วัดพระเชตุพนฯประวัติความเป็นมาโบราณสถานและ
พระพุทธเทว ปฏิมากรที่ประดิษฐาน ณ วัดเชตุพน
วัดพระเชตุพนเป็นอารามหลวงชั้นเอกชนิดราชวรมหาวิหาร
อยู่ในอันดับหมายเลข ๑ ตามทำเนียบ พระ อารามหลวง เพราะถือว่าเป็นพระอารามที่ทรงสถาปนาขึ้น
พร้อมกับในคราวสถาปนา พระบรมมหาราชวัง จึงเป็นวัดที่มีชื่อเสียงและเกียรติคุณเป็นที่คุ้นเคยกันมาก
อีกประการหนึ่ง เป็นวัดนี้ยังได้ชื่อว่า เป็นมหา วิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยอีกด้วย
วัดนี้ได้ถูกสร้างมาตั้งแต่สมัยพระนครศรีอยุธยาเป็นราชธานีในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา
(ระหว่าง พ.ศ. ๒๒๓๑-๒๒๔๖)
เดิมเป็น
วัดที่ ราษฏรสร้างขึ้น โดยไม่ปรากฏว่าผู้ใด เป็นผู้สร้าง สมัยนั้น ก็คงจะเป็นวัดบ้านนอกห่างไกลจากเมืองหลวงตั้งอยู่
ที่ปาก แม่น้ำเจ้าพระยาตำบลบางกอกเมืองธนบุรีชื่อว่าวัดโพธาราม ชาวบ้าน จึงเรียกติดปากว่า
'วัดโพธิ์' มาจนตราบเท่าทุกวันนี้ในสมัย ที่กรุงธนบุรีเป็นราชธานี เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ทรง สถาปนาเมืองธนบุรี เป็นพระมหานครทรงกำหนด เขตเมืองหลวง ทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ในเขตกลางเมืองหลวง
วัดโพธาราม ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา จึงอยู่ใน เขต ของพระมหานครด้วย
และเป็นอารามหลวง มีพระราชาคณะ ปกครอง ตั้งแต่นั้นมา
ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร ์ เมื่อสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเสวยราชสมบัติ
ทรงย้ายพระมหานครมาตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกฝั่งเดียว ทรง สร้าง พระบรมมหาราชวัง
มีวัด อยู่ใกล้ชิดสองวัด คือ วัดสลัก (วัดมหาธาตุ) อยู่ทางทิศเหนือ และ วัดโพธาราม
อยู่ทิศใต้ จึงโปรดฯ ให้สถาปนาวัดโพธารามเป็นการใหญ่ รวมเวลา ๗ ปี ๔ เดือน ๒๘
วัน จึงสำเร็จบริบูรณ์ เพื่อให้สมกับเป็นวัด ใกล้ชิดกับพระบรมมหาราชวัง จึง เรียกได้ว่า
เป็น วัดหลวงพระราชทานนามใหม่ว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาศ
(ต่อมารัชกาลที่ ๔ จึงทรงเปลี่ยนชื่อเป็นวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม)
ครั้นถึงรัชกาลที่ ๓ พระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราช ดำเนินทอดผ้าพระกฐินทอดพระ
เนตรเห็นถาวรวัตถุ สังฆเสนาสนะที่สถาปนามาถึง ๓๐ ปีเศษ ชำรุดทรุดโทรมลงทั้งสิ้น
จึงทรงพระราชดำริ ที่จะทรงปฏิสังขรณ์ และสถาปนาขึ้นใหม่อีก ทรงโปรดฯให้พระบรมวงศานุวงศ์
และ ข้าทูลละอองธุลี พระบาทแบ่งปันกันเป็นนายด้านในการต่างๆ เริ่มตั้งแต่ปี มะโรง
พ.ศ.๒๓๗๕ ในการบูรณะครั้งนี้ ทรงขยาย ของเดิม ที่มีอยู่ให้กว้างใหญ่บ้าง เปลี่ยนแปลงแก้ไขให้งดงามดีกว่าเดิมบ้าง
เช่น พระอุโบสถเก่าเล็ก แคบ ขยายออกอีก พระวิหารทิศต่างๆต่อด้านหลังให้ยาวกว่าเดิม
และปฏิสังขรณ์คราวนี้คล้ายกับว่า ประชุมช่าง ต่างๆ เพราะสิ่งก่อสร้าง ล้วน วิจิตร
งดงามบริบูรณ์ด้วยศิลปอันประณีต ผังการสร้างจัดบริเวณเป็น ๒ ส่วน คือ พุทธาวาส
และสังฆวาส
พุทธาวาส
เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปปฏิมากรโดย เฉพาะ แบ่งเป็นสองบริเวณคือ บริเวณพระอุโบสถ
ตั้งพระอุโบสถไว้กลาง มีพระวิหารประจำทิศใหญ่สี่ทิศ สร้างพระระเบียงล้อม รอบสองชั้น
พระระเบียงนั้น สร้างแบบ 'ไม้สิบสอง' ในทิศใหญ่ๆ มีพระวิหารทิศ ทั้งสี่ อัญเชิญพระพุทธรูปโบราณ
มาตั้ง ประดิษฐานเว้น แต่พระ วิหารทิศเหนือเป็นพระพุทธรูปปาง ป่าเลไลยก์ ที่หล่อขึ้นใหม่
เพียง องค์เดียว พระระเบียงชั้นในประดิษฐานพระพุทธรูป ๑๕๐ องค์ ชั้นนอก ๒๔๔ องค์
พระพุทธรูปทั้งปวง(สมัยเชึยงแสน สุโขทัย อู่ทอง อยุธยา)นี้ล้วนแต่เป็นของเก่าจากเมือง
สุโขทัย พิษณุโลก สวรรคโลก ลพบุรี กรุงเก่าที่ชำรุดปรักหักพังอัญเชิญมาปฏิสังขรณ์ให้บริบูรณ์
ตามเสาพระระเบียง จำหลัก ศิลา จารึกประเภท วรรณคดีต่างๆ คือ แบบแต่งฉันท์โครงกลอนกลบท
ภายในลานพระอุโบสถ สร้างพระมหาธาตุ ประจำมุมทั้งสี่ ต่อจากระเบียง ออกมาสร้าง
พระเจดีย์รายรอบพระอุโบสถ ๓ วา ๒ ศอก ฐาน ประดับศิลาองค์ประดับ กระเบื้องเคลือบ
รวม ๗๑ องค์ ตรงมุมทั้งสี่สร้าง พระเจดีย์ฐานเดียวหมู่ละห้าองค์ ที่งสี่มุมรวมเป็น
๒๐ องค์ พระเจดีย์ทั้ง ๙๑ องค์นี้ล้วนแต่ย่อ เป็นแบบไม้สิบสองทั้งนั้นและ สร้างพระวิหารคด
(คดเป็นแบบข้อศอก) อีกทั้งสี่มุม ประดิษฐาน พระพุทธรูปต่างๆเช่นเดียวกัน แต่ส่วนมากเป็นพระพุทธรูปที่ชำรุดมาก
กำแพงใหญ่บริเวณวัด เฉพาะตอนบริเวณพระอุโบสถนี้ก็ทำย่อ 'ไม้สิบสอง'เหมือนกัน
(สังเกตมุมกำแพงหน้าวัด) นอกจากนั้นยังมีศาลารายรอบบริเวณรวม ๘ หลัง(ศาลารายเดิมมี
๑๖ หลัง รื้อเมื่อคราวบูรณ ปฏิสังขรณ์ ใหญ่ ๘ หลัง) เป็นศาลารายล้อม มหา เจดีย์
๒ หลัง ภาย ในศาลา เดิม ตั้งฤาษี ดัดตน ปัจจุบันฤาษีดัดตน ย้ายมาตั้ง ที่ภูเขาด้านใต้ที่ต้นเสาจารึกตำรายาไทยต่างๆ
ตลอดทั้งตำราว่าด้วยสมุฏฐานโรค ตำรายาเด็ก ตำราหมอนวด หน้าศาลามีกระถางปลูกต้นยาต่างๆที่หา
ได้ยากหรือไม่ค่อยมีผู้รู้จัก ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น ปลูกต้นตะโกและไม้อื่นๆไปเสียแล้ว
บริเวณพระวิหารพระพุทธไสยาสพระมหาเจดีย์
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสถาปนา พระมหา เจดีย์ ๑ องค์ ฐานกว้าง ๘
วา สูง ๘๒ ศอก บรรจุพระพุทธรูปศรีสรรเพชญ์ ที่อัญเชิญมาจากวัด พระศรีสรรเพชญ์พระนครศรีอยุธยาซึ่ง
พระศรีสรรเพชญ์ นี้ เป็นพระพุทธรูปยืนที่ใหญ่มหึมา คือสูงแต่
พระบาทถึง ยอดพระรัศมีได้ ๘ วา(๑๖เมตร) พระ พักตร์ยาวได้ ๔ ศอก (๒ เมตร) กว้าง
๓ ศอก (๑ เมตร)พระอุระกว้าง ๑๑ ศอก(๕ เมตรครึ่ง) ใช้ทองหล่อเป็นแกนหนัก ๕๓,๐๐๐
ชั่ง ทองคำที่หุ้มหนัก ๒๘๖ ชั่ง พระ พุทธรูปองค์นี้ เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองได้ถูกโจรพม่าเอาไฟสุมลอกทองคำไปจนหมด
เหลือแต่ทองสัมฤทธิ์ที่ เป็นแกน เมื่ออัญเชิญลงมาวัดพระเชตุพน พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้า
จุฬาโลก ทรงเห็นว่าชำรุดมากเหลือกำลังที่จะซ่อมให้กลับคืนดีได้
จึงทรงพระราชดำริ ใคร่จะ หล่อเสียใหม่ ได้มีพระราชปุจฉาถาม พระราชาคณะผู้น้อยผู้ใหญ่
พระราชา คณะ มีสมเด็จพระสังฆราช เป็นประธานถวายพระพรว่าไม่เป็นการสมควร ที่จะเอา
รูปปฏิมาของ พระพุทธเจ้าเข้าหลอมหล่อในไฟอีกต่อไป จึงทรงโปรดฯให้สร้างพระเจดีย์บรรจุ
ไว้ ดังกล่าวประดับ ด้วยกระเบื้องเคลือบสีเขียว พระราชทานนามว่า
'พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชญดาญาณ'
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาขึ้นใหม่
อีก ๒ องค์ คือทางทิศ เหนือองค์เดิมประดับ ด้วยกระเบื้องเคลือบสีขาวทรงอุทิศถวายแด่พระบาทสมเด็จพระชนกาธิราช
มีพระนามว่า พระมหาเจดีย์ ดิลกธรรมกลกนิทาน อีกองค์ทางใต้ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง
สำหรับเป็นส่วน พระองค์มี พระนาม ว่า พระมหาเจดีย์มุนีบัตรบริขาร ส่วนอีกหนึ่งองค์ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตกประดับ
ด้วยกระเบื้อง เคลือบสีขาว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนา ถ่ายแบบจากเจดีย์ศรีสุริโยทัย
วัด สวนหลวงสบสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา แต่มิได้พระราชทานนามไว้เรียกกันว่าเจดีย์ประจำรัชกาลที่
๔ หรือ เจดีย์แบบศรีสุริโยทัย จึงเป็นพระมหาเจดีย์ประจำสี่รัชกาล
ต่อแต่นั้นมิได้สร้างอีกเลย เรื่องารยุติสร้าง พระเจดีย์ประจำ รัชกาล ในวัด พระเชตุพนนั้น
ปรากฏในหนังสือพระราช วิจารณ์ฯ ว่าเมื่อ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใกล้สวรรคต
ได้มีพระราช ดำรัสว่า 'พระเจดีย์ที่วัดพระเชตุพนนั้น กลายเป็นใส่คะแนน พระเจ้า
แผ่นดินไปจะใส่คะแนน อยู่เสมอ จะไม่มีที่สร้าง ควรจะถือว่าพระเจ้า แผ่นดินทั้งสี่พระองค์นั้น
ท่าน ได้เห็นกันทั้งสี่พระองค์ จึงควรมีพระ เจดีย์อยู่ด้วยกันต่อไป อย่าสร้างทุกแผ่นดินเลย'
สรุปจำนวน เจดีย์ ทั้งหมดที่วัดพระเชตุพนวิมล มังคลาราม คือ พระเจดีย์ รายรอบ
พระอุโบสถ ๗๑ องค์ พระเจดีย์ฐาน เดียวหมู่๕รวม ๔ หมู่ ๒๐ องค์ พระมหาเจดีย์ ๔
องค์ รวมทั้งสิ้น๙๕ องค์ หากนับทั้งพระมหาธาตุ รอบพระอุโบสถอีก๔องค์ก็จะเป็น
๙๙ องค์ นับว่าเป็นวัด ที่มีพระ เจดีย์มากที่สุดแห่งหนึ่ง รอบบริเวณพระมหาเจดีย์สร้างเป็นพระระเบียง
ประดิษฐานพระพุทธรูป ยืน ฐานละ ๓ องค์ รวมทั้งสิ้น ๑๓๕ องค์ และจารึกวรรณคดี
ประเภทสุภาษิต สอนใจ เช่น โคลงโลกนิติฉันท์ กฤษณาสอนน้องเป็นต้น พระวิหารน้อยหรือกรุสำหรับเก็บพระพุทธรูปหรือพระธรรมของเก่าๆ
สองหลัง ตรงกันข้ามคือ ด้านใต้และด้านเหนือของพระมหาเจดีย์ข้างๆพระวิหารน้อย
มีหอระฆ้ง ข้างละหอ ประดับ ด้วยกระเบื้องเคลือบ ต่อจากพระมหาเจดีย์เป็นพระมณฑปสร้างเป็น
หอพระธรรมสำหรับ ประดิษฐาน พระไตรปิฏก ปัจจุบันยังมีตู้พระไตรปิฏกปรากฏอยู่ พระมณฑปนี้สร้างขึ้นอย่างวิจิตรงดงามยิ่งนัก
กระเบื้อง เคลือบที่ประดับนั้นสีสดน่าดูน่าชมมากนับเป็นสถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์
ซึ่งหาที่อื่นเปรียบด้วยยาก สองข้าง ของพระระเบียงรอบพระมณฑปด้านเหนือเรียกว่าสวนไม้ต่อ
มีต้นโพธิ์ ลังกา ๑ ต้น ปัจจุบันปลูก เป็นศาลาโรงธรรม ด้านใต้เป็นสระน้ำเรียกว่า
สระจระเข้
พระวิหารพระพุทธไสยาสอยู่ด้านมุมกำแพงวัด ทางด้านทิศตะวันตก ด้านเหนือพระพุทธไสยาสยาว
๑ เส้น ๓ วาก่อด้วยอิฐ ถือปูน กรมหมื่นภูมินทรภักดี
(พระองค์เจ้าลดาวัลย์) เป็นผู้ กำกับ การสร้าง เป็นฝีมือ ช่างสิบหมู่ ของหลวง
รอย ฝ่าพระบาท จำหลักภาพมงคล ๑๐๘ ประดับมุก พระพุทธไสยาส องค์นี้ มีผู้ชมเชยฝีมือการก่อสร้างว่าประกอบ
ด้วย ลักษณะงดงามสร้าง ในรัชกาล ที่ ๓ ทางวัดเริ่ม ปฏิสังขรณ์ พ.ศ. ๒๔๘๘ คือลงรัก
ปิดทองใหม่ ทั้งองค์ฐานชุกชีของเดิมชำรุดซ่อม ใหม่ตาม รูปเดิม และลงรักปิด ทองช่อฟ้าใบระกา
ด้านตะวันตก ซึ่ง ฟ้าผ่า รื้อลงทำใหม่ หน้าบันทิศตะวันตกลงรักปิดทอง เสารอบนอก
และบัว ผนังพระวิหารปูนของเก่าผุพัง จัดซ่อม หล่อคอนกรีต ถือปูน -ศาลาการเปรียญ
ประดิษฐานพระประธานเก่าของวัดพระนามว่า พระพุทธ ศาสดาเป็นพระปางสมาธิ ปกติเป็นทีแสดงธรรมในเทศกาลเข้าพรรษา
และวันโกนวันพระ นอกจากนี้ยังมี ภูเขา ตุ๊กตาจีน สัตว์ทวิบาท จตุบาท ต้นไม้อื่นๆ
อีก สำหรับประดับประดาพระอารามให้น่าดูน่าชมเป็นปูชนียสถานอันน่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง
ประตู เป็น ประตูซุ้ม ทรงมงกุฏ ประดับด้วยกระเบื้อง เคลือบงดงามประตูทรงมงกุฏนี้นับว่าเป็นประตูชั้นเยี่ยม
สังฆวาสคือที่อยู่ชองพระสงฆ์และสามเณรอยู่ทางด้าน
ทิศใต้ ระหว่าง พุทธาวาสและสังฆวาส มีถนนเชตุพล ผ่านกลางจัดแบ่ง เป็นคณะใหญ่
๓ คณะ คือคณะเหนือ มี ๒๓ กุฏิ มีกุฎิหมู่บ้าง ห้องเดี่ยวบ้าง คณะ กลางมี ๓๘ กุฏิ
คณะใต้มี ๓๔ กุฏิ แต่ละคณะ มีพระราชาคณะ ปกครองและพระครูสัญญาบัตรเป็นผู้ช่วย
สำหรับ กุฎิ พระราชาคณะนั้น เดิม สังเกตุ ได้ที่มี หอไตร ประจำ พระตำหนัก วาสุกรี
อันเป็นที่ประทับ ของ สมเด็จ พระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส อยู่ คณะเหนือ
ติดกับ กุฏิเจ้าอาวาส
สรุป การสร้างพระอารามศิลปะการสร้างนี้ วางไว้เป็นระเบียบ
ดีมากนายช่าง หรือตำรับตำราต่างๆ ก็ล้วน แล้วแต่ผู้ชำนาญ ซึ่งเลือกสรรมาอย่างดีแล้ว
พระบาท สมเด็จ พระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค
พิเศษ นอกจากเพื่อจารึกฝีมือ การช่าง ของไทยซึ่งมีสมรรถภาพสูงส่งอีกก็คือทรงมุ่งหวังให้พระอาราม
นี้ เป็นมหาวิทยาลัย แห่งการ ศึกษาไปในตัวสมเด็จ กรมพระยา ดำรงราชานุภาพ ทรงไว้ในคำนำหนังสือ
ประชุม จารึกวัด พระเชตุพนฯว่า 'เมื่อในสมัยรัชกาลที่ ๓ มีการที่ทรงสร้างทรง
บูรณะและทรงอุดหนุนการสร้างวัด มีจำนวนมากยิ่งกว่ารัชกาล แต่ก่อนหรือภายหลังมา
เพราะเหตุว่า ตั้งแต่สถาปนาพระนคร อมรรัตนโกสนทร์ เป็น ราชธานี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาล
ก่อนๆ ได้ทรง ปรารถนา ทรงทำนุบำรุงวัตถุ สถาน และกิจการ อย่างอื่นเจริญมาโดยลำดับ
รัชกาลที่ ๓ ถึงสมัย ที่จะทรงบำรุง ความเจริญ ส่วนจรรยาและวิชาความรู้ อัน อาศัยวัดเป็นที่ศึกษา
สถาน จึงทรงสถาปนา พระอารามเพื่อให้เจริญ ธรรมานุ ธรรม ปฏิบัติ และการศึกษา ของไพร่ฟ้า
ข้าแผ่นดิน อันนี้เป็นข้อสำคัญ ในพระราชประสงค์ของ พระบาทสมเด็จ พระนั่ง เกล้าเจ้าอยู่หัว
ก็พระอารามทั้งหลายซึ่งทรงสถาปนานั้นวัดพระเชตุพนฯ ซึ่งสร้าง เป็นอารามใหญ่ ยิ่งกว่าวัดอื่นๆ
มา แต่ใน รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๓ ชำรุดทรุดโทรมลง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
จึงทรงปฏิสังขรณ์ แต่ในการ ที่ทรง ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ มีพระราช ประสงค์พิเศษ
อีก อย่างหนึ่ง ซึ่งจะให้เป็นแหล่งเล่าเรียนวิชาความรู้ ของ มหาชนไม่ เลือกชั้น
บรรดาศักดิ์ถ้าจะเรียกอย่าง ทุกวันนี้ ก็คือจะให้ เป็น มหาวิทยาลัย เพราะ ในสมัยนั้น
ยังไม่มีการ พิมพ์หนังสือไทยได้ การเล่า เรียนส่วนสามัญ ศึกษาที่มีเรียนอยู่ตามวัดทั่วไป
แต่ส่วน วิสามัญ ศึกษา อันจะเป็นวิชาอาชีพของคนทั้งหลาย
ยังศึกษา ได้แต่ในสกุล ผู้อยู่นอกสกุลโดยเฉพาะที่เป็นพลเมืองสามัญไม่มี โอกาสที่จะ
เรียนได้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรง พระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมเลือก
สรร ตำรับตำราต่างๆ ซึ่งสมควร จะ เล่าเรียนเป็นชั้นสามัญศึกษามาตรวจตราแก้ไข
ใช้ของเดิมบ้าง หรือประชุมผู้รู้หลักในวิชานั้นๆโดยมากเพื่อคนทั้งหลายไม่เลือก
ว่าตระกูลชั้นใดๆ ใครมีใจรักวิชาอย่างใด ก็ให้สามารถ เล่าเรียน ได้จากศิลาจารึกที่วัดพระเชตุพนฯ
จึงมีหลายอย่างทั้งเป็น ความรู้ ส่วนวรรณคดี โบราณคดี และ ศัสตราคมค่างๆ เป็นอันมาก
และ ได้เป็นประโยชน์แก่ผู้ศึกษา ดังพระราชประสงค์ ในรัชกาลที่ ๓
' หลักศิลาจารึกที่วัดพระเชตุพนฯมี ๘ หมวด คือ
-หมวดประวัติ ------------------------------- จารึกประวัติของการสร้างวัด ฯลฯ
-หมวดพระพุทธศาสนา ------------------------------- จารึกเรื่องสาวกเอตทัคคะ
ฯลฯ
-หมวดตำรายา ------------------------------- จารึกจากสมุฏฐานโรค และยารักษาโรค
-หมวดวรรณคดี -------------------------------- จารึกตำราฉันท์ ฯลฯ
-หมวดสุภาษิต ------------------------------- จารึกฉันท์กฤษณาสอนน้อง ฯลฯ
-หมวดทำเนียบ ------------------------------- จารึกทำเนียบหัวเมืองขึ้น กรุงสยาม
ฯลฯ
-หมวดประเพณี ------------------------------- จารึกริ้วขบวนแห่กฐินพยุหยาตราทางสถลมารค
-หมวดอนามัย ------------------------------- จารึกภาพฤาษีดัดตน พระอารามแห่งนี้เป็นที่เชิดหน้าชูตาในทางสถาปัตยกรรม
และ วิจิตรศิลป์ของไทย สมกับคำว่า 'มหาวิทยาลัย' มองดูความงดงามแห่งศิลปะได้ทุกแง่ทุกมุม
เวียกให้ว่าเป็นเมืองสวรรค์ ผู้ที่ เข้าไปชม บริเวณแล้ว ปล่อยอารมณ์ไป บางทีก็
เคลื้มว่า เป็นสวรรค์เหมือนกัน ดังที่มีการ พรรณาไว้ใน นิราศพระ แท่นดงรังว่า
....
'ในปีวอกนักษัตรอัฐศก ชะตาตก ต้องไปในไพรสณฑ์ ลงนาวาหน้าวัดพระเขตุพน พี่ทุกข์ทน
ถอนใจครรไลจร เหลือ อาลัยเหลียวหลังจะสั่งน้อง เฝ้ามองมองมุ่ง เขม้นไม่เห็นสมร
เห็นวัดโพธิ์ โสภาสถาพร สง่า งอนงามพริ้งทุกสิ่งอัน โอ้วัดโพธิ์เป็นวัดกษัตริย์สร้าง
ไม่โรยร้าง รุ่งเรือง ดังเมืองสวรรค์' ประวัติความเป็นมาของพระพุทธรูป ที่สำคัญๆ
ซึ่งประดิษฐาน ณ วัดพระเชตุพนฯ ซึ่งได้แก่
พระพุทธเทวปฏิมากร พระประธานในพระอุโบสถ
พระปาง ตรัสรู้ พระประธานประจำพระวิหารทิศตะวันออกมุขหน้า
พระพุทธโลกนาถ พระประธานประจำ พระวิหารทิศตะวันออก
มุขหลัง
พระโปรดปัญจวัคคีย์ พระประธานประจำ พระวิหารทิศใต้ มุขหน้า
พระนาคปรก พระประธานประจำพระวิหาร ทิศตะวันตก มุขหน้า
พระป่าเลไลยก์ พระประธานประจำ พระวิหาร ทิศเหนือ มุขหน้า
พระพุทธไสยาส ในพระวิหารใหญ่ รอยฝ่าพระบาทจำหลัก ภาพมงคล ๑๐๘ ประมุก สร้างในรัชกาลที่
๓