มนต์เพลงลุงแซม
โดย
เกษียร เตชะพีระ มติชนรายวัน ๑ เม.ย. 2543
มีข้อน่าวิตกกังวลอย่างหนึ่งเกี่ยวกับกรณีคุณสุรศักดิ์
นานานุกูล กับพวกถูกเจ้าหน้าที่ศุลกากรล่อจับที่ สหรัฐอเมริกา
ทั้งนี้ไม่ใช่อยู่ตรงตัวคุณสุรศักดิ์ละเมิดมติคว่ำบาตรอิรักของสหประชาชาติและคำสั่งห้ามค้ากับอิรักของประธานาธิบดีสหรัฐฯจริงหรือไม่ ?
พรรคความหวังใหม่จะพลอยเสื่อมเสียไปด้วยในปีเลือกตั้งเพราะเหตุนี้สัก
เพียงใด ?
หรือประเทศไทยจะรักษาชื่อเสียงเกียรติคุณในฐานะสมาชิกที่เคารพกฎหมายของประ
ชาคมโลกเอาไว้ ให้ปลอดพ้นจากเรื่องนี้ได้อย่างไร ?
แต่อยู่ตรง ระเบียบโลกใหม่หลังสงครามเย็น
ที่สถาปนาและครอบงำโดยอเมริกา ซึ่งรวมการโดดเดี่ยว
ปิดล้อมอิรักเป็นหลักอย่างหนึ่งด้วยนั้น ดูจะได้การยอมรับนับถือในแวดวงผู้กำหนดนโยบายต่างประเทศของ
เราไม่ว่าฝ่ายไหน ระดับใด ประดุจเป็นหลักธรรมค้ำจุนโลกโดยดุษณี
ไม่มีใครสักคนลุกขึ้นมาเอ่ยถามทักท้วง แม้สักแอะ
ความเงียบในประเด็นนี้ดังสนั่นน่าตกใจยิ่งกว่าเสียงกล่าวโทษแก้เกี้ยวซึ่งกันและกันในหมู่นักการเมือง
เป็นไหน ๆ เพราะไม่ว่าคุณสุรศักดิ์จะผิดหรือไม่ คดีจะถูกตัดสินอย่างไร แต่สิ่งที่สะท้อนออกมาให้เห็นแล้วก็
คือผู้นำการเมืองไทยดูจะยอมรับระเบียบวินัยระหว่างประเทศที่สร้างและค้ำจุนด้วยอำนาจอเมริกันโดยนัยว่าเป็น
ทำนองคลองธรรมของโลกไปเสียแล้ว
และไทยมีหน้าที่เพียงเต้นตามทำนองเพลงที่บรรเลงโดยลุงแซมไปเซื่อง
ๆ เหมือนหางเครื่องเท่านั้น !
ทว่าเอาเข้าจริงการคว่ำบาตรอิรักทางเศรษฐกิจถูกต้องชอบธรรมแน่หรือ
?
มันสัมฤทธิ์ผลทางการเมือง การทหารตามเป้าที่ตั้งไว้แค่ไหน ?
ส่งผลเสียทางสังคมและมนุษยธรรมต่อประชาชนชาวอิรักอย่างไร ? และเมื่อ
ประมวลภาพรวมแล้วมันถูกกฎหมายระหว่างประเทศสักเพียงใด ?
ผมคิดว่าเราควรตรวจสอบลุงแซมดู
การคว่ำบาตรอิรักทางเศรษฐกิจเริ่มขึ้นเมื่อ
๑๐ ปีก่อน ตามมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
เพื่อลงโทษอิรักที่บุกยึดคูเวต มติดังกล่าวห้ามประเทศสมาชิกสหประชาชาติซื้อขายสินค้าหรือช่วยเหลืออิรักด้าน
การเงิน
ยกเว้นสินค้าประเภทอาหารและยารักษาโรค
ห้าปีต่อมา
เนื่องจากเป็นที่ประจักษ์ว่าประชาชนอิรักต้องทนทุกข์ยากอดอยากแสนสาหัสเพราะกา
คว่ำ บาตรทางเศรษฐกิจ
คณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติจึงตกลงผ่อนปรนกับอิรัก
โดยดำเนินโครงการน้ำมัน เพื่ออาหาร
อนุญาตให้อิรักผลิตน้ำมันส่งออกขายเพื่อนำรายได้มาจัดซื้ออาหารและยารักษาโรคเข้าประเทศ ภาย ใต้การควบคุมอำนวยการภาคสนามของเจ้าหน้าที่สหประชาชาติ และการกำกับดูแลของคณะกรรมการคว่ำบาตร
ของสหประชาชาติในกรุงนิวยอร์คอีกชั้นหนึ่ง
แล้วอะไรคือผลงานของการคว่ำบาตรอิรักทางเศรษฐกิจ
๑๐ ปีและโครงการน้ำมันเพื่ออาหารในรอบ ๕ ปีที่ผ่านมา ?
ตามสถิติที่สำรวจโดยองค์การยูนิเซฟ
(กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ
United Nations International Childrens Fund)
เองในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ปรากฏว่า
ปัจจุบันนี้เด็กอิรักอายุต่ำกว่า ๕ ขวบลงมากำลังล้มตายลงทุกวัน ๆ ละ ๒๗๑ คน !
ขณะที่สถิติเดียวกันของประเทศที่ไม่ถูกคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจอย่างไทยคือวันละ ๑๐๑ คน ทั้ง ๆ ที่
ไทยมีประชากรมากกว่าอิรักเกือบ ๓ เท่าตัว
!
อัตราการตายของทารกแรกเกิดในอิรัก =
๑๐๓ / ๑,๐๐๐ คน (ของไทย =
๓๐ / ๑,๐๐๐ คน) ส่วนอัตรา การตายของเด็กอายุต่ำกว่า ๕ ขวบในอิรัก =
๑๒๕ / ๑,๐๐๐ คน (ของไทย = ๓๗ / ๑,๐๐๐ คน)
นั่นคิดเป็นอัตราการตายกว่า
๑๐ % หมายความว่าเด็กอิรักทุก
๑๐ คนที่เกิดมา จะอยู่รอดเกิน ๕ ปีขึ้น ไปไม่ถึง ๘ คน
หากมองย้อนเวลาจะพบว่าตัวเลขอัตราการตายของเด็กอิรัก
(ต่อพันคน) มีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ จนกระ
ทั่งเริ่มการคว่ำบาตรเศรษฐกิจโดยสหประชาชาติภายใต้การนำอย่างแข็งขันของสหรัฐอเมริกาเมื่อปี
พ.ศ. ๒๕๓๓
ปี พ.ศ. เด็กต่ำกว่า ๕ ขวบ ทารกแรกเกิด
๒๕๐๓ ๑๗๑ ๑๑๗
๒๕๑๓ ๑๒๗ ๙๐
๒๕๒๓ ๘๓ ๖๓
๒๕๓๓ ๕๐ ๔๐
๒๕๓๘ ๑๑๗ ๙๘
๒๕๔๑ ๑๒๕ ๑๐๓
( ข้อมูลจาก Iraq Mortality Estimates: <http://www.unicef.org/reseval/cmrirq.html>)
จากนั้นเด็กอิรักก็ล้มตายเพิ่มพรวดขึ้นกว่าสองเท่าครึ่ง !
ซึ่งนำไปสู่ข้อสรุปของนักวิจัยยูนิเซฟว่า
ข้อสรุปประการหนึ่ง.....ก็คือหากอัตราการตายของเด็กอายุต่ำกว่า ๕
ขวบซึ่งลดลงมากพอ ควรในช่วงทศวรรษ ๒๕๒๓-๒๕๓๒ ยังคงลดลงต่อไปตลอดทศวรรษที่ ๒๕๓๓-๒๕๔๒ แล้ว ก็จะมีเด็กอายุ ต่ำกว่า ๕
ขวบในประเทศนี้ตายน้อยลงรวมทั้งสิ้นครึ่งล้านคนในช่วงระยะ ๘ ปีจาก พ.ศ. ๒๕๓๔-๒๕๔๑
G. Jones, Iraq Under-five
mortality, 23 July 1999, UNICEF
ถ้าไม่คว่ำบาตรอิรัก เด็ก ๕ แสนคนก็ไม่ต้องตายในรอบ ๘
ปีที่ผ่านมา
มีเป้าหมายหรือระเบียบการเมืองการทหารใดในโลกสำคัญมากพอที่จะสละชีวิตเด็ก
๕ แสนคนหรือ ?
เอกอัครราชทูตไทยประจำสหประชาชาติ
รัฐมนตรีว่าการและช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศ และทูต ยูนิเซฟประจำประเทศไทย คุณอานันท์ ปันยารชุน
ได้รับรู้โศกนาฎกรรมต่อเด็กบริสุทธิ์เหล่านี้อันเกิดจากฝีมือ อภิมหามิตรอเมริกาหรือไม่ ? ท่านได้ทำอะไรเพื่อแก้ไขมันบ้างหรือเปล่า ?
แต่มโนธรรมของคนบนโลกไม่ได้บอดใบ้ไปเสียหมด จึงปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ผู้ดำรงตำแหน่ง ผู้ประสาน
งานความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมของสหประชาชาติประจำอิรัก ซึ่งเห็นความจริงในสนามคาตา พากันประท้วง
และทยอยลาออกคนแล้วคนเล่า
เพราะมิอาจทนดูชะตากรรมของเด็กอิรักที่ถูกฆ่าหมู่ทางอ้อมด้วยมาตรการคว่ำ
บาตรของสหประชาชาติเอง
และความขาดพร่องไม่พอเพียงของโครงการน้ำมันเพื่ออาหารที่จะช่วยเด็กเหล่านี้ได้
คนแรก เดนิส ฮอลลิเดย์
ผู้ช่วยเลขาธิการสหประชาชาติชาวไอริช ลาออกจากตำแหน่งผู้ประสานงานฯ เมื่อกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๑
หลังจากแถลงโจมตีนโยบายคว่ำบาตรอิรักอย่างเผ็ดร้อนรุนแรงว่า
การคว่ำบาตรเป็นแนวคิดที่ล้มละลายแล้ว
เพราะมันทำร้ายประชาชนผู้บริสุทธิ์และเผลอ ๆ ก็อาจกลับ
ไปเสริมผู้นำอิรักให้เข้มแข็งขึ้นอีกด้วยซ้ำไป !
เขาวิเคราะห์และเปิดโปงประณามเอกสารสรุปสถานการณ์อิรักที่จัดทำเผยแพร่โดยกระทรวงต่างประ
เทศอเมริกันว่าเป็น ขยะตั้งแต่ต้นจนจบ
แล้วสาปส่งว่า
ประวัติศาสตร์จะล้างผลาญพวกที่รับผิดชอบต่อเรื่องนี้
ผู้เข้ารับตำแหน่งผู้ประสานงานฯ
ประจำอิรักสืบแทน เดนิส ฮอลลิเดย์ คือ ฮันส์ ฟอน สปอเน็ค นักการ ทูตชาวเยอรมัน และก็เช่นกัน เพียงชั่ว ๑ ปี ๗
เดือนให้หลัง เขาก็ประกาศลาออกตามไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ศกนี้
หลังจากดวงตาเห็นธรรมบรรลุข้อสรุปว่า
การคว่ำบาตรอิรักไม่ได้เรื่อง มิหนำซ้ำกลับก่อ โศกนาฎกรรมของมนุษยชาติโดยแท้
ขึ้นมา
โครงการน้ำมันเพื่ออาหารของสหประชาชาติไม่สามารถสนองตอบความจำเป็นขั้นต่ำสุดของชาวอิรัก
เขาเรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงฯ แยกประเด็นการช่วยเหลือประชาชนธรรมดาชาวอิรักออกจาก ประเด็นการเมืองเรื่องปลดอาวุธระบอบซัดดัม ฮุสเซน
และเลิกล้มการคว่ำบาตรอิรักเสีย!
สปอเน็ค อธิบายขยายความว่า :-
ในฐานะเจ้าหน้าที่สหประชาชาติ
ไม่ควรที่ใครจะคาดหวังให้ผมหุบปากนิ่งเฉยต่อสิ่งซึ่งผมตระหนักว่า
เป็นโศกนาฏกรรมของมนุษยชาติโดยแท้ที่ต้องหาทางยุติมันเสีย
เราได้รับอนุมัติวงเงินสำหรับช่วยเหลือชาวอิรักแค่
๑๘๐ ดอลล่าร์สหรัฐฯ ต่อหัวตลอด ๖ เดือน ข้าว ของทุกอย่างต้องมาจากเงินก้อนนี้
ทั้งอาหาร น้ำ สุขภาพ พลังงาน
คนเราจะมีชีวิตปกติสุขด้วยเงินแค่นั้นยังไง ไหว ? มันเป็นไปไม่ได้เลย
วิทยาลัยครูจะมากจะน้อยก็เรียกได้ว่าเจ๊งหมดแล้ว ทุกอย่างชะงักหมดไม่ว่าในระดับมหาวิทยาลัยหรือ
ชั้นประถมก็ตาม
โดยเฉพาะโรงเรียนประถมและมัธยมนั้นอยู่ในสภาพที่แย่มาก
การคว่ำบาตรไม่ใช่สาเหตุเดียวที่ทำให้อิรักทุกข์ยากเดือดร้อน แต่มันก็ก่อความฉิบหายในขั้นมูลฐาน
บอกได้เลยว่าต่อให้เลิกคว่ำบาตร ลู่ทางข้างหน้าในระยะใกล้ก็ไม่ดีแน่ ๆ
จะให้ประชาชนพลเรือนชาวอิรักซึ่งเป็นผู้บริสุทธิ์โดยสิ้นเชิงต่อกรณีทั้งหมดที่เกิดขึ้นต้องทนรับการลง
โทษในสิ่งที่พวกเขาไม่เคยทำเลยไปอีกนานสักเพียงใด ?
เราต้องเริ่มหาทางยุติโศกนาฏกรรมของผู้คนที่นี่โดยเร็ว มิฉะนั้น สายใยสังคมก็จะแตกสลายอย่างเร่ง
เร็วยิ่ง แล้วในที่สุดเรานั่นแหละจะเป็นฝ่ายต้องจ่ายราคาซึ่งแพงหูฉี่กว่าที่เราอยากเห็นชาวอิรักจ่ายตอนนี้มาก
แล้วกับผลทางการเมืองการทหารจากการคว่ำบาตรที่คาดหมายไว้เล่า
?
ในแง่การเมือง
แทนที่ระบอบซัดดัม ฮุสเซนจะอ่อนแอลง กลับปรากฎว่าฝ่ายต่อต้านซัดดัมต่างหากที่
อ่อนเปลี้ยเพลียแรง
ขณะที่ประชาชนอิรักส่วนใหญ่ก็ยิ่งสิ้นไร้อำนาจต่อรองกว่าก่อน
ในแง่การทหาร
อดีตเจ้าหน้าที่องค์การตรวจตราอาวุธอิรักแห่งสหประชาชาติ (UNSCOM) เช่น ริชาร์ด บัตเล่อร์ และ สก็อต
ริตเตอร์ ต่างกล่าวว่าระบอบซัดดัม ฮุสเซนได้ถูกปลดอาวุธมหาประลัย (weapons
of mass destruction) ไปแล้ว
ไม่มีเหตุผลใดจะคงการคว่ำบาตรอิรักทางเศรษฐกิจไว้ต่อไป เว้นแต่อเมริกาไม่ต้องการเริ่มลดอาวุธมหา
ประลัยของประเทศพันธมิตรและลูกค้าอาวุธของตนในตะวันออกกลางอาทิ อิสราเอลและตุรกี
บ้างตามข้อกำหนด ต่อเนื่องในมติคณะมนตรีความมั่นคงที่ ๖๘๗ ว่าด้วยอิรัก
ด้วยเหตุนี้ ผู้นำโดดเด่นระดับโลกเช่น
อดีตประธานาธิบดี เนลสัน มันเดลาและสาธุคุณ บิชอป เดสมอน ตูตู แห่งแอฟริกาใต้
จึงพากันประกาศคัดค้านการคว่ำบาตรอิรักของสหประชาชาาติอย่างเปิดเผย
ล่าสุด
ภายใต้แรงกดดันของข้อมูลความจริงและเสียงประท้วงเรียกร้องของเจ้าหน้าที่ใต้บังคับบัญชา
นาย โคฟี อันนาน
เลขาธิการสหประชาชาติ
ก็ถึงแก่แถลงตั้งข้อสงสัยการคว่ำบาตรอิรักต่อที่ประชุมคณะมนตรีความ มั่นคงฯ เมื่อ
๒๔ มี.ค. ศกนี้เองว่า
โครงการน้ำมันเพื่ออาหารของสหประชาชาตินั้นช่วยบรรเทาทุกข์พลเรือนอิรักได้บ้าง
แต่กระนั้นความ ต้องการที่จำเป็นของพวกเขาก็ยังมิได้รับการตอบสนอง
สหประชาชาติอยู่ข้างผู้ล่อแหลมต่อภยันตรายและผู้อ่อนแอเสมอมา
และก็พยายามหาทางบรรเทาทุกข์ คนเหล่านั้นเสมอมาด้วย แต่กระนั้น
บัดนี้เราก็กำลังถูกกล่าวหาว่าบันดาลความทุกข์ยากให้แก่ประชากรทั้งประ เทศ เรากำลังจวนเจียนจะเถียงแพ้
หรือปราชัยในสงครามโฆษณาชวนเชื่อ - ถ้ามิใช่แพ้ไปเรียบร้อยแล้ว - ว่าใคร รับผิดชอบต่อสถานการณ์ในอิรักกันแน่
- ประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน หรือ สหประชาชาติ
รัฐบาลอเมริกันตอบโต้เสียงทัดทานทวนกระแสเหล่านี้ด้วยการป้ายสีประณามผู้คัดค้าน
เช่น นาย สปอเน็ค อย่างดุร้ายสาดเสียเทเสีย
ยืนกรานนโยบายคว่ำบาตร
ออกข่าวโจมตีอิรัก และใช้ฐานะครอบงำของตน ในคณะ
กรรมการคว่ำบาตรของสหประชาชาติเตะถ่วงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมตามโครงการน้ำมันเพื่อ
อาหารแก่อิรักทุกวิถีทาง
ขณะนี้มีสัญญาซื้อขายสินค้าตาามโครงการดังกล่าว ๑,๐๐๐ ฉบับ
มูลค่า ๑,๕๐๐ ล้าน ดอลล่าร์สหรัฐฯ
ถูกอเมริกาแขวนไว้ไม่มีกำหนด
ทำให้เวชภัณฑ์มูลค่า ๑๕๐ ล้านดอลล่ารฯ และอาหารอีกมาก
ตกค้างไม่ถึงมือชาวอิรัก
รวมทั้งชิ้นส่วนเครื่องจักรอุปกรณ์สำหรับอุตสาหกรรมน้ำมันอิรักซึ่งตกอยู่ในสภาพทรุด
โทรมย่ำแย่ด้วย
เป็นที่น่าสังเกตว่าเสียงต่อต้านการคว่ำบาตรอิรักกำลังดังขรมมาจากทั่วสารทิศ
ไม่เว้นแม้แต่ในคณะ
มนตรีความมั่นคงฯเอง
ในการอภิปรายเรื่องอิรักครั้งล่าสุด
ผู้แทนมาเลเซียซึ่งเป็น ๑ ใน ๑๐ สมาชิกประเภทไม่ ถาวรของคณะมนตรีฯ
ได้ร่วมแถลงคัดค้านการคว่ำบาตรด้วยเหตุผลว่าไม่ถูกต้องเป็นธรรมที่จะสาปส่งคนอิรักทั้ง
ประเทศให้ตกอยู่ในภาวะยากจนขัดสนเช่นนี้
เพื่อนบ้านภาคีสมาชิกอาเซียนได้แสดงความกล้าหาญทางจริยธรรมออกมาในเวทีโลกแล้ว ไม่ทราบว่า ฯพณฯ รัฐมนตรีต่างประเทศ
สุรินทร์ พิศสุวรรณ ผู้นับถือพระเจ้าองค์เดียวกับเด็กอิรักส่วนใหญ่ที่ตายก่อนวัยอัน
ควรทั้ง ๕ แสนคน
จะว่าอย่างไร ?