Home

????????????? 1 - ???????????????
?????????????????
??????
???????????????
????????????? 1
????????????
???????????
?????????? 3
?????????? 2

ในบรรดาอุปกรณ์แคมปิ้งที่ผมมีครอบครองอยู่นั้น เตาสนามดูเหมือนจะเป็นเสียงข้างมากในสภาอันเนื่อง
จากความชอบเป็นส่วนตัว บวกความหลังฝังใจที่ต้องสรรหาเตามืออาชีพมาใช้งาน... เรื่องมันมีอยู่ว่าใน
สมัยที่เต็นท์โดมยังไม่เป็นที่แพร่หลาย พวกผม(รวมทั้งตาเกิ้นด้วยหล่ะ..อิ อิ) เคยไปกางเต็นท์โดมเด่นเป็น
สง่า 2 หลังอยู่ท่ามกลางเต็นท์สามเหลี่ยมบนเขาหลวงสุโขทัย จนใครที่เดินผ่านเต็นท์ไปมาถึงกับออกปาก
ชมว่าเป็น "พวกนักเดินทางมืออาชีพ" แต่ในเช้าวันนั้น "พวกมืออาชีพ"ก็หอบแฮกๆกับความพยายามใน
การเก็บฟืนที่เปียกชื้นจากน้ำค้างมาก่อกองไฟเพื่อต้มมาม่ากินแต่ก็จุดไม่ติด สุดท้าย แก๊งค์"มืออาชีพ" ทั้ง
หลายก็ต้องแบกหน้าไปขอใช้เตาถ่านที่นักเดินทางท่านอื่นใจดีเอื้อเฟื้อให้....ตั้งแต่นั้นผมก็ถือคติว่า
"อย่าหวังฟืนแห้งๆ ที่กางเต้นท์หน้า" หันมาเสริมบารมีความเป็นนักเดินทาง"มืออาชีพ(ลูกจ้างบริษัท)" ด้วย
การหาเตาสนามมาพกติดตัวใช้งานไม่ให้เสียฟอร์ม

หากจะทำจัดแบ่งเตาสนาม หรือเตาแคมปิ้งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายนั้น เราสามารถจัดแบ่งได้เป็น 2
ประเภทหลักๆ ได้แก่เตาแก๊สกระป๋อง หรือ Canister Stove และเตาน้ำมันหรือ Liquid Fuel Stove เจ้า
เตาน้ำมันเนี่ยก็ยังแบ่งออกหลากหลายชนิดตามชนิดน้ำมันที่ใช้อันได้แก่ เตาน้ำมันก๊าด (Kerosene),
เตาน้ำมันเบนซินเบนซินไร้สารตะกั่ว, เตาสารพัดเขมือบ หรือ Multi-Fuel Stove แต่ในภาคแรกนี้ ผมจะ
ขอเสนอพระเอกสามหนุ่มสามมุมของผม อันได้แก่เตาน้ำมันฟู่เบนซิน 3 รุ่นครับ ส่วนภาคสองจะเป็นเตา
แก๊สกระป๋อง และภาคสุดท้าย ถ้า บก.ตาเก้นยังคงยินยอมให้ตีพิมพ์อยู่ ผมจะขอเสนอเตาสนามที่พระเอก
สุดคลาสสิก ที่เป็นที่พิมพ์นิยมเสมือน Leica M ในโลกของกล้อง นั่นคือเตาฟู่น้ำมันก๊าด Primus และ
Optimus นั่นเอง

หลักการทำงานของเตาฟู่น้ำมันเบนซิน

เตาน้ำมันสนามเกือบทั้งหมดจะเป็นเตาฟู่ หรือ Pressurized Liquid Fuel Stove เนื่องจากเตาฟู่จะให้
พลังงานความร้อนที่สูงกว่าเตาน้ำมันธรรมดา หลักการเริ่มต้นของเตาฟู่คือการสร้างแรงดันในถังน้ำมัน
โดยใช้ความร้อนจาก"ตัวล่อ" หรือแรงคน(ปั๊มสูบลม)เพื่อให้เตาฉีดฝอยน้ำมันออกมาที่หัวเตา และเมื่อทำ
การจุดละอองน้ำมันให้ติดไฟแล้ว เตาก็จะใช้ความร้อนของเตานั่นแหละครับในการให้ความร้อนแก่ท่อ
อุ่นน้ำมัน (Chamber) เพื่อเปลี่ยนน้ำมันให้กลายเป็นไอน้ำมันฉีดพ่นออกมาติดไฟ และแน่นอนไอน้ำมัน
จะผสมกับอากาศได้ดีกว่าอันทำให้เกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์โดยจะสังเกตุได้จากเปลวไฟของเตาฟู่จะ
เปลี่ยนจากสีส้มและมีควันในตอนเริ่มจุดไปเป็นสีฟ้าที่ไม่มีควัน ด้วยหลักการใช้ความร้อนของหัวเตาเป็น
ตัวสร้างแรงดันน้ำมันนี้ทำให้แรงดันน้ำมันในถังจะมีอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งเราดับเตาหรือน้ำมันในถัง
หมดล่ะครับ ไม่จำเป็นต้องจุดตัวล่อหรือปั้มลมให้เหนื่อยแรงอีก(เว้นแต่ต้องการจะจุดเตาใหม่ หรือ
เตารั่ว..อิ อิ)

เตาน้ำมันเบนซิน"ท่านพ่อ"

เตาน้ำมันเบนซินที่ผมมีไว้ครอบครองตัวแรกนี้ได้มาโดยไม่ได้ลงทุนซื้อแต่ประการใดหากแต่แอบจิ๊กของ
พ่อมาใช้และปัจจุบันก็กลายสภาพเป็นมรดกจากพ่อ  เตา"ท่านพ่อ"นี้ถือได้ว่าเป็นรุ่นบุกเบิกของเตาสนาม
น้ำมันเบนซินเลยก็ว่าได้ครับ และเจ้าเตาตัวนี้เกือบสร้างวีรกรรมให้กับพี่สาวผมในการร่วมเป็นจำเลยเผา
เต็นท์บนภูกระดึงเมื่อ 20 ปีที่แล้วเพราะเข้าไปทำกับข้าวในเต็นท์ ผมเองก็เพียรใช้เตานี้ทำกับข้าวหลาย
หนแต่ก็ไม่เคยสำเร็จเนื่องจากเตานี้จะดับได้ง่ายมากเมื่อโดนลม...นี่เองที่คงเป็นเหตุผลให้พี่สาวผมเข้า
ไปทำกับข้าวในเต็นท์.... แถมเวลาไฟดับไปแล้วเตาก็ยังคงพ่นฝอยเจ้าน้ำมันออกมาไม่ยอมหยุด (ดังนั้น
เวลาใช้เตานี้ควรอยู่ห่างจากเปลวไฟแหล่งอื่น) ทางแก้ก็ต้องเปิดฝาถังน้ำมัน(ซึ่งร้อน!!) นะครับ เรียกว่า
ใช้เตา "รุ่นพ่อ"ตัวนี้ถ้าไม่ระวังก็เป็นได้นิ้วพองแน่นอน

ส่วนประกอบของเตา"ท่านพ่อ" หรือ
Handy Campers' Stove

หลักการทำงานของเตานี้ก็ง่ายไม่มีอะไรซับซ้อน (โปรดดูรูปที่ 1 ประกอบ) ตัวเตาจะประกอบด้วยถังใส่
น้ำมันโลหะต่อกับหัวเตาซึ่งเป็นท่อโลหะเล็กขดเป็นวงกลมอยู่ 2 รอบ โดยตรงกลางของท่อขดดังกล่าวจะ
มีรูเล็กๆเพื่อให้ละอองน้ำมันเบซินพุ่งออกมาเผาไหม้ การจุดเตาทำโดยการจุ่มคบไฟที่ให้มาพร้อมกับเตา
ให้ปลายเปียกน้ำมันแล้ว จุดไฟ นำคบไฟมาเผาหัวเตาเพื่อให้ความร้อนสร้างความดันน้ำมันภายในเตา
เมื่อแรงดันมากพอละอองน้ำมันในเตาก็จะพุ่งออกมาและติดไฟ(จากคบ) ความร้อนของไฟที่เกิดจาก
ละอองน้ำมันของเตาก็จะเผาหัวเตาทำให้ค่าแรงดันไอน้ำมันในเตาคงที่เป็นผลให้เตาฉีดพ่นละอองน้ำมัน
ออกมาเผาอย่างต่อเนื่อง ่

เมื่อประกอบร่างแล้ว เตา"ท่านพ่อ"
ก็สามารถต้มน้ำ 1 ลิตรเดือดได้ใน
8 นาทีครึ่ง

 อย่างที่เรียนให้ท่านผู้อ่านทราบแต่ต้นว่าเตานี้ต้องจุดในที่อับลมเท่านั้น แม้กระนั้นเตา"ท่านพ่อ"ก็ยังมี
อาการติดๆดับๆ ต้องจุดซ้ำอีกหลายครั้ง จนกระทั่งความดันของน้ำมันในเตาเข้าสู่เสถียรแล้ว ก็ทำการ
วัดความสามารถในการตวงน้ำ 1 ลิตรใส่การ้องได้เอาไปตั้งบนเตาพร้อมจับเวลา ด้วยเวลา 8 นาทีครึ่ง
เตา"รุ่นพ่อ"ก็ทำให้น้ำในกาเดือดเป็นไอมากพอที่ทำให้การ้อง นับว่าเปลวไฟของเตา"ท่านพ่อ"ร้อนแรงไม่
หยอกทีเดียวครับ เมื่อเทียบขนาดซึ่งเล็กกว่าเตาอื่นอยู่หลายขุมแถมอายุอานามก็มากสุด เรียกว่าเก่าแต่
เก๋าครับ

เตา"ท่านพ่อ"นี้ผมเข้าใจว่าไม่ได้มีการผลิตออกมาอีกแล้ว เพราะไม่เคยเห็นมีวางขายอีกเลยครับ สาเหตุ
คงเป็นเพราะว่าเตามีเสถียรภาพการติดไฟที่ต่ำ และการใช้งานต้องอยู่ในที่อับลมจริงๆซึ่งไม่เหมาะกับการ
ใช้งานนอกสถานที

เตาสนามทหารรัสเซีย

หลังจากที่ผมดูหนังเรื่อง Enemy at the gate ผมก็ได้ตั้งชื่อเจ้าเตารัสเซียของผมว่า เตา "สตาลินกราด"
ตามชื่อเมืองในหนัง

เจ้าเตาสตาลินกราดเนี่ย ผมได้มาพร้อมกับตาเกิ้นเมื่อเกือบ 10 ปีแล้ว อุปกรณ์ครบถ้วนแถมคู่มือการใช้
เป็นภาษารัสเซียซะด้วย เคยมีแผน(ในใจ)ว่าจะเอาคู่มือไปถามสาวรัสเซียในกรุงเทพฯอยู่เหมือนกันครับ
แต่เกรงว่าพอไปถึงจะแล้วลืมจุดประสงค์หลักเสียเปล่าๆ

หน้าตาของเตาสนามทหารรัสเซีย

เจ้าเตาสตาลินกราดของผมเป็นเตาสนามขนาดพกพาของทหารรัสเซีย สนนราคาที่ซื้อมาตอนนั้นก็แค่
3-400 บาทครับ เนื่องจากเป็นของที่ขนข้ามชายแดนลาว-เขมรมาขายในเมืองไทยหลังปิดฉากยุคสงคราม
เย็น การออกแบบก็เก๋มาก คือตัวเตาจะอยู่ในกล่องเหล็กสี่เหลี่ยมสีฟ้า-เทา พอเปิดฝาข้างบนออก ตัวชุด
เตาและถังน้ำมันก็จะเลื่อนออกทำให้หัวเตาอยู่ตรงกลางกล่อง (ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นที่กันลมไปในตัวเบ็ด
เสร็จ) หลังจากนั้นก็เอาปุ่มหมุนปรับแรงดันน้ำมันพร้อมก้านมาเสียบเข้าไป เท่านี้เตาก็พร้อมใช้งานแล้ว
ครับ ซึ่งการออกแบบเจ้าเตานี้ลงตัวมาก ในตอนแรกผมเข้าใจผิดว่าเป็น Russian Design ถึงกับแอบหลง
ปลื้มในฝีมือการออกแบบของชาวรัสเซีย (นอกเหนือจากความงามของสาวรัสเซีย) แต่มาตอนหลังพบว่า
เจ้าเตารัสเซียนี้เหมือนกับเตาของ Optimus รุ่น Hunter R8 เหมือนกันยังเตากับเตาเลยครับ( เตาจะไป
เหมือนแกะได้อย่างไร) ไม่รู้ว่าใครลอกแบบใครพอค้นข้อมูลจากทาง Internet ก็พบว่าเตาต้นแบบคือเจ้า
เตา Hunter ที่โดยบริษัท Optimus ซึ่งท่านที่ชื่นชอบพวกเตาน้ำมันก๊าด หรือตะเกียงน้ำมันจะทราบดีว่า
บริษัทสัญชาติไวกิ้งนี้เป็นหนึ่งในสุดยอดผู้ผลิตเตาน้ำมันสนามเลยทีเดียว และเจ้าเตา Optimus รุ่น Hunter
R8 ที่เป็นฝาแฝดกับเตารัสเซียเนี่ยก็ถูกเลือกให้เป็นเตาสนามสำหรับทหาร Nato มาหลายสิบปีแล้วเหมือน
กัน เรียกได้ทหารทั้ง 2 ฝั่งกำแพงเบอร์ลินถือปืนกันต่างยี่ห้อ แต่กลับใช้เตาสนามหน้าตาเหมือนกัน สิ่งนี้
อาจเป็นข้อพิสูจน์ได้ว่าการออกแบบเจ้าเตาสนามตัวนี้เป็น field proven แล้วจริงๆ

โฉมหน้าผู้พี่ฝาแฝด เตา Optimus R8

หลักการของเตาฟู่น้ำมันรัสเซียที่ทำให้ได้พลังความร้อนสูงโดยการสร้างแรงดันไอน้ำมันเพื่อฉีดออกมาเผา
ไหม้ในปริมาณที่สูงและแรงดันน้ำมันนั้นก็เกิดมาจากความร้อนของเตานั่นเอง แต่วิธีการในการสร้างแรง
ดันน้ำมันในตอนเริ่มจุดจะทำโดยการใช้ความร้อนจากน้ำมัน "ตัวล่อ" โดยข้างใต้ท่อน้ำมันมายังหัวเตา
จะมี ถ้วยอุ่นน้ำมัน  (ภาษาปะกิต เรียกว่า spirit  cup) เมื่อเราจุดไฟน้ำมันในถ้วยอุ่นน้ำมันความร้อนจะ
ทำการอุ่นน้ำ/อากาศมันในท่ออุ่นน้ำมันให้เกิดแรงดันขึ้น เมื่อเปิดวาล์ว โดยการหมุนเข็มเปิดรูนมหนู
แรงดันที่เกิดขึ้นก็จะดันให้น้ำมันในถังพุ่งออกเป็นฝอย ออกจากนมหนูและติดไฟ หลังจากนั้นทุกอย่างก็
เข้าสู่ วัฎจักร คือความร้อนของเตาเป็นตัวสร้างแรงดันน้ำมัน เมื่อเปิดวาล์วมาก ละอองน้ำมันก็ออกมามาก
 ทำให้ได้เปลวไฟแรง แถมสร้างแรงดันในถังน้ำมันมากขึ้นอันเป็นผลให้ละอองน้ำมันก็ยิ่งถูกฉีดออกมาแรง
ขึ้น อย่างไรก็ตามปริมาณน้ำมันที่ถูกฉีดออกมาเผาไหม้นี้ถูกควบคุมด้วยวาล์วที่ทำหน้าที่ดันเข็มให้เปิด
หรือปิดรูนมหนู เราจึงสามารถควบคุมความแรงของเตาได้พอสมควร แต่จะให้หรี่เปลวไฟได้น้อยมากๆ
อย่างเตาแก๊สนั้นทำไม่ได้ครับเพราะความร้อนของเตาไม่พอที่จะเผาท่ออุ่นน้ำมันให้เกิดปริมาณไอน้ำมันที่
มีเสถียรพอ

ชิ้นส่วนประกอบของเตารัสเซีย

คราวนี้ลองมาทดสอบความร้อนแรงของเตารัสเซีย โดยทำการต้มน้ำ 1 ลิตรจากการ้องได้  ด้วยการเปิด
วาล์วให้เปลวไฟแรงสุดสุด  พบว่าเจ้าเตาสตาลินกราดของผมสามารถต้มน้ำในกาให้เริ่มเดือดจนกาน้ำเริ่ม
ร้องได้ในเวลา 6 นาที 30 วินาที นับว่าเป็นเตาที่ร้อนแรงที่เดียวครับ โดยเฉพาะตอนที่เร่งไฟเต็มที่นั้นหัว
เตาทองเหลืองนั้นถูกเผาจนกลายเป็นสีแดงโร่เลยทีเดียว

สำหรับท่านที่คิดจะหาเตาสนามรุ่นนี้ไว้ครอบครองก็อาจจะถึงกับเกิดอาการสะอึกถ้าได้ทราบว่า ราคาซื้อ
ขายในปัจจุบันอยู่ที่ 3,000-3,500 บาท เนื่องเตานี้ได้กลายเป็นหนึ่งใน collection ของผู้ชื่นชอบของเก่า
ไปเรียบร้อยแล้วครับ

เตาน้ำมัน Duel Fuel Peak1 ของ Coleman

ผมรียกเจ้าเตานี้ว่า เตาลูนาร์โมดูล ด้วยความที่หน้าตาไปละม้ายคล้ายคลึงกับยานลูนาร์โมดูล แม่ลูนาร์ฯ
เตานี้ เป็นเตาที่มี sentimental  กับผมพอสมควรครับ ซ่อมมากะมือ 2 หนแล้ว ก็ยังตัดใจทิ้ง/ขายมันไม่
ลง เตานี้ซื้อมาแพงมาก...ก ราคาเตาก็ไม่แพงเท่าไรครับ ราคา 50 เหรียญตอนนั้นเหรียญละ 25 บาทคิด
เป็นเงินไทยก็พันกว่าบาทแถมลงขันกันหลายคนซื้อด้วยซ้ำแต่เมื่อใช้งานทริปแรกเสร็จ ทุกคนก็ตกลงใจ
ยกให้ผม..อิ อิ..คงเป็นของปลอบใจหลังทริปที่ผมหวังว่าจะ romantic แต่สุดท้ายก็จบลงอย่างเศร้าเคล้า
น้ำตา แต่ที่บอกว่าแพงก็คือค่าขนส่งเตาพร้อมคนขนครับ เพราะซื้อที่เมือง Seattle แล้วหอบหิ้วไปใช้แคม
ปิ้ง กันที่อาลาสก้า  แล้วก็ขนกลับมาเป็นเตาคู่หูคู่เดินทางไปเที่ยวที่ต่างๆอยู่นานครับ

 หน้าตาเจ้าเตาลูนาร์ฯของผม

เจ้าเตาลูนาร์ฯตัวนี้เป็นเตาสนามรุ่น Peak1 แบบ Duel-Fuel กล่าวคือสามารถใช้น้ำมันได้ 2 ชนิดคือ
น้ำมัน(Coleman) White Gas และ Unleaded Gasoline หรือน้ำมันเบนซินไร้สารนั่นเอง  เตานี้ผลิตโดย
บริษัท Coleman เจ้าพ่ออุปกรณ์แคมปิ้งของอเมริกา เวลาเราพูดถึง Coleman คนไทยก็มักจะนึกถึงกระติก
น้ำเย็นหรือถังใส่น้ำแข็งไปแคมปิ้ง แต่จริงๆแล้วโคลแมนเนี่ยผลิตตะเกียงสนามและตะเกียงเจ้าพายุภาย
ใต้ตรา Colemax และ Coleman มากว่าร้อยปีแล้วครับ และปัจจุบันได้ขยายการทำธุรกิจมาเป็นอุปกรณ์
Outdoor เกือบครบวงจร motto ของบริษัทคือ "come outside and play" ก็เป็นที่โดนใจผมจริงๆเลยครับ

สิ่งที่แตกต่างระหว่างเตารัสเซียกับเตา Peak1 ก็คือวิธีการสร้างแรงดันน้ำมันในตอนแรกครับ เตารัสเซีย
จะใช้วิธีการอุ่นน้ำมัน ในท่อให้ร้อน ในขณะที่เตา Peak1 จะใช้การอัดอากาศโดยเตาจะมีลูกสูบปั๊มลมติด
กับถังน้ำมัน ก่อนจะทำการจุดเตาเราก็ต้องทำการ

ปั๊มลมด้วยลูกสูบประมาณ 20 หนเพื่อให้เกิดแรงดันอากาศในถัง เมื่อเปิดวาล์วฝอยน้ำมันจะถูกฉีดผ่าน
รูนมหนูออกมาเป็นไอน้ำมันเบนซินที่หัวเตาเมื่อพบกับเปลวไฟก็จะลุกพรึบขึ้นทันที ข้อแนะนำในการจุด
เตานี้ก็คืออย่าใช้มือถือก้านไม้ขีดไปจ่อใกล้หัวเตาหลังจากเปิดวาล์วเพราะไฟอาจจะลุกมาลวกมือเอาได้
ครับ ทางที่ดีควรจะใช้ก้านไม้ยาวๆจุ่มน้ำมันที่ปลายไม้ แล้วใช้ไฟแช็คหรือไม้ขีดจุดไฟบนก้านไม้นั้นก่อน
จะนำไปจ่อใกล้หัวเตาก่อนเปิดวาล์วจะปลอดภัยกว่าครับ

วิธีการจุดเตา Peak1 ที่ผิด! อย่าลอกเลียนแบบนะครับ

คราวนี้เมื่อจุดไฟติดแล้วเปลวไฟที่หัวเตายังจะไม่ร้อนแรงเท่าไรครับ (เปลวไฟยังเป็นสีแดงแถมยังมีควัน
เขม่าอยู่) ขั้นตอนต่อไปคือการเพิ่มแรงดันน้ำมันในถังเข้าไปอีกด้วยเทอร์โบ เอ๊ย...ด้วยการปั้มลมเข้าไปอีก
25-30 ครั้ง คราวนี้เปลวไฟก็จะกลายเป็นสีฟ้าเหมือนเตาแก๊สหรือเตาฟู่เลยครับ ร้อนแรงมากๆจนพูดเล่น
กันว่าถ้าวางหม้อเปล่าลงบนเตาลูนาร์ฯแล้วไม่รีบเติมน้ำละก้อ เดี๋ยวหม้อจะทะลุเอา และเวลาหุงข้าวด้วย
เตานี้แล้วข้าวไหม้ผมก็จะมีข้ออ้างเสมอว่า "ไฟมันแรง... เหมือนเจ้าของ"

ข้อเสียของเตา Peak1 ก็คือรูนมหนูที่มีขนาดเล็กมาก และท่ออุ่นน้ำมัน (ทาง Coleman เรียกว่า Generator)
 ซึ่งเป็นท่อทองเหลืองที่ลากผ่านกลางหัวเตานั้นมีความยาวมาก ดังนั้นโอกาสที่คราบเขม่าจะจับในท่อหรือ
นมหนูตันนั้นง่ายมาก หากท่านที่มีเตา Peak1 ใช้งานอยู่ผมขอแนะนำว่า เมื่อกลับมาจากทริปแล้ว ให้ถ่าย
น้ำมันออกจากเตาออกให้หมด และลองบิดวาล์วไปมาหลายๆครั้งเพื่อป้องกันไม่ให้คราบเขม่าในท่ออุดตัน
มิฉะนั้นท่านอาจจะต้องเสียเงินหลายร้อยบาทในการซื้อเจ้าตัว Generator มาเปลี่ยนหากเขม่าในท่อเกิด
จับตัวแข็งแล้วก็จะเกิดอาการท่อตัน...

ก่อนจบภาคแรกก็ขอฝากข้อเตือนใจท่านผู้อ่านทั้งหลายที่ใช้เตาสนามนะครับว่า โปรดระลึกเสมอว่าท่าน
กำลังเล่นกับวัตถุไวไฟอยู่นะครับ...ปลอดภัยไว้ก่อน นะครับ

 - หนูเล -

มีนาคม 2545

คุยกันรอบกองไฟ

เซ็นสมุดเยี่ยม

 

สมัครสมาชิก Thailand Outdoor ฟรี

กรุณาใส่ email และคลิ๊ก submit
Powered by YourMailinglistProvider.com