MAIN MENU

  สาเหตุและการป้องกันการเบรกดาวน์ในฉนวนก๊าซ

  การเกิดไอออไนซ์เซชัน

  กลไกการเบรกดาวน์ของ Townsend

  กระบวนการ alpha

  กระบวนการ gramma

  กฎของพาสเซน

  เวลาล้าหลังของการเบรกดาวน์

  กลไกการเบรกดาวน์ของ Streamer

  ตัวอย่างโจทย์ในการคำนวณการเบรกดาวน์

  เกี่ยวกับผู้จัดทำ


ARCHIVE NEWS SEARCH

  Advanced search

สาเหตุและการป้องกันการเบรกดาวน์ในฉนวนก๊าซ

การเบรกดาวน์ในทางไฟฟ้านั้น  หมายถึง  การที่เราป้อนแรงดันไฟฟ้าที่ค่าๆหนึ่งให้กับฉนวน ซึ่งมีค่าเกินความสามารถของฉนวนที่จะทนแรงดันไฟฟ้านั้นๆหรือทนต่อสนามไฟฟ้านั้นได้ จึงจะเกิดกระแสไฟฟ้าไหลผ่านฉนวนอย่างรุนแรงจนกระทั่งฉนวนนั้นๆทนไม่ไหวจึงเกิดการเบรกดาวน์ไปในที่สุด การเบรกดาวน์นั้นขึ้นอยู่กับชนิดหรือฉนวนที่ใช้ทำเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า ดังนั้นถ้าแบ่งการเบรกดาวน์ตามชนิดของฉนวนทางไฟฟ้าแล้ว จะแบ่งออกได้ 3 แบบคือ

1. การเบรกดาวน์ในก๊าซ (Breakdown in gas)
2. การเบรกดาวน์ในของเหลว (Breakdown in Liquid)
3. การเบรกดาวน์ในของแข็ง (Breakdown in solid)

       แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงสาเหตุและการป้องกันการเบรกดาวน์ในเฉพาะฉนวนที่เป็นก๊าซเท่านั้น   ฉนวนทางไฟฟ้าแรงสูงที่ง่ายและใช้มากที่สุดคือ ก๊าซอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วๆไปส่วนใหญ่จะใช้อากาศเป็นฉนวน เช่น ระบบส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า  นอกจากนั้นยังมีการนำก๊าซเฉื่อยต่างๆมาทำเป็นฉนวนในตัวอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น  N2   ,  CO2  ,  SF6  ฯ   ดังนั้นการศึกษาพฤติกรรมการเบรกดาวน์ในก๊าซ   คุณสมบัติทางไฟฟ้าของก๊าซและกระบวนการเกิดลัดวงจรในก๊าซจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำความเข้าใจ   สามารถออกแบบและวิเคราะห์ปัญหาของการฉนวนได้ถูกต้อง
สาเหตุการเกิดเบรกดาวน์ในฉนวนก๊าซนั้นจะพบว่า ก๊าซในสภาพปกติทั่วไปส่วนใหญ่จะเป็นฉนวนทางไฟฟ้า (ประกอบด้วยโมเลกุลที่เป็นกลาง) แต่ก๊าซโดยทั่วไปจะประกอบด้วยไอออนและอิเล็กตรอนเล็กน้อย ด้วยเหตุนี้เมื่อก๊าซได้รับพลังงานจากภายนอก เนื่องจากรังสีอุลตร้าไวโอเลตจากแสงแดด เนื่องจากรังสีคอสมิก และกัมมันตรังสี ฯลฯ เมื่อป้อนแรงดันไฟฟ้ากับตัวนำที่คั่นด้วยก๊าซ สภาพฉนวนของก๊าซจะเสียไปเมื่อมีการดีสชาร์จเกิดขึ้น (Discharge) ซึ่งเป็นปรากฎการณ์การไหลของกระแสไฟฟ้าผ่านก๊าซโดยอาศัยการเคลื่อนที่ของประจุที่เกิดจากการ Ionization และจะทำให้เกิดการเบรกดาวน์ขึ้นไนที่สุด

Copyright ©2005 Thana Kaewtapee