ชีวิตคนทุ่งกุลาฯ
โดย สนั่น เหลืองเจริญ


-1-
ขี่มัดกล้าไปนา
ก่อนที่ทุกท่านจะอ่านลำนำชีวิตตอนวัยเด็กของกระผมนี้ ผมขอเรียนให้ทุกท่านทราบก่อนว่าการใช้คำหรือสำนวนต่างๆ ก็ใช้ไม่เป็น เพราะผมไม่ใช่เป็นนักเขียนอะไรเลย จึงขอกราบอภัยทุกท่านไว้ ณ. ที่นี้ด้วย เรื่องราวทั้งหมดที่ผมจะกล่าวถึงนี้ เป็นเรื่องจริงในชีวิตที่ผ่านมา ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงปัจจุบัน ซึ่งผมจะกล่าวเป็นตอนๆ ไป ดังนี้ ผมผู้เขียนเกิดปี พ.ศ.2505 ที่บ้านโพนสะอาด ต.เหล่าหลวง อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด ในครอบครัวของลูกชาวนา กระดูกสันหลังของชาติ ผมเป็นลูกคนโต ในจำนวนพี่น้อง 3 คน ตั้งแต่เริ่มจำความได้ ผมก็ได้อยู่กับธรรมชาติ เหมือนกับเด็กบ้านนอกของภาคอีสานทั่วไป จ.ร้อยเอ็ด ตั้งอยู่เขตอีสานตอนกลาง อ.เกษตรวิสัย อยู่ทางตอนใต้ของตัวจังหวัด จะไม่มีแม่น้ำไหลผ่านเลย พอถึงฤดูฝน ก็จะน้ำมากในที่ลุ่มฝนตกหนักๆ น้ำก็ท่วมนาได้ แต่ไม่ถึงกับเสียหายมากนัก ขอย้อนกลับไปเมื่อผมอายุ ประมาณ 6 ขวบเศษ ก่อนเข้าโรงเรียน ป.1 สมัยก่อนพออายุ 7 ขวบเต็มจึงได้เข้าโรงเรียน ป.1 และไม่มีชั้นอนุบาลก่อนวัยเรียน ซึ่งช่วงนี้จะใช้ชีวิตตามประสาเด็กบ้านนอก สนุกและค่อนข้างอิสระ ภาคอีสานจะมี 3 ฤดู คือฤดูฝน ฤดูหนาว และฤดูร้อน จะไม่เหมือนภาคใต้ ที่มี 2 ฤดู ขอพูดถึงฤดูฝนก่อน จะเป็นฤดูที่มีอาหารการกินเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ เพราะมีน้ำเกือบทุกที่ ผมเองก็ได้สัมผัสชีวิตส่วนนี้มาบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการหา หอย ปู ปลา กบ เขียด สัตว์เล็กสัตว์น้อยที่อยู่ในน้ำ จะเป็นของกินได้เกือบทั้งหมด กบ-เขียด นี้จะเป็นอาหารการกินของคนเราได้ตั้งแต่ยังเป็นลูกอ๊อด หรือภาษาอีสานเรียกว่า “ฮวก”
ฮวก หรือลูกอ๊อด ที่ว่านี้จะนิยมกินกันอยู่ 2 ชนิด คือ ฮวกเขียดจ่านา กับฮวกกบ ผมเองก็เคยหาเป็นประจำ อุปกรณ์ก็มี สวิงกับถัง หรือตะกร้า 1 ใบ วิธีหาก็ริมน้ำตามคันนา จะมีทั้งแมงระงำ แมงอี แมงตับเต่า เป็นอาหารที่กินได้ทั้งนั้น กว่าจะได้พอเป็นอาหารแต่ละมื้อ ก็ใช้ชีวิตฮวกไปหลายร้อยหลายพันชีวิตเหมือนกัน ถ้าปล่อยไว้ให้โต เป็นกบเป็นเขียดก็คงจะเต็มทุ่งเลยแหละ แต่ถึงจะกินตั้งแต่ยังเป็นฮวกอยู่ ก็ยังมีกบ-เขียด เต็มทุ่งอยู่เหมือนเดิม พูดถึงการเอาฮวก มาทำเป็นอาหาร จะนิยมทำกินอยู่ 2-3 อย่าง คือ 1.แกงส้มหน่อไม้ดอง ซดน้ำร้อนๆ เป็นกับข้าวมื้อเช้าหรือ สายๆ หน่อย อยู่เถียงนาก็อร่อยไม่เบา อีกอย่างก็ทำเป็นห่อหมก จะมีห่อหมกแห้ง กับห่อหมกนึ่ง วิธีทำห่อหมกแห้ง หลังจากปรุงเสร็จ ก็จะห่อใส่ใบตองแล้วปิ้งไฟอ่อนๆ จะมีรสชาติอร่อยไปอีกอย่าง เพราะมีกลิ่นหอมของใบตองและเครื่องปรุง โดยเฉพาะใบแมงลัก จะขาดไม่ได้เลย เมื่อเอาฮวกมาทำเป็นอาหาร ห่อหมกนึ่ง ก็ใส่ใบตองแล้วนำไปนึ่งได้เลย และมีอีกอย่างคือ ป่นฮวก หรือน้ำพริก มีผักจิ้มก็อร่อยไปอีกแบบ นี่เป็นอาหารตามฤดูการเท่านั้น จะไม่มีให้กินได้ตลอดปีเหมือนอย่างอื่น เพราะโตขึ้นก็จะเป็นกบ-เขียด ตามวัฎจักรชีวิตของมัน พอถึงกลางฤดูฝน จะมีฝนตกหนัก น้ำก็จะท่วมในที่ลุ่ม เป็นบางพื้นที่ ข้าวจะเสียหายไม่มากนัก และข้าวจะดีในที่นาดอน ตอนเด็กผมเองจะนั่งเกวียนไปนาแต่เช้า ส่วนพ่อจะจูงควายตามหลัง ระยะทางจากบ้านถึงนา ประมาณ 2 กม.กว่าๆ แม่กลัวหิวข้าวจะให้ข้าวเหนียวติดตัวไปทุกวัน เพราะกว่าแม่จะไปส่งข้าวก็ประมาณ 9-10 โมงเช้าแล้ว ข้าวที่ให้ส่วนมากจะเป็นข้าวเย็นเพราะสมัยก่อนไม่มีเตาแก๊ส กว่าจะติดเตาได้ก็ใช้เวลานานพอสมควร ซึ่งข้าวมื้อนี้จะเป็นมื้ออร่อยที่สุดก็ว่าได้ เพราะตามประสาเด็ก พอหิวแล้วก็ต้อนได้กินเลย แม่จะให้ข้าวเปล่าๆ ส่วนกับข้าวไปหาเอาเองข้างหน้า ผมเองพอไปถึงนา ก็จะผูกวัวให้กินกองฟาง ส่วนพ่อก็จะไถนา ผูกวัวเสร็จก็จะไปหากับข้าวตามท้องนา ไม่ว่าจะเป็นหอยโข่งตัวโตๆ ปูนาที่มีก้ามใหญ่ๆ หรือกบ-เขียด ที่พอจะหาได้ เอาเกลือทา ปิ้งให้สุก จะเป็นอาหารมื้อที่อร่อยมากที่สุด แม่มาส่งข้าว ต้องเดินลุยน้ำไป วิธีไปส่งข้าวแม่จะใช้วิธีหาบ มีตะกร้า 2 ใบ ข้างหน้าจะมีน้องชายผมนั่งอยู่ ข้างหลังจะเป็นข้าว-กับข้าว สาเหตุที่หาบเพราะน้องอายุ 3 ขอบ เศษๆ จะให้เดินก็ช้ามาก พอไปถึงนาแล้วจะให้ผมดูแลน้องอีกที ผมกับน้องจะเล่นด้วยกันอย่างสนุกสนาน เรื่องกลัวร้อนไม่ต้องพูดถึง พอร้อนก็ลงเล่นน้ำ แต่ก็อยู่ในสายตาของพ่อแม่ เพราะกลัวจมน้ำ มีอยู่หลายครั้งที่น้ำท่วมเส้นทางไปนา ไม่สามารถใช้เกวียนบรรทุกต้นกล้าไปดำนาได้ และเป็นที่มาของหัวข้อที่ว่า ขี่มัดกล้าไปนา บางท่านอาจสงสัยว่า ขี่มัดกล้าจะเป็นแบบไหน เหมือนนิยายแม่มดขี่ไม้กวาดลอยไปในอากาศ รึปล่าว? ไม่ถึงขนาดนั้นหรอกครับ นี่ไม่ใช่นิยายแต่เป็นเรื่องจริงที่เก็บมาเล่าสู่กันฟัง สาเหตุคือ กล้าที่อยู่อีกจุดหนึ่งใช้เกียวนบรรทุกไม่ได้ เพราะน้ำขึ้นสูง ต้องใช้เชือกลากตามน้ำ วิธี คือจะมีเชือกยาวประมาณ 20-30 เมตร และไม้ที่แข็งแรงประมาณ หัวแม่มือ ยาว 1 ฟุต ใช้เชือกผูกตรงกลางไม้ให้แน่น กล้ามัดแรกแหวกตรงกลางแล้วใส่ให้ติดกับไม้ เรียงไปเรื่อยๆ ตามระยะของเชือก หรือจะกว่ามัดกล้าเราจะหมด เชือกยาว 30 เมตรใส่ได้ ประมาณ 200 มัด ดึงเชือกให้ตึง และต้องเรียงมัดกล้าตรงที่มีน้ำครึ่งมัด มิฉะนั้นจะออกตัวไม่ได้ เสร็จแล้วก็ออกแรงลากมัดกล้าทั้งหมด ลอยน้ำไปได้สบาย พ่อเป็นคนลากพอถึงที่น้ำลึก ผมเองก็ขึ้นขี่อยู่ตรงกลางของมัดกล้าทั้งหมดก็สนุกดี มันจะส่ายไปมาตามกระแสน้ำ เหมือนงูว่ายน้ำ พวกไส้เดือน แมงมุม แมงกะชอน ก็จะขึ้นมาเกาะอยู่บนใบกล้า ถ้ากลัวมีหวังตกน้ำแน่ เสร็จจากดำนาจะมีเวลาว่างอยู่ 2-3 เดือน ก่อนที่จะถึงฤดูเก็บเกี่ยว ช่วงนี้ลูกอ๊อดหรือ
ฮวก จะกลายเป็นกบเป็นเขียดแล้ว ปลาก็มีมาก วิธีหาก็ใช้ตาข่ายบ้าง ใช้เบ็ดปักตามคันนาบ้าง ตาข่ายจะใช้ดักปลาได้อย่างเดียว ส่วนเบ็ดจะใช้ได้ทั้งกบ และปลา เหยื่อที่ใช้ก็คือไส้เดือนจริงๆ วิธีปักเบ็ดกบ จะปักครึ่งบกครึ่งน้ำตามคันนา เวลากบติดเบ็ดจะดูสนุกและท้าทายกว่าปลาติดเบ็ด เพราะมองเห็นได้ชัด เวลาหาปลาได้เยอะๆ ก็จะทำปลาแดกไว้กิน ส่วนกบจะทำตากแห้ง เอาไว้ทำน้ำยาขนมจีนอร่อยมาก พอถึงหน้าบุญออกพรรษาหรือบุญกฐินของทุกปีจะหากบหาปลาไว้ทำน้ำยาขนมจีน ถือเป็นอาหารหลักของงานบุญก็ว่าได้ งานบุญก็จะมีมหรสพมาแสดง โดยเฉพาะหมอลำ ผมเองไปดูตอนหัวค่ำก็สนุกดี พอตกดึกจะนอนหน้าเวทีเป็นประจำ บางทีก็มีผู้ใหญ่มาปลุกให้ตื่น บางทีก็หลับอยู่จนสว่างพร้อมกับหมอลำที่เลิกไป เพราะบ้านกับวัดอยู่ไมไกลกันนัก เสร็จงานกฐินก็ถึงฤดูเก็บเกี่ยวเอาข้าวขึ้นลานทำเป็นลอมข้าว และจะลงแขกตีข้าวกินเหล้าสาโกัน


-2-
ต้มเกลือล่าหนูนามาปิ้ง
เสร็จจากการทำนาเอาข้าวขึ้นยุ้งภาษาอีสานเรียกว่าเล้าเสร็จเรียบร้อยแล้วแต่ก็ยังอยู่ในช่วง
ฤดูหนาวอยู่หรืออาจพูดได้ว่าเป็นช่วงที่มีเวลาว่างอยู่สองสามเดือนและใกล้หน้าเทศกาลไม่ว่าจะเป็น
งานกฐินงานปีใหม่หรืองานบุญต่างๆเด็กๆอย่างพวกผมไม่ต้องไปเลี้ยงควายเช้ามาก็ปล่อยออกจาก
คอกไล่ไปส่งนอกหมู่บ้านตกเย็นก็ต้อนมาเข้าคอกวัวควายมันก็รู้จักบ้านไปเองก็กลับเองได้เหตุที่ไม่
ต้องไปตามเลี้ยงพราะนาข้าวหรือพืชผักของทุกบ้านเก็บเกี่ยวหมดแล้วจะมีบ้างตามสวนใกล้หมู่บ้าน
ที่ปลูกผักถั่วแตงโมเอาไว้กินบ้างนิดหน่อยเท่านั้น
พอเข้าฤดูแล้งจริงๆน้ำก็แห้งหมดแหล่งน้ำที่ใช้ได้ตลอดปีก็แทบจะไม่มีนอกจากในบ่อน้ำที่ขุดลึก
ลงไปนับเป็นสิบๆเมตรที่มีตาน้ำไหลผ่านใต้ดินบ่อน้ำที่อยู่ระแวกหมู่บ้านที่คนดื่มได้มีอยู่สามบ่อแต่อยู่
คนละทิศของหมู่บ้านบ่ออื่นๆจะเป็นน้ำกร่อยไม่ว่าจะขุดที่ไหนจะเจอน้ำกร่อยเป็นส่วนมาก การทำบ่อ
ต้มเกลือสินเธาว์จึงเหมาะที่จะใช้น้ำในบ่อดังกล่าวแต่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้น้ำในบ่อเป็นเกลือได้คือดินที่
ขึ้นเป็นขี้เกลืออยู่ตามพื้นนาคนอีสานเรียกว่าขี้เอียดหรือดินเอียดดินเอียดที่ว่านี้จะมีขึ้นเฉพาะที่หลังจาก
น้ำแห้งพอถึงเวลาจะต้มเกลือก็จะไปขูดเอาหน้าดินที่เป็นเอียดมากองรวมกันไว้เพื่อกลั่นเอาน้ำเกลือมา
ต้มให้แห้งเหลือแต่เกลือ
วิธีต้มเกลือผมจะขอพูดพอคร่าวๆดังนี้ อุปกรณ์ที่ใช้สิ่งที่ผลิตไม่ได้เองคือแผ่นสังกะสีเพราะต้องมา
ดัดแปลงเป็นหม้อต้มเกลือนอกนั้นเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นรางที่กลั่นน้ำเกลือใช้ไม้
ทั้งต้นมาขุดเหมือนเรือยาวแต่ยาวประมาณ 2-3 เมตร ลักษณะเหมือนรางข้าวหมูมีรูอยู่ตรงกลางกว้าง
ประมาณ 1 นิ้วและเอาแกลบรองพื้นแกลบนี้จะเป็นตัวกรองน้ำอย่างดีและเอาดินเอียดที่ว่าใส่ลงไปให้
เต็มขึ้นเหยียบอัดให้แน่นๆตักน้ำจากบ่อใส่ให้เต็มน้ำก็จะค่อยๆซึมผ่านดินเอียดออกมาเค็มมากวิธีวัด
ความเค็มก็ใช้ชิมดู ถ้าน้ำจืดก็ให้ยกออกแล้วเปลี่ยนดินเอียดใหม่
รางน้ำก็ใช้ไม้ไผ่ผ่าครึ่งลำเอามาทำสะดวกและประหยัดดี ส่วนอ่างน้ำเกลือจะขุดดินลึกประมาณ
หนึ่งเมตรลักษณะเหมือนก้นกะทะตัวเคลือบอ่างกันน้ำซึมจะใช้เปลือกไม้ชนิดหนึ่งชื่อต้นยางโบงเป็น
ไม้ยืนต้นตัดเอากิ่งสดมาขูดเอาแต่เปลือกแล้วตำผสมกับดินทรายให้ได้ที่แล้วทาให้ทั่วอ่างปล่อยให้แห้ง
แล้วค่อยปล่อยน้ำเกลือลงไป หม้อต้มเกลือก็ใช้สังกะสีทั้งแผ่นทำให้เรียบแล้วขึ้นรูปทั้งสี่ด้านให้มีขอบ
สูงประมาณสองนิ้วเพื่อให้ใส่น้ำได้ถ้าสังกะสีมีรอยรั่วก็ใช้นุ่นกับมะขามเปียกผสมให้เข้ากันใช้อุดรอยรั่ว
ได้ดีนัก ส่วนเตาก็เอาดินเหนียวมาทำเจาะรูด้านปลายเตาเพื่อให้ลมผ่านด้านหน้าเตาทำให้ใหญ่เพราะ
ต้องใช้ฟืนขนาดใหญ่เสร็จแล้วก็ต้มเป็นเกลือออกมา คุณสมบัติพิเศษของเกลือสินเธาว์จะเค็มมากใช้ใน
การหมักปลาร้าได้ดีแต่จะไม่มีไอโฮดีนแต่ปัจจุบันมีไอโอดีนผสมแล้ว พอถึงหน้าต้มเกลือของทุกปีเด็กๆอย่างรุ่นผมจะชอบเพราะได้นอนที่บ่อต้มเกลือหน้าแล้งจะหากับข้าว
ลำบากปลา กบ เขียดอย่าไปพูดถึงหายากที่พอมีก็พวก แย้ นก งูสิง หนูนาเป็นต้นวันไหนได้งูสิงจะเป็น
อาหารมื้อวิเศษมากส่วนหนูนาพอหัวค่ำก็จะเอาข้าวเปลือกไปไว้ที่ปากรูบ้างเอาบ่วงไปดักบ้างทิ้งช่วงไว้
แล้วกลับไปดูตอนดึกจะยิงได้บ้างติดบ่วงบ้างเอามาปิ้ง อ่อมอร่อยอย่าบอกใครสมัยก่อนขอให้เป็นหนูที่
อยู่ตามทุ่งนากินได้ทุกชนิดยิ่งลูกหนูตัวแดงๆอยู่ในรูยิ่งอร่อยมากแต่ทุกวันนี้ได้ข่าวว่าโรคฉี่หนูระบาด
มากทางภาคอีสานถ้ารักษาไม่ทันถึงตายถ้าโรคนี้มีอยู่ในสมัยนั้นผมผู้เขียนมีสิทธิเหมือนกันพูดแล้วเสียว


-3-
วัยเริ่มเข้าโรงเรียน
หลังจากได้เล่นตามประสาเด็กก่อนวัยเรียนมามากแล้วพออายุได้เจ็ดขวบเต็มก็ได้เข้าโรงเรียน .ป.1ตามเกณฑ์ในสมัยนั้น เป็นโรงเรียนประจำหมู่บ้านชื่อโรงเรียนชื่อหมู่บ้านใช้ชื่อเดียวกัน ชื่อโรงเรีนยบ้านโพนสะอาดโรงเรียนตั้งอยู่ทางทิศตะออกของหมู่บ้านห่างจากหมู่บ้านประมาณ 1 ก.ม. มีอาคารสองหลังยกพื้นสูงทั้งสองอาคารเป็นอาคารเก่าและอาคารใหม่มีนักเรียนตั้งแต่ ป.1 ถึงป.4เท่านั้นป.5ถึงป.7ต้องมาเรียนที่หมู่บ้านเรา
แรกเริ่มไปโรงเรีนยใหม่ๆผมผู้เขีนยยังจำได้ดีรู้สึกตื้นเต้นมากจนบอกไม่ถูกผมได้แต่ตัวเอี่ยม คือชุดนักเรีนยความรู้สึกตอนนั้นจะพูดได้ว่าเป็นชุดที่หล่อที่สุดก็ว่าได้เพาะกอ่นหน้านั้นจะไม่ค่อยได้ใส่
ชุดใหม่เอี่ยมอย่างนี้เลย แต่งตัวอย่างหล่อแต่ไม่มีรองเท้าใส่สาเหตุคือ
1. ยังรักษาไม่ได้
2. ความไม่เคยชิน
3.ไม่จำเป็นเท่าไห่ลเพราะระเบียบทางโรงเรียนไม่เคร่งครัดทางอาจารย์ใหญ่คงเห็นว่า
สภาพรายได้ของแต่ละครอบครัวไม่มากนักแต่ละ ครอบครัวก็มีอาชีพทำนาเหมือนกัน ให้มีเครื่องแบบนักเรียนใส่และสมุดดินสอก็พอและความรู้สึกอีกอย่างได้มีเพื่อนใหม่ๆในห้องเดียวกัน
และได้รู้ว่าเพื่อนรุ่นเดียวกันมีกี่คนถ้าจำไม้ผิดมีทั้ง 28 คนรวมทั้งรุ่นพี่สอบขึ้น ป.2 ไม่ผ่านอีก 4 คนรวมเป็น 31คน สมัยกอ่นยังไม่มีโครงการอาหารกลางวันและมีนมกินเหมือนเด็กๆสมัยนี้เด็กป.1ทุกคนต้องห่อข้าวไปกินเองถ้าใคร ไม่ห่อไปด้วยก็ต้องเดิมกลับมากินข้าว ที่บ้านตอนพักเที่ยงเพราะแต่ก่อนไม่มีแม้แต่รถจักรยานขนาดครูทุกคนยังเดินไปเดินกลับเด็กๆ ป.1
รุ่นผมเทอมแรกก็จะห่อข้าวไปกินด้วยพอถึงพักเที่ยงก็จะกินข้าวรวมกันกับเพื่อนๆที่อยู่ห้องเดียวกัน สถานที่ก็เลือกได้ตามใจชอบจะเป็นใต้ต้นไม้ ใต้ถุนโรงเรียนแล้วแต่จะเลือกเอา ส่วนกับข้าว ก็เอามารวมกันใครมีกับข้าวดีๆ เช่น เนื้อปิ้ง ไก่ปิ้ง ก็จะหวงหน่อยเวลาก็จะวางไว้ใก้ลๆต้วเองพูดถึงกับข้าวฤดูอื้นๆก็จะดีหน่อยยกเว้นฤดูแล้ง อาหารหลักคือปลาร้าสับ
2 พอเทอม  .2  ก็ขี้เกรียจห่อแล้วถึงเวลาพักเที่ยงวิ่งเข้าบ้านกับรุ่นพี่ๆถ้าเป็นฤดูแล้งก็จะลำบากหน่อย ด้วยความที่ไม่มีรองเท้าพ่อถึงเที่ยงอากาศร้อนเต็มที่ถนนระหว่างโรงเรียนกับบ้านเป็นดินทรายจำเป็นต้องเดินผ่าน ดินทรายถูกแดดเผาจะร้อนมากไม่มีวิธีแก้พอถึงที่ทรายร้อนๆต้องวิ่งแข่งกันให้เร็วที่สุดทั้งไปและกลับเพื่อหนี
ความร้อน มาคิดดูอีกทีตอนนี้ก็ดีเหมือนกันธรรมชาติสอนให้เราได้รู้จักวิธีเอาตัวรอดและฝึกความอดทนไปในตัว ผมผู้เขียนจำได้ว่าได้ใส่รองเท้าเมื่อเรียน อยู่ ป . 2 แต่เป็นรองเท้าแตะส่วนรองเท้าผ้าใบนั้นใส่เฉพาะวันแต่งชุดลูกเสือเทานั้น ในระหว่างเรียน ป 1.ถึง ป.4 นั้นก็เคยถูกคุณครูทำโทษเหมือนกันครูให้วิ่งรอบโรงเรียนบ้างให้ยืนหน้าหอ้งบ้าง โทษฐานที่มาไม่ทันเข้าแถวบ้างไม่ทันเข้าห้องบ้าง …เฉพาะฤดูดำนา … เหตุที่มาไม่ทันอยู่บ่อยครั้งเพราะตอนเช้าต้องไปไถนาก่อนแล้วค่อยกลับมาโรงเรียน บางวันก็มาทันบางวันก็มาไม่ทันเพราะทางไปนาต้องลุยน้ำตลอด แต่ผลการเรียนตั้งแต่ ป .1 ถึง ป.4 ก็สอบผ่านทุกชั้น ในใจอยากเรียนต่อแต่ต้องหยุดเรียนทั้งน้ำตา …


โปรดติดตามตอนต่อไป.....เด้อพี่น้อง...คักแท้ๆ

เมือเฮือน.....Home