วิจัยในชั้นเรียน

วิจัยในชั้นเรียน
                วิจัยในชั้นเรียนเป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ที่เป็นบทบาทสำคัญของครูในยุคนี้ เป็นไปตามมาตรา ๓๐ ที่ครูควรสามารถวิจัย
เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับ ผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษาตามหมวด ๔ แนวการจัดการศึกษาในพระราชบัญญัติการศึกษา
แห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ คำที่ใช้ในการวิจัยในชั้นเรียน คือ Classroom Research (CR) หรือ Classroom Action Research (CAR)
          ๑
. ความหมายของการวิจัยในชั้นเรียน
                    การวิจัยในชั้นเรียนเป็นการวิจัยประเภทปฏิบัติการ (Action Research)   คือ    การวิจัยมีเป้าหมายเพื่อนำผลไปใช้
ปฏิบัติงานจริงด้วย   เพราะเป็นการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยมีครูเป็นผู้ทำการวิจัย     จึงเรียกว่า   การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน
(Classroom   Action   Research : CAR)      หรือเรียกสั้น ๆ ว่า วิจัยในชั้นเรียน      (Classroom Research : CR)
การวิจัยในชั้นเรียนเป็นการวิจัยเพื่อนำผลไปพัฒนา และถ้าพบข้อบกพร่องก็ทำการวิจัยและนำผลไปพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  การวิจัยใน
ชั้นเรียนจึงเป็นการวิจัยและพัฒนา      (Research & Development)   การวิจัยในชั้นเรียนคือการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์
ค้นคว้า เพื่อสร้างความรู้ใหม่ทางการศึกษาและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ทางการศึกษา  ความรู้ใหม่ทางการศึกษา  เช่น   วิธีสอนเทคนิคการ
สอนรูปแบบการสอนใหม่ หลักการสอนใหม่   ทฤษฎีการศึกษาใหม่ ส่วนสิ่งประดิษฐ์ใหม่ทางการศึกษา คือสื่อการเรียนการสอน เช่น
ชุดการเรียน แบบฝึก แบบฝึกหัดโปรแกรมการเรียน  ความรู้และสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่ได้จาก   การวิจัย ผ่านการตรวจสอบอย่างมีระบบ
ผลการวิจัยในชั้นเรียน มีประโยชน์คือ    ใช้ผลการค้นพบเป็นแนวทางนำไปจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนานักเรียน ให้เกิดการเรียน
รู้ตามเป้าหมาย อีกทั้งเป็นการพัฒนาตนเอง คือ เป็นผู้สร้างความรู้เป็น   หรือกล่าวว่าครูเป็นนักวิจัยและพัฒนา ทำให้เป็น  ผู้ก้าวหน้า
ในอาชีพครู เพราะการค้นพบความรู้ใหม่    จะทำให้ได้ผลงานทางการศึกษาตามมาอีกมากมาย  เช่น    ตำราที่ได้จากการวิจัย ดังนั้น
กิจกรรมวิจัยในชั้นเรียน จึงต้องควบคู่ไปกับกิจกรรมการเรียนการสอน อันมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุง การเรียนการสอน ครูมืออาชีพ
ควรมีทักษะการสอนให้นักเรียนสร้างความรู้เอง ขณะเดียวกันครูก็สร้างความรู้ทางการศึกษาเองเช่นกัน

         
. ความสำคัญของการวิจัยในชั้นเรียน
                  การวิจัยในชั้นเรียน เกิดจากแนวคิดพื้นฐาน คือ การบูรณาการวิธีการปฏิบัติงานกับการพัฒนาองค์ความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติ โดยมีความสำคัญ ดังนี้
                  ๑) เป็นการพัฒนาหลักสูตรและการปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงาน เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนด้วยการวิจัย
                  ๒) เป็นการพัฒนาวิชาชีพครู
                  ๓) เป็นการแสดงความก้าวหน้าทางวิชาชีพครู ด้วยการเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติ
                  ๔) เป็นการส่งเสริมสนับสนุนความก้าวหน้าของการวิจัย ทางการศึกษา
        ๓.
  เป้าหมายของการวิจัยในชั้นเรียน
                   การวิจัยในชั้นเรียนมีเป้าหมายที่สำคัญคือ เพื่อพัฒนาคุณภาพ การเรียนการสอนให้เกิดผลดีที่สุดด้วยตัวครูเอง
        
๔. ข้อจำกัดของการวิจัยในชั้นเรียน
                   ๑) การวิจัยในชั้นเรียนนั้น ไม่ควรทำวิจัยคนเดียว แต่ควรแสวงหาความร่วมมือจากคณะครูในโรงเรียน ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน หรือเป็นการวิจัยทั้งโรงเรียน
                   ๒) การวิจัยในชั้นเรียน เป็นการวิจัยปฏิบัติการเพื่อนำผลไปใช้ ดังนั้นจึงต้องทำวิจัยอย่างต่อเนื่องหรือสม่ำเสมอ คือเป็นกระบวนการที่ควรทำอย่างไม่สิ้นสุด เพราะเป็นการพัฒนาผู้เรียน อีกทั้งพัฒนาตัวครูเองไปตลอด
                   ๓) การวิจัยในชั้นเรียนเป็นการศึกษากลุ่มเป้าหมาย ผู้เรียนที่ครู รับผิดชอบในสภาพแวดล้อมของโรงเรียนนั้นจึงไม่สามารถสรุปอ้างอิงไปยังประชากรเป้าหมายอื่น แต่อย่างไรก็ตามครูนักวิจัยก็มีโอกาสที่จะพัฒนาเป็นความรู้ที่สามารถสรุปอ้างอิงได้ต่อไป
        
.  กระบวนการวิจัยชั้นเรียน
กระบวนการที่ใช้ในการวิจัยในชั้นเรียน หรือวิจัยปฏิบัติการใน ชั้นเรียนคือ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) ซึ่งเป็นวิธีการที่มีระบบ 

            ขั้นตอนของกระบวนการวิจัยในชั้นเรียนพบว่า ขั้น ๑, ๒ และ ๓ คือขั้นวางแผนวิจัยขั้น ๔  คือการดำเนินการ
วิจัย ซึ่งเป็นการจัดเก็บข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลนำเสนอข้อมูล แปรผลในขั้นนี้มีการตรวจสอบการดำเนินงานตามแผนเพื่อปรับปรุงแก้ไข
ผู้วิจัยควรนำไปปรับปรุง ลงมือปฏิบัติเพื่อปรับปรุง เมื่อปรับปรุงแล้วก็มีการตรวจสอบ  หากยังพบข้อแก้ไขก็วางแผนดำเนิน การปรับ
ปรุงปฏิบัติแก้ไขไปอย่างต่อเนื่อง ขั้น ๕  คือการสรุปผลการวิจัย เป็นขั้นของการสร้างความรู้ใหม่หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ จากนั้นจึงนำ
ความรู้ไปใช้ โดยสรุปแล้วขั้นตอนกระบวนการวิจัยในชั้นเรียน

            เมื่อนำกระบวนการวิจัยในแผนภาพข้างต้นไปเปรียบเทียบกับวงจรเดมิ่ง (Deming Cycle) ซึ่งเป็นวงจรพัฒนาคุณภาพ
งานเป็นวงจรที่คนทั่วไปรู้จัก คือ PDCA ดังแผนภาพ
           ผลการเปรียบเทียบระหว่างขั้นตอนของกระบวนการวิจัยในชั้นเรียน ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ กับวงจร PDCA พบว่ามี
ความเหมือนสอดคล้องกัน

              ๑. วางแผนวิจัย คือ P-plan
              ๒. ดำเนินการวิจัย คือ D-do
              ๓. ตรวจสอบการดำเนินงานตามแผน คือ C-check
              ๔. ปรับปรุงแก้ไข คือ A-action

              PDCA เป็นวงจรพัฒนาคุณภาพงาน เป็นวงจรพัฒนาพื้นฐานหลักของการพัฒนาคุณภาพทั้งระบบ (Total Quality Management : TQM) ผู้ที่คิดค้นกระบวนการหรือวงจรพัฒนาคุณภาพ PDCA คือ Shewhart นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน แต่ Deming ได้นำไปเผยแพร่ที่ประเทศญี่ปุ่นจนประสบผลสำเร็จ จนผลักดันให้ญี่ปุ่นเป็นประเทศมหาอำนาจของโลก คนทั่วไปจึงรู้จักวงจร PDCA จากการเผยแพร่ของ Deming "จึงเรียกว่า วงจร Deming" วงจร PDCA ประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้
              ๑. วางแผน (Plan-P) คือ การทำงานใด ๆ ต้องมีขั้นการวางแผน เพราะทำให้มีความมั่นใจว่าทำงานได้สำเร็จ เช่น วางแผนการสอน วางแผนการวิจัย หัวข้อที่ใช้ในการวางแผนคือ วางแผนในหัวข้อต่อไปนี้ ๑) ทำทำไม ๒) ทำอะไร ๓) ใครทำ ทำกับกลุ่มเป้าหมายใด ๔) ทำเวลาใด ๕) ทำที่ไหน ๖) ทำอย่างไร ๗) ใช้งบประมาณเท่าไร การวางแผนวิจัยในชั้นเรียน เป็น การวางแผนตามคำถามต่อไปนี้ why, what, และ how
              ๒. การปฏิบัติ (Do-D) เป็นขั้นตอนการลงมือปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ การปฏิบัติวิจัยในชั้นเรียนตามแผนการวิจัย คือการลงมือเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อตอบปัญหาการวิจัยที่ตั้งไว้ในแผน
              ๓. ตรวจสอบ (Check-C) เป็นขั้นของการประเมินการทำงานว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ มีเรื่องอะไรปฏิบัติได้ตามแผน มีเรื่องอะไรที่ ไม่สามารถปฏิบัติได้ตามแผน หรือปฏิบัติแล้วไม่ได้ผล การตรวจสอบนี้จะได้สิ่งที่สำเร็จตามแผน และสิ่งที่เป็นข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข
              ๔. การปรับปรุงแก้ไข (Action-A) เป็นขั้นของการนำข้อบกพร่องมาวางแผนเพื่อการปฏิบัติการแก้ไขข้อบกพร่องแล้วลงมือแก้ไข ซึ่งในขั้นนี้อาจพบว่าประสบความสำเร็จ หรืออาจพบว่ามีข้อบกพร่องอีก ผู้วิจัยหรือผู้ทำงานก็ต้องตรวจสอบเนื้อหาเพื่อแก้ไข แล้วนำไปแก้ไขอีกต่อไป งานของการวิจัยในชั้นเรียนจึงเป็นการทำไปเรื่อย ๆ ไม่มีการหยุด การทำวิจัยไปเรื่อย ๆ เป็น การพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ เป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน
               วงจร PDCA เป็นกระบวนการพัฒนางานการวิจัยในชั้นเรียน เป็น การพัฒนาการเรียนการสอน ดังนั้นการวิจัยในชั้นเรียนด้วยการใช้วงจร PDCA จึงต้องเริ่มทีละขั้น P D C A และเคลื่อนหมุนไปเรื่อย ๆ ในแต่ละขั้นหรือแต่ละตัวของวงจร ก็จะต้องมีวงจร PDCA ในตัวของมันเองด้วย


             
. ประเภทของการวิจัยในชั้นเรียน
                    การวิจัยในชั้นเรียนพบว่า ใช้การวิจัยเชิงบรรยายและวิจัยเชิงทดลอง รายละเอียดเป็นดังนี้
                          ๖.๑
การวิจัยเชิงบรรยาย เป็นการศึกษาค้นคว้าในลักษณะ ต่อไปนี้ ๑) ศึกษารวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ค้นหาข้อเท็จจริงต่าง ๆ ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว ๒) ไม่มีการสร้างสถานการณ์ใด ๆ ๓) ไม่มี การกำหนดตัวแปรอิสระและตัวแปรตามใด ๆ
                              ๑) ลักษณะของปัญหาหรือเรื่องที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย เชิงบรรยาย เป็นดังนี้
                                        (๑) ลักษณะเป็นความสัมพันธ์ในปัจจุบัน
                                        (๒) เป็นสิ่งที่ปฏิบัติอยู่เป็นประจำ
                                        (๓) ความเชื่อ แนวคิด หรือทัศนคติ
                                        (๔) กระบวนการที่กำลังดำเนินอยู่
                                        (๕) เป็นการทำนายลักษณะของผลที่จะเกิดขึ้น
                                         (๖) แนวโน้มหรือความเปลี่ยนแปลงที่กำลังพัฒนาอยู่
                              ๒) ประเภทของการวิจัยเชิงบรรยาย
 สำหรับการวิจัยในชั้นเรียนแบบการสำรวจ เป็นแบบที่ควรใช้อย่างมากก่อนที่จะทำการวิจัยเชิงทดลอง เพราะการวิจัยแบบสำรวจจะทำให้ผู้วิจัยได้รู้จักเด็ก รู้จักนักเรียนอย่างแท้จริง รู้ปัญหาของการเรียนการสอนที่แท้จริง รู้สาเหตุของปัญหาที่แท้จริง ทำให้รู้ว่ามีนักเรียนจำนวนเท่าใดที่เป็นปัญหา มีปัญหาเรื่องใด เพื่อครูจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดและแก้ปัญหากับกลุ่มนักเรียนที่เป็นปัญหาจริง ๆ เมื่อครูวิจัยในชั้นเรียนรู้จักเด็กอย่างดีแล้ว ครูจึงต้องคิดต่อไปว่า จะแก้ไขอย่างไร แล้วจึงลงมือแก้ไขหรือทดลองแก้ไข ซึ่งเป็นการวิจัยในชั้นเรียน เชิงทดลอง
           
           ๖.๒ การวิจัยเชิงทดลอง เป็นการศึกษาโดยจงใจเปลี่ยนแปลงส่วนใดส่วนหนึ่งของสถานการณ์ที่ทำอยู่ สร้างสถานการณ์ขึ้นเอง เพื่อศึกษาผลของ การเปลี่ยนแปลง การวิจัยในชั้นเรียนก็คือทดลองใช้นวัตกรรมการศึกษาที่สร้างขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นในห้อง ตัวอย่างเช่น "ผลของการสอนโดยวิธีเกมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยและความพอใจต่อการเรียนการสอนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖/๒ โรงเรียนปิยะวิทยาคม" จาก ตัวอย่างผู้สอนจงใจเปลี่ยนแปลงวิธีสอนจากแบบเดิมมาเป็นสอนด้วยวิธีเกม เพื่อศึกษาว่าจะเกิดอะไรขึ้น คือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยและ ความพอใจต่อการเรียนการสอนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖/๒ จะเป็นอย่างไร


           
.  เครื่องมือวิจัยในชั้นเรียน เครื่องมือวิจัยในชั้นเรียนมีดังนี้
                    ๑) เครื่องมือทดลอง คือ นวัตกรรมการเรียนรู้ที่ใช้ในการแก้ปัญหา หรือใช้ทดลองเพื่อแก้ปัญหาการเรียนการสอน อาทิเช่น การใช้วิธีสอน เทคนิคการสอน รูปแบบการสอน กิจกรรมการเรียนการสอน รวมทั้งแบบฝึกหัด
ซึ่งครูนักวิจัยจะใช้นวัตกรรม เพื่อการเรียนรู้ข้างต้นเพื่อแก้ปัญหานั้น จะต้อง
มีการวางแผนการสอน เพื่อแก้ปัญหาโดยการเขียนแผนการสอน ดังนั้น แผนการสอนเป็นเครื่องมือทดลองนั่นเอง
                    ๒) เครื่องมือรวบรวมข้อมูล เครื่องมือรวบรวมข้อมูลเพื่อตอบปัญหาการวิจัย เช่น ตอบคำถามวิจัยเรื่องสภาพปัญหาและสาเหตุของปัญหา ผลการนำนวัตกรรมไปทดลองแก้ไข เป็นต้น จำเป็นต้องมีเครื่องมือวัด เป็นเครื่องช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือวัดมีหลายประเภท แต่ละประเภทมีลักษณะการใช้ต่างกัน ขึ้นอยู่กับข้อมูลหรือตัวแปรที่ต้องการศึกษา เช่น
                              ๒.๑ แบบสอบถาม ช่วยให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับ
                                       (๑) ความคิดเห็น
                                       (๒) ความจริง
                                       (๓) ความรู้สึก เป็นต้น
                              ๒.๒ แบบสังเกต ช่วยให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับ
                                       (๑) พฤติกรรมต่าง ๆ
                                       (๒) ลักษณะการปฏิบัติ
                                       (๓) สภาพแวดล้อม
                                       (๔) บรรยากาศการเรียนการสอนทางกายภาพ
                                       (๕) บรรยากาศการเรียนการสอนทางจิตใจ
                                       (๖) ทักษะต่าง ๆ แบบสังเกตมี ๒ ประเภท คือ
                                                    ก. แบบมีโครงสร้าง
                                                    ข. แบบไม่มีโครงสร้าง
                              ๒.๓ แบบวัด ช่วยให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับ
                                       (๑) ระดับสติปัญญา
                                       (๒) เจตคติ
                                       (๓) ความรู้สึก
                                       (๔) ความสนใจ
                                       (๕) ความรับผิดชอบ
                                       (๖) นิสัย เป็นต้น
                              ๒.๔ แบบสำรวจรายการ ช่วยให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลประเภทสถิติ พัสดุ วัสดุ สื่อ หนังสือ อุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอนต่าง ๆ ที่สามารถตรวจสอบได้
                              ๒.๕ แบบสัมภาษณ์ ช่วยให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับ
                                       (๑) ความจริง
                                       (๒) ความคิดเห็น ปัญหา สาเหตุ ข้อเสนอแนะ
                                       (๓) ความรู้สึก

                                        (๔) เจตคติ แบบสัมภาษณ์ มี ๒ ประเภท คือ
                         ก. แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง
                         ข. แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง
                            
 ๒.๖ แบบทดสอบ ช่วยให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับผลการเรียนรู้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านวิชาการ แบบทดสอบมีหลายประเภท เช่น
                                 (๑) แบบเลือกตอบ
                                 (๒) แบบถูกผิด
                                 (๓) แบบจับคู่
                                 (๔) แบบเติมคำ
                                 (๕) แบบอัตนัย

จาก : ดร.พิมพันธ   ์ เดชะคุปต์  http://comcenter.rimc.ac.th/~comcenter/Nc1F.html

การเขียนเค้าโครงงานวิจัยในชั้นเรียน

เมื่อเราทราบกระบวนการทำวิจัยในชั้นเรียนแล้วก่อนลงมือทำจริง ควรเขียนเค้าโครงการทำงานไว้ล่วงหน้า เพื่อเป็นการช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างสอดคล้องกับทุกขั้นตอน ตั้งแต่ต้นจนจบ หลักการเขียนเค้าโครงงานวิจัย มีดังนี้
1. ชื่อโครงงานวิจัย
2. ปัญหา
3. นวัตกรรม
4. วัตถุประสงค์
5. ลักษณะของนวัตกรรม
6. หลักการ / แนวคิด / เอกสารที่เกี่ยวข้อง
7. วิธีการรวบรวมข้อมูลประชากรและกลุ่มตัวอย่าง / ตัวแปรที่ศึกษาเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล / ระยะเวลา
ในการทดลอง / วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล / วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล /ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ
8. เกณฑ์คุณภาพ / ความสำเร็จ

โครงสร้างของรายงานการวิจัยในชั้นเรียน

การเขียนรายงานควรแบ่งเป็นบท ซึ่งจะแบ่งกี่บทก็ได้ แต่ที่นิยมเขียนคือ 4 หรือ 5 บท ให้มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้ให้ครบถ้วน
บทที่ 1 บทนำหรือภูมิหลัง แสดงถึงเหตุผล ของการคิดค้นนวัตกรรม
บทที่ 2 การพัฒนานวัตกรรม แสดงถึงหลักวิชาที่ใช้ในการจัดนวัตกรรม
บทที่ 3 การทดลองใช้นวัตกรรม แสดงถึงวิธีหาคุณภาพ และคุณภาพของนวัตกรรม
บทที่ 4 สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ
การดำเนินการทดลอง (บทที่ 3 ) สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะบทที่ 5

เด็กเรียนรู้จากการลงมือกระทำ
เด็กเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบกาย
เด็กเรียนรู้เมื่อมีความพร้อม
เด็กเรียนรู้จาการสัมผัส
เด็กเรียนรู้ได้ดี
เมื่อใจ…กายเป็นสุข

.............การวิจัยเป็นกระบวนการแก้ปัญหาโดยผ่านการวางแผน การรวบรวมข้อมูลอย่างมีระบบ การวิเคราะห์ข้อมูล
และการตีความหมายข้อมูล การวิจัยเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่จะทำให้ได้ความรู้ใหม่มาเป็นการส่งเสริมความก้าวหน้า
และพัฒนาคนให้สามารถเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะเป็นการลดความขัดแย้งของคนลงได้
เบสท์ ได้ขยายความหมายของการวิจัยได้หลายประการ อาทิ
1.การวิจัยเป็นการมุ่งแก้ปัญหา เป้าหมายสูงสุดก็เพื่อค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ว่า
เป็นสาเหตุหรือเป็นผลกันอย่างไร
2.การวิจัยตั้งอยู่บนรากฐานของประสบการณ์ที่สังเกตได้หรือของปรากฏการณ์เชิงประจักษ์
3.การวิจัยต้องมีการสังเกตและการอธิบายที่ถูกต้อง
4.กิจกรรมการวิจัยจะต้องออกแบบอย่างรอบคอบ วิเคราะห์ข้อมูลอย่างถี่ถ้วนเพื่อค้นหาว่าจะมีสิ่งใดเกิดขึ้นบ้าง 5.การวิจัยเกี่ยวข้องกับการค้นหาคำตอบจากปัญหาต่าง ๆ
6.การวิจัยต้องมีการบันทึกและรายงานอย่างรอบคอบ
7.การวิจัยในบางครั้งต้องอาศัยความซื่อสัตย์ ไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทางการเมืองหรือศาสนา

(Best,1981)

จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า การวิจัยเป็นการแสวงหาคำตอบของปัญหาหรือข้อสงสัยต่าง ๆ โดยใช้กระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ ซึ่งวิธีการดังกล่าวนี้มีระบบ มีขั้นตอนในการดำเนินงานที่จะได้คำตอบที่ถูกต้องหรือเชื่อถือได้

 

การเตรียมงานวิจัยของ  อาจารย์ระดมพล   ช่วยชูชาติ

  โครงการวิจัย

1.ชื่อโครงการ "ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ในรูปแบบการใช้บทเรียนออนไลน์
ผ่านเวบไซท์วิชา ช 0250 ตารางทำงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5"


2.ผู้วิจัย นายระดมพล ช่วยชูชาติ
..............ตำแหน่ง อ. 1 ระดับ 5 สาขาวิชาที่สอน คือ วิชาคอมพิวเตอร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย


3.จุดมุ่งหมายของการวิจัย
..............เพื่อศึกษาและหาผลสรุป 3 ด้าน จากวิธีการสอนโดยจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้บทเรียนออนไลน์
ผ่านเวบไซท์ หรือ e-Learning ในรายวิชา ช 0250 ตารางทำงาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งในการวิจัยฯครั้งนี้
จะได้ผลของการศึกษาและผลสรุป 3 ด้าน คือ 1. ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน 2. ประสิทธิภาพของบทเรียน
ออนไลน์ 3. ประสิทธิผลของกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในรูปแบบที่นำการใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารผ่านทางอินเตอร์มาใช้


4.ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย
.............ผู้วิจัยคาดว่าจะได้รับประโยชน์จากการวิจัยครั้งนี้ ดังต่อไปนี้
............1.ทำให้ทราบถึงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังจากที่ใช้ วิธีการสอนโดยการจัดกิจกรรมการเรียน
การสอนในรูปแบบการใช้บทเรียนออนไลน์ผ่านเวบไซท์ วิชา ช 0250 ตารางทำงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
............2. ทำให้ทราบถึงประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ วิชา ช 0250 ตารางทำงาน
............3. ทำให้ทราบถึงประสิทธิผลของกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ในรูปแบบที่นำการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารผ่านทางอินเตอร์มาใช้


5.ขอบเขตการวิจัย
............การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อต้องการผลสรุป 3 ด้าน ดังที่กล่าวไว้ในจุดมุ่งหมายของการวิจัยแล้ว
............1.ขอบเขตด้านระยะเวลาของการทำวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการทั้งภาคเรียน คือ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2545
เริ่มดังแต่วันที่ 1 เมษายน 2545 ถึง วันที่ 31 ตุลาคม 2546
............2.ขอบเขตด้านการศึกษาและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 และ 5/3 ภาคเรียนที่ 1
โรงเรียนท่าแพผดุงวิทย์ อ.ท่าแพ จ.สตูล จำนวน 80 คน


6.วิธีการดำเนินวิจัย
..............กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 และ 5/3 ปีการศึกษา 2546
โรงเรียนท่าแพผดุงวิทย์ จำนวน 80 คน
..............จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด จะดำเนินตามกิจกรรมที่กำหนดในเวบไซท์ของอาจารย์ผู้สอน
คือ
.. www.radompon.com

...............วิธีการเก็บและรวบรวมข้อมูล :
..............1. ใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ (Achievement Test)
..............2. แบบสอบถาม (Questionnaire)
..............3. แบบสังเกต (Observation)
...............สถิติและวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล :
..............1. แบบทดสอบ
..................1.1 การหาระดับความเชื่อมั่นของการทดสอบ (The Level of Significance)
..................1.2 หาค่าความแปรปรวนและความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Variance and Standard Deviation)
..................1.3 การวัดความสัมพันธ์ ประเมินค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ โดยวิธี Spearman Rank Order
..................1.4 หาค่าความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ( T-Test)
..............2. แบบสอบถาม
..................2.1 แบบสอบถามปลายปิด ประเมินด้านคุณลักษณะของผู้เรียน
..............3. แบบสังเกต
..................3.1 แบบประเมินคุณลักษณะของผู้เรียน


7.สถานที่/แหล่งที่จะทำการวิจัย
...............ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ศูนย์วิทยบริการและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โรงเรียนท่าแพผดุงวิทย์
อ.ท่าแพ จ.สตูล


8.ระยะเวลาในการวิจัย
...............ระยะเวลา 1 ภาคเรียน เริ่ม ตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2546 ถึง วันที่ 31 ตุลาคม 2546 ตามปฏิทินปฏิบัติการ ดังนี้

                (ยังมีต่อ >>> )