เชิงบาตรมีรูปมารแบก
และมีบันไดตรงจากหน้ามณฑปทิศแต่ละมณฑป ขึ้นทักษิณ ชั้นที่ ๓ ด้านละ บันได รวม
๔ บันได ที่เชิงบันไดมีเสาหงส์หิน บันไดละ ๒ ต้น เหนือพื้นทักษิณ ชั้นที่ ๓ เป็นฐานทักษิณ
ชั้นที่ ๔ มีช่อง รูปกินรีและกินนร สลับกันโดยรอบ เว้นแต่ตรงมุมย่อมุม ๔ ด้าน
เป็นรูป แจกันปักดอกไม้ ที่เชิงบาตรเป็นรูป กระบี่แบก มีบันได ขึ้นไปยังทักษิณชั้นที่
๔ อีก ๔ บันได ตรงกับบันไดที่ ๓ ดังกล่าว และมีเสาหงส์ทำด้วยหิน อยู่เชิงบันไดด้านละ
๒ ต้น เช่นเดียวกัน เหนือพื้นทักษิณชั้นที่ ๔ เป็นช่องรูป กินรีและกินนร สลับกันโดยรอบ
ตรงย่อมุมเป็นรูปแจกันปักดอกไม้ เชิงบาตรมีรูปพรหมแบก เหนือขึ้นไป เป็นซุ้มคูหา
๔ ด้าน มีรูปพระอินทร์ ทรงช้างเอราวัณ อยู่ในคูหาทั้ง ๔ คูหา เหนือซุ้มคูหารูป
พระอินทร์ เป็นยอดปรางค์ขนาดย่อม และมีรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ
แบกพระพุทธปรางค์ใหญ่อยู่โดยรอบ ตอนสุดพระพุทธปรางค์ ใหญ่ ขึ้นไปเป็นนภศูลและมงกุฏปิดทอง
เมื่อพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนา พระพุทธปรางค์จนถึงลำดับยกยอด
พระพุทธ ปรางค์ ซึ่งเป็นยอด นภศูล ตาม แบบแผนแต่โบราณ แต่ครั้นใกล้ วันฤกษ์กลับโปรดให้ยืมมงกุฏที่หล่อสำหรับ
พระพุทธรูปทรงเครื่อง ที่จะเป็นพระประธานในวัดนางนองมาติด ต่อจากยอด นภศูลอีกชั้น
หนึ่ง คนสมัยนั้นพากัน สันนิษฐานว่า มีพระราชประสงค์จะให้ คน ทั้งหลายเห็นเป็นนิมิตว่าสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฏจะเป็นยอด
ของบ้านเมือง ต่อไป องค์พระพุทธปรางค์ก่ออิฐถือปูน ประดับด้วยชิ้นกระเบื้องเคลือบสีต่างๆ
งดงาม ประณีต
บรรจง เป็นลายดอกไม้ ใบไม้ และลายอื่นๆ กระเบื้องเคลือบสีที่ใช้ประดับนี้ บางแผ่นเป็น
รูป ลาย ที่ทำสำเร็จมาแล้ว บางแผ่นเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย นำมาประกอบเข้าเป็นลาย
บางลายใช้กระเบื้องธรรมดา บางลายใช้ กระเบื้องเคลือบสลับเปลือกหอย และ บางลายใช้จานชาม
ของ โบราณที่มีลวดลาย งดงามเป็นของเก่าหายาก เช่น เล็กบ้างใหญ่บ้าง มาสอดสลับไว้อย่างเรียบร้อย
ปรางค์ทิศ เป็นปรางค์องค์เล็กๆ อยู่บนมุม ทักษิณ ชั้นล่างของพระพุทธปรางค์องค์ใหญ่
ตรงทิศ ตะวันออก เฉียงเหนือ ตะวันออกเฉียงใต ้ ตะวันตก เฉียงเหนือ และตะวันตกเฉียงใต้
ทิศละองค์ ปรางค์ทิศทั้ง 4 องค์ รูปทรงเหมือนกัน คือ มีช่องรูปกินนร กินรี เชิงบาตรเหนือ
ช่องมีรูป มารกับกระบี่ แบกสลับกัน เหนือขึ้นไป เป็นซุ้ม คูหารูป พระพาย ทรงม้า
เหนือขึ้นไป เป็นยอดปรางค์ มีรูปครุฑจับนาค และ เทพนมอยู่เหนือ ซุ้มคูหา ปรางค์ทิศ
ก่อด้วยอิฐถือปูน ประดับด้วย กระเบื้อง เคลือบสีแบบ เดียวกับพระพุทธปรางค์องค์ใหญ่
และ เหนือยอด ปรางค์ เป็นนภศูลปิดทอง มณฑป หรือ ปราสาททิศ ตั้งอยู่บนฐานทักษิณชั้นที่
๒ ในระยะระหว่าง ปรางค์ทิศ ตอนฐาน ของมณฑป มีช่องบรรจุรูปกินรี และ กินนรมณฑปทิศเหนือกับทิศใต้
เหนือช่องมีรูป กุมภัณฑ์ แบก มณฑปทิศ ตะวันออกและทิศตวันตก
เหนือช่องมีรูปคนธรรพ์แบก มณฑปก่อด้วยอิฐ ถือปูนประดับกระเบื้อง เคลือบสี เป็นลวดลายต่างๆ
เช่น เดียวกับ พระพุทธปรางค์ประธาน ในการปฏิสังขรณ์ สมัย รัชกาลที่ ๕ ได้เชิญ
พระพุทธรูปปางต่างๆจากวิหารคต รอบพระพุทธ ปรางค์ซึ่งถูกรื้อไป นำขึ้น ประดิษฐาน
ไว้ใน มณฑปทิศ คือ มณฑปทิศเหนือ ประดิษฐาน พระพุทธรูป ปาง ประสูติ ทำเป็นรูปพระนางสิริมหามายา
พุทธมารดา ทรงยืนเหนี่ยว กิ่งไม้รัง เบื้องพระพักตร์มีรูป พระมหาสัตว์ หรือ พระพุทธเจ้าแรกประสูติ
ทรงยืนอยู่ เหนือ ดอกบัว ยกพระพาหา ข้างขวา ขึ้นเหนือพระเศียร ชูนิ้ว พระหัตถ์ขึ้น
๑ นิ้ว ประกาศว่าจะทรงเป็น มหา บุรุษผู้เลิศในโลกนี้ และมีรูป เทวดา ๒ องค์ ประคองพระแท่นที่ทรงยืน
มณฑปทิศตะวันออก ประดิษฐาน พระพุทธรูปปรางค์ ตรัสรู้ มีพระพุทธรูปนาคปรกอยู่กลาง
และพระพุทธรูป ปางมารวิขัยอยู่ ๒ ข้าง ประทับอยู่ใต้ร่มโพธิ์และร่มไทร มณฑปทิศใต้
ประดิษฐานพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา มีพระปัญจวัคคีย์ ๕ องค์ นั่งพนมมืออยู่ เบื้อง
พระพักตร์ และมณฑปด้านทิศตะวันตกประดิษฐานพระพุทธรูปปางดับขันธ์ ปรินิพพาน มี
พระพุทธ รูปปางไสยาสน์อยู่เหนือพระแท่นบรรทมใต้ต้นรังคู่ มีพระภิกษุสงฆ์พุทธสาวก
อยู่เบื้องพระปฤษฏางค์
ภาพบนและข้าง เป็นพระราชรัญญากร ประจำรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราช
ดำเนินมา ก่อ พระฤกษ์พระพุทธ ปรางค์วัด อรุณ ราช วรารามเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๕ เป็น
ปีที่ ๑๙ ในรัชกาล การ ก่อสร้างแล้วเสร็จยังไม่ทันฉลองก็สิ้น รัชกาล ถึงรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
มีพระราชหัตถเลขา ถึงพระยาราชสงครามเมื่อ วันที่ ๔ มิถุนายน ๒๔๕๑ ความ ตอนหนึ่งว่า
"ถึงพระยา ราชสงคราม อีก ประมาณ ๒ ปีหย่อนเล็กน้อย อายุจะ เท่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
คิดจะทำการกุศล อย่างหนึ่งอย่างใดถวายให้ เนื่องใน รัชกาลนั้นจึงคิดเห็นว่าพระอุโบสถ
พระระเบียงก็ได้สร้างและปฏิสังขรณ์ใหม่แล้ว แต่พระปรางค์ยังไม่ได้ จับต้องอันใดเลย
เข้าใจว่ามีที่ ชำรุดอยู่บ้าง จะปฏิสังขรณ์ให้บริบูรณ์ดี จะสิ้นเงินเท่าใด ให้ประมาณ
เงิน มาให้ ดู..." เมื่อพระยาราชสงครามได้กะประมาณราคาการ ซ่อมพระพุทธปรางค์มาแล้ว
พระบาท สมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้นำเรื่องเข้าหารือในเสนาบดีสภา เมื่อวันที่
๒๗ มิถุนายน ๒๔๕๑ ปรากฏว่า ต้องใช้เงินถึง ๑๒๔,๐๕๒ บาท จึงมีพระราชดำรัสว่า "พระปรางค์
องค์นี้เป็นที่ระลึกสำหรับชาติ ซึ่งจำเป็น จะต้องปฏิสังขรณ์ไว ้ให้ถาวร"
แสดงถึงความสำคัญของพระพุทธปรางค์องค์ นี้เป็นอย่างยิ่ง
ศิลปกรรมที่สำคัญยิ่งอีก หลังหนึ่งคือ พระอุโบสถ ซึ่งได้สถาปนา ขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ดังปรากฎความในพระราชพงศาวดารว่า "..ตั้งแต่ได้ผ่านพิภพ ถวัลยราชสมบัติก็ยังมิได้สถาปนาพระอารามใดพระอาราม
หนึ่ง ขึ้นให้เป็นคุณแก่พระพุทธศาสนาเป็นเนื้อนาบุญอันวิเศษ เป็นเหตุที่จะให้ผลไปในปรโลก
ทรงเห็นว่าวัดแจ้ง ยังชำรุด ทรุดโทรมอยู่ พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ก็ได้ทรงสร้าง
กุฎีสงฆ์ขึ้นไว้พอได้มี พระสงฆ์จำพระพรรษาอยู่เท่านั้น การอื่น ยังมิได้กระทำ
จึงดำรัสสั่งให้พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่น เจษฎาบดินทร์เป็นแม่กองทำ ขอแรงพระวงศานุวงศ์ข้าราชการ
ผู้ใหญ่ ที่มีกำลังพอจะทำได้ พระราชทานเงินให้เป็น ค่าจ้างทำ ตามราคาพอสมควร"
"ทำพระอุโบสถ วิหาร การเปรียญ ขึ้นใหม ่ทั้งสิ้น พระอุโบสถเดิมอยู่ริมน้ำ
ก็ให้ปฏิสังขรณ์อุทิศถวาย เป็น พระวิหาร" และ "สร้าง พระอุโบสถใหม่มี
พระระเบียงล้อมรอบ พระประธานในพระอุโบสถ เมื่อปั้นหุ่น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ทรงปั้นด้วย ฝีพระหัตถ์" สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยา นริศรานุวัดติวงศ์ ทรงกล่าวถึง
พระอุโบสถวัด อรณุราชวรารามไว้ว่า "พระอุโบสถทำทรงคล้ายรัชกาลที่ ๑ แต่แฉล้มขึ้นกว่าสักหน่อย
ยังมีเหลืออยู่ดูได้ แต่สิ่งที่ ทำ ด้วยอิฐปูน เครื่องไม้นั้นเพลิงไหม้เสียหมดแล้ว"
พระประธาน ในพระอุโบสถ พระบาทสมเด็จ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ถวายพระนามว่า
"พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก" หล่อใน รัชกาลที่ ๒ กล่าวกันว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ทรงปั้นหุ่นพระพักตร์ด้วยพระองค์เอง เป็นพระ พุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง
๓ ศอกคืบ ประดิษฐาน เหนือ แท่นไพที ีบนฐาน ชุกชี