กระบวนพยุหยาตราชลมารคในพระราชพิธีสมโภชพระนคร
ระราชพิธีสมโภชพระนคร ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ได้มีการจัดกระบวนพยุหยาตราชลมารคครั้งยิ่งใหญ่ ถึง ๒ ครั้ง มาแล้ว คือเมื่อครั้งฉลองพระนครครบ ๑๕๐ ปี ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ ในวาระครบ ๒๐๐ ปี กรุงรัตนโกสินทร์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๕ ที่ผ่านมานี้ ริ้วกระบวนเรือพยุหยาตราเมื่อเฉลิมฉลองกรุงครบ ๑๕๐ ปี ปรากฏตามหมายกำหนดการ พระราชพิธีเฉลิมกรุงเทพมหานคร ๒ เมษายน พ.ศ.๒๔๗๕ ดังนี้ '...พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ออกประทับมุขพลับพลาโปรดเกล้าฯ ให้ยาตรา กระบวนเรือรบแล่น จากท้ายน้ำลอดช่องสะพานผ่านหน้าพระที่นั่งถวายลำไปทางเหนือ ถ้วนทุกลำแล้ว กระบวนเรือ พระบรมราชอิสริยยศจึงพายถวายลำต่อไป จนถึงเรือเอกชัยคุ่ชัก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินลง จากพลับพลาไปประทับในบุษบกบัลลังก์กันยา เป็นเรือพระที่นั่งรอง ทหารเรือยิงปีนเฉลิมพระเกียรติยศ ๒๑ นัด เสด็จพระราชดำเนินโดย กระบวน พยุหยาตราใหญ่ตามชลวิถี จากท่าหน้าพลับพลาเชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้าฝั่งธนบุรี ยาตราตาม ลำแม่น้ำเจ้าพระยาไปเทียบเรือพระที่นั่งแทบท่าราชวรดิษฐ์ เสด็จขึ้นทรงรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จกลับพระราชวังดุสิต...'
ประกอบด้วยริ้วกระบวน ๔ สายดังนี้ เรือกราบกันยา ๒ ลำ เรือเสือคำรณสินธุ์ ๑ ลำ เรือเสือทยานชล ๑ ลำ เรือดั้ง ๒๒ ลำ เรือตำรวจนอก ๑ ลำ เรือกระบี่รานรอนราพณ์ - กระบี่ปราบเมืองมาร ๒ ลำ เรือกลองนอก ๒ ลำ เรืออสูรปักษา - อสูรวายุภักษ์ (กลองชนะ) ๒ ลำ เรือสุครีพครองเมือง - พาลีรั้งทวีป (กลองชนะ) ๒ ลำ เรือตำรวจใน ๑ ลำ เรือครุฑเตร็จไตรจักร - ครุฑเหิรเกฃห็จ (แตร สังข์) ๒ ลำ เรือกลองใน ๑ ลำ เรือเอกชัยเหินหาว - เอกชัยหลาวทอง (มโหระทึก) ๒ ลำ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ทอดบัลลังก์บุษบก (เป็นเรือพระที่นั่งทรง) ๑ ลำ เรืออเนกชาติภุชลค์ ทอดบัลลังก์กัญญา (เป็นเรือพระที่นั่งรอง) ๑ ลำ เรือตำรวจ ๔ ลำ เรือกราบกันยา ๒ ลำ สำหรับริ้วกระบวนเรือพยุหยาตราในวาระกรุงรัตนโกสินทร์ มีอายุครบ ๒๐๐ ปี เมื่อ วันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๕ ประกอบด้วยริ้วกระบวน ๔ สาย ดังนี้ กระบวนหน้า เป็นเรือริ้วนำกระบวนด้วยเรือดั้ง เรือพิฆาต เรือรูปสัตว์ กระบวนเรือพระที่นั่ง เป็นริ้วกระบวนตอนกลางมีเรืออนันตนาคราช เรือสุพรรณหงส์ และเรืออเนกชาติภุชงค์ กระบวนแซงเสด็จ เป็นเรือตามเสด็จมีเรือแซง เรือทองขวานฟ้า และทองบ้าบิ่น กระบวนหลัง เป็นเรือท้ายกระบวนใช้เรือดั้งทั้งหมด

 

1