จัดทำโดย นายอภิลักษณ์ นินต๊ะ

การจัดการศึกษานอกโรงเรียน

การจัดการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญ

การจัดการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญ เป็นการจัดเพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาและส่งเสริมให้ประชาชนที่พลาดโอกาสทางการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง
อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เพื่อนำความรู้ไปปรับปรุงคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น หรือเพื่อเป็นพื้นฐานใน
การศึกษาต่อในระดับสูงต่อไป โดยกำหนดหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญ ไว้ดังนี้

1. หลักสูตรการศึกษาเบ็ดเสร็จพื้นฐาน

2. หลักสูตรการศึกษาเพื่อชุมชนในเขตภูเขา

3. หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนระดับประถมศึกษา

4. หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

5. หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

1. หลักสูตรการศึกษาเบ็ดเสร็จพื้นฐาน

การศึกษาเบ็ดเสร็จพื้นฐาน เป็นการจัดการเรียนการสอนให้กับผู้ไม่รู้หนังสือ ผู้ที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ หรือผู้ที่ยังไม่จบชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 4 ให้สามารถอ่าน เขียน และคิดคำนวณ รวมทั้งการแก้ปัญหา โดยใช้กระบวนการ “คิดเป็น” สามารถนำไปใช้ใน
ชีวิตประจำวัน แก้ไขความเชื่อและวิธีดำเนินชีวิตอันเป็นอุปสรรคต่อการกินดีอยู่ดี เพื่อเป็นการช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของชาวชนบท ซึ่งมีหลักสูตรเฉพาะที่หลากหลายสำหรับกลุ่มต่าง ๆ เช่น กลุ่มชาวไทยมุสลิมทางภาคใต้ กลุ่มชนชาวเขาทางภาคเหนือ เป็นต้น หลักสูตรเทียบเท่าระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

2. หลักสูตรการศึกษาเพื่อชุมชนในเขตภูเขา

หลักสูตรประถมศึกษาเพื่อชุมชนในเขตภูเขา พุทธศักราช 2524 เป็นหลักสูตรที่มีรูปแบบเฉพาะสำหรับกลุ่มคนชาวเขาที่ไม่รู้หนังสือในแถบภาคเหนือ และตะวันตกของประเทศไทย โดยเป็นการจัดการศึกษาที่ยึดชุมชนเป็นหลัก มุ่งให้เกิดการพัฒนาแก่บุคคล และชุมชนในเขตภูเขา กรมการศึกษานอกโรงเรียนตั้งใจที่จะขยายการให้บริการทางการศึกษาที่สนองตอบต่อความต้องการและปัญหาของชุมชน
ชาวเขาโดยเฉพาะ และส่งผลให้ชาวไทยภูเขาที่ไม่รู้หนังสือจำนวนมาก สามารถอ่านออกเขียนได้ หลักสูตรนี้เทียบเท่าระดับ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

3. หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนระดับประถมศึกษา พุทธศักราช 2531

เป็นการศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถขั้นพื้นฐาน และให้คงสภาพการอ่านออกเขียนได้ คิดคำนวณได้และดำรงตนเป็นพลเมืองดีในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยมีการจัดหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนระดับประถมศึกษาดังนี้



ระดับประถมศึกษา (ป.6)

1. กลุ่มสภาพประสบการณ์พื้นฐาน (บังคับ) 190 สภาพ

        1.กลุ่มสภาพประสบการณ์เสริม เลือกไม่น้อยกว่า 60 สภาพ
        2.รวม 2 กลุ่มสภาพประสบการณ์ไม่น้อยกว่า 250 สภาพ

ผู้ที่จบหลักสูตรต้องผ่านสภาพประสบการณ์พื้นฐาน (บังคับ) 190 สภาพ และกลุ่มสภาพประสบการณ์ (เลือก) ไมน้อยกว่า 60 สภาพ การผ่านกลุ่มสภาพประสบการณ์ต่าง ๆ อาจผ่านได้โดยการเทียบโอนผลการเรียนหรือผ่านข้อทดสอบตามเกณฑ์ที่กำหนด ผู้เรียนจะต้องผ่านกลุ่มสภาพประสบการณ์รวมกันแล้วไม่น้อยกว่า 250 สภาพ และใช้เวลาเรียนไม่น้อยกว่า 500 ชั่วโมง ยกเว้นกรณีมีการเทียบโอนผลการเรียนก็สามารถจบได้ก่อนกำหนด

4. หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2530

เป็นหลักสูตรต่อเนื่องจากหลัสูตจรการศึกษานอกโรงเรียนระดับประถมศึกษา การศึกษาระดับนี้มุ่งที่จะส่งเสริมให้ผู้ที่ต้องการศึกษาหาความรู้แต่พลาดโอกาสที่จะศึกษาต่อในระบบโรงเรียนได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้ ฝึกทักษะและปลูกฝังเจตคติที่จำเป็นในการดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพได้เท่าเทียมกับผู้อื่น สามารถปฏิบัติตนให้ดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขตามสมควรแก่อัตภาพ หลักสูตรนี้มีความสอดคล้องกับหลักสูตรระดับเดียวกับในระบบโรงเรียนและมีความยืดหยุ่นพอเพียงที่จะให้ผู้เรียนเลือกเรียนได้ตามความสามารถ ความถนัด ความสนใจ และความต้องการของตน โดยมีการจัดหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ดังนี้

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

1. หมวดวิชาบังคับ 4 หมวดวิชา

1. ภาษาไทย
2. คณิตศาสตร์
3. ส่งเสริมคุณภาพชีวิต
4. โลกของงานอาชีพ

2. หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 3 หมวด

- หมวดวิชาที่กำหนดไว้ในโครงสร้างหลักสูตร

3. รวมไม่น้อยกว่า 7 หมวด

การจบหลักสูตรนักศึกษาต้องผ่านหมวดวิชาบังคับ 4 หมวดวิชา และหมวดวิชาเลือกไม่น้อยกว่า 3 หมวดวิชา และต้องผ่านกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) ตามที่กรมการศึกษานอกโรงเรียนกำหนด

4. หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2530

เป็นการจัดการศึกษาที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม โดยสามารถเลือกแผนการเรียนและสายวิชาที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ เป้าหมายในการเรียนของตน ดังนี้

1. แผน ก. แผนการเรียนเพื่อการศึกษาต่อ เปิดสอน 4 สายวิชา คือ

1.1 สายคณิต-วิทย์ สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อในกลุ่มสาขาวิชาเกี่ยวกับการแพทย์ วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ ฯลฯ

1.2 สายศิลป์-คำนวณ สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อในกลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ พาณิชยศาสตร์

1.3 สายศิลป-ภาษา สำหรับผู้ต้องการจะศึกษาต่อในกลุ่มวิชาอักษรศาสตร์ มนุษยศาสตร์

1.4 สายทั่วไป สำหรับผู้ต้องการที่จะศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาอื่น ๆ

2. แผน ข. แผนการเรียนเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต เปิดเฉพาะสายวิชาพัฒนาคุณภาพชีวิต

3. แผน ค. แผนการเรียนเพื่อการประกอบอาชีพ

โดยมีการจัดหลักสูตรการศึกษาอนกโรงเรยีนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ดังนี้

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

1. หมวดวิชาบังคับ 5 หมวดวิชา

1. ภาษาไทย 1

2. สังคมศึกษา 1

3. วิทยาศาสตร์ 1 หรือ 2

4. พลานามัย

5. พื้นฐานวิชาชีพ

2. หมวดวิชาเลือก

ไม่น้อยกว่า 3 หมวดวิชา

- หมวดวิชาที่กำหนดไว้ในโครงสร้างหลักสูตร

3. รวมไม่น้อยกว่า 8 หมวด

การจบหลักสูตานักศึกษาต้องผ่านหมวดวิชาบังคับ 5 หมวดวิชา และหมวดวิชาเลือกไม่น้อยกว่า 3 หมวดวิชา และจะต้องผ่านกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) ที่กรมการศึกษานอกโรงเรียนกำหนด

วิธีเรียน

การดำเนินงานการจัดการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญของหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้จัดการการเรียนการสอนออกเป็น 3 วิธี ดังนี้

1. วิธีเรียนแบบชั้นเรียน (ชร.) ผู้เรียนจะต้องเข้าเรียนในชั้นเรียนระหว่างเวลา 17.00 – 20.00 น.

2. วิธีเรียนทางไกล (ทก.) ผู้เรียนสามารถศึกษาด้วยตนเองจากเอกสารรายวิชา รายการวิทยุ/โทรทัศน์ และพบกลุ่มสัปดาห์ล่ะ 1 ครั้ง

3. วิธีเรียนแบบด้วยตนเอง (ตอ.) ผู้เรียนต้องศึกษาด้วยตนเองและเข้าร่วมกิจกรรมพบกลุ่มไม่น้อยกว่าร้อยละ 75


จัดทำโดย นายอภิลักษณ์ นินต๊ะ