โรงเรือน
นกยูง เป็นสัตว์ที่ใช้ชีวิตในพื้นที่ป่ามีต้นไม้ตลอดทั้งปีและมีพืชอาหารสัตว์อุดมสมบูรณ์และเป็นสัตว์ที่ตื่นตกใจง่าย
ดังนั้น พื้นที่ที่ใช้เลี้ยงนกยูงควรจะต้องเลือกพื้นที่ดังนี้
1. พื้นที่เป็นที่ดอนไม่มีน้ำท่วมขัง
2. ลักษณะดินควรเป็นดินร่วนปนทรายสามารถซึมซับน้ำลงสู่ใต้ดินได้อย่างรวดเร็วน้ำไม่ท่วมขัง
3. ลักษณะภูมิอากาศ แห้งและเย็น อากาศถ่ายเทได้สะดวก ปริมาณน้ำฝนต่ำกว่า 1,000 มิลลิลิตร/ปีจะเหมาะสมมาก
ถ้ามีฝนตกชุกควรไม่เกิน 1,500 มิลลิลิตร/ปี เพราะนกยูง ไม่ชอบภูมิอากาศที่ชื้นแฉะและมีฝนตกชุกเกินไปซึ่งจะทำให้ป่วย
4. ห่างไกลจากชุมชนและถนนใหญ่พอสมควรเพราะนกจะมีนิสัยตื่นตกใจง่ายและร้องเสียงดังจึงควรเลี้ยงแบบอิสระห่าง
ไกลจากเสียงรบกวนจะทำให้นกไม่เครียด
โรงเรือน (Sheld) นกยูง ควรจะเลี้ยงแบบเป็นชุดประกอบด้วยนกยูง เพศผู้ 1 ตัวต่อแม่พันธุ์นกยูง 1 3ตัวซึ่งจะต้องมีโรง
เรือนที่เหมาะสมสำหรับการผสมพันธุ์และวางไข่
1 โรงเรือนเลี้ยงนกยูง พ่อ แม่พันธุ์ ส่วนประกอบจะต้องมีหลังคาซึ่งมีความสูงไม่น้อยกว่า 4 เมตร มีฝาผนัง 4ด้านมีประ
ตูเข้าออก สามารถป้องกันแดด ลม พายุ ฝน ได้เป็นอย่างดี ตัวโรงเรือนควรจะมีขนาดกว้างยาวประมาณ 8 * 10เมตรประ
ตูเข้าออกควรจะมี 2 ด้าน ด้านหนึ่งสำหรับผู้เลี้ยงเข้า ออก อีกด้านหนึ่งสำหรับนกยูง เข้า ออก สาเหตุที่มีประตู 2ด้าน
เพื่อเป็นการป้องกันนกยูง ไม่ให้เข้ามาทำร้ายขณะเก็บไข่ออกไปฟัก ซึ่งในฤดูผสมพันธุ์นกยูงเพศผู้จะดูและหวงตัวเมียและไข่
ต้องกันไว้ก่อนจึงจะเก็บไข่ได้ภายในโรงเรือนจะต้องประกอบด้วยรางน้ำรางอาหารพื้นของโรงเรือนควรจะเป็นพื้นดินอัด
แน่นและปูทับด้วยทรายหรือก้อนกรวดเล็กๆ ที่สะอาดให้มีความหนาประมาณ 1นิ้วให้ทั่วโรงเรือนสำหรับนกยูงเพศเมีย
จะทำตู้หรือรังสำหรับวางไข่ในฤดูผสมพันธุ์
2. โรงเรือนอนุบาลลูกนกยูง โรงเรือนที่ดีจะต้องปิดมิดชิด สามารถป้องกันสัตว์ที่เป็นอันตรายแก่ลูกนก เช่น สุนัข แมวได้
เป็นอย่างดี ภายในโรงเรือนควรแบ่งออกเป็นห้องเล็ก ๆ ที่สามารถใช้กกลูกนกได้ห้องละ 10 15ตัวมีส่วนประกอบของเครื่อง
กก ได้แก่ ชุดให้ความอบอุ่นและแผงกั้น ตลอดจนชุดให้น้ำและอาหารแก่ลูกนกยูงห้องกกควรมีความกว้างยาวประมาณ
4 * 4 เมตร ซึ่งจะสามารถเลี้ยงลูกนกได้ โดยทั่วไปแม่นกจะทำการกกลูกนกอยู่ประมาณ 30วันจะใช้พื้นที่ภายในโรงเรือน
ประมาณ 0.3ตารางเมตร/ตัวซึ่งโรงเรือนอนุบาลควรจะบุด้วยมุ้งลวดให้มิดชิดทุกด้านเพื่อป้องกันยุง
3. โรงเรือนเลี้ยงนกยูง รุ่น สำหรับการเลี้ยงนกยูง อายุระหว่าง 30 120วันโรงเรือนเลี้ยงจะต้องเช่นเดียวกับโรงเรือนเลี้ยง
นกยูง พ่อ แม่พันธุ์ แต่ควรที่จะยกพื้นโรงเรือนให้สูงจากพื้นดิน ประมาณ 0.5เมตรเพื่อป้องกันเชื้อโรคในดินและพยาธ
โรงเรือนสำหรับนกยูงรุ่นควรมีขนาดไม่น้อยกว่า16 ตารางเมตร ซึ่งจะสามารถเลี้ยงลูกนกได้ 10 15ตัวใช้ตาข่ายชนิด
ตาเล็กถี่ หัวลูกนกยูง ไม่สามารถลอดออกมาได้และต้องสามารถป้องกันสุนัขและแมวได้เป็นอย่างดีรางน้ำและรางอาหาร
สามารถปรับระดับความสูงได้และจะต้องอยู่ภายในโรงเรือนเพื่อป้องกันฝนและแสงแดดเพื่อความสะดวกในการกินอาหาร
ของลูกนกและกระตุ้นความต้องการกินอาหารของลูกนก
4. โรงเรือนเลี้ยงนกยูง อายุระหว่าง 4 14 เดือนนกยูงวัยนี้อยู่ในระยะกำลังเติบโตเต็มที่สามารถอยู่ร่วมกันได้ทั้งเพศผู้
และเพศเมีย แต่ถ้านกยูงอยู่กันแออัดจนเกินไปหรืออาหารไม่เพียงพอจะทำให้นกยูงจิกและกินขน เมื่อถึงอายุ 12 14
เดือนขึ้นไปจึงคัดเลือกออกเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์โดยคำนึงของการมีสายเลือดที่ใกล้ชิดกันและวัตถุประสงค์ของการพัฒนา
สายพันธุ์หรืออนุรักษ์สายพันธุ์ดังเดิมเป็นองค์ประกอบด้วยโรงเรือนสำหรับนกยูงควรมีต้นไม้ใหญ่เป็นร่มเงาบ้างในตอน
กลางวันสำหรับนกได้พักผ่อนการจัดผังโรงเรือนเช่นเดียวกับโรงเรือนเลี้ยงนกพ่อแม่พันธุ์
การวางแผนผังฟาร์ม
การวางแผนผังฟาร์มขึ้นอยู่กับปัจจัยประกอบหลายประการ แล้วแต่ขนาดของธุรกิจ ปริมาณนกยูง พ่อ แม่พันธุ์ปริมาณ
นกที่จะเลี้ยงในขนาดต่าง ๆ และพื้นที่ที่จะดำเนินการ แต่โดยทั่วไปแล้วควรจะเริ่มต้นจากธุรกิจเล็ก ๆไปหาธุรกิจใหญ่ปริ
มาณพื้นที่ดำเนินการที่มีอยู่เป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินการเลี้ยงนกยูงการวางแผนผังฟาร์มเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อการขยาย
กิจการต่อไป และการจัดสัดส่วนที่เหมาะสม รวมถึงการควบคุมปริมาณนกยูงในฟาร์มให้เหมาะสมกับพื้นที่
แผนผังฟาร์มโดยทั่วไปประกอบด้วย
1.ส่วนพื้นที่โรงเรือนกักโรค
2.ส่วนพื้นที่โรงเรือนเลี้ยงนกยูง พ่อ แม่พันธุ์
3.ส่วนพื้นที่โรงเรือนฟักไข่
4.ส่วนพื้นที่โรงเรือนอนุบาลลูกนกยูง
5.ส่วนพื้นที่เลี้ยงนกยูงรุ่น
6.ส่วนพื้นที่โรงเรือนเลี้ยงนกยูงฝูง
7.ส่วนพื้นที่เก็บอาหารสัตว์และอุปกรณ์
|