กลอนแปด๒

[ กลอนแปด๒ ] กลอนแปด๓ ] กลอนแปด๕ ] กลอนแปด๔ ]

Home ] ร้อยกรองไทย ] คุยกันฉันท์คนชอบกลอน ] สมัครสมาชิก ] เกี่ยวกับผู้จัดทำ ]

             สัมผัสนอก สัมผัสใน (ต่อ)
คำเหล่านี้ เรียกว่าสัมผัสนอก บังคับว่าต้องมี
          คราวนี้มาดูตัวอย่าง
บทที่ ๒  คำต่อไปนี้
รัก สัมผัสกับ อัก ำว่า  อภัย สัมผัสกับ ใจ
ำว่า  คำ สัมผัสกับ จำ  ำว่า ชื่อ สัมผัสกับ บือ  คำเหล่านี้ เรียกว่าสัมผัสใน ไม่บังคับจะมี หรือไม่ก็ได้   ขึ้นอยู่กับฝีมือของคนแต่ง
           เพราะบางคนเขียนกลอนโดยไม่มี
สัมผัสในก็ไพเราะได้ แต่กลอนแปด ที่ไพเราะ    ก็จะมีสัมผัสในเสมอ 
          โดยเฉพาะถ้าเป็นกลอนของสุนทรภู่ จะมีสัมผัสในถึง ๒ คู่ เช่น

     
    "ในเพลงปี่   ว่าสาม  พี่พราห์มณ์เอ๋ย
        ยังไม่
เคย   เชยชิด  พิสมัย
        ถึงร้อยรส   บุปผา  สุมาลัย
        จะชื่นใจ   เหมือนสตรี  ไม่มีเลย"


         คำว่า
เคย  เชย   เป็นสัมผัสในคู่ที่ ๑
และคำว่า
ชิด  พิส เป็นสัมผัสในคู่ที่ ๒
ซึ่งทำให้กลอนของสุนทรภู่ อ่านรื่นไม่สดุดจังหวะ
ฟังไพเราะ จนได้รับยกย่องเป็นบรมครูกลอน

                
  เสียงท้ายวรรค
         ตอนนี้ ก็มาถึงเรื่องของเสียงท้ายวรรค ใครจะเขียนกลอนได้ไพเราะกว่ากัน เคล็ดลับก็อยู่
ตรงนี้ละ
         คราวนี้คงจะหนียาขมถ้วยใหญ่ลำบาก
สักหน่อย เพราะต้องเกี่ยวข้องกับการผัน
วรรณยุกต์ แต่ไม่ต้องตกใจเรามาช่วยกัน ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายดีกว่า
          เพียงแต่คุณมีมือมีนิ้วครบ ๕ นิ้ว เรื่อง
ไล่โน้ตของเสียงกลอนก็จะไม่ยากอีกต่อไป เรา
มาหยุดเรื่องไล่เสียงวรรณยุกต์ไว้ก่อน เพื่อกลับ
ไปทำความเข้าใจ กับเรื่องของเสียงท้ายวรรค
กันก่อน  โดยมีสูตรง่าย ๆ ดังนี้

             ๑) คำหรือพยางค์สุดท้าย ของบรรทัดที่ ๑
และ ๒ ให้ใช้เสียงสูง
           ๒) คำหรือพยางค์สุดท้าย ของบรรทัดที่ ๓
และ ๔ ให้ใช้เสียงสามัญ (เสียงต่ำ)
            
           *** จำง่าย ๆ ขึ้นสูง ลงต่ำ ***

       บางท่านอาจจะค้านว่า   มันไม่ง่ายอย่างที่ว่าละ
ซีคุณ ปัญหามันอยู่ที่ว่าคำไหนสูง    คำไหนต่ำนี่สิ   
เรามาดูของจริง กันเลยดีกว่า

                    
" ในเพลงปี่   ว่าสาม  พี่พราห์มณ์เอ๋ย
                    ยังไม่คย   เชยชิด  พิ
สมัย
                    ถึงร้อยรส   บุปผา  สุมา
ลัย
                    จะชื่นใจ   เหมือนสตรี  ไม่มี
เลย "
               
        
เห็นตัวอย่างชัด ๆ อย่างนี้แทบไม่ต้องอธิบาย
อะไรกันมากไช่ไหมครับ โปรดสังเกตตัวเน้นสีน้ำเงิน
คู่แรก คือขึ้นสูง ส่วนตัวเน้นสีแดงคู่หลังคือลงต่ำ
         มาถึงตรงนี้แล้วคงต้องย้อนกลับไปกินยาขม
ที่ว่ากันแล้วละ คือการไล่วรรณยุกต์เพื่อหาว่า คำไหนสูง
คำไหนต่ำ
           เอานักเรียนทุกคนแบมือขึ้น ... พูดจริง ๆ นะครับ
นี่คือเคล็ดลับในการไล่เสียงวรรณยุกต์ ขอให้ท่านแบมือ
ข้างที่ถนัดขึ้น แล้วเริ่มไล่เสียงที่นิ้วก้อยไปหานิ้วโป้ง
รู้จักนิ้วโป้งใช่ไหม ?   ครับ หัวแม่มือนั่นแหละครับ
          เริ่มเลยครับ  
กา   ก่า    ก้า    ก๊า    ก๋า    พอไล่เสียง
กา เราก็งอนิ้วก้อยขึ้น แล้วก็เรื่อย ๆ ไป พอถึงเสียง ก๋า
ก็ถึงนิ้วโป้ง ครบ ๕ เสียงพอดิบพอดี คือ
          
กา         เป็นเสียงสามัญ   ไม่มีรูปวรรณยุกต์กำกับ
                        (ภาษากลอนเรียกรวม ๆ ว่าเสียงต่ำ)
           ก่า         เป็นเสียงเอก   มีรูปวรรณยุกต์ เอก กำกับ
           ก้า         เป็นเสียงโท     มีรูปวรรณยุกต์ โท กำกับ
           ก๊า         เป็นเสียงตรี     มีรูปวรรณยุกต์ ตรี กำกับ 
           ก๋า         เป็นเสียงจัตวา มีรูปวรรณยุกต์ จัตวา กำกับ
                          (ภาษากลอนเรียกรวม ๆ ว่าเสียงสูง)

ข้อต้องจำ 
           ๑) พยัญชนะที่ไล่เสียงได้ตามนี้เป็นกลุ่ม
พยัญชนะเสียงกลาง  ๗ ตัว คือ 
ก จ ด ต บ ป
(รวมที่ไม่ค่อยได้ใช้   ฎ ฏ  อีก ๒ ตัว เป็นทั้งหมด ๙ ตัว

วิธีจำท่องว่า  
่ก  จิก  ด้วง าย าก โอ่)

           ๒) พยัญชนะที่มีวิธี่ไล่เสียงต่างจากนี้เป็นกลุ่ม
พยัญชนะเสียงสูง ๘ ตัว คือ 
ข ฉ ถ ผ ฝ  ศ ส
(รวมที่ไม่ค่อยได้ใช้   คือ  ขอขวด  ฐ  ษ  อีก ๓ ตัว เป็นทั้ง
หมด ๑๑ ตัว) จำง่าย ๆ ว่าพื้นเสียงเป็นเสียงจัตวาสูงอยู่แล้ว ประกอบวรรณยุกต็ได้เพียง ๒ ตัว
คือ  ไม้เอก กับไม้โท เช่น   ขา  ข่า  ข้า 
วิธีจำท่องว่า  
ผี  าก  เศษ   ถุง  ้ข่าว าร  ให้   ฉั)
           ๓) พยัญชนะที่มีวิธี่ไล่เสียงต่างจากนี้เป็นกลุ่ม
พยัญชนะเสียงต่ำที่เหลือจากนี้มีทั้งหมด  ๒๔ ตัว

                                (มีต่อกลอนแปด ๓)