นิพพาน ด้วยการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน กล่าวให้ง่ายเข้า ภาพเขียนก็เทศนาอริยสัจธรรม
ได้เหมือน กัน....."
นอกจากนี้อาจารย์เฟื้อ หริภิทักษ์ ยังให้ความเห็นว่าภาพจิตกรรมเหล่านี้มีอิทธิพลของศิลปะจีน
ผสมผสาน อยู่ไม่น้อย ซึ่งเป็นการเพิ่มรสชาติของศิลปะไทย ให้เจริญงอกงามไปอีกขั้นหนึ่ง
ซึ่งน่าจะเริ่มต้นจาก ภาพ จิตรกรรม ที่หอไตร วัดระฆังโฆสิตารามนี้
ภายในหอไตรยังมีตู้พระธรรมลายรดน้ำที่มีคุณค่าอีกหลายตู้ ล้วนฝีมือดีทั้งสิ้น
ศิลปกรรมที่น่าสนใจอีกสิ่งหนึ่ง ของวัดระฆังฯ คือตำหนักแดงซึ่งอยู่ด้านเหนือของพระอุโบสถ
เป็น เรือนไม้สักทั้งหลังขนาดใหญ่ฝาลูกปะกน แต่เดิมภายในมีภาพ จิตรกรรมรูปอสุภ
และภาพพระภิกษุ เจริญกัมมัฏฐาน แต่ปัจจุบันลบเลือนสูญหายไปหมดแล้ว ตำหนักแดงนี้
สมเด็จฯกรมพระยาดำรง ราชานุภาพ และสมเด็จฯกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ทรงให้ความเห็นว่า
เป็นที่ประทับทรงกรรมฐาน ของ พระเจ้าตากสินมหาราช ตำหนักแดงหลังนี้ เดิม กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข
เจ้าฟ้ากรมหลวง อนุรักษ์เทเวศร์(ทองอิน) ทรงสร้างถวายวัดระฆังฯนับเป็นศิลปกรรม
ที่สำคัญอย่างหนึ่งของวัด
ดังกล่าวแล้วจะเห็นว่าวัดระฆังโฆสิตารามหรือวัดบางหว้าใหญ่เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของ
กรุงธนบุรี และ กรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์มากวัดหนึ่ง
และยัง เป็นศูนย์รวม ของ ศิลปกรรมสกุลช่างธนบุรี ไว้หลายสิ่งหลายอย่าง จึงนับได้ว่าวัดนี้เป็นวัด
ที่น่าศึกษาค้นคว้า อย่างยิ่ง วัดหนึ่ง
็