บทที่ 5
ผลการดำเนินงาน
ความเป็นมาศูนย์เด็กกำพร้าและยากจนอนาถาบ้านสุไหงปาแน
จากอดีตเมื่อ 21
ปีก่อน มีกลุ่มมุสลิมะฮ์กลุ่มหนึ่งกำลังศึกษาอยู่ในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นส่วนใหญ่เป็นผู้ยากลำบาก
แต่มีจิตสำนึกของคนซึ่งรู้ค่าของการศึกษา โดยเฉพาะการศึกษาทางด้านศาสนา กลุ่มเหล่านั้นก็ได้ต่อสู้ชีวิตพึ่งตนเองในการเล่าเรียนจนสำเร็จและได้มีความคิดที่อยากจะช่วยผู้ด้อยโอกาสในชุมชน
ต่อมาเขาเหล่านั้นได้จบการศึกษาและได้กลับมาทำงานในชุมชนก็ยิ่งเห็นสภาพปัญหาของ
ผู้ด้อยโอกาส และความคิดเหล่านั้นค่อยๆ กระจ่างชัดขึ้น
อาจารย์มัรยัม
แมะตีเมาะ (สาเมาะ) ได้ตระหนักและคิดเรื่องดังกล่าวปีแล้วปีเล่าจนมีการนัดแนะประชุมกันในกลุ่มมุสลิมะฮฺ
เพื่อหาแนวทางที่จะสร้างศูนย์เด็กกำพร้าและยากจนอนาถา เนื่องจากการศึกษาแต่ละคนไม่เหมือนกันและนำไปสู่ความชำนาญการไม่เหมือนกัน
สำหรับอาจารย์มัรยัม จบด้านอูซูลลุดดีน (พื้นฐานอิสลาม) และสังคม จึงชอบในด้านการเผยแพร่และออกสู่สังคมในขณะที่ท่านกำลังสอนโรงเรียนศาสนา
อาทิเช่น โรงเรียนสตรีพัฒนศึกษาวิทยา โรงเรียนจงรักสัตย์วิทยา โรงเรียนอิสลามสายบุรีวิทยา
และอื่นๆ ต่อมาท่านได้ลาออกมาสอนศาสนาตามหมู่บ้านต่างๆ แก่กลุ่มแม่บ้านจำนวน 23
ชุมชน พบว่าครอบครัวส่วนใหญ่ยากจนและขาดที่พึ่ง เด็กส่วนใหญ่ขาดการศึกษา ทั้งด้านศาสนาและวิชาสามัญ
จึงมีความคิดที่จะก่อตั้งศูนย์เด็กกำพร้าและยากจนอนาถา โดยตัวแทนชุมชนทั้ง 23 ชุมชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
ประกอบไปด้วย
1. ชุมชนในจังหวัดสงขลาจำนวน 1 ชุมชน คือบ้านลำเปา
2. ชุมชนในจังหวัดยะลาจำนวน 1 ชุมชน คือบ้านสะเตง
3. ชุมชนในจังหวัดปัตตานีจำนวน 21 ชุมชน คือ บ้านกูวิง บ้านบางปู บ้านบางปูตะอาวุน
บ้านบางปูยีโอ๊ะ บ้านบาลาดูวอ บ้านยามู (ยะหริ่ง) บ้านหวายขม บ้านบูดี บ้านซีเดะ
บ้านกะมิยอ บ้านปาเระ บ้านกรือเซะ บ้านอาเนาะเยาะ บ้านกาเระ บ้านเจาะกีแย บ้านพงตารง
บ้านยูโย บ้านบ่อทอง บ้านคลองช้าง ชุมชนโรงเรียนสตรีพัฒนศึกษา และบ้านบานา
ในครั้งแรกก็มีการปฏิเสธจากเพื่อนๆ
ว่า เราคงทำไม่ได้หากทุกอย่างฟรี เพราะเราจะเอาค่าใช้จ่ายมาจากไหน และมีบางคนตอบว่า
หากทำได้ครึ่งทางแล้วต่อมายกเลิก ก็อายแก่สังคมที่กำลังมองเราอยู่ แต่อาจารย์มัรยัม
ก็ตอบว่า เราลองพิจารณาดูว่าเราทำเพื่อใคร ถ้าเราทำเพื่อคนแล้วมาหยุดกลางทางเรา
ก็อายคน แต่ถ้าเราทำเพื่ออัลลออฮ ถึงแม้ว่าเราจะหยุดกลางทางเราก็ไม่อายใคร เพราะความสามารถ
ในตัวเราก็มาจากอัลลอฮ ในเมื่อเราทำจนสุดความสามารถแล้วถือว่าเราทำสำเร็จแล้ว
และ ไม่มีมนุษย์คนใดที่ทำงานได้เกินความสามารถของตนเอง พอเพื่อนได้ยินดังนั้นก็เลยเงียบ
ตกลงทุกคนอยากลองทำ
ปี พ.ศ. 2527 จึงเป็นปีของการรวมตัวของสตรีที่สำเร็จการศึกษาภาควิชาสามัญและภาควิชาศาสนาอย่างเป็นรูปธรรม
ที่กลับมารับใช้สังคมในท้องถิ่น และการรวมตัวกลุ่มมุสลิมะฮฺ เริ่มแรก 7 คน เพื่อก่อตั้งศูนย์เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
ณ โรงเรียนสตรีพัฒนศึกษา บ้านกรือเซะ เป็นศูนย์เด็กเล็กก่อนวัยเรียน อายุ 2-5 ขวบ
เพื่อพัฒนาทักษะการอยู่ร่วมกันในสังคมที่หลากหลายวัฒนธรรม
ปี พ.ศ. 2533 ได้ก่อตั้งศูนย์เด็กเล็กก่อนวัยเรียนขึ้นมา
ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 45 หมู่ 1 ตำบลบานา อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ปัจจุบันมีอนุชนเข้าร่วมโครงการจำนวนกว่า
180 คน และในปีเดียวกันนี้เองได้ก่อตั้งศูนย์เด็กกำพร้าและยากจนอนาถา จนมีเยาวชนเข้าร่วมโครงการจำนวน
372 คน โดยเน้น การพัฒนาอาชีพและความรู้ขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตที่มีความสุขในชุมชน
เพื่อเป็นประชากรที่ดีของชาติ ต่อไป
ปี พ.ศ. 2535 จัดตั้งศูนย์ฝึกวิชาชีพสตรีผู้ด้อยโอกาสในชนบท
โดยขอสนับสนุนจากหน่วยงานของภาครัฐและภาคเอกชนและได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนเพื่อสังคม
(Social Invesment Fund)
ปี พ.ศ. 2536 จัดตั้งศูนย์พัฒนามุสลิมใหม่
อบรมศาสนาวันอาทิตย์และวันจันทร์ทุกๆ สัปดาห์
ปี พ.ศ. 2537 จัดตั้งสหกรณ์อัล-อัยตาม
จำหน่ายผลิตภัณฑ์มุสลิมและเสื้อผ้าพื้นเมืองที่เป็นผลผลิตของศูนย์เด็กกำพร้า และสตรีผู้ด้อยโอกาสในชนบท
ปี พ.ศ. 2545 ศูนย์เด็กกำพร้าฯ
เข้าร่วมโครงการมหาวิชชาลัยชุมชนปักษ์ใต้เป็นเครือข่ายสวัสดิการเด็กกำพร้ายากจนและเด็กยากจนอนาถาในชนบท
ศูนย์เด็กกำพร้าฯ
ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนเป็นอย่างดี ทั้งการสนับสนุนทางด้านกำลังใจ
กำลังทรัพย์ กำลังความคิด ทำให้คณะทำงานมีกำลังใจในการอุ้มชูผู้ด้อยโอกาสในชนบทและกำลังดำเนินการจัดตั้งศูนย์เด็กกำพร้าฯ
เป็นมูลนิธิเพื่อเด็กกำพร้าต่อไป
ในกลุ่มมุสลิมะฮฺหรือสตรีมุสลิมส่วนใหญ่
ไม่ค่อยได้มีโอกาสในการศึกษาหาความรู้มากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับมุสลิมีน หรือชายมุสลิมซึ่งมีโอกาสมากกว่า
ครอบครัวในชนบทส่วนใหญ่จะนิยมให้ ลูกสาวแต่งงานก่อนวัยอันควร ซึ่งจะเป็นภาระต่อสังคมในอนาคต
จากเหตุการณ์ดังกล่าวมุสลิมะฮฺที่ได้รับการศึกษา จึงรวมตัวเพื่อช่วยมุสลิมะฮฺรุ่นน้องที่อยู่ตามชนบท
การเปิดศูนย์เด็กกำพร้าและยากจนอนาถาบ้านสุไหงปาแน
มีจุดประสงค์ทั่วไป คือ นำหลักการศาสนามาปฏิบัติให้เป็นจริง แสวงหาความโปรดปรานจากอัลลอฮฺ
(ซบ.) จัดอบรมวิชาอาชีพในชีวิตประจำวัน ฝึกทักษะในการอยู่ร่วมกันในสังคมเพื่อเป็นแบบอย่างแก่สังคมทั่วไป
ส่วนวัตถุประสงค์เฉพาะ คือ จัดตั้ง ศูนย์เด็กกำพร้าและยากจนอนาถาและมูอัลลัฟฟาต
ศึกษาภาคฟัรดูอีน ฝึกทักษะในการประกอบอาชีพ ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทั้งหลาย ซึ่งหลัก
ๆ แล้ว มีอยู่ 3 กลุ่ม คือ
1. เด็กกำพร้ายากจน ซึ่งประกอบด้วยเด็กกำพร้าทั้งพ่อและแม่
หรือกำพร้าพ่อ หรือกำพร้าแม่
2. เด็กยากจนอนาถา เป็นเด็กที่มาจากครอบครัวที่มีรายได้น้อยไม่เพียงพอ
3. มุสลิมใหม่ (มูอัลลัฟฟาต) คือ บุคคลที่เข้ารับอิสลามเป็นแนวทางศรัทธา
ทางศูนย์เด็กกำพร้าฯ จะให้ที่พักพิง และให้ความรู้เกี่ยวกับศาสนา
โดยสรุปแล้ว ศูนย์เด็กกำพร้าและยากจนอนาถาบ้านสุไหงปาแน
มีวิวัฒนาการเติบโตด้วยแรงสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกแหล่งต่างๆ รวมเป็นกองทุนที่สร้างอาคารและสถานที่
จำนวนเงิน ทั้งสิ้น 2,822,000บาท ตามลำดับปฏิทิน ดังนี้
ปี พ.ศ. 2527 มีปัญหาด้านทุนที่จะก่อตั้งศูนย์ฯ
ปี พ.ศ. 2524 - 2532
ขายความคิดการจัดตั้งศูนย์เด็กกำพร้ายากจนและยากจนอนาถา ในวงเพื่อน ที่สนิทและจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินการชุดแรกจำนวน
9 คน
ปี พ.ศ. 2533 ระดมทุนซื้อที่ดินเนื้อที่
7.5 ไร่จากคณะกรรมการ จำนวน 9 คน คนละ 20,000 บาท ในรูปกู้ยืม, ได้รับบริจาคจำนวน18,000
บาทและรวมเงินทุนของศูนย์เด็กเล็กด้วย (1) คณะกรรมการจะให้กู้ยืมและบริจาค (2)
การขอบริจาคจากผู้อื่น รวมทั้งสิ้น 425,000 บาท
ปี พ.ศ. 2534 ขอบริจาคสร้างโรงครัวจากกรุงเทพฯ
จำนวนเงิน 87,000 บาท ขอบริจาคสร้างบ้าน พักครูจากประเทศสิงคโปร์ และขอบริจาคสร้างห้องประชุมจากชมรมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย
ปี พ.ศ. 2535 จัดงานเลี้ยงน้ำชาสร้างอาคารเรียน
4 ห้อง จำนวนเงิน 300,000 บาท
ปี พ.ศ. 2540 ขอบริจากซะกาตและสมทบสร้างหอพัก
จำนวนเงิน 1,200,000 บาท
ปี พ.ศ. 2541 ขอบริจาคสร้างรั้วรอบๆ
ศูนย์เด็กกพร้าฯ จำนวนเงิน 300,000 บาท ได้รับเงินสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนเพื่อสังคม
(SIF) เพื่อฝึกอาชีพตัดเย็บ เลี้ยงปลา และเลี้ยงเป็ด จำนวน เงิน 531,000 บาท
ปี พ.ศ. 2542 ได้รับบริจาคสร้างบ้านพักมูอัลลัฟ
จำนวนเงิน 80,000 บาท
ปี พ.ศ. 2543 ได้รับบริจาคสร้างห้องน้ำและส้วมจำนวนเงิน
100,000 บาท
การบริหารงบประมาณของศูนย์เด็กกำพร้าและยากจนอนาถาบ้านสุไหงปาแน
หลังจากศูนย์เด็กกำพร้าฯ
ได้ก่อตั้งจนมีหลักฐานมั่นคงในสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ที่พร้อมแล้ว หน้าที่อีกอย่างที่คณะกรรมการศูนย์เด็กกำพร้าฯ
ต้องดำเนินการคือจัดหางบประมาณเพื่อ หล่อเลี้ยงเด็กๆ ภายในศูนย์เด็กกำพร้าฯ ด้วยภาระอันหนักอึ้ง
แต่ร่วมกันทำด้วยความเต็มใจยิ่ง ซึ่งสามารถอธิบายที่มาของรายรับ และการใช้จ่ายงบประมาณด้วยตารางดังนี้
รายรับของศูนย์เด็กกำพร้าฯ
รายการ
|
บประมาณต่อปี
(บาท) |
การบริจาคซะกาตของชุมชนจากในประเทศและต่างประเทศ | 100,000.- |
การบริจาคตามอัธยาศัยของผู้มีจิตศรัทธาจากในประเทศและต่างประเทศ ในรูปของอาหาการกิน เช่น ผลไม้ ปลา ไก่ เนื้อ ไข่ บูดู และอื่นๆ | 120,000.- |
การบริจาคของคณะผู้ที่มาเยี่ยม | 250,000.- |
ผลกำไรขายผลิตภัณฑ์จากศูนย์ที่ศูนย์ได้ลงทุน หรือผลงานที่เด็กๆ ผลิตออกมา | 40,000.- |
ผลกำไรจากชุดนักเรียนเด็กเล็กที่เด็กๆที่เป็นผู้ตัดเย็บ | 30,000.- |
รวมรายรับทั้งสิ้น |
540,000.- |
รายจ่ายของศูนย์เด็กกำพร้าฯ
รายการ
|
บประมาณต่อปี
(บาท) |
ค่าอาหาร ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าตอบแทนน้ำใจผู้ช่วยเหลืองานของศูนย์ เด็กกำพร้าฯ | 480,000.- |
ค่าการจัดการงาน จำนวน 7 ฝ่ายๆ ละ 3,000 บาท | 21,000.- |
ค่าใช้จ่ายการไปเยี่ยมชุมชน ค่าน้ำมันไปรับสิ่งของ และค่าสมนาคุณคนขับรถ | 39,000.- |
รวมรายจ่ายทั้งสิ้น |
540,000.- |
จะเห็นได้ว่ารายรับและรายจ่ายของศูนย์เด็กกำพร้าฯ เป็นงบประมาณสมดุล จะมีงบประมาณ คงเหลือหรือจะขาดดุลก็ด้วยค่าใช้จ่ายแปรผันในรายการ ค่าใช้จ่ายการไปเยี่ยมชุมชน ค่าน้ำมันไปรับสิ่งของ และค่าสมนาคุณคนขับรถ
จำนวนนักเรียนและบุคลากรของศูนย์เด็กกำพร้าและยากจนอนาถาบ้านสุไหงปาแน
นับตั้งแต่การจัดตั้งศูนย์เด็กกำพร้าฯ
เมื่อปี 2533 จนถึงปี 2544 (12 ปี) ได้ดำเนินการช่วยเหลือเด็กที่ด้อยโอกาส รวมทั้งมุสลิมใหม่
รวมแล้ว 421 คน เฉลี่ยรับมาอนุเคราะห์ปีละ 35 คน จบจากศูนย์เด็กกำพร้าฯ ไปแล้ว
239 คน คิดเป็นร้อยละ 56.77 ยังคงอยู่ในความดูแลของศูนย์เด็กกำพร้าฯ 182 คน คิดเป็น
ร้อยละ 43.23 สามารถจำแนกเป็นรายปีได้ดังนี้
ปี |
เด็กกำพร้า(คน) |
เด็กยากจน(คน) |
มุสลิมใหม่
(มุอัลลัฟ)(คน) |
รวมทั้งสิ้น(คน)
|
จบการศึกษา(คน) |
2533
|
4 |
21 |
- |
25 |
- |
2534 |
3
|
22 |
- |
25 |
- |
2535 |
6 |
20 |
- |
26 |
- |
2536 |
2
|
40 |
- |
42 |
2 |
2537 |
3 |
35 |
- |
38 |
- |
2538 |
5 |
24 |
- |
29 |
2 |
2539 |
10 |
27 |
- |
37 |
55 |
2540 |
10 |
29 |
6 |
45 |
87 |
2541 |
12 |
24 |
6 |
42 |
132 |
2542 |
5 |
22 |
1 |
28 |
165 |
2543 |
20 |
38 |
6 |
64 |
200 |
2544 |
10 |
10 |
- |
20 |
239 |
รวม |
90 |
312 |
19 |
421 |
ศูนย์เด็กกำพร้าและยากจนอนาถาบ้านสุไหงปาแน
มีบุคลากรในปัจจุบันทั้งสิ้น 12 คน เมื่อเทียบ ดูสัดส่วนแล้ว บุคลากรของศูนย์เด็กกำพร้าฯ
คนหนึ่ง ต้องดูแลเด็กที่ด้อยโอกาสและมุสลิมใหม่ที่รับมาอนุเคราะห์15 คน โดยมีรายชื่อบุคลากร
ดังนี้
1. นางมัรยัม สาเมาะ ประธานศูนย์เด็กกำพร้าและยากจนอนาถาบ้านสุไหงปาแน
2. นางสาวฟาตือเมาะ สตาปอ ครูประจำศูนย์เด็กกำพร้าและยากจนอนาถาบ้านสุไหงปาแน
3. นางสาวรอสเมาะ อะมัด ครูประจำศูนย์เด็กกำพร้าและยากจนอนาถาบ้านสุไหงปาแน
4. นางสาวมารียัม สอและ ครูประจำศูนย์เด็กกำพร้าและยากจนอนาถาบ้านสุไหงปาแน
5. นางสาวนูรียะห์ เจ๊ะอูเซ็ง ครูประจำศูนย์เด็กกำพร้าและยากจนอนาถาบ้านสุไหงปาแน
6. นางฮาซีบะ กริยา ครูประจำศูนย์เด็กกำพร้าและยากจนอนาถาบ้านสุไหงปาแน
7. นางสาวซาอีดะ หะหมัด ครูประจำศูนย์เด็กกำพร้าและยากจนอนาถาบ้านสุไหงปาแน
8. นางฮาลูมา อิแอ ครูประจำศูนย์เด็กกำพร้าและยากจนอนาถาบ้านสุไหงปาแน
9. นางสาวไซนับ แวสะมะแอ ครูประจำศูนย์เด็กกำพร้าและยากจนอนาถาบ้านสุไหงปาแน
10. นางสาวนูรีดา ยานยา ครูประจำศูนย์เด็กกำพร้าและยากจนอนาถาบ้านสุไหงปาแน
11. นางสาวฟารีดะ สาแล(ศิษย์เก่า) ครูประจำศูนย์เด็กกำพร้าและยากจนอนาถาบ้านสุไหงปาแน
12. นางสาวไซตูน แวอาแซ(ศิษย์เก่า)ครูประจำศูนย์เด็กกำพร้าและยากจนอนาถาบ้านสุไหงปาแน
โครงสร้างการบริหารศูนย์เด็กกำพร้าและยากจนอนาถาบ้านสุไหงปาแน
การบริหารงานของศูนย์เด็กกำพร้าฯ
แบ่งออกเป็น 9 ฝ่าย (ตามแผนภูมิ) โดยแต่ละฝ่ายมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. ฝ่ายปกครอง มีผู้รับผิดชอบ 2 คน คือ หัวหน้าและรองหัวหน้า รับผิดชอบเกี่ยวกับการเข้าออกของเด็กในศูนย์เด็กกำพร้าฯ เมื่อมีธุระข้างนอกหรือออกไปซื้อจับจ่ายซื้อสิ่งของจำเป็นต่างๆ ในตลาด การลา กลับบ้าน และหน้าที่อันสำคัญอีกอย่างคือ เรื่องอาหารการกินในแต่ละวัน ฝ่ายนี้จะมีการกำหนดเมนูอาหาร ในแต่ละวัน แต่ละเดือน ทำหน้าที่ในการรับสมัครนักเรียนใหม่ รับแขกหรือผู้มาติดต่อภายในศูนย์เด็กกำพร้าฯ และรวมทั้งมีอำนาจและสิทธิในการตักเตือนและอบรมเด็กๆ อย่างสม่ำเสมอโดยอาศัยโอกาสหลังจากการละหมาดทั้ง 5 เวลา
2. ฝ่ายวิชาการ มีผู้รับผิดชอบ 2 คน ทำหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเรียนการสอน ตั้งแต่การ จัดหาหนังสือ จัดทำสื่อต่างๆ จัดหาทุนการศึกษาให้แก่นักเรียน จัดการประเมินผลการเรียนการสอน 4 ครั้งต่อปี กำหนดกติกาให้กับนักเรียนเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย อย่างเช่น ทุกคนต้องแต่งเครื่องแบบ ในเวลาเรียน จัดให้มีสมาชิกสภานักเรียนคุมแถวมีการเช็ครายชื่อผู้ที่ไม่เข้าเรียน จัดกลุ่มในเวลาเรียน อัล-กุรอาน มีการประชุมหัวหน้าห้องเรียนเดือนละครั้ง เก็บเงินผู้ที่ไม่รับผิดชอบหนังสือเรียน จนทำให้หนังสือชำรุดหรือสูญหาย กำหนดเวลาสำหรับคนทำครัวสามารถเข้าเรียนสายได้ไม่เกิน 10 นาที จัดให้มีการทำตะลีม ทุกวันอาทิตย์ จัดให้มีการเจอราเมาะ ทุกวันเสาร์ที่หนึ่งของเดือนอิสลาม โดยอาจชักชวนผู้รู้ จากภายนอกศูนย์เด็กกำพร้าฯ มาเข้าร่วมกิจกรรม จัดให้มีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนอ่านข่าวในช่วงเช้า จัดการให้โอวาทหลังละหมาดมัฆริบ โดยให้นักเรียนชั้นปีที่ 3 และปีที่ 4 ซึ่งโอกาสดังกล่าวนี้ เป็นการอรรถาธิบายความหมายในอัล-ฮะดิษ จัดการเรียนการสอนกีรออาตี (อัล-กุรอานขั้นพื้นฐาน) โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมืองปัตตานีทุกวันศุกร์ และ กิจกรรมที่จะขาดเสียไม่ได้ คือ การจัดค่ายอบรมเยาวชนจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ปีละ 2 ครั้ง เป็นกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายหลังจากที่เคร่งเครียดจากการเรียนการสอนมาตลอดทั้งปี ซึ่งอาจจะจัดกิจกรรมนันทนาการให้แก่เด็กด้วยการนำไปทัศนศึกษาในสถานที่ท่องเที่ยวตามชายทะเลหรือน้ำตก
3. ฝ่ายพลานามัย มีผู้รับผิดชอบ 1 คน ทำหน้าที่เกี่ยวกับสุขภาพและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ก่อนที่จะส่งโรงพยาบาล ดูแลเกี่ยวกับอาหารการกินว่าถูกต้องตามหลักโภชนาการหรือไม่ ดูแลความสะอาดระหว่างการทำอาหาร ติดต่อขอยาสามัญประจำบ้าน จัดทำบัตรทอง ดูแลกฎระเบียบในการใช้ห้องพยาบาล ด้วยการออกบัตรเยี่ยมผู้ป่วยในห้องพยาบาล ทำโทษสำหรับคนที่นำขนมมากินในห้องพยาบาล ออกบัตรอนุญาตทุกครั้งเมื่อไปรับยาที่สถานีอนามัย สำหรับผู้ป่วยหนักจะนำส่งบ้านแม่ (อุมมี)มัรยัม สาเมาะ มีการ อมฟลูออไรน์ป้องกันฟันผุ ดูแลให้ทุกคนต้องมีผ้าขนหนู และห้ามใช้เสื้อผ้ารวมกัน ทำโทษคนที่เอาผ้าขนหนูคนอื่นไปอาบน้ำ เลือกพี่เลี้ยงให้กับน้องใหม่ ต้อนรับน้องใหม่ ทุกคนต้องดูแลความสะอาดตนเองไม่ให้มี กลิ่นตัว รวมทั้งเป็นฝ่ายที่สนับสนุนการเล่นกีฬาต่างๆ เช่น เป็นผู้นำคณะออกกำลังกายทุกเช้า ทำโทษสำหรับคนที่ไม่ไปออกกำลังกาย จัดระบบเซ็นชื่อสำหรับเบิกอุปกรณ์กีฬา ทำโทษสำหรับคนที่ไม่เก็บอุปกรณ์กีฬา
4. ฝ่ายปฏิคม มีผู้รับผิดชอบ 1 คน ทำหน้าที่เกี่ยวกับการติดต่อธุรการของโรงเรียน
5. ฝ่ายซ่อมแซม มีผู้รับผิดชอบ 1 คน มีหน้าที่ทำการซ่อมแซมสิ่งของต่างๆ ที่ชำรุด มีห้องเก็บพัสดุ มีควบคุมดูแลของพัสดุ นอกเหนือจากการซ่อมแซมแล้ว ยังต้องมีหน้าที่ในการเตรียมขันน้ำไว้ในอ่างเพื่อสะดวกในการอาบน้ำ เตรียมสถานที่ตากผ้าและผ้าขนหนู เตรียมห้องเพื่อตั้งของในห้องครัว รวมทั้งการดูแลเรื่องไฟฟ้า และการเพาะปลูกผักสวนครัว
6. ฝ่ายพัสดุ มีผู้รับผิดชอบ 1 คน ทำหน้าที่ดูแลสิ่งของทั้งหมดภายในศูนย์เด็กกำพร้าฯ ทำบัญชีและลงทะเบียนเกี่ยวกับครุภัณฑ์ทุกชิ้น
7. ฝ่ายศาสนกิจ
มีผู้รับผิดชอบ 2 คน มีหน้าที่ดูแลเรื่องการปฏิบัติศาสนกิจของเด็กๆ ซึ่งมี 2 กรณีด้วยกัน
7.1 ภาคบังคับ คือ
การละหมาด 5 เวลาทุกวัน และรำลึกถึงอัลลอฮฺ การละหมาด พร้อมกันนั้น จะมีการแบ่งครูเพื่อทำหน้าที่อิหม่าม
ในแต่ละเวลาดังนี้
ละหมาดซุบฮิ่ (รุ่งอรุณก่อนตะวันขึ้น) มีคุณนูรีดา ยานยา และคุณไซนับ แวสะมะแอ
เป็นผู้รับผิดชอบ
ละหมาดดุฮฺริ่
(เวลาบ่าย เมื่อเงาของวัตถุจนมียาวเท่าตัวของมันเอง) มีคุณรอปีอะ เป็นผู้รับผิดชอบ
ละหมาดอัศริ่
(เวลาบ่ายคล้อยจนกระทั่งก่อนตะวันลับขอบฟ้า) มีคุณฟาตือเมาะ สตาปอ เป็นผู้รับผิดชอบ
ละหมาดมัฆริบ
(เวลาที่ตะวันลับขอบฟ้า จนแสงสว่างหมดไปจากท้องฟ้า) มีคุณนูรียะห์ เจ๊ะอูเซ็ง เป็นผู้รับผิดชอบ
ละหมาดอีชา
(เวลาที่ฟ้ามืดมิดจนถึงเที่ยงคืน) มีคุณฮาซีบะ กริยา เป็นผู้รับผิดชอบ
7.2 ภาคสมัครใจ คือการส่งเสริมละหมาดกิยามุลลัยล์
(ละหมาดตอนดึก) กับการถือศีลอดในเดือนที่ไม่ใช่เดือนรอมฎอน
8. ฝ่ายการเงิน มีผู้รับผิดชอบ 2 คน มีหน้าที่ดูแลบัญชีรายรับรายจ่าย
9. ฝ่ายความสะอาด มีผู้รับผิดชอบ 1 คน มีหน้าที่ดูแลความสะอาดของศูนย์เด็กกำพร้าฯ รวมถึงที่พักและบริเวณสนาม กำหนดกติกาของฝ่ายทำความสะอาด โดยทุกๆ เช้าและตอนเย็นต้องมีการเข้าแถวเพื่อทำความสะอาดรวมร่วม ทุกๆ วันเสาร์ต้องตรวจสภาพไม้กวาด ตั้งตะกร้าขยะ ตั้งไม้กวาดให้เป็นที่ แขวนเสื้อผ้าตามที่กำหนดไว้ ตั้งรองเท้าบนที่วางรองเท้า เฉพาะคนที่ทำเวรในห้องครัวเสร็จแล้ว ต้องจัดอุปกรณ์การทำครัวให้เรียบร้อย จะมีการลงโทษสำหรับนักเรียนที่จัดชั้นเสื้อผ้าไม่เรียบร้อย จัดให้มีรางวัลสำหรับนักเรียนที่จัดชั้นเสื้อผ้าเรียบร้อยและที่ทำเวรสะอาด
นอกจากนี้ ยังมีฝ่ายที่เพิ่มเติมขึ้นจากเดิมอีก
2 ฝ่าย คือ
ฝ่ายสหกรณ์ มีผู้รับผิดชอบ 1 คน มีหน้าที่ดูแลสิ่งของในสหกรณ์
ระเบียบของฝ่ายสหกรณ์ ต้องไม่ซื้อขนมที่มีผงชูรสมาขาย มีสมุดบันทึกสำหรับผู้ที่ติดหนี้เพื่อใช้คืนให้ตรงตามเวลาที่กำหนด
สามารถติดหนี้ได้เฉพาะในสิ่งของที่จำเป็นเท่านั้น
ฝ่ายดูแลความปลอดภัย มีผู้รับผิดชอบ 1 คน มีหน้าที่ดูแลความปลอดภัย
เปิดและปิดประตู ที่พักและประตูกำแพงของศูนย์เด็กกำพร้าฯ ซึ่งเปิดเวลา 06.00 น.
และปิดเวลา 18.15 น. ให้มีการทำโทษคนที่กลับเข้ามาในศูนย์เด็กกำพร้าฯ สายกว่าที่เวลากำหนด
ทำโทษนักเรียนออกนอกบริเวณในเวลากลางคืน มีการแต่งตั้งฝ่ายรักษาความปลอดภัยในตอนกลางคืน
เพราะระยะหลังๆ มานี้ จะมีผู้ชายแปลกหน้าแอบมองจากนอกรั้วอยู่เป็นประจำ จึงต้องมีเวรยามในการตรวจตราความพร้อมและ
มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ดังนี้
คืนวันอาทิตย์ | คุณฟาตือเมาะ สตาปอ |
คืนวันจันทร์ | คุณไซนับ แวสะมะแอ |
คืนวันอังคาร | คุณนูรีดา ยานยา |
คืนวันพุธ | คุณนูรียะ เจ๊ะอูเซ็ง |
คืนวันพฤหัสบดี | คุณรอปีอะ |
คืนวันศุกร์ | คุณฮาซีบะ กริยา |
คืนวันเสาร์ | คุณซาอีดะ มูหัมหมัด |
นอกจากนี้ยังมีกติกาการอยู่ร่วมกันคือ ห้ามอาบน้ำตอนกลางคืน ทำโทษคนที่เปิดพัดลมเมื่อยังไม่ถึงเวลา ทำโทษคนที่อาบน้ำเกิน 10 ขัน ทำโทษคนที่ขึ้นดาดฟ้าตอนกลางคืน ให้มีการรีดเสื้อผ้าในวันพุธ โดยคิดค่าไฟฟ้า 1 บาท ต่อการใช้เตารีดทุกๆ 15 นาที หรือเก็บเงินค่าไฟเป็นรายเดือนๆ ละ 10 บาทต่อคน ทำโทษคนที่เล็บยาว ทำโทษคนผมสั้น ทำโทษคนที่นอนไม่เป็นที่
กฎเกณฑ์ต่างๆ
ที่ควรรู้
1. วันและเวลาเปิดรับสมัคร
1.1 ศูนย์เด็กกำพร้าฯ
เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 15 เดือนชะบานของทุกๆ ปี เป็นเวลา 1 วัน
1.2 ศูนย์เด็กกำพร้าฯ
เปิดรับสมัครจำนวน 25 คนต่อปี
2. คุณสมบัติต่างๆ ที่จะมาสมัคร
2.1 ต้องเป็นเพศหญิง
2.2 ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า
13 ปี หรือจบระดับประถมศึกษาปีที่ 6
2.3 ต้องนับถือศาสนาอิสลาม
2.4 ต้องมีสัญชาติไทย
2.5 ต้องกำพร้าและยากจนอนาถา
2.6 ต้องมีใบรับรองจากโต๊ะอิหม่ามประจำหมู่บ้านนั้นๆ
2.7 เปิดรับสมัครทั่วประเทศ
3. เอกสารในวันรับสมัคร
3.1 สำเนาทะเบียนบ้านอัดสำเนา
4 ฉบับ
3.2 ใบสุทธิหรือใบ
ป.05 อัดสำเนา 4 ฉบับ
3.3 รูปถ่าย 2 นิ้ว
6 รูป
3.4 ใบรับรองจากโต๊ะอิหม่ามในหมู่บ้าน
4. ค่าใช้จ่ายต่างๆ
4.1 ค่ารายเดือนศูนย์เด็กกำพร้าและยากจนหญิง
เก็บข้าวสาร 2 ทะนาน/เดือน และ หากเป็นเงินเท่ากับ 65 บาท/เดือน
4.2 ค่าไฟแล้วแต่สถานการณ์
4.3 อื่นๆ ฟรี เช่น
หนังสือ เป็นต้น
ข้อตกลงต่างๆ
ที่ได้สัญญาร่วมกัน
อุปกรณ์การเรียนการสอน
1. หนังสือ ทางศูนย์เด็กกำพร้าและยากจนอนาถาจะแจกหนังสือให้เรียนฟรี 1 ปี และจะต้องคืน
ให้ศูนย์เด็กกำพร้าและยากจนภายหลัง เมื่อถึงวันสุดท้ายของการสอบ
2. ดินสอ, สมุด จะต้องซื้อมาเอง และทางโรงเรียนจะแจกให้เมื่อมีของบริจาคและแบ่งเท่าๆ
กัน ให้แก่ทุกคนที่อยู่ในศูนย์เด็กกำพร้าฯ
พัสดุอื่นๆ
1. อุปกรณ์เครื่องครัว ทุกคนต้องช่วยกันหาสิ่งของเครื่องครัวให้ครบก่อนกลับบ้าน
วันปิดเทอม และถ้าหากไม่ครบ ทุกคนไม่ได้กลับบ้านในวันนั้น
2. อุปกรณ์นอน ผ้านวม ศูนย์จะแจกให้คนละ 1 ผืน และเมื่อปิดเทอมในแต่ละภาคเรียน
ต้องมาคืนให้ศูนย์เด็กกำพร้าฯ ถ้าหากใครหาไม่พบทุกคนไม่ได้กลับบ้าน
หมายเหตุ
ศูนย์เด็กกำพร้าและยากจนอนาถาจะมีสมุดบันทึก อุปกรณ์และพัสดุต่างๆ ทั้งหมด
การเปิด - ปิดภาคเรียนของศูนย์เด็กกำพร้าและยากจนอนาถา
ในภาคเรียนที่ 1
เปิดวันที่ 15 เดือนซาวาลทุกปี
ปิดวันที่ 15 เดือนรอบิอุลเอาวัลทุกปี
ในภาคเรียนที่
2
เปิดวันที่ 15 เดือนรอบิลอุลอาเครทุกปี
ปิดวันที่ 15 เดือนรอมฎอมทุกปี
การจัดการเรียนการสอนของศูนย์เด็กกำพร้าและยากจนอนาถาบ้านสุไหงปาแน
ศูนย์เด็กกำพร้าฯ แบ่งลักษณะการศึกษาออกเป็น 3 แผนกด้วยกัน คือ การเรียนด้านศาสนา
การเรียนด้านวิชาสามัญ และการเรียนด้านวิชาชีพ
การเรียนด้านศาสนา
จุดประสงค์หลักคือ ให้นักเรียนรู้จักศาสนา รู้จักการวางตัวตามศาสนา
การดำรงในหลักการ ของศาสนา โดยการปฏิบัติตามที่ศาสนากำหนด และละทิ้งทุกอย่างที่ศาสนาห้ามอย่างเคร่งครัด
หลักการศาสนาจะเน้นให้นักเรียนมีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ การดำรงชีพจะมีกรอบไม่ให้กวัดแกว่ง
เพราะจิตใจที่ดีจะมีความมั่นคงและเข้มแข็งมากกว่า การเรียนการสอนด้านศาสนา มีรายวิชาดังนี้
1. อัล-กุรอาน การเรียนเกี่ยวกับหลักการออกเสียง การอ่าน เขียน และการท่วงทำนอง
2. ตัฟซีร การเรียนเกี่ยวกับการตีความอัล-กุรอาน ซึ่งอัลลอฮฺทรงมีโองการด้วยคำที่สละสลวย
กะทัดรัด ลึกล้ำ และคมคาย
3. ฮะดิษ วจนะของท่านนบีมุฮำมัด (ซ.ล.) เกี่ยวกับคำพูด การกระทำ รวมทั้งการเขียนของท่าน
อันเป็นที่อ้างอิงของมนุษยชาติทั้งโลก
4. เตาฮีด การศึกษาเกี่ยวกับหลักศรัทธาต่ออัลลอฮฺ
5. ฟีกอฮฺ การศึกษาสิ่งที่บังคับให้ปฏิบัติ สิ่งที่ห้ามไม่ให้ปฏิบัติ สิ่งที่อนุโลมปฏิบัติได้
สิ่งที่ศาสนา รังเกียจ วิธีการปฏิบัติศาสนกิจต่างๆ และอื่นๆ
6. ภาควิชาอาหรับ แบ่งออกเป็น 5 วิชาย่อย มีหลักไวยากรณ์ 2 วิชา
6.1 การอ่านภาษาอาหรับ
การเขียนภาษาอาหรับ การสนทนาภาษาอาหรับ
6.2 วิชาสุขศึกษา เกี่ยวกับสุขภาพ
6.3 วิชาภาษามลายู แบ่งเป็น
2 วิชาด้วยกัน วิชาที่เขียนด้วยพยัญชนะในภาษาอังกฤษ (A-Z) เรียกว่ารูมี และที่เขียนด้วยตัวพยัญชนะอาหรับเรียกว่า
ยาวี
6.4 ประวัติศาสนาอิสลาม
ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับชีวประวัติของท่านนบีมุฮำหมัด (ซ.ล.)
6.5 อัคลาค เกี่ยวกับมารยาทในแนวทางของท่านนบีมุฮำหมัด
(ซ.ล.) ผู้นำมนุษยชาติ ทั้งนี้ได้อ้างอิงจากอัล-กุรอ่านและอัลฮะดิษ
จากการศึกษาวิชาศาสนาข้างต้น
นักเรียน 10% สามารถออกไปสอนจริยธรรมให้แก่แม่บ้าน ตามบ้านได้และสอนวิธีการอัล-กุรอาน
ที่เรียกว่า กีรออาตี เมื่อออกไปสอนแล้ว จะมีค่าใช้จ่ายให้นักเรียน ได้เก็บเป็นรายได้ส่วนตัว
การเรียนด้านสามัญ
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน
(กศน.) ได้ให้การช่วยเหลือ โดยส่งครูผู้สอน พร้อมทั้งออกค่าใช้จ่ายทุกอย่าง เด็กๆ
ที่ศูนย์เด็กกำพร้าฯ ได้เรียนโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น เริ่มมีการเรียนการสอนตั้งแต่ปี
2537 จนถึงปัจจุบัน ในปีแรก สอนชั้นประถมศึกษาถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเท่านั้น
แต่ต่อมาปีหลังๆ นี้ ก็มีการเรียน การสอน จนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย การเรียนการสอนตามหลักสูตรของการศึกษา
นอกโรงเรียนทุกประการ
การเรียนด้านวิชาชีพ
ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานและศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดปัตตานี ได้ให้การช่วยเหลือ
ด้านการเรียนการสอนด้านวิชาชีพ เริ่มในปี 2535 จนถึงปัจจุบัน ดังนี้
ปี
|
วิชาที่สอน
|
ผลงาน |
2535 |
การประดิษฐ์ | - การประดิษฐ์จากของที่เหลือใช้ และสามารถหาได้โดยไม่ต้องซื้อ เช่น ขวดพลาสติก กะลามะพร้าว การทำกระปุกเงินหรือกล่องทิชชูจากกระดาษ |
การทำอาหาร | - ทำอาหารอย่างง่ายๆ | |
2536 |
การประดิษฐ์ | - ประดิษฐ์ของที่เหลือใช้และประดิษฐ์ดอกไม้ต่างๆ และทำที่เช็ดเท้าจากเศษผ้า |
การทำอาหาร | - ทำอาหารคาวและของหวานหลายอย่าง | |
2537
|
การประดิษฐ์ | - ประดิษฐ์ของที่เหลือใช้และประดิษฐ์ดอกไม้ต่างๆ และทำที่เช็ดเท้าจากเศษผ้า |
การทำอาหาร | - ทำอาหารคาวและของหวานหลายอย่าง | |
2538 |
การประดิษฐ์ | - ประดิษฐ์ของที่เหลือใช้ ประดิษฐ์ดอกไม้ต่างๆ และทำที่เช็ดเท้าจากเศษผ้า |
การทำอาหาร | -ทำอาหารคาวและของหวานหลายอย่าง | |
การเย็บผ้า | - สอนการตัดเย็บชุดผู้หญิงให้นักเรียนใส่เอง | |
หลักสูตร กศน. | - นักเรียนได้สมัครเข้าเรียน สามัญระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น | |
2539 |
การทำอาหาร | - นักเรียนได้เรียนการทำอาหารประเภทต่างๆ จนสามารถนำไปประกอบอาชีพในวันหยุดเรียน โดยการเป็นแม่ครัวตามบ้านที่ขอมา เป็นการช่วยให้เด็ก หารายได้ให้กับตัวเอง |
การประดิษฐ์ | - นักเรียนประดิษฐ์ดอกไม้ต่างๆ อย่างสวยงาม | |
การเย็บผ้า | - นักเรียนสามารถเย็บผ้านำไปขายได้ในบางส่วน และใช้เองด้วย บางคนรับจ้างตัดเย็บที่คนมาจ้าง | |
2540
|
การทำอาหาร | - นักเรียนสามารถทำอาหารรับประทานต่างๆ ได้เอง และยังถูกเชิญไปรับจ้างเป็นแม่ครัว |
การประดิษฐ์ | -นักเรียนประดิษฐ์ดอกไม้ต่างๆ และทำผ้าบาติกจนสามารถนำออกขายได้ | |
การเย็บผ้า | - นักเรียนสามารถตัดเย็บใส่เอง และยังสามารถรับจ้างตัดเย็บจากคนมาจ้าง ให้เย็บชุดนักเรียนอนุบาล และราวฏอตุลอิสลาม | |
2541 |
การทำอาหาร | - นักเรียนสามารถทำอาหารหลายอย่างได้ ทั้งอาหารคาวและของหวาน ในปีนี้ เริ่มให้มีการขายอาหารภายในศูนย์ฯ ได้เช่น ก๋วยเตี๋ยว ซาลาเปา ข้าวเกรียบ และอื่นๆ ซึ่งเป็นการฝึกให้นักเรียนสามารถรับผิดชอบในเรื่องการงาน และ การเงิน นักเรียนที่รับผิดชอบคือ นักเรียนชั้น 4 อิบตีดาอี |
การประดิษฐ์ | - ประดิษฐ์ดอกไม้ จำพวกกุญแจ โดยผูกมัดเป็นของชำร่วย คนมาเลเซีย มาเยี่ยมเยือนก็ได้ ซื้อเป็นของฝากจากศูนย์เด็กกำพร้าฯ | |
การเย็บผ้า | - นักเรียนรุ่นที่ 4 ที่เรียนตัดเย็บ พบว่าได้รับจ้างตัดเย็บและรับทำดอก ผ้าคลุมผม ซึ่งเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ตัวเอง | |
การเกษตร | - เลี้ยงปลา และปลูกผักต่างๆ | |
การทำอาหาร | - นักเรียนได้เรียนรู้การทำอาหารประเภทต่างๆ ทั้งอาหารคาวและของหวาน เพื่อขายกันเอง บางคนถูกขอให้ออกไปช่วยขายข้างนอก บางคนออกไปทำอาหารตามบ้านของแม่บ้าน | |
การประดิษฐ์ | - การประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยบัว การประดิษฐ์ดอกไม้บนจานเพื่อการประดับ การทำของชำร่วย การทำผ้าบาติก ส่วนใหญ่ทำเพื่อการค้าขาย โดยเฉพาะ คนมาเลเซียที่มาเยี่ยม เพื่อเป็นของฝากและอุดหนุนการทำงานของเด็กกำพร้า | |
การตัดเย็บ | - นักเรียนที่เรียนการตัดเย็บก็จะตัดเย็บชุดเพื่อใส่เอง ส่วนที่เรียนมาก่อนแล้ว ก็จะรับจ้างตัดเย็บ เป็นการหารายได้ให้แก่ตัวเอง | |
การเกษตร | - เลี้ยงปลาชนิดต่างๆ เพื่อทำปลาส้ม และเลี้ยงเป็ดด้วย | |
2543 |
การทำอาหาร | - นักเรียนได้เรียนการทำอาหารประเภทต่างๆ ทำอาหารเพื่อรับประทานกันเอง เพื่อขายกันเอง และเพื่อไปบริการทางบ้านที่ต้องการคนทำครัวในสุดสัปดาห์ วิชาอาหารที่เรียน เช่น ทำน้ำเต้าหู้ ทำขนม น้ำต่างๆ และขนมอบต่างๆ |
2543 |
การประดิษฐ์ | - ประดิษฐ์เพื่อการศึกษาเพื่อการค้าวิชาหลัก ยังเป็นการประดิษฐ์ของชำร่วยและทำผ้าบาติก |
การตัดเย็บ | - เด็กๆ รุ่นใหม่ เรียนเพื่อฝึกไว้ใช้เอง ส่วนรุ่นเก่าก็รับจ้างตัดเย็บชุดอนุบาล และปักดอกผ้าคลุม | |
การเกษตร | - เรียนรู้และรับผิดชอบการเลี้ยงปลา เพื่อทำปลาส้มขาย และเลี้ยงเป็ด | |
2544
|
การประดิษฐ์ | - การประดิษฐ์ดอกไม้จากใยบัว การประดิษฐ์ดอกไม้บนจาน การทำของชำร่วย การทำผ้าบาติก ส่วนใหญ่ทำเพื่อการค้าขาย โดยเฉพาะขายให้ชาวมาเลเซีย ที่มาเยี่ยม เพื่อเป็นของฝากและอุดหนุนการทำงานของเด็ก |
การตัดเย็บ | - ให้นักเรียนตัดเย็บชุดผู้หญิงเพื่อใส่เอง กลุ่มที่เรียนมาก่อนแล้วให้ตัดเย็บ เพื่อรับจ้างเป็นการหารายได้ให้แก่ตัวเอง | |
การเกษตร | - มีการเลี้ยงปลาชนิดต่างๆ เพื่อทำปลาส้มและเลี้ยงเป็ด |
กลุ่มที่ให้ความช่วยเหลือด้านวิชาชีพ
1. ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดปัตตานี ให้ความช่วยเหลือด้านบุคลากร และค่าใช้จ่าย
ที่รับผิดชอบ คือ การเรียนการสอนสายสามัญและสายอาชีพ
2. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดปัตตานี ให้ความช่วยเหลือทั้งด้านบุคลากรและค่าใช้จ่ายทั้งหมด
3. กลุ่มชุมชน ช่วยพัฒนา ช่วยเหลือบางกรณี และแลกเปลี่ยนกันใช้บริการ โดยที่ชุมชนจะเชิญ
ให้นักเรียนไปขายของหรือไปทำงานและจ้างตัดเย็บ
รายได้จากการขายผลิตผลจากการเรียนวิชาชีพ
ปี |
วิชาที่สอน |
รายได้
(บาท) |
2535 |
- ทำหอมเจียวขาย เย็บเสื้อเด็กอนุบาล | 15,000 |
2536 |
- ทำหอมเจียวขาย เย็บเสื้อเด็กอนุบาล | 20,000 |
2537
|
- เย็บและขายเสื้อเด็กอนุบาล | 15,000 |
- ทำและขายหอมเจียว ทำขนมขายกันเอง | 10,000
|
|
- เย็บและขายเสื้อผู้ใหญ่ตามตลาด | 10,000 |
|
รวมปี
2537 |
35,000 |
|
2538 |
- ทำและขายหอมเจียว | 15,000 |
- เย็บและขายเสื้อเด็กอนุบาล |
15,000 |
|
- ทำขนมขายกันเองภายในศูนย์ฯ | ||
- เย็บและขายเสื้อผ้าผู้ใหญ่ตามตลาด | ||
รวมปี
2538 |
30,000 |
|
2539 |
- ทำหอมเจียวขาย | 5,000 |
- เย็บเสื้อเด็กอนุบาล | 10,000 |
|
- ทำขนมขายกันเองภายในศูนย์ฯ | 15,000 |
|
- เย็บและขายเสื้อผู้ใหญ่ตามตลาด | 10,000 |
|
- ทำของชำร่วยขายให้คนมาเลเซีย |
10,000 |
|
รวมปี
2539 |
50,000 |
|
2540 |
- ทำขนมขายกันเองภายในศูนย์ฯ | 5,000 |
- ทำของชำร่วยขายให้คนมาเลเซีย | 5,000 |
|
- เย็บและขายเสื้อเด็กอนุบาล | 20,000 |
|
- เย็บและขายเสื้อผู้ใหญ่ | 70,000 |
|
รวมปี
2540 |
100,000 |
|
2541
|
- เย็บและขายเสื้อเด็กอนุบาล | 20,000 |
- ทำของชำร่วยขาย | 5,000 |
|
- ทำขนมขายกันเองภายในศูนย์ฯ |
5,000 |
|
- เย็บและขายเสื้อผู้ใหญ่ | 10,000 |
|
- ทำปลาส้มขาย |
7,000 |
|
- ขายผลิตภัณฑ์โรยัมจากมาเลเซีย | 3,000 |
|
รวมปี
2541 |
50,000 |
|
2542 |
- เย็บและขายเสื้อเด็กอนุบาล | 10,000 |
- ทำของชำร่วยขาย | 5,000 |
|
- ทำขนมขายกันเองภายในศูนย์ฯ | 5,000 |
|
- เย็บและขายเสื้อผู้ใหญ่ | 12,000 |
|
- ทำปลาส้มขาย | ||
- ขายผลิตภัณฑ์โรยัมจากมาเลเซีย | 3,000 |
|
รวมปี
2542 |
35,000 |
|
2543 | - เย็บและขายเสื้อเด็กอนุบาล | 20,000 |
- ทำของชำร่วยขาย |
4,000 |
|
- ทำขนมขายกันเองภายในศูนย์ฯ |
5,000 |
|
- เย็บและขายเสื้อผู้ใหญ่ | 9,000 |
|
- ทำปลาส้ม |
12,000 |
|
- ขายผลิตภัณฑ์โรยัมจากมาเลเซีย |
3,000 |
|
รวมปี
2543 |
53,000 |
|
รวม
9 ปี มีรายได้ทั้งสิ้น |
388,000 |
ประเมินผลการดำรงชีพของนักเรียนที่อยู่ในศูนย์เด็กกำพร้าฯ
และนักเรียนที่จบแล้ว
การประเมินผลการดำรงชีพของนักเรียนที่เรียนวิชาชีพ สำหรับนักเรียนที่กำลังเรียนในศูนย์
1. รับจ้างเย็บชุดนักเรียนอนุบาล
2. รับจ้างทำของชำร่วย
3. รับจ้างขายของ
4. ทำขนมขายนักเรียน
5. รับสอนจริยธรรมและกีรออาตี
6. รับเลี้ยงเด็ก
การประเมินผล
การดำรงชีพนักเรียนเมื่อจบออกจากศูนย์ฯ
ไปแล้วพบว่านักเรียนที่จบไปประมาณ 40% คิดเรียนต่อและแต่งงาน นักเรียนเหล่านี้เพียงไม่กี่คนที่ประกอบอาชีพจากความรู้ที่เรียนจากศูนย์ฯ
เช่น การเย็บเสื้อผ้า การปักดอกผ้าคลุมผม ขายอาหาร สอนกีรออาตี ถึงแม้มีรายได้ไม่มากนัก
แต่พวกเขาก็มีสภาพชีวิตที่ดี ภาพเหล่านี้พบเห็นได้ในงานวันที่มาพบปะของนักเรียนที่ได้จัดขึ้นทุกๆ
ปี อีก 80% ต้องการเรียนต่อ ทั้งศาสนาและสามัญในระดับมหาวิทยาลัย
ความเป็นอยู่ของเด็กและครูในศูนย์เด็กกำพร้าและยากจนอนาถาบ้านสุไหงปาแน
เด็กทุกคนจะอยู่ในกฎระเบียบ
และเชื่อฟังคณะครูพี่เลี้ยงทุกคน หากนักเรียนคนใดไม่เชื่อฟังและ ดื้อรั้นต่อการตักเตือนของครูพี่เลี้ยงครบ
3 ครั้ง ครูพี่เลี้ยงจะส่งชื่อให้กับผู้บริหาร หากดื้อรั้นจนโดนตักเตือนจากผู้บริหารถึง
3 ครั้งแล้ว เด็กคนนั้นต้องโดนตี
เด็กๆ จะมีการเลือกประธานและคณะกรรมการนักเรียนของโรงเรียน
ซึ่งจะจัดประชุมเป็นประจำ ทุกสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนอาหรับ ในแต่ละครั้งของการประชุม
ครูพี่เลี้ยงจะต้องเข้าร่วมทุกครั้ง เพื่อความสะดวกในการตัดสินใจของเด็ก
หน้าที่ของเด็กที่อยู่ในศูนย์เด็กกำพร้าฯ
เด็กๆ ที่อยู่ในศูนย์กำพร้าฯ
จะมีอายุตั้งแต่ 4 18 ปี ต้องทั้งกิน นอน เรียน และทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งเด็กจะมีหน้าที่หลัก
3 อย่าง คือ (1) เรียนหนังสือ (2) ผลัดเปลี่ยนกันทำอาหาร และ (3) แบ่งหน้าที่ ทำความสะอาด
ในวันหนึ่งๆ นักเรียนจะมีหน้าที่ทุกคนและทุกคนต้องเปลี่ยนกันทำในวันอื่นต่อไปตามหน้าที่
รับผิดชอบ คือ
1. ซื้อกับข้าวที่ตลาด สัปดาห์ละ 3 วัน คือวันศุกร์ วันอาทิตย์ วันพุธ
2. ทำกับข้าว 3 มื้อ เช้า เที่ยง เย็น
3. ทำความสะอาดบริเวณต่างๆ ดังนี้
3.1 ในห้องรับประทานอาหาร
3.2 สนาม
3.3 ใต้ต้นไม้
3.4 บนหอพัก 1
3.5 ใต้หอพัก 1
3.6 บนหอพัก 2
3.7 ใต้หอพัก 2
3.8 ในห้องธุรการ
3.9 บริเวณครัวและที่ทำกับข้าวหรือที่หุงข้าว
4. เตรียมสำรับอาหารของแต่ละกลุ่ม ขณะเตรียมรับประทานอาหาร นักเรียนจะรับประทานอาหารในถาด
ซึ่งจะจัดการดังนี้
4.1 ทุกคนต้องรับประทานในถาด
4.2 ใน 1 ถาดจะมี 5 คน
4.3 ต้องรับประทานพร้อมๆ
กัน
4.4 ต้องรับผิดชอบถาดของกลุ่ม
หมายเหตุ
ขณะรับประทาน หากรับประทานอาหารไม่หมด
จะต้องโดนทำโทษโดยหัวหน้า เพราะศูนย์ เด็กกำพร้าและยากจนอนาถา จะสอนไม่ให้เด็กฟุ่มเฟือย
และเห็นคุณค่าของอาหาร
เด็กในศูนย์เด็กกำพร้าฯ ต้องมีประธาน
และเลือกคณะกรรมการนักเรียน โดยแบ่งหน้าที่ของนักเรียนให้สอดรับเหมือนกับหน้าที่ของคณะครู
ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการประสานงานกับครูในแต่ละฝ่าย ซึ่งจะมี หัวหน้าและรองหัวหน้าประจำทุกฝ่าย
เด็กคนใดที่ได้รับการคัดเลือกเป็นคณะกรรมการจากนักเรียน จะต้อง รับผิดชอบเต็มความสามารถ
ทำงานตามถนัด ความเหมาะสม
ระเบียบการของศูนย์เด็กกำพร้าและยากจนอนาถา
ระเบียบการของศูนย์เด็กกำพร้าและยากจนอนาถาแห่งนี้มี 8 ข้อ
1. ทุกคนต้องอยู่หอพัก ไม่รับนักเรียนไป-กลับ
2. ทุกคนต้องเก็บเงินและของมีค่าไว้ที่ครูพี่เลี้ยง
3. ทุกคนต้องแต่งกายเรียบร้อยและปกปิดร่างกายมิดชิด เมื่อต้องการจะออกจากรั้วศูนย์เด็กกำพร้าและยากจนอนาถา
4. ทุกคนต้องขออนุญาตครูพี่เลี้ยงก่อนออกจากบริเวณของศูนย์เด็กกำพร้าฯ หากไม่ขออนุญาต
ศูนย์เด็กกำพร้าฯ จะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น
5. ทุกคนต้องเรียนจนจบหลักสูตรของศูนย์เด็กกำพร้าฯ หากเรียนไม่จบหลักสูตร ศูนย์เด็กกำพร้าฯ
จะปรับ 5,000 บาท
6. ทุกคนต้องใส่ชุดยูนิฟอร์ม เวลาจะกลับบ้านและจะมายังศูนย์เด็กกำพร้าฯ
7. ทุกคนสามารถกลับบ้านได้เดือนละ 1 ครั้ง นอกจากนักเรียนใหม่ต้องอยู่ให้ครบ 40
วัน นับตั้งแต่วันแรกเข้า
8. ต้องมีผู้ปกครองมารับมาส่งทุกครั้ง เวลาจะกลับหรือจะเข้ามาศูนย์ฯ
หมายเหตุ ทุกคนต้องปฏิบัติตามระเบียบอย่างเคร่งครัด
กิจวัตรประจำวนของนักเรียนศูนย์เด็กกำพร้าและยากจนอนาถา
04.30 - 05.00 น. | ตื่นนอนทำภารกิจส่วนตัวและละหมาดร่วมกัน |
05.00 - 05.30 น. | ซีเกรหลังละหมาดพร้อมๆ กัน |
05.30 - 06.00 น. | อ่านมะซูรอจ และเรียนอัล-กุรอาน |
06.00 - 07.00 น | . เปลี่ยนชุดละหมาดแล้วออกกำลังกายพร้อมๆ กัน |
07.00 - 07.30 น. | ทำเวรประจำวัน |
07.30 - 08.00 น. | รับประทานอาหารเช้าและเข้าแถวพร้อมๆ กัน |
08.00 - 10.00 น. | เรียนศาสนา |
10.00 - 10.10 น. | พัก 10 นาที |
10.10 - 11.30 น. | เรียนศาสนาต่อ |
11.30 - 12.00 น. | พักพร้อมทำภารกิจส่วนตัว |
12.00 - 12.30 น | รับประทานอาหารพร้อมๆ กัน |
12.30 - 13.00 น | . เตรียมตัวละหมาดและละหมาดพร้อมๆ กัน |
13.00 - 14.00 น. | พักผ่อน |
14.00 - 15.00 น. | เรียนอัล-กุรอาน (นักเรียนที่เรียนสายอาชีพด้วย) |
15.00 - 15.45 น | เตรียมตัวพร้อมจะละหมาด |
15.45 - 16.15 น. | ละหมาดพร้อมๆ กัน และอ่านวีริต |
16.15 - 16.30 น. | อ่านมะซูรอจ |
16.30 - 17.30 น. | ทำความสะอาดประจำหน้าที่ |
17.30 - 18.00 น. | รับประทานอาหารค่ำ |
18.00 - 18.30 น. | เตรียมตัวทำภารกิจส่วนตัว |
18.30 - 19.00 น. | ละหมาดพร้อมๆ กัน |
19.00 - 19.30 น. | เรียนกิตาบพร้อมนาซีฮัต (ตักเตือน) พร้อมๆ กัน |
19.30 - 20.00 น. | ละหมาดพร้อมๆ กัน |
20.00 - 21.00 น. | เรียนอัล - กุรอาน |
21.00 - 21.30 น | ทบทวนบทเรียนพร้อมๆ กัน |
21.30 - รุ่งอรุณวันใหม่ | Dream Sleeping and Happy |
การบริหาร
1. เด็ก
- เด็กทุกคนจะอยู่ในกฎระเบียบและเชื่อฟังพี่เลี้ยง คณะครูทุกคน หากนักเรียนคนใดที่ไม่เชื่อฟังและดื้อต่อการตักเตือนของครูพี่เลี้ยงถึง
3 ครั้ง ครูพี่ลี้ยงจะส่งชื่อให้กับผู้บริหารและจะต้องได้รับการตักเตือน จากผู้บริหารจนถึง
3 ครั้ง หากถึง 3 ครั้งแล้ว ยังดื้อฝ่าฝืนอีกก็จะโดนตี
- เด็กๆ จะมีประธานและคณะกรรมการของโรงเรียน ซึ่งจะจัดประชุมเป็นประจำทุกๆ สัปดาห์
ที่ 2 ของเดือนอาหรับ
- ในแต่ละชั้น ของการประชุมของคณะกรรมการเด็กนักเรียน ครูพี่เลี้ยงจะต้องเข้าร่วมทุกครั้ง
เพื่อความสะดวกในการตัดสินใจของเด็ก
2. ครูพี่เลี้ยง
- ในแต่ละเดือน ครูพี่เลี้ยงจะต้องถอดบทเรียนในหน้าที่รับผิดชอบและรายงานต่อผู้บริหารในเรื่องของปัญหาและการทำงานต่างๆ
ที่ดำเนินการแล้ว
- ภารกิจที่หนักหน่วงอย่างหนึ่งของครูพี่เลี้ยง คือ การที่จะต้องเผชิญกับปัญหาของเด็ก
เช่น การทะเลาะกัน การขโมย ซึ่งในแต่ละครั้ง ครูพี่เลี้ยงจะต้องใช้ความรอบคอบและนิ่มนวลในการตัดสินใจ
ซึ่งครูพี่เลี้ยงบางคนเท่านั้นที่จะทำได้
- ครูพี่เลี้ยงทุกคนต้องมีความบริสุทธิ์ใจในการทำงาน เพราะทางศูนย์เด็กกำพร้าและยากจนอนาถา
ต้องการบุคลากรที่ไม่ได้ทำเพื่อเงินแต่เพียงประการเดียว
- ในแต่ละเดือน จะมีการประชุม ซึ่งจะตรงกับสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนอาหรับ
- ครูพี่เลี้ยงภายในจะต้องอยู่หอพักเหมือนเด็กนักเรียน แต่ครูพี่เลี้ยงภายนอกจะไป-กลับ
ตามกติกาที่ว่า จะต้องมาไม่เกิน 08.00 น. และต้องกลับหลังละหมาดดุฮรีพร้อมเด็กๆ
นักเรียน
- ค่าตอบแทนให้เท่าที่ศูนย์เด็กกำพร้าและยากจนอนาถาพอมี เพราะไม่ต้องการบุคลากรทำเพื่อเงินเท่านั้น
- ภารกิจส่วนตัวต้องรับผิดชอบ คือ ในกรณีมีคณะบุคคลเยี่ยมศูนย์เด็กกำพร้าและยากจนอนาถา
ทั้งครูพี่เลี้ยงจะต้องมาต้อนรับ โดยแบ่งภาระหน้าที่ดังนี้ คือ
ชั้นปีที่ 1 ฝ่ายต้อนรับจะมีนักเรียนชั้นเตรียม
ชั้นปีที่ 2 ฝ่ายจัดเก้าอี้สำหรับคณะครูมาเยี่ยม
ชั้นปีที่ 3 ฝ่ายเสิร์ฟน้ำให้คณะผู้มาเยี่ยม
ชั้นปีที่ 4 ฝ่ายทำความสะอาดห้องน้ำ
เมื่อเสร็จภารกิจรับผิดชอบแล้ว
หากไม่มีการเรียนการสอน นักเรียนจะต้องเข้าไปร่วมต้อนรับอยู่ในหอประชุมด้วยจนเสร็จ
และพร้อมกับส่งคณะผู้มาเยี่ยม
- ครูพี่เลี้ยงจะมีหน้าที่เหมือนกันกับเด็กนักเรียน จะมีหน้าที่สำหรับตรวจและกระตุ้นให้เด็ก
ทำให้เรียบร้อย สำเร็จ และพร้อมให้กำลังใจ
- ครูพี่เลี้ยงต้องมีตัวแทน 1 คน สำหรับกล่าวต้อนรับคณะผู้มาเยี่ยมทุกครั้งแทนผู้บริหาร
ถ้าหาก ผู้บริหารไม่อยู่
นี่คือภารกิจร่วมรับผิดชอบด้วยกันทั้งโรงเรียน และจะต้องกระตือรือร้นในการทำหน้าที่อย่างกระฉับกระเฉง
ข้อคิดจากการศึกษาดูงานศูนย์เด็กกำพร้าในที่อื่นๆ
ศูนย์เด็กกำพร้าสหรัฐอาหรับเอมิเรต
จังหวัดสตูล
จากการไปศึกษาดูงานด้านการบริหาร
การจัดห้องเรียน การเลี้ยงดูเด็ก และด้านการเงิน ของศูนย์เด็กกำพร้าสหรัฐอาหรับเอมิเรต
จังหวัดสตูลนั้น ทีมวิจัยและชุมชนได้เรียนรู้ลักษณะที่แตกต่างไปจากศูนย์ เด็กกำพร้าและยากจนอนาถาบ้านสุไหงปาแน
ดังนี้
การบริหาร
การบริหารงานของศูนย์เด็กกำพร้าสหรัฐอาหรับอมิเรตนั้น
เป็นการบริหารที่สหรัฐอาหรับเอมิเรต ได้กำหนดไว้เรียบร้อยแล้ว ผู้บริหารจะได้รับค่าจ้างจากสหรัฐอาหรับเอมิเรต
ซึ่งต่างจากศูนย์เด็กกำพร้าฯ บ้าน สุไหงปาแนที่มีการบริหารแบบลองผิดลองถูก จนกว่าจะได้รูปแบบการบริหารเป็นของตนเอง
เนื่องจากทางเลือกน้อยมาก ประกอบกับผู้ที่เข้ามาบริหารส่วนใหญ่ไม่มีประสบการณ์
ไม่มีเงินจ้างผู้ที่มีประสบการณ์ มาทำงาน ทุกคนที่เข้ามาทำงานที่นี่ต้องมีใจเสียสละโดยไม่หวังเงินตอบแทน
และผู้บริหารที่ศูนย์เด็กกำพร้าฯ สุไหงปาแน ต้องทำหน้าที่หลายอย่างนอกเหนือจากเป็นผู้บริหาร
ตั้งแต่เป็นครูผู้สอนในห้องเรียน เป็นแม่อุปถัมภ์และเป็นที่ปรึกษานอกเวลาเรียน
การจัดห้องเรียน
ศูนย์เด็กกำพร้าสหรัฐอาหรับเอมิเรตไม่ได้จัดการเรียนการสอนภายในศูนย์เด็กกำพร้า
เด็กๆ จะออกไปเรียนที่โรงเรียนของรัฐในเมือง จะมีการเรียนในศูนย์ฯ ก็เพียงด้านศาสนาขั้นพื้นฐานเท่านั้น
ไม่ได้แบ่ง การเรียนการสอนออกเป็นห้องๆ ชัดเจน ซึ่งต่างจากศูนย์เด็กกำพร้าฯ สุไหงปาแน
ซึ่งเป็นลักษณะโรงเรียนประจำหรือโรงเรียนกินนอน ที่เด็กจะต้องเรียน และพักในศูนย์เด็กกำพร้าฯ
สุไหงปาแนด้วย
การเลี้ยงดูเด็ก
การเลี้ยงและดูแลเด็กของศูนย์เด็กกำพร้าสหรัฐอาหรับอมิเรตนั้น
จะมีการจ้างคนให้มาดูแลเด็ก เป็นการเฉพาะ แต่ที่ศูนย์เด็กกำพร้าฯ สุไหงปาแน ผู้ดูแลเด็กจะทำหน้าที่เป็นครูผู้สอนในห้องเรียนด้วย
ด้านการเงิน
ที่ศูนย์เด็กกำพร้าสหรัฐอาหรับอมิเรต
มีเงินงบประมาณเข้ามาสนับสนุนที่แน่นอน โดยคิดคำนวณจากเด็กที่รับมาอุปการะ อีกทั้งยังมีค่าจ้างผู้บริหารและคณะทำงานต่างหาก
ซึ่งต่างจากศูนย์เด็กกำพน้าและยากจนอนาถาบ้านสุไหงปาแนที่งบประมาณสนับสนุนไม่แน่นอน
มากบ้าง น้อยบ้าง จึงทำให้จำเป็นจะต้องใช้จ่ายอย่างประหยัด
หน้าที่ของเด็ก
เด็กๆ ในศูนย์เด็กกำพร้าสหรัฐอาหรับเอมิเรตจะมีหน้าที่เรียนอย่างเดียว
ซึ่งแตกต่างกับเด็กๆ ในศูนย์กำพร้าฯ สุไหงปาแน ที่ต้องรับผิดชอบในหน้าที่ต่างๆ
ดังที่กล่าวมาเบื้องต้น
ศูนย์เด็กกำพร้าเปอร์กายา รัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย
จากการไปศึกษาดูงานด้านการบริหาร การจัดห้องเรียน การเลี้ยงดูเด็ก และด้านการเงิน
ที่ศูนย์ เด็กกำพร้าเปอร์กายานั้น ทีมวิจัยและชุมชนได้เรียนรู้ลักษณะที่แตกต่างไปจากศูนย์เด็กกำพร้าฯ
คือ
การบริหาร
ศูนย์เด็กกำพร้าเปอร์กายา เป็นองค์กรอิสระ
ได้รับการสนับสนุนจากรัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย ซึ่งรูปแบบการบริหารได้ถูกกำหนดไว้เรียบร้อยแล้ว
ผู้บริหารของศูนย์เด็กกำพร้าเปอร์กายาเป็นผู้ที่มี ประสบการณ์ได้รับค่าจ้างจากองค์กรของรัฐ
ทำให้การทำงานมีคุณภาพ นอกจากนี้ยังมีเครือข่ายอยู่ในรัฐต่างๆ
ด้านการเงิน
องค์กรที่สนับสนุนศูนย์เด็กกำพร้าเปอร์กายา
มีกิจการหลายอย่าง เช่น สวนปาล์มน้ำมัน มีกิจการบ้านเช่า ตั้งกล่องรับบริจาคในที่ต่างๆ
อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงศึกษาธิการของมาเลเซีย ในด้านทุนการศึกษา
ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงสาธารณสุขในด้านการรักษาพยาบาลฟรี ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านเงินทุน
รวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากผู้มีจิตศรัทธา
ด้านเด็ก
ศูนย์เด็กกำพร้าเปอร์กายามีการรับเด็กมาอุปการะทั้งหญิงและชาย
ส่งเสริมการศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ถึงมัธยมศึกษาปลายเป็นอย่างดี มีเด็กที่กำพร้าพ่อหรือกำพร้าทั้งพ่อและแม่อยู่ใน
ความดูแลมากกว่าที่ศูนย์เด็กกำพร้าสุไหงปาแนถึงสองเท่า
ด้านการเรียนการสอน
เด็กๆ ที่ศูนย์เด็กกำพร้าเปอร์กายาจะออกไปเรียนตามโรงเรียนต่างๆ
ของรัฐ ซึ่งจะต้องจ่าย ค่าเล่าเรียนเหมือนเด็กทั่วไป มีการเรียนการสอนภายในศูนย์กำพร้าฯ
เฉพาะพื้นฐานศาสนา และอาจมี การสอนพิเศษเพื่อกวดวิชาสำหรับนักเรียนที่ประสงค์จะสอบเข้าในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
และระดับมหาวิทยาลัย
หน้าที่ของเด็ก
เด็กกำพร้าที่ศูนย์เด็กกำพร้าเปอร์กายามีหน้าที่เรียนหนังสือเท่านั้น
ส่วนวันหยุด ผู้บริหารจะเรียก ให้เด็กๆ มาช่วยทำความสะอาดบริเวณศูนย์เด็กกำพร้าฯ
ซึ่งต่างจากศูนย์เด็กกำพร้าฯ สุไหงปาแนที่เด็กๆ ต้องทำความสะอาดทุกวัน
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการไปศึกษาดูงานที่ศูนย์เด็กกำพร้าอื่นๆ
หลังจากศึกษาดูงาน ณ ศูนย์เด็กกำพร้าสหรัฐอาหรับเอมิเรต
จังหวัดสตูล และศูนย์เด็กกำพร้า เปอร์กายา รัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย ทำให้ผู้บริหารและตัวแทนชุมชนได้เรียนรู้หลายๆ
อย่างดังนี้
การบริหาร
ศูนย์เด็กกำพร้าทั้งสองแห่งมีความพร้อมด้านบุคลากรและสิ่งอำนวยความสะดวก
ผู้ทำหน้าที่บริหารงานมีความสามารถและโปร่งใส สถานภาพของผู้บริหารอยู่ในฐานะลูกจ้าง
มีคณะกรรมการคอยตรวจสอบและควบคุมการทำงานอย่างใกล้ชิด ถ้าทำงานไม่มีคุณภาพ ผู้บริหารอาจถูกปลดได้
เมื่อเทียบกับการทำงานของศูนย์เด็กกำพร้าฯ สุไหงปาแนแล้ว
ผู้บริหารต้องทำงานด้วยความ เสียสละ ไม่มีค่าจ้าง ดังนั้น ระบบการทำงานจึงเป็นแบบอะลุ้มอล่วย
ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่สามารถ คัดเลือกผู้ที่มีความสามารถจริงๆ มาทำงานได้
เพราะบางคนมีความสามารถแต่อาจไม่ได้มีความเสียสละ
อย่างไรก็ตาม การทำงานของศูนย์เด็กกำพร้าฯ สุไหงปาแนเป็นการทำงานด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ดังนั้น ผู้บริหารทุกคนก็พร้อมที่จะพัฒนาการทำงานของศูนย์เด็กกำพร้าฯ สุไหงปาแนให้ดีขึ้น
ปัญหาของศูนย์เด็กกำพร้าฯ สุไหงปาแน คือ ครูส่วนใหญ่ขาดทักษะและเทคนิคการเรียนการสอน
ไม่มีความรู้มากนัก ไม่สามารถสื่อให้นักเรียนให้เข้าใจได้ดี
ครูบางคนปรับตัวให้เข้ากับเด็กได้ยาก โดยเฉพาะครูพี่เลี้ยงที่ยังไม่มีครอบครัว
ยังไม่มีบุตร จึงไม่เข้าใจความต้องการของเด็กๆ เป็นปัญหาหนึ่งที่ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างเด็กกับพี่เลี้ยง
ส่งผลให้พี่เลี้ยงต้องลาออกเกือบทุกปี และต้องหาคนใหม่ๆ เข้ามาทดแทน และต้องฝึกฝนกันใหม่อยู่ตลอดเวลา
การบริหาร จึงไม่มีความต่อเนื่อง และต้องมีการประชุมเพื่อปรับแผนการทำงานกันอยู่บ่อยๆ
การบริหารจัดการงบประมาณ
ศูนย์เด็กกำพร้าสหรัฐอาหรับเอมิเรต
จังหวัดสตูล และศูนย์เด็กกำพร้าเปอร์กายา รัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย เป็นองค์กรอิสระที่ได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงานที่เข้มแข็งทั้งภาครัฐและเอกชน
ทำให้ศูนย์เด็กกำพร้าทั้งสองแห่งดังกล่าวไม่ได้รับผลกระทบจนต้องขวนขวายหางบประมาณมาจุนเจือ
การดำเนินงานของศูนย์เด็กกำพร้า รวมทั้งมีกองทุนสำรองไว้ใช้อย่างฉุกเฉิน สำหรับการจัดทำบัญชีนั้นก็มี
รูปแบบที่สำเร็จรูปมาให้แล้ว สามารถทำตามแบบได้ง่าย
เมื่อมาพิจารณาศูนย์เด็กกำพร้าฯ สุไหงปาแน
ภาวะการเงินเป็นข้อจำกัดสำคัญต่อความอยู่รอด ความไม่แน่นอนของการสรรหางบประมาณ
ทำให้ทางศูนย์เด็กกำพร้าฯ สุไหงปาแนต้องประหยัด ในทุกๆ ด้าน การพัฒนาจึงเป็นไปอย่างล่าช้า
เพราะคิดได้เฉพาะแผนงานเชิงรับและการประคับประคอง
การเรียนการสอน
ศูนย์เด็กกำพร้าสหรัฐอาหรับเอมิเรต
จังหวัดสตูล และศูนย์เด็กกำพร้าเปอร์กายา รัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย ทำหน้าที่เพียงหอพักให้กับเด็กเท่านั้น
ไม่ได้การเรียนการสอนด้านสามัญเอง จะมีก็เป็นเพียงการเรียนการสอนเกี่ยวกับอิสลามขั้นพื้นฐาน
สอนอัล-กุรอานหลังจากเลิกเรียนจากโรงเรียนในเมือง เท่านั้น กระนั้นก็ตาม ถ้าเด็กคิดว่าควรจะมีการสอนเสริม
ทางศูนย์เด็กกำพร้าก็สามารถจ้างครูมาสอน เป็นการเฉพาะได้
สำหรับศูนย์เด็กกำพร้าฯ สุไหงปาแน ทำหน้าที่เป็นทั้งหอพักและสถานศึกษา
ที่นอน ที่เรียน เป็นที่เดียวกัน เนื่องจากไม่มีงบประมาณเพียงพอที่จะสร้างอาคารเรียนและหอพักให้แยกออกเป็นสัดส่วน
จุดนี้ เป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่เด็กไม่อยากเรียน อย่างไรก็ดี ศูนย์เด็กกำพร้าฯ
สุไหงปาแน ก็ได้พยายาม ขอการสนับสนุนจากองค์กรภายนอก จนสามารถสร้างอาคารเรียนโดยงบประมาณจากกองทุนเพื่อสังคม
(SIF) นับจากนั้นมา ระบบการเรียนการสอนจึงได้พัฒนาขึ้น มีการเพิ่มเวลาเรียนจากเดิม
3.5 ชั่วโมงต่อวัน เป็น 4.5 ชั่วโมงต่อวัน โดยเริ่มเรียนตั้งแต่เวลา 07.00 - 11.30
น.
เกณฑ์การรับเด็กมาอุปการะ
การพิจารณารับเด็กมาดูแลของศูนย์เด็กกำพร้าสหรัฐอาหรับเอมิเรต
จังหวัดสตูล และศูนย์ เด็กกำพร้าเปอร์กายา รฐตรังกานู ประเทศมมาเลเซีย จะรับเฉพาะเด็กกำพร้าเท่านั้น
และมีเกณฑ์อายุและจำนวนที่แตกต่างกัน ศูนย์เด็กกำพร้าสหรัฐอาหรับเอมิเรตฯ จะรับเด็กในระดับประถมศึกษา
และมัธยมศึกษา จำกัดจำนวนเพียง 80 คนเท่านั้น แต่สำหรับศูนย์เด็กกำพร้าเปอร์กายอ
จะรับเฉพาะเด็กทั้งหญิงและชาย ในระดับมัธยมศึกษาเท่านั้น
แนวทางที่จะทำต่อไป
เมื่อได้วิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของศูนย์เด็กกำพร้าที่ไปดูงานมาทั้งแห่ง
แล้วกลับมาเปรียบเทียบกับศูนย์เด็กกำพร้าฯ สุไหงปาแน คณะกรรมการ ตัวแทนชุมชน ได้เห็นชอบร่วมกันในหลายประเด็น
ดังนี้
1. การเรียนของเด็ก มีมติที่จะเพิ่มคุณภาพการเรียนการสอน โดยการส่งให้บรรดาครูออกไปอบรมทักษะและเทคนิคการสอนเพิ่มเติม
จะคัดเลือกเด็กที่มีความสามารถด้านการศึกษาให้เป็นกำลังสำคัญ เพื่อพัฒนาศูนย์เด็กกำพร้าฯ
รวมทั้งจัดหาอุปกรณ์การเรียนการสอนให้เพียงพอและดึงดูดความสนใจของเด็ก
2. เกี่ยวกับสถานที่ จะเพิ่มอาคารให้พอกับความต้องการและความจำเป็น เช่น อาคารเรียน
ที่พัก ที่ยังแออัดอยู่
3. ได้วิธีการลงโทษเด็กที่มีความประพฤติไม่เหมาะสม
4. การขอความอนุเคราะห์จากองค์กรต่างๆ ด้วยการอธิบายหลักการอิสลาม เพื่อสร้างจิตสำนึก
ที่ต้องช่วยเหลือกัน บางครั้งอาจจำเป็นต้องมีการประกาศขอความช่วยเหลือตามที่ต่างๆ
เพื่อรับบริจาค
5. จัดการประชุมแบบสร้างสรรค์ เพื่อให้ประชุมทุกๆ ครั้ง เกิดผลแห่งการเรียนรู้
มุมมองของกลุ่มคนอันหลากหลายที่มีต่อศูนย์เด็กกำพร้าและยากจนอนาถาบ้านสุไหงปาแน
ตั้งแต่ก่อตั้งศูนย์เด็กกำพร้าและยากจนอนาถาบ้านสุไหงปาแน
กลุ่มเครือข่ายมุสลิมะฮฺได้ร่วมแรงร่วมใจ เสียสละ แต่ผ่านมาระยะหนึ่งความสัมพันธ์เริ่มห่างหาย
ยิ่งพัฒนาศูนย์เด็กกำพร้าฯ ไปไกลเท่าใด ยิ่งเหมือนกับอยู่อย่างโดดเดี่ยว กลายเป็นสิ่งที่ค้างคาใจอยู่ตลอดเวลาว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น?
เมื่อได้มีโอกาสได้ทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ทีมวิจัยจึงกำหนดให้มีกิจกรรมสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มคนต่างๆ
ที่มีส่วนสัมพันธ์กับศูนย์เด็กกำพร้า อันได้แก่ ศิษย์ปัจจุบัน ศิษย์เก่า ผู้ปกครอง
เครือข่ายมุสลิมะฮฺ ผู้นำชุมชน รวมแล้ว 410 คน ซึ่งเป็นกระจกเงาบานใหญ่ที่ช่วยส่องนำให้ทบทวนการดำเนินงานที่ผ่านมา
เกิดข้อแนะนำใหม่ๆ ที่มีประโยชน์ยิ่งต่อการก้าวเดินต่อไปข้างหน้า ดังนี้
มุมมองของศิษย์ปัจจุบันที่มีต่อความเป็นอยู่ภายในศูนย์เด็กกำพร้าฯ
ด้านอาหารการกิน
ส่วนมากเด็กจะรับประทาน อาหารเดิมๆ เกือบทุกวัน
เช่นข้าวยำ จนเด็กสะท้อนว่ารู้สึกเบื่อหน่าย จะได้ทานของหวานและ ผลไม้ในช่วงเดือนถือศีลอดเท่านั้น
เหตุเพราะในศูนย์เด็กกำพร้าฯ ไม่มีแม่บ้านประจำที่คอยทำหน้าที่หุงหาอาหารให้ แต่จะมีระบบการจัดการที่สร้างขึ้นโดยการมีส่วนร่วมของทั้งครูและเด็กที่ต้องช่วยเหลือกันเอง
ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันทำอาหารในแต่ละวัน แม้ว่าจะต้องสละเวลาเรียนเพื่อมา หุงหาอาหาร
จนมีเวลาเรียนน้อยกว่าคนอื่นๆ แต่ก็เป็นความภูมิใจของเด็กที่ได้ทำหน้าที่เลี้ยงดูเพื่อน
เลี้ยงดู พี่น้องให้อิ่มท้องได้ทั้งศูนย์เด็กกำพร้าฯ แต่อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกข้างในลึกๆ
ของเด็กบางคน ก็ยังคงต้องการแม่บ้านเพื่อมาทำหน้าที่หุงหาอาหารให้
แม้ว่าจะมีอาหารเดิมๆ แต่เด็กๆ ก็รู้สึกสบายใจที่ได้กินอาหารที่ฮาลาล และปลอดภัยได้รับประทานอาหารในถาดที่เป็นซุนนะห์ ได้ความสามัคคีที่ได้แบ่งปันความรัก รวมน้ำใจซึ่งกันและกัน ซึ่งถ้าช่วยกันคิดหาแนวทางในการแก้ปัญหาเรื่องอาหารเดิมๆ มีการเปลี่ยนรายการอาหาร จัดกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อทำกับข้าวให้ถูกปากผู้รับประทานต่อไป
ด้านอาคารสถานที่
อาคารสถานที่ในสมัยก่อนจะมีอาคารบาลาอายุหลายสิบปีอยู่หลังเดียว
หลังคาก็รั่ว ต่อมาเมื่อเด็กเพิ่มจำนวนขึ้น อาคารสถานที่อยู่อาศัยก็คับแคบลงไปถนัดตาและอึดอัดมาก
เครื่องนอน เช่น หมอนและผ้าห่มก็ไม่เพียงพอและเก่ามาก ผู้ที่อาศัยอยู่ใต้บาลาจะทำกิจกรรมต่างๆ
ก็ไม่สะดวก เพราะเวลาฝนตกจะมืดมาก และที่สำคัญคือยุงเยอะ เนื่องจากหลังห้องครัวจะเป็นบ่อน้ำเสีย
ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงเป็นอย่างดี ดังนั้น สิ่งที่เด็กๆ ใฝ่ฝันอยากจะมี คือห้องพยาบาลที่เป็นสัดส่วน
ขยายพื้นที่ห้องนอน ปรับปรุงและขยายพื้นที่ ให้มี ตู้เสื้อผ้าและมีมุ้งและยากันยุง
ซึ่งก็ค่อยจัดหากันต่อไป
จนกระทั่งปี 2546 เมื่อมีการจัดตั้งศูนย์เด็กกำพร้า
จึงได้มีการต่อเติมสถานที่นอนให้กับเด็ก มีห้องครัวสำหรับทำอาหาร มีห้องประชุมสำหรับจัดกิจกรรมต่างๆ
รวมทั้ง ห้องเรียนของเด็กอนุบาล
เด็กมีความประทับใจมากที่ได้มาเรียนที่นี่ รู้สึกสะดวกกว่าที่บ้าน รู้สึกสบายใจและปลอดภัย
สนามกว้างขวางพอที่จะเล่นกีฬาได้ มีคนทั้งในประเทศและต่างประเทศมาเยี่ยมเยียนบ่อยๆ
และสิ่งที่ดีใจมากก็คือการได้ห้องเรียนใหม่ ที่เด็กๆ ใฝ่ฝันมานานว่าจะมีสถานที่เรียนที่เป็นสัดส่วน
เมื่อได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนเพื่อสังคม (SIF) ทำให้ความฝันของเด็กเป็นจริงขึ้นมา
แม้ยังมองว่าจำเป็นต้องปรับปรุง อีกหลายอย่าง แต่ก็คิดได้ว่าต้องค่อยเป็นค่อยไป
อย่างชั้นวางของที่ไม่แข็งแรงและไม่เรียบร้อย
แม้ว่าขณะนี้สภาพความเป็นอยู่ในศูนย์ฯ
จะดีขึ้นกว่าเมื่อก่อน ทำให้เด็กๆ อยู่กันสบายขึ้นในแง่ของสถานที่ แต่ในบางครั้งความรู้สึกของเด็กก็จะแทรกซึมไปด้วยความเหงา
และการที่จะคลายความรู้สึกซึมเศร้านี้ได้ อยากให้เพื่อนๆ ได้นึกถึงอุมมี(แม่) มัรยัม
สาเมาะ และยึดเอาแบบอย่างของอุมมีที่มีความเข้มแข็ง
ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อน
เด็กที่มาอยู่รวมกันในศูนย์เด็กกำพร้าฯ
จะมาจากหลายถิ่น ดังนั้น นิสัยใจคอของแต่ละคน จะไม่เหมือนกัน บ้างก็ชอบอยู่เป็นพรรคเป็นพวกไม่ค่อยจะถูกกัน
เวลาเล่นหรือทำงานก็จะขัดแย้งกัน โดยไม่มีเหตุผล ปัญหาที่พบเห็นได้บ่อยคือเด็กเก่าที่อยู่มาก่อนจะชอบรังแกเด็กใหม่
เช่น เอากับข้าวไปซ่อน จนทำให้เด็กรุ่นน้องไม่พอกิน มีการทะเลาะกันบ่อยๆ แต่ถึงอย่างไร
ก็ทำให้เด็กๆ ได้รู้จักเพื่อนที่แตกต่างหลากหลายมากขึ้น การอยู่ด้วยกันทำให้รู้จักนิสัยใจคอของเพื่อน
และจะมีการปรับตัวเข้าหากันและกันมากขึ้น ดังนั้น สิ่งที่เด็กทุกคนอยากเห็นคือให้ทุกคนเปิดใจให้กว้าง
ให้ทุกคนรู้จักหน้าที่ ให้ทุกคนมั่นคงต่ออัลลอฮเพราะพระองค์กำลังมองเราอยู่ และสังเกตและเห็นเราอยู่
ขอให้ทุกคนใช้เวลาที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ อย่าใช้อารมณ์ซึ่งกันและกัน เห็นเพื่อนทำผิดก็ช่วยกันตักเตือน
ก่อนจะพูดให้คิดก่อน ให้สามัคคีกันเวลาอยู่ร่วมกันและเวลาทำงานให้ถามทุกข์สุขของเพื่อนบ้าง
พยายามทำดีกับคนที่เขาไม่ดีกับเรา วันหนึ่งเขาคิดถึงเราเอง มีอะไรต้องปรึกษากัน
อยากให้ฟังเหตุผลบ้าง ซึ่งเป็นคำวิงวอนหนึ่งของสมาชิกที่อยู่ร่วมกัน ที่ใฝ่หาสันติ
ตามความหมายของคำว่า อิสลาม
ด้านกฎกติกาและกริยามารยาท
เมื่อเด็กๆ มาอยู่รวมกันจำนวนมาก จำเป็นจะต้องมีการสร้างกฎกติกาสำหรับการอยู่ร่วมกันขึ้นมา
เพื่อให้ความเป็นอยู่ภายในศูนย์เด็กกำพร้าฯ เป็นไปอย่างสงบและมีความสุข แต่อย่างไรก็ดี
การมีกฎกติกา ก็เหมือนเป็นดาบสองคม เมื่อมีกฎก็ต้องมีผู้ถือกฎและผู้ปฏิบัติตามกฎ
และเป็นธรรมดาที่เด็กในวัยรุ่น วัยหนุ่มสาวต้องการความอิสระและหลุดออกจากกรอบบ้าง
การบังคับให้ต้องปฏิบัติอยู่ในกฎเกณฑ์ตลอดเวลา ก็เลยเข้าทำนองสุภาษิตที่ว่า ยิ่งว่าเหมือนยิ่งยุ
เด็กที่นี้ก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน คือ การบังคับเด็กบางคนที่ดื้อมากให้ปฏิบัติตามกฎ
ก็ต้องจ้ำจี้จ้ำไชตลอดเวลา ทั้งที่รู้แล้วว่าหน้าที่ของตัวเองคืออะไร เด็กชอบเถียงกับหัวหน้า
ส่วนหัวหน้าที่เคร่งครัดชอบสั่ง ทำโทษมากเกินไป จะติดว่าตัวเองเป็นหัวหน้าที่สั่งคนอื่นให้ทำตามกฎระเบียบได้
แต่ตัวเองกลับไม่ทำตามกฎ หัวหน้าจึงถูกมองว่าไม่ยุติธรรม ไม่มีใครเชื่อ ถ้าใช้วิธีการแบบการตัดสินใจร่วมกัน
ก็คาดว่าจะสามารถ ลดปัญหาเกี่ยงกันทำงานมากขึ้น
นอกจากนี้ สิ่งที่เด็กๆ รู้สึกอึดอัดใจมากอีกอย่างคือการอนุญาตให้กลับบ้านได้เพียงปีละ
3 ครั้ง เท่านั้น ซึ่งมองว่าน้อยเกินไป และเด็กเองก็มีความรู้สึกคิดถึงบ้าน
ส่วนมารยาทที่น่าจะมีการปรับปรุงกันก็คือการเอาของของคนอื่นโดยไม่มีการขอ ละหมาดไม่ตรงเวลาและไม่พร้อมกัน
ละหมาดตารอแวะห์ โดยไม่มีอีหม่าม ทุกคนชอบพูดคำหยาบ
สิ่งที่เด็กๆ อยากเห็นมากที่สุดคืออยากให้ท่านประธานนักเรียนกระตือรือร้น
ให้โอกาสในการเรียนรู้โลกข้างนอกบ้าง รวมทั้งการให้เวลาส่วนตัวกับเด็กมากขึ้น ส่วนการละหมาดก็ให้ขึ้นละหมาดพร้อมๆ
กัน เมื่อเวลามีอีก 5 นาทีจะละหมาดให้ปูซาญาดะห์ก่อนหน้านั้น ให้มีอีหม่ามละหมาดตารอแวะห์
และให้ทุกคนพูดจาอ่อนโยนซึ่งกันและกัน
ด้านการเรียน
เด็กๆ ในศูนย์เด็กกำพร้าฯ จะมีความคิด
ความต้องการในการเรียนที่แตกต่างกัน บางคนอยากเรียนศาสนา เรียนกีตาบ บางคนอยากเรียนสายสามัญล้วนๆ
ส่วนบางคนอยากเรียนอาชีพ หรืองานประดิษฐ์ ให้เก่งเพราะจะได้เปิดร้านเป็นของตัวเอง
เช่น การทำผ้าบาติก ปักดอก พิมพ์ดีด เย็บผ้า (แต่พอกลับบ้าน ไม่มีจักรเย็บผ้า)
แต่สภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันคือนักเรียนไม่ค่อยสนใจเรียน ขาดความรับผิดชอบ เรียนแล้วก็ไม่ค่อยเข้าใจ
เวลาเรียนไม่เพียงพอ เพราะคนมาเลเซียมาเยี่ยมเมื่อใด ก็จะทำให้เกิดการเรียนชะงักไป
ทุกครั้ง
ความรู้สึกต่อครูผู้สอน
เด็กในศูนย์เด็กกำพร้าฯ คิดตรงกันว่าครูเหมือนแม่คนที่สอง
อยากเรียนกับครูที่ใจดีทุกคน ดีใจ ที่ได้ครูแนะนำทางที่ดีให้ ดังนั้น สิ่งที่ควรปฏิบัติเมื่อเจอครู
คือ อย่างน้อยควรให้สลามครูก่อน ไม่ใช่ครูกล่าวสลามก่อน แม้บางครั้งครูสอนเร็วเกินไป
หนังสือมีไม่ครบ ขาดอุปกรณ์ขณะสอน เช่น แปลงลบกระดาน เด็กทุกคนก็พอใจและรักครูทุกคน
แต่ก็อยากให้มีครูจำนวนมากขึ้น ให้พอเพียงกับจำนวนเด็ก และมีพื้นฐานในการสอนในสิ่งที่เด็กต้องการเรียนรู้
เช่น ครูที่สอนศาสนา อยากให้เป็นครูที่มีประสบการณ์มากๆ อยากให้ครูเข้าใจเด็กบางคนที่เรียนไม่ทันเพื่อน
ส่วนวิชาสามัญนั้น เด็กจะมีความรับผิดชอบในการเรียนมากกว่าเพราะครูจะมาคอยดูแลอยู่ตลอด
โดยเฉพาะเด็กที่อยากเรียนสามัญเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
นอกจากนี้ อยากให้มีทัศนศึกษาปีละ 2 ครั้ง ออกไปแสวงหาความรู้จากโลกภายนอก จัดให้มีหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ เทคโนโลยีที่ทันสมัย มีกิจกรรมอื่นๆ เสริมในเวลาเรียนบ้าง ให้ครูเน้นความรู้ให้มากๆ อยากมีครูที่ใจดี ครูที่มาอยู่ร่วมกับเด็กๆ ในโอกาสอื่นที่ไม่ใช่อยู่แต่เฉพาะในห้องเรียน อยากให้ครูผู้ชายมาสอนบ้าง อยากได้ครูสอนมูอัลลัฟบ้าง และให้ครูเรียกทำอุสเราะห์ เดือนละครั้ง
ด้านการแต่งกาย
เอกลักษณ์ของการแต่งกายของสตรีมุสลิมคือ การใส่ชุดยาว
(ปิดเอารัต ตามหลักการอิสลาม) และ ชุดที่สวมอยากเปลี่ยนชุดนักเรียนที่ใหม่ๆ นี้เป็นชุดบายะ
(ชุดยาวและหลวม) เพราะจะให้พ้นจากคำครหา อยากมีชุดพละ อยากมีรองเท้าให้ครบทุกคน
แต่ดีใจที่ได้แต่งกายมิดชิด ดีใจที่ได้ใส่ผ้าคลุมผืนใหญ่ ดีใจ ที่ได้ใส่ผ้าคลุมที่ปิดหน้าเพราะจะได้ปกป้องจากอันตรายต่างๆ
ได้
การแต่งกายแบบนี้จะสอนให้เป็นคนอดทน
แม้ว่าจะร้อนแค่ไหน แต่การแต่งกายแบบนี้อัลลอฮฺจะให้ความเมตตา (เราะห์มัต) แม้ว่าจะมองไม่เห็นก็ตาม
อยากให้ทุกคนปกปิดส่วนของร่างกายที่อิสลาม ห้ามเปิดเผย (เอารัต) จะได้เป็นสตรีที่เต็มเปี่ยมด้วยความศรัทธา
(มุมีนะห์) ที่กตัญญู (ซอลีฮะ) ต่ออัลลอฮฺ ต่อบทบัญญัติแห่งอิสลาม แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องการแต่งกายให้สะดวกต่อการทำงานและเวลาทำกับข้าว
ใส่เสื้อแขนสั้นหรือเสื้อยืดนอนในเวลากลางคืนได้เพราะอากาศร้อน เวลาอยู่ในห้องอยากใส่ผ้าคลุมผืนเล็ก
อยากให้มีผ้าคลุมสามเหลี่ยมเอาไว้ใส่ในศูนย์เด็กกำพร้า อยากได้ชุดนักเรียนเป็นเสื้อสีขาวและกระโปรง
สีน้ำเงินพร้อมผ้าคลุมหน้าที่พอเพียง
เสียงสะท้อนจากศิษย์เก่า : ได้รับอะไรจากศูนย์เด็กกำพร้าฯ
ด้านความรู้
จากการสัมภาษณ์ศิษย์เก่า ได้นึกถึงเสมอว่าอุมมี
(แม่) มัรยัม สาเม๊าะ ได้สั่งสอนให้แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ขยัน ยึดมั่นในอัลลอฮฺ
ทำให้ศิษย์เก่าทุกคนดำรงตนในกรอบของมุสลิมมะฮฺที่ดี การอยู่ร่วมกัน ในศูนย์เด็กกำพร้าฯ
ทำให้สามารถปรับตัวเข้าในกลุ่มสังคมได้ ความรู้ที่ได้จากการเรียน ทำให้มีพื้นฐาน
การศึกษาที่ดี บางคนสามารถนำไปใช้ในการเรียนต่อเข้ามหาวิทยาลัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ
บางคนนำความรู้ไปใช้ในการสอนตาดีกา สอนจริยธรรมแก่ผู้ใหญ่ สอนกีรออาตีแก่คนในชุมชน
ด้านอาชีพ
การที่ทางศูนย์เด็กกำพร้าฯ ได้สนับสนุนให้เด็กได้รับการเรียนรู้ด้านอาชีพ
ช่วยให้เด็กที่จบออกมาแล้วสามารถยืนหยัดด้วยตนเอง สามารถประกอบอาชีพที่ได้ร่ำเรียนมาจากศูนย์เด็กกำพร้าฯ
เช่น การเรียน ทำอาหาร การเรียนตัดเย็บ การทำของประดิษฐ์ การทำผ้าบาติก การเกษตร
เด็กให้อะไรแก่ชุมชน
ศูนย์เด็กกำพร้าฯ ไม่เพียงแต่เน้นหนักเรื่องการเรียนด้านศาสนา
วิชาสามัญและอาชีพเท่านั้น แต่ยังเน้นหนักเรื่องความรับผิดชอบในด้านอื่นๆ อีกด้วย
ดังนั้น เมื่อเด็กจบศาสนา ชั้น 4 (อิบติดาอีย์) แล้ว เด็กทุกคนต้องอยู่ช่วยงานให้ศูนย์เด็กกำพร้าฯ
เวลา 1 ปีเป็นอย่างน้อย ระหว่างนี้ บางคนก็จะเรียนวิชาสามัญระดับมัธยมศึกษาตอนปลายกับศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมืองปัตตานีไปด้วย
ในระยะเวลา 1 ปีนี้ นักเรียนจะมีโอกาสทำงานเพื่อสังคม
เช่น สอนตาดีกา สอนวิชาศาสนาอิสลามเบื้องต้น สอนกีรออาตี (อัล-กุรอานขั้นพื้นฐาน)
สอนจริยธรรม ให้แก่ผู้อาวุโส และแม่บ้านตามหมู่บ้านต่างๆ ที่ร้องขอมา ช่วยทำงานบ้าน
เช่น เลี้ยงเด็ก ทำความสะอาดบ้าน ดูแลบ้าน เฝ้าร้านสหกรณ์ และเมื่อได้ค่าจ้างนักเรียนก็จะแบ่งเข้ากองกลางเพื่อช่วยศูนย์เด็กกำพร้าฯ
ด้วย
เครือข่ายมุสลิมะฮฺและบุคคลภายนอกมองมายังศูนย์เด็กกำพร้าฯ
ด้านการบริหาร
ในสายตาของบุคคลภายนอก มองว่าการบริหารงานของศูนย์เด็กกำพร้าฯ
ยังเป็นที่กังขาของสังคม ชาวบ้านมองว่าวัตถุประสงค์และเป้าหมายของศูนย์เด็กกำพร้าฯ
ยังไม่ชัดเจน การทำงานยังไม่เป็นระเบียบ อาคารสถานที่และงานวิชาการยังไม่พร้อม
ขาดการประชาสัมพันธ์ ในระดับหมู่บ้าน ตำบล และอำเภอ ดังนั้น เสนอให้ศูนย์เด็กกำพร้าฯ
และชุมชนทำงานด้วยกันได้อย่างสบายใจ ด้วยการประชาสัมพันธ์ให้มากกว่าเดิม ควรมีการพบปะสร้างความสัมพันธ์ระหว่างศูนย์เด็กกำพร้าและยากจนอนาถาบ้านสุไหงปาแน
กับศูนย์ เด็กกำพร้าอื่นๆ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง รวมทั้งต้องมีแผนรวมทั้งวิสัยทัศน์ในการบริหารศูนย์เด็กกำพร้าฯ
ด้านการเงิน
ขณะนี้ศูนย์เด็กกำพร้าฯ มีการจัดทำบัญชีในรูปแบบของชุมชน
รายได้มาจากการได้รับบริจาค ซะกาต รายได้จากการขายสินค้า เช่น ผ้าบาติก ผ้าคลุมผม
หมวก ฯลฯ ซึ่งการรับรู้เรื่องที่มาของรายได้ยังอยู่ในวงแคบ รู้เฉพาะคณะกรรมการเท่านั้น
ส่วนบุคคลภายนอกจะไม่สามารถรับรู้ได้เลย แนะนำว่าให้มีการแยกที่มาของรายได้ บันทึกรายรับจากการบริจาค
รวมทั้งรายจ่าย เผยแพร่งบประมาณประจำปีให้ประชาชนรับรู้ โดยติดประกาศบนบอร์ดประชาสัมพันธ์ในที่เปิดเผยอย่างชัดเจน
สามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา ตลอดจนหาวิธีการจัดหารายได้ที่ยั่งยืน มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบบัญชีจากบุคคลภายนอกศูนย์
เด็กกำพร้าฯ หาวิธีการให้คนนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารเงิน ควรมีการอบรมเจ้าหน้าที่ทำบัญชี
โดยตรง คณะกรรมการตรวจสอบบัญชีควรประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทางราชการด้านศาสนา
ตัวแทน ชุมชน หรือตัวแทนเครือข่ายกลุ่มมุสลิมมะฮฺ หากศูนย์เด็กกำพร้าฯ ต้องการงบประมาณ
ให้ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ อย่างเปิดเผยทางวิทยุ หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น หรืออาจจัดตั้งแหล่งจำหน่ายสินค้าของศูนย์
เด็กกำพร้าฯ ในโอกาสต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกศูนย์เด็กกำพร้าฯ
ด้านบุคลากร
บุคคลภายนอกมองว่าบุคลากรในศูนย์เด็กกำพร้าฯ
ยังไม่เพียงพอต่อจำนวนเด็ก และครูพี่เลี้ยง ยังขาดประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอน
ดังนั้น ควรมีการจัดอบรมเรื่องแนวทางการสอน พัฒนาครูให้มีความรู้มากกว่านี้ ให้ครูพี่เลี้ยงเอาใจใส่เด็กมากขึ้น
มีเทคนิคและประสบการณ์ในการเลี้ยงเด็กตามช่วงชั้นอายุต่างๆ อย่างน้อยผู้ดูแลเด็กควรอยู่กับเด็ก
2 ปีขึ้นไป อบรมพี่เลี้ยงให้เข้าใจด้านจิตวิทยา จัดระบบดูแลและติดตามเด็กโดยประสานงานกับผู้ปกครอง
และให้มีการแนะแนวเด็กเสมือนหนึ่งเป็นครอบครัวเดียวกัน (อุสเราะห์) ทุกเดือน
ด้านเด็ก
ในอดีตมองว่าเด็กยังขาดความมั่นใจในตัวเอง
สำนึกของเด็กถอยหลัง ขาดความรับผิดชอบ ขาดความอ่อนโยน แบ่งพรรคแบ่งพวก ไม่สามัคคีกัน
ขาดระเบียบวินัย แต่ปัจจุบันมีพัฒนาการที่ดีขึ้น เน้นการเรียนการสอนด้านวิชาสามัญ
และด้านอาชีพ ควบคู่ไปกับการสอนวิชาด้านศาสนา มีกิจกรรม จัดอบรมจริยธรรม ปีละ 2
ครั้ง เด็กที่อยู่ประจำจึงมีมารยาทดี ดังนั้น สิ่งที่ศูนย์เด็กกำพร้าฯ ควรทำต่อคือหาวิธีการทำความเข้าใจกับชุมชน
เพื่อให้ชุมชนช่วยกันดูแล ช่วยกันบริจาคทุนการศึกษา แนะนำครูพี่เลี้ยงว่าต้องเอาใจใส่เด็ก
บนพื้นฐานความเข้าใจในปัญหาของเด็ก ใช้คำพูดที่ดี ที่น่าเชื่อถือและเป็นที่ปรึกษาที่ดี
แก่เด็ก อย่าเข้มงวดในกฎระเบียบมากเกินไปนัก ให้อิสระกับเด็กบ้างในบางโอกาส เช่น
จัดให้มีกิจกรรม ในการส่งเสริมการแสดงออกของเด็ก ควรมีเกณฑ์แบ่งอายุเด็กเป็น 2
ระดับ คือ ระดับอายุ 6-12 ปี และระดับอายุ 13-17 ปี เพื่อง่ายต่อการดูแล และลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านความนึกคิด
จิตใจ และอารมณ์ มีการเสริมคุณภาพเด็ก ด้วยการสร้างวินัย สอนให้รู้จักตนเองและการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
พาเด็กออกไป ทัศนศึกษานอกสถานที่เพื่อหาประสบการณ์ใหม่ๆ
ความคิดและข้อเสนอแนะของชุมชนและกลุ่มมุสลิมมะฮฺต่อศูนย์เด็กกำพร้าฯ
ศูนย์เด็กกำพร้าฯ มีประโยชน์กับผู้ที่ขาดความอบอุ่น รู้สึกยินดีกับการดำเนินงานของศูนย์ เด็กกำพร้าฯ ที่ทำถูกต้องแล้ว การจัดให้มีการมาพบปะแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน จะทำให้ได้เพื่อนและช่วยเป็นหูเป็นตาในการช่วยเหลือดูแลศูนย์เด็กกำพร้าฯ ต่อไป ปัจจุบันประชาชนในหมู่บ้านก็ให้ความสนใจ การดำเนินงานของศูนย์เด็กกำพร้าฯ แต่ชุมชนยังไม่มีโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วม เนื่องจากทางเครือข่าย มุสลิมมะฮฺไม่มีโอกาสพบปะเด็กและฝ่ายบริหารบ่อยครั้งมากนัก อยากให้ชุมชนมีส่วนร่วมมากขึ้น ทั้งในเรื่องการเรียนการสอน เปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามารับรู้ปัญหา โดยผู้บริหารเองอาจชี้แจงให้ชุมชนทราบโดยตรง อยากให้มีสถานที่รับเลี้ยงเด็กกำพร้าเพิ่มมากขึ้น ควรจัดให้มีการจัดอบรมจริยธรรมอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ลองให้เด็กเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาศูนย์เด็กกำพร้าฯ ของเขาเอง ต้องการให้ทางศูนย์เด็กกำพร้าฯ รับเลี้ยงเด็กกำพร้าผู้ชายด้วย ให้ทางบุคลากรของศูนย์เด็กกำพร้าฯ ลงพื้นที่สอบถามปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กหรือลูกหลานตามหมู่บ้านโดยตรง มีการพบปะในเครือข่ายมุสลิมมะฮฺ 3 เดือนครั้ง รวมทั้งจัดให้เครือข่ายมุสลิมะฮฺพบปะกับเด็กกำพร้าโดยตรง เพื่อได้รับรู้ปัญหาโดยตรง
การรับการช่วยเหลือของศูนย์เด็กกำพร้าฯ
การช่วยเหลือที่ศูนย์เด็กกำพร้าฯ
ได้รับนั้น ส่วนใหญ่เป็นการช่วยเหลือของนักท่องเที่ยวชาว มาเลเซียที่แวะมาเยี่ยมอย่างสม่ำเสมอ
ซึ่งการมาของคณะผู้มาเยือน มักจะมาพร้อมกับของกินและของใช้ บ้างก็มาให้เป็นเงิน
โดยเฉลี่ยแล้ววันหนึ่งๆ ศูนย์เด็กกำพร้าฯ จะมีรายได้ในส่วนนี้ 1,000 บาท แต่กระนั้น
ก็ตาม ศูนย์เด็กกำพร้าฯ ก็ยังเป็นที่เพ่งเล็งจากบุคคลภายนอกอีกว่า
ศูนย์เด็กกำพร้าฯ เอาเงินมากๆ
ไปทำอะไร มีความโปร่งใสมากน้อยเพียงใด
ศูนย์เด็กกำพร้าฯ มีการพัฒนาเร็วไปหรือเปล่า
ศูนย์เด็กกำพร้าฯ เปิดตัวเองน้อยไปหรือเปล่า
ศูนย์เด็กกำพร้าฯ ต้องการความร่วมมือจากชุมชนหรือเปล่า
ศูนย์เด็กกำพร้าฯ ต้องการเป็นเอกเทศหรือเปล่า
คำถามเหล่านี้นับว่าเป็นประโยชน์ต่อการปรับตัวของศูนย์เด็กกำพร้าฯ
และทำความเข้าใจกับชุมชน หรือบุคคลภายนอกให้เข้าใจดีขึ้น
ด้านสุขภาพ
ตอนนี้สมาชิกในศูนย์เด็กกำพร้าฯ มีบัตรทองรับประกันสุขภาพ
ซึ่งทางสาธารณสุขออกให้เมื่อเดือนมกราคม 2545 กว่าจะได้สิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพนี้มา
จะต้องวิ่งประสานกันหลายครั้งมาก ทั้งนี้เพราะว่าศูนย์เด็กกำพร้าฯ ไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมูลนิธิ
การติดต่องานกับทางภาครัฐจึงค่อนข้างจะมีปัญหา แต่ด้วยความมุ่งมั่นพยายาม ประกอบกับความทุ่มเทของคนทำงานตรงนี้
รวมทั้งชื่อเสียงของอาจารย์มัรยัม สาเมาะ ที่ทำเพื่อสังคมจริงๆ ในที่สุดก็ประสบผลสำเร็จ
ขณะนี้ทางสาธารณสุขยังเปิดโอกาสให้ทางศูนย์เด็กกำพร้าฯ สามารถส่งตัวเลขจำนวนเด็กเพื่อรับบริการสุขภาพได้โดยไม่ต้องแนบรายชื่อ
แม้ขณะนี้เด็กยังขาดการ ปฐมพยาบาลที่ดี แต่ศูนย์เด็กกำพร้าฯ ก็ได้เลือกการรักษาพยาบาลที่ดีที่สุดให้แก่เด็กแล้ว
ประโยชน์ของการจัดตั้งศูนย์เด็กกำพร้าฯ
ศูนย์เด็กกำพร้าฯ เป็นสถานที่ช่วยเหลือสังคมโดยทั่วไป
ซึ่งมีประโยชน์อย่างยิ่ง เป็นการให้โอกาสเด็กกำพร้าและยากจนให้มีการศึกษาและฝึกอาชีพ
ทำให้เด็กกำพร้าและเด็กที่ด้อยโอกาสสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เด็กบางคนอยู่ในครอบครัวที่ฐานะยากจน
เด็กบางคนไม่มีพ่อ ไม่มีแม่ที่จะคอยอบรม ดูแล พ่อแม่ของเด็กบางคนไม่มีรายได้ที่เพียงพอที่ลูกๆ
จึงต้องออกไปทำมาหากินต่างถิ่น
ดังนั้น จึงเป็นกุศลอย่างใหญ่หลวงที่อาจารย์มัรยัม
สาเมาะ ร่วมกับคณะกรรมการก่อตั้งศูนย์ เด็กกำพร้าฯ แห่งนี้ขึ้นมา ซึ่งจะเป็นการช่วยเหลือพ่อแม่ผู้ปกครองของเด็กที่ไม่ต้องจ่ายค่าเทอมในจำนวนมากอย่างเช่นโรงเรียนอื่นๆ
ถ้าจะมีค่าใช้จ่ายก็ไม่มากจนเป็นภาระหนักหนาแก่พ่อแม่ และที่ศูนย์เด็กกำพร้าฯ ที่เจริญก้าวหน้ามาถึงทุกวันนี้
ก็ขึ้นอยู่กับศักยภาพของผู้บริหารที่จริงจังด้วย จากการทำงานมา 12 ปีมาแล้ว พบว่าศูนย์เด็กกำพร้าฯ
มุ่งมั่นทำงานมาโดยตลอด สามารถช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสให้มีโอกาสใช้ชีวิต ได้อย่างสดชื่นเหมือนเด็กอื่นๆ
ทั่วไป มีอาหารการกินครบ 3 มื้อ มีโอกาสได้เรียนวิชาศาสนา วิชาสามัญ และฝึกอาชีพที่เหมาะสมสำหรับผู้หญิง
นับว่าศูนย์เด็กกำพร้าฯได้ช่วยชุมชนด้วยการรองรับเด็กที่มีปัญหามาไว้ ในการดูแลอย่างใกล้ชิด
เป็นสิ่งชี้วัดความเจริญด้านจิตใจของชุมชนนั้นๆ ด้วย
บทบาทของชุมชนในการส่งเสริมศูนย์เด็กกำพร้าฯ
ผู้ปกครองที่พาลูกหลานมาเรียนที่ศูนย์เด็กกำพร้าฯ
แห่งนี้ จะช่วยเหลือกันคนละไม้ละมือ เช่น ช่วยเหลือด้านข้าวสารบ้างเล็กๆ น้อยๆ
จ่ายค่าน้ำค่าไฟในบางเดือนที่ศูนย์เด็กกำพร้าฯ มีค่าใช้จ่ายมาก กลุ่มชุมชนเองก็ได้มาช่วยบริจาคเงินในช่วงแรกๆ
ที่ก่อตั้งศูนย์เด็กกำพร้าฯ แต่ระยะหลังไม่ค่อยได้ช่วยเท่าใดนัก ทั้งนี้เพราะศูนย์เด็กกำพร้าฯ
เองไม่ได้ร้องขอเหมือนแต่ก่อน และพยายามยืนหยัดด้วยตัวเอง โดยหวังว่าวันหนึ่งจะเป็นผู้ให้ได้บ้าง
แต่ถ้าศูนย์เด็กกำพร้าฯ จะมีการขอ ชุมชนก็พร้อมที่จะช่วยเหลือเสมอ แต่บางกลุ่มชุมชนยังไม่มีโอกาสได้ช่วย
บางคนเพิ่งรู้ว่ามีศูนย์เด็กกำพร้าฯ บางคนไม่มีเวลามาร่วมกิจกรรม
บางมุมมองของกลุ่มผู้นำชุมชนมีความเห็นว่าเด็กที่ด้อยโอกาสเหล่านี้เป็นหน้าที่รับผิดชอบของผู้นำในพื้นที่
ซึ่งจะต้องรับผิดชอบความทุกข์ของชาวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเด็กที่ไหนๆ ของโลกก็เป็นภาระของผู้นำ
ชุมชนที่จะต้องสอดส่องดูแลอย่างทั่วถึง
บทบาทของศูนย์เด็กกำพร้าฯ ที่ช่วยเหลือชุมชน
นับตั้งแต่การก่อตั้งศูนย์เด็กกำพร้าฯ
มาตั้งแต่ปี 2533 ได้เกิดผลผลิตคือศิษย์เก่าที่มีบทบาทในการพัฒนาชุมชนด้วยการออกไปสอนศาสนาตามโรงเรียนตาดีกา
และสอนอัล-กุรอานให้กับผู้คนในชุมชน เช่นเดียวกับศิษย์ปัจจุบัน มีบทบาทในด้านนี้เช่นกันแม้จะไม่เต็มที่นักเพราะต้องมีเวลาสำหรับเล่าเรียนเป็นหลัก
นับว่าเป็นความภาคภูมิใจที่ได้ทำประโยชน์ให้กับสังคม
ความเหมาะสมของผู้บริหารศูนย์เด็กกำพร้า
ศิษย์เก่ามีความเห็นว่าศูนย์เด็กกำพร้าฯ ที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของอาจารย์มัรยัม
สาเม๊าะและคณะกรรมการปัจจุบันนั้นเหมาะสมแล้ว เพราะทุกคนมีประสบการณ์ มีบทบาทในการพัฒนาชุมชน
เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ผู้ปกครองไว้วางใจ และต้องการให้ผู้นำในชุมชนมาช่วยกันดูแลศูนย์เด็กกำพร้าฯ
ร่วมกัน
ความจำเป็นด้านต่างๆ
ที่ควรจะมีต่อไป
ในศูนย์เด็กกำพร้าฯ มีความจำเป็นที่จะต้องดูแลในทุกๆ
ด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านการศึกษา ด้านสุขภาพจิต สุขภาพกาย และการบริการอื่นๆ
ที่ครอบคลุมไปถึงการทัศนศึกษาตามความจำเป็น ด้วยสำนึกอยู่เสมอว่าเด็กควรได้รับการดูแลตามสิทธิของเขา
กลุ่มผู้นำชุมชนได้มีโอกาสเข้ามาในการพัฒนาศูนย์เด็กกำพร้าฯ ในช่วงแรกๆ เท่านั้น
เพราะเด็ก ที่รับมาอุปการะเป็นผู้หญิงล้วน จึงกลายเป็นว่าผู้ที่มาดูแลและบริหารก็ต้องเป็นผู้หญิงไปโดยปริยาย
ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารศูนย์เด็กกำพร้าฯ
ศิษย์เก่าคิดว่าอาจารย์มัรยัม สาเม๊าะ ผู้นำชุมชน
และผู้ปกครอง ได้เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาศูนย์เด็กกำพร้าฯ ในช่วงต้นๆ และต่อมาบทบาทหลักในการพัฒนาศูนย์เด็กกำพร้าฯ
อยู่ที่อาจารย์มัรยัม และคณะกรรมการบริหารเท่านั้น
ความพึงพอใจต่อการบริหารงานในศูนย์เด็กกำพร้าฯ
พอใจในการบริหารศูนย์ฯ ในทุกด้าน สิ่งที่อยากเห็นคือลูกทุกคนได้รับการยอมรับในสังคม
สามารถออกเหย้าออกเรือนเลี้ยงตัวเองได้ด้วยการมีอาชีพที่สุจริต เด็กออกจากศูนย์เด็กกำพร้าฯ
ไปแล้วยังแต่งตัว ได้เรียบร้อยและทำประโยชน์ให้สังคมด้วยการสอนอัล-กุรอานได้
บทบาทในอนาคตของศูนย์เด็กกำพร้าฯ
ศูนย์เด็กกำพร้าและยากจนควรขยายไปสู่ชุมชนอื่นเพราะมีเด็กด้อยโอกาสอีกมากมายในหลายพื้นที่
ศิษย์ปัจจุบันได้มาร่วมเรียน ร่วมชีวิต ร่วมชะตากรรม ช่วยดูแลซึ่งกันและกัน
ควรแยกเฉพาะเด็กกำพร้าต่างหากจากเด็กยากจนและมุสลิมะฮฺใหม่ (มุอัลลัฟาต) เพราะการทำงานนี้เป็นเรื่องล่อแหลมมากต่อศาสนาอิสลาม
ต้องชัดเจนและโปร่งใสไม่ว่าต่อสายตามนุษย์หรือองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.)
ความคิดเห็นต่อศูนย์เด็กกำพร้าชาย
มีความคิดเห็นว่าจำเป็นต้องมีศูนย์เด็กกำพร้าและยากจนอนาถาสำหรับผู้ชาย
เพราะเด็กชาย ในปัจจุบันมักก่อปัญหาในพื้นที่ และตามหลักศาสนาและสังคมของคนเอเชียยอมรับการมีผู้ชายเป็นผู้นำ
ดังนั้นเด็กผู้ชายจำเป็นต้องได้รับการดูแล โดยเฉพาะด้านการศึกษาและการฝึกอาชีพ
ความเห็นด้านการศึกษา
ศูนย์เด็กกำพร้าฯ ควรเน้นจัดการศึกษาทุกๆ
ด้าน เช่น ด้านศาสนาควรสอนสูงสุดถึงชั้น 10 วิชาสามัญควรมีถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
และฝึกอาชีพ พ่อแม่ส่วนใหญ่เห็นว่าไม่สามารถให้ลูกเรียนนานๆ ไปจนถึงระดับปริญญาตรีได้
เพราะอยากให้ลูกออกมาช่วยงานที่บ้าน กลุ่มผู้นำชุมชนเห็นว่าเด็กควรเรียนเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
จะเป็นวิชาสามัญ หรือด้านศาสนาก็ตาม จะสนับสนุนให้ลูกเรียนเต็มที่
ข้อคิดเห็นต่อการประชุมของศูนย์เด็กกำพร้าฯ
สำหรับความถี่ในการประชุมของศูนย์เด็กกำพร้าฯ
แต่ละกลุ่มมีความเห็นที่ต่างกันออกไป ศิษย์เก่า มีความคิดเห็นว่าควรมีการประชุม
3 เดือนครั้ง หรืออย่างน้อยก็ 6 เดือนครั้ง แต่กลุ่มผู้ปกครองเห็นว่า ควรประชุมมากกว่าเดือนละครั้ง
เพื่อให้มีการพบปะกันบ่อยมากขึ้น
ความเห็นด้านสุขภาพ
เด็กที่มีอาการเจ็บป่วยควรได้รับการพยาบาลตามสิทธิอย่างสมบูรณ์จากกระทรวงสาธารณสุข
ผู้ปกครองเห็นว่าน่าจะจัด ให้มีการรักษาพยาบาลในรูปแบบการสงเคราะห์ เพราะตัวผู้ปกครองเอง
บางที ก็ยังไม่สามารถควักเงินออกค่ารักษาพยาบาลได้
กลุ่มผู้นำเห็นว่าเด็กควรได้รับการดูแลเต็มที่จากหน่วยงานสาธารณสุข
เพราะศูนย์เด็กกำพร้าฯ เป็นเสมือนสถานที่บำบัดสุขภาพของเด็กทั้งร่างกายและจิตใจโดยทางอ้อมอยู่แล้ว
ความคาดหวังต่อศูนย์เด็กกำพร้าฯ
ศิษย์เก่าเห็นว่าควรดำเนินบทบาทการบริหารจัดการด้านเศรษฐกิจ
และด้านการศึกษาที่จำเป็น แก่เด็กอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ให้มีการเพิ่มรายจ่ายค่าอาหารประจำวันของเด็กๆ
และเพิ่มเงินเดือน ของครูผู้สอน
ผู้ปกครอง คาดหวังว่าถ้าเป็นไปได้ อยากให้ลูกๆ
ได้เรียนเต็มที่และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ จากทางบ้านเลย ศิษย์ปัจจุบันควรได้รับการพยาบาลตามความเหมาะสม
ขยายให้ศูนย์เด็กกำพร้าฯ สามารถเปิดรับเด็กชายได้
กลุ่มผู้นำชุมชน คาดหวังว่าศูนย์เด็กกำพร้าฯ
จะเป็นสถานที่ช่วยเหลือเด็กที่ด้อยโอกาสให้สามารถยืนหยัดในสังคมอย่างปกติสุขเช่นบุคคลทั่วไป
ยิ่งกว่านั้น เด็กๆ ก็ยังสามารถช่วยเหลือตนเองได้ ไม่เป็นภาระต่อสังคม อีกทั้งสามารถทำตนให้เป็นประโยชน์แก่สังคมได้ด้วย
ปัญหาของเด็กและแนวทางแก้ไขจากใจครูพี่เลี้ยง
จากการที่คณะครูได้คลุกคลีกับเด็กเป็นเวลานานได้พบปัญหาเกี่ยวกับเด็กที่มาจากต่างพ่อแม่กัน
พื้นเพที่ต่างกัน อายุก็ต่างกัน ก่อให้เกิดปัญหามากมาย โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพจิต
โดยมีสาเหตุสำคัญ ที่พอประมวลได้ ดังนี้
อายุ อายุของเด็กแตกต่างกัน ต้องมาอยู่ร่วมกันทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสติปัญญา
การเอารัดเอาเปรียบ การชิงดีชิงเด่น การเอาตัวรอด เด็กเล็กจะเลียนแบบเด็กโต ถ้าเด็กโตมีพฤติกรรมไม่ดี
เด็กเล็กก็จะเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่ดีไปด้วย
สภาพครอบครัว เด็กบางคนมีพ่อแม่ มีพี่น้อง แต่บางคนมีเพียงพ่อหรือแม่
บ้างคนไม่มีพ่อแม่ แต่อาจจะมีเพียงญาติ และบางคนไม่มีใครเลย ความแตกต่างเหล่านี้
ทำให้เด็กมีปมด้อยที่ต่างกันซึ่งก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพจิต
ระดับสติปัญญา ปัญหาด้านสติปัญญานี้ เป็นปัญหาสำคัญ เนื่องจากเด็กส่วนมากมีสติปัญญาดี
แต่ใช้ในทางที่ผิด เช่น ใช้เพื่อหลบหนีหน้าที่ เพื่อเอาตัวรอดจากสภาวะที่บีบคั้นต่างๆ
สุขภาพจิต เป็นผลพวงมาจากสถานภาพครอบครัว ประกอบกับสภาพความเป็นอยู่ในศูนย์
เด็กกำพร้าฯ ทำให้เด็กบางคนมีสุขภาพที่ย่ำแย่ เนื่องจากไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้
บางคนอาจโดนเอารัดเอาเปรียบจากรุ่นพี่ เด็กเหล่านี้อาจจะเรียนรู้การเอาตัวรอดแบบผิดๆ
กิริยามารยาท จากการที่เด็กเล็กและเด็กโตต้องใช้ชีวิตร่วมกัน
ทำให้เด็กเรียนรู้การเอาตัวรอดจากการเอารัดเอาเปรียบของรุ่นพี่ อีกทั้งเด็กเล็กจะลอกเลียนแบบกิริยามารยาทของรุ่นพี่ที่เด่นๆ
ที่มีอำนาจ ที่เกเรทำให้เด็กๆ เหล่านี้มีนิสัยก้าวร้าว ดื้อรั้น หลบหลีกหน้าที่
ไม่รับผิดชอบต่อหน้าที่ ไม่เคารพ ครูบาอาจารย์
สุขภาพกาย มีความเกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต เด็กที่มีความเครียด
จะทำให้สุขภาพกายอ่อนแอ โดยมักพบว่าเด็กส่วนมากจะปวดหัว ปวดท้อง และเป็นโรคกระเพาะ
ปัญหาที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือมีพี่เลี้ยงไม่เพียงพอต่อการดูแลเด็กอย่างทั่วถึง
พี่เลี้ยงขาด ประสบการณ์การดูแลเด็ก เนื่องจากบางคนจบการศึกษาด้านศาสนา ไม่มีความรู้ด้านจิตวิทยา
พี่เลี้ยงที่ยังโสดจึงไม่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงเด็ก เข้าไม่ถึงจิตใจของเด็ก ทำให้เด็กและพี่เลี้ยงไม่ใกล้ชิดกัน
ไม่เข้าใจกัน เด็กขาดความสนใจในการเรียนเนื่องจากไม่มีแรงจูงใจ ด้วยเหตุที่ไม่มีสถานที่เรียนอย่างเหมาะสม
ไม่มีสื่อการเรียนการสอนที่ดึงดูดความสนใจ ดังนั้น แนวทางในการแก้ไข คือ
1. ให้มีครูพี่เลี้ยงที่มีประสบการณ์ และรับผิดชอบเด็กเพียง 7-10 คน เท่านั้น เพื่อสามารถดูแล
ได้อย่างใกล้ชิด
2. ให้นักเรียนที่มีอายุไล่เลี่ยกันอยู่ด้วยกัน เพื่อลดความขัดแย้งในความเหลื่อมล้ำทางความคิดและป้องกันเด็กโตรังแกเด็กเล็ก
3. ปัญหาที่เด็กขาดความสนใจในการเรียน ครูควรได้รับการอบรมเกี่ยวกับการทำสื่อการสอน
4. ปัญหาการบริหารและการปกครอง เห็นควรที่ครูจะไปเยี่ยมโรงเรียนอื่นๆ บ้าง เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และมาปรับปรุงการทำงานที่ศูนย์เด็กกำพร้าฯ
การติดตามประเมินผลเด็กๆ กิจกรรมสัมพันธ์ด้วยใจประสานใจ
การติดตามประเมินผล
มีจุดประสงค์หลัก คือ เพื่อพบปะ ตักเตือนซึ่งกันและกัน ถามข่าวคราวและทุกข์สุขของนักเรียนทุกคน
อบรมจริยธรรมในการดำรงตนให้อยู่อย่างเรียบร้อย และมั่งคงในอัลลออฮฺ ให้นักเรียนสำนึกตนอยู่เสมอว่าให้ทำประโยชน์เพื่อสังคม
ให้รุ่นน้องมีโอกาสรู้จักกับรุ่นพี่ เพื่อเป็นการเพิ่ม สัมพันธไมตรี
เมื่อมองถึงบทบาทหน้าที่ของทั้งเด็กและครูพี่เลี้ยงที่อยู่ในศูนย์เด็กกำพร้าฯ
ซึ่งจะต้องช่วยเหลือและพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันแล้ว สิ่งที่ต้องช่วยเหลือและทำความเข้าใจกันและกันคือยอมรับในสภาพของการเป็นศูนย์เด็กกำพร้า
และยอมรับชะตากรรมที่ต้องให้มาอยู่ร่วมกันในที่เดียวกัน
สำหรับเด็กที่กำลังเรียนอยู่ในศูนย์เด็กกำพร้าฯ
การติดตามประเมินผลการศึกษาและการอบรม ควรจะทำโดยอาจารย์ผู้สอนร่วมกับนักเรียนด้วยกันเอง
ซึ่งทุกๆ ปี ทางโรงเรียนจะมอบรางวัลให้เด็กที่ขยันและเด็กที่เรียบร้อยอันเป็นที่รักของทุกๆ
คน
สำหรับเด็กที่เรียนจบแล้ว ทุกๆ ปี ทางโรงเรียนจะจัดวันพบปะรุ่นน้องกับรุ่นพี่
มีการจัดเลี้ยงอาหาร สนทนาพูดคุยเป็นกันเอง มีกิจกรรมหลายๆ อย่างร่วมกัน รวมถึงการอบรมจริยธรรม
จากที่ได้พบปะกัน และติดตามข่าวคราวเด็กที่จบออกไปแล้ว
พบว่านักเรียนทุกคนยังคงอยู่ในกรอบที่ดีตามหลักศาสนาอิสลาม เช่น รักษาการแต่งกายตามหลักศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด
ประกอบศาสนากิจอย่างไม่ละเว้น ไม่ประกอบมิจฉาชีพ ที่น่ายินดีอย่างยิ่งคือนักเรียนบางคนได้ศึกษาต่อในระดับสูงทั้งด้านศาสนาและสามัญ
สำหรับผู้ที่แต่งงานแล้วก็มีครอบครัว มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ศิษย์เก่าหลายคนกลับมาช่วยทำงานในศูนย์เด็กกำพร้าฯ
เพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณสถาบันแห่งนี้