คำว่า สาวก แปลว่า
ผู้ฟัง หมายถึง
รับฟังคำสอนของพระพุทธองค์แล้วนำไปปฏิบัติจนได้ผลแล้วนำไปเผยแผ่ให้ผู้อื่นทราบด้วย
คำว่า ภิกษุ เป็นภาษาสันสกฤต
ตรงกับคำภาษา บาลีว่า
ภิกขุ แปลตามตัวอักษรว่า
ผู้ขอและผู้เห็นภัย
ที่แปลว่า ผู้ขอ
หมายความว่า
พระภิกษุเป็นนักบวชไม่ได้ประกอบอาชีพ
ต้องอาศัยชาวบ้านเลี้ยงชีพ
โดยขอปัจจัย ๔ จากชาวบ้าน
โดยการขอนั้นไม่ต้องออกปากขอ
เพียงแต่แสดงกิริยาว่าขอ
เช่น การเดินบิณฑบาต
การขอแบบนี้เป็นลักษณะของนักบวชหลายประเภทในสมัยพุทธกาล
ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติธรรมดาแตกต่างจากการขอของยาจก
ซึ่งออกปากขอหรือเดินตามขอ
และแตกต่างจากวณิพก
ซึ่งขอโดยมีสิ่งตอบแทน
เช่น ร้องเพลง
เล่นดนตรีให้ฟัง
ที่แปลว่า ผู้เห็นภัย
หมายความว่า
พระภิกษุเป็นผู้เห็นภัยในสังสารวัฏ
คือ การเวียนว่ายตสยเกิด
จึงพยายามปฏิบัติเพื่อให้บรรลุนิพพาน
ซึ่งพ้นจากความเกิด
ความตาย
พระภิกษุที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้องแรก
คือ พระอัญญาโกณทัญญะ
ซึ่งบวชด้วย เอหิภิกขุอุปสัมปทา
และองค์สุดท้ายที่ทรงบวชก่อนปรินิพพานเพียงเล็กน้อย
คือ พระสุภัททะ
ซึ่งบวชด้วยญัตติจตุตถกรรมอุปสัมปทา
พระภิกษุองค์สำคัญ ๆ
ที่เป็นกำลังในการเผยแผ่พระพุทธศาสนามีเป็นอันมาก
แต่ในที่นี้จะขอยกเอามาบางรูปเท่านั้น
คือ :-
๑.พระอัญญาโกญฑัญญะเถระ
ผู้เป็นปฐมสาวก <<อ่านต่อ
๒.พระสารีบุตร ได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ว่ามีความเป็นเลิศในทางปัญญา
โดยเฉพาะมีความสามารถในการเทศน์สอนแสดงธรรม
<<อ่านต่อ
๓.พระมหาโมคคัลลานะ เป็นพระสาวกซ้าย-ขวา คู่กับพระสารีบุตร ได้รับการ
ยกย่องว่ามีความเป็นเลิศในทางการแสดงอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหารย์ ทั้ง ๒ รูป มีบทบาทสำคัญ
ในการเผยแพร่พระศาสนาในสมัยแรก
<<อ่านต่อ
๔.พระอานนท์ ทรงเป็นทั้งพระอนุชาและพุทธอุปัฏฐากมีบทบาทสำคัญใน
พระพุทธ-ศาสนา ได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ว่าเป็นเอตทัคคะ ในทางความทรงจำ
อันดี และเป็นผู้ที่สวดพระสูตรอันเป็นการสืบทอดคำสั่งสอนของพระพุทธองค์
<<อ่านต่อ
๕.พระอุบาลี เป็นผู้รอบรู้ในพระวินัยได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ว่า มีความ
ทรงจำในพระวินัยเป็นเลิศ เป็นผู้รับผิดชอบในการสวดพระวินัยในปฐมสังคายนา
<<อ่านต่อ
๖.พระมหากัสสป มีบทบาทสำคัญโดยเป็นประธานคณะสงฆ์ในปฐมสังคายนา
ได้รับการยกย่องว่ามีความเป็นเลิศในการรักษาพระวินัยโดยเคร่งครัด ในทางมหายาน
ถือว่า พระมหากัสสป และพระอานนท์เป็นสาวกซ้าย-ขวา เนื่องจากเป็นผู้รับผิดชอบ
ในการสืบพระศาสนาต่อจากพระพุทธองค์
<<อ่านต่อ
|