สำนักงาน ผู้บังคับทหารอากาศดอนเมือง
ประวัติ , ผังการจัด
ทำไม? จึงเข้มงวดเรื่องทำบัตรผ่าน
การขอบัตรผ่านเข้า-ออก เขต ทอ.
การขับขี่ยานพาหนะในเขต ทอ.
กำหนดการปิด-เปิด ช่องทาง ทอ.
การขอใบอนุญาตประเภทบุคคล
การใช้ยานพาหนะในเขต บก.ทอ.
การแต่งเครื่องแบบ ทอ.
ส.ค.ส. 2542 พระราชทานสู่ชาวไทย
กองทัพอากาศของท่าน
Royal Thai Air Force Day
งบประมาณ กองทัพไทย ปี 41
นโยบาย ทอ. ปีงบประมาณ 41
ข่าวสารในกิจการของทหารไทย
การตรวจเยี่ยมสายวิทยาการ สห.
โครงการ สขว.ทอ.
โทรศัพท์ฉุกเฉิน ทอ.
แจ้งเหตุด่วน, เหตุร้าย 191
เพลิงไหม้ 192
รถพยาบาลฉุกเฉิน 194
อากาศยานอุบัติเหตุ 196
พัน.สห.ทอ. 2-2197 - 9
ศูนย์รวมข่าวดับเพลิง 2-2126,7
ศูนย์รับแจ้งเหตุ ทอ.ทุ่งสีกัน 3-0065
สถานีดับเพลิงย่อยทุ่งสีกัน 2-2129, 3-0083
ศูนย์โทรศัพท์กลาง ทอ. 523-6151, 523-6161



 Supreme Command Headqurters, Royal Thai Armed Forces"


 กรมช่างโยธาทหารอากาศ
โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
โรงพยาบาลจันทรุเบกษา
กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง
ราชนาวิกสภา

|
การพัฒนากองทัพอากาศในสภาวการณ์ปัจจุบัน
การพัฒนากองทัพอากาศในสภาวการณ์ปัจจุบัน
ตามนโยบายของรัฐบาลด้านความมั่นคงที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้กองทัพปรับปรุงและพัฒนา
โครงสร้างให้กองทัพให้กะทัดรัดแต่ทันสมัย ซึ่งกองทัพอากาศได้ตระหนักถึงความสำคัญของนโยบายดังกล่าว และมีเจตนารมณ์
แน่วแน่ที่จะเตรียมกำลังทางอากาศให้มีขีดความสามารถในการปฏิบัติการทางอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับการ
เปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
1. ด้านการปรับปรุงโครงสร้างกองทัพ ได้ปรับลดหน่วยขึ้นตรงของกองทัพอากาศจากเดิม ๓๐ หน่วย
ขึ้นตรง เหลือเพียง ๑๗ หน่วยขึ้นตรง โดยแบ่งการจัดออกเป็ ๕ ส่วน คือ
ส่วนบัญชาการ,
ส่วนกำลังรบ (กองบัญชาการยุทธทางอากาศ),
ส่วนยุทธบริการ (กองบัญชาการสนับสนุนทหารอากาศ),
ส่วนการศึกษา (กองบัญชาการฝึกศึกษาทหารอากาศ) และ
ส่วนกิจการพิเศษ
เป็นการลดช่วงการควบคุมให้มีความเหมาะสม มีการแบ่งมอบอำนาจการบังคับบัญชาในการบริหาร
ตามลำดับชั้น ทำให้การควบคุม กำกับดูแล และการแก้ปัญหาต่าง ๆ จะกระทำได้ใกล้ชิดและรวดเร็วยิ่งขึ้น สามารถยุบรวมหน่วยงานที่ซ้ำซ้อนและปรับการปฏิบัติงานของกำลังพลให้สอด
คล้องกับงานที่รับผิดชอบมากขึ้น ในส่วนของโครงสร้างกำลังรบ ได้ปรับอัตราบรรจุอากาศยานจาก ๒๔ เครื่องต่อ ๑ ฝูงบิน เหลือจำนวน ๒๐ เครื่อง สามารถลดกำลังพลของหน่วยบิน และลดค่าใช้จ่ายในการ
ส่งกำลังและซ่อมบำรุงได้จำนวนหนึ่ง ตลอดจนปรับลดจำนวนทหารกองประจำการลงร้อยละ ๑๐ ในปี ๔๑-๔๒
๒. ด้านกำลังพล กองทัพอากาศได้มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพกำลังพลด้วยการพัฒนาความรู้ ความสามารถ
ทักษะ ทัศนคติ เกี่ยวกับวิทยาการสมัยใหม่ ควบคู่ไปกับการปลูกฝังคุณธรรม และจริยธรรมที่ดี เพื่อรองรับ
เทคโนโลยีสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในปัจจุบันและในอนาคต กองทัพอากาศมุ่งที่จะพัฒนากำลังพลทุกสาขาให้มี
คุณภาพสูงและสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๘ ได้แก่ การปรับปรุงหลักสูตรใน
โรงเรียนนายเรืออากาศ ได้แก่ หลักสูตรปริญญาตรีสาขาต่าง ๆ รวมทั้งหลักสูตร โรงเรียนจ่าอากาศ ให้มีมาตรฐาน
สูงขึ้น ส่งเสริมให้ข้าราชการเข้ารับการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก เพิ่มเติมทั้งในประเทศ
และต่างประเทศ ให้การศึกษาวิชาชีพเพิ่มเติมให้กับพลทหารกองประจำการ เพื่อนำไปประกอบอาชีพเมื่อปลดประจำการ
๓. ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ เครื่องบินรบสมัยใหม่ต้องสามารถปฏิบัติภารกิจได้ทั้งยุทธศาสตร์ยุทธวิธี
รวมทั้งการป้องกันทางอากาศ สามารถใช้อาวุธอากาศสู่อากาศและอากาศสู่พื้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นเครื่องบินขับไล่อเนกประสงคค์ (MULTIROLE FIGHTER)
เช่นเครื่องบิน F-16 A/B ที่ประจำการใน ทอ. ปัจจุบัน อีกทั้งยังมีอากาศยานที่ร่วมปฏิบัติภารกิจอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เครื่องบินลำเลียง เครื่องบินแจ้งเตือนภัย
ในอากาศ เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงทางยุทธวิธี และเฮลิคอปเตอร์ช่วยเหลือและกู้ภัย เป็นต้น
๔. ด้านการป้องกันประเทศ กองทัพอากาศได้พัฒนาระบบป้องกันทางอากาศอัตโนมัติที่เรียกว่า ระบบ RTADS
(ROYAL THAI AIR DEFENCE SYSTEM) รวมทั้งระบบ C 3 I ให้สามารถปฏิบัติได้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยส่งข้อมูลการตรวจจับเป้าหมายทางอากาศจากสถานีเรดาร์ทั่วประเทศเข้ามา ณ ศูนย์ควบคุมการปฏิบัติทาง
อากาศดอนเมือง เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาของศูนย์ยุทธการทางอากาศสามารถสั่งการป้องภัยทางอากาศได้อย่าง
ถูกต้องและรวดเร็ว นอกจากนั้นได้เชื่อทต่อระบบ RTADS เข้ากับเครือข่ายข้อมูลป้องกันทางอากาศอัตโนมัติร่วม
ของกองบัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล และประสานการปฏิบัติระหว่างกองบัญชาการ
ทหารสูงสุดและเหล่าทัพอื่นได้ และเนื่องจากอากาศยานปัจจุบันมีสมรรถนะสูง มีระบบอาวุธและระบบป้องกัน
ตนเองที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นระบบอาวุธต่อสู้อากาศยานของกองทัพอากาศ จะต้องเป็นระบบอาวุธที่ทันสมัย
ทั้งระยิงปานกลางและระยะยิงใกล้ รวมทั้งระบบเรดาร์แจ้งเตือนและควบคุมการยิงซึ่งวางประจำไว้ ณ ฐานบินต่าง ๆ
ของกองทัพอากาศ ซึ่งระบบนี้จะต่อเชื่อมเป็นส่วนหนึ่งของระบบป้องกันภัยทางอากาศอัตโนมัติของกองทัพอากาศ (RTADS)
๕. ด้านการส่งกำลังบำรุง ได้นำระบบส่งกำลังบำรุงอัตโนมัติมาใช้ในการบริหารงานด้านพัสดุอะไหล่
โดยการเชื่อมต่อระบบการเก็บรักษาและการเบิกจ่าย ระหว่างคลังใหญ่กับคลังฐานบินและคลังหน่วยของฝูงบิน
ด้วยระบบอัตโนมัติ เพื่อให้ฝูงบินทราบสถานภาพของพัสดุอะไหล่ และวางแผนการใช้งานและซ่อมบำรุงอากาศยาน
ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งกำลังบำรุงของกองทัพอากาศได้เป็นอย่างมาก
กองทัพอากาศได้ดำเนินการทุกวิถีทางที่จพัฒนากองทัพอากาศให้มีขีดความสามารถสูงสุดภายใต้วิกฤตการณ์
ทางเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน และให้เป็นไปตามแนวนโยบายของรัฐบาลด้านความมั่นคงที่จะพัฒนากองทัพ
ให้มีศักยภาพสูง เพื่อเป็นหลักประกันในการรักษาอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติตลอดไป.
๖. ด้านการศึกษา ทอ. ได้ปรับปรุงหลักสูตรของสถาบันการศึกษาทางทหารให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจ
ปัจจุบัน โดยจัดระบบการศึกษาเป็น ๔ ประเภท คือ
- โรงเรียนหลักขั้นต้น
- โรงเรียนหลักขั้นปลาย
- โรงเรียนเหล่า
- การอบรมพิเศษ
นอกจากนี้มีการจัดระบบเป็นโครงการศึกษาประจำปี ซึ่งประกอบด้วย การศึกษาในประเทศและต่างประเทศ
โดยกำหนดให้ทุนแก่ข้าราชการ นักเรียนทหารและนิสิตนักศึกษาส่งไปศึกษาอบรม ประชุมสัมมนา ดูงาน และ
ทัศนศึกษา (ทุนบางชนิด เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรใน ๔ ประเภท)
ในการปรับปรุงหลักสูตรหรือระบบการศึกษาของ ทอ. เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ
นั้น ภายหลังจากที่ประเทศไทยได้เริ่มประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจประมาณกลางปี ๔๐ และส่วนราชการต่าง ๆ
ได้มีการปรับลดงบประมาณ ซึ่งนำไปสู่การปรับลดค่าใช้จ่ายทางด้านการศึกษาของ ทอ. และมีผลทำให้หลักสูตรต่าง ๆ
ของ ทอ. มีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
- ๖.๑ ปรับลดหรือระงับบางส่วนในการศึกษา อบรม ประชุม สัมมนา การดูงาน และทัศนศึกษา และ
ต่างประเทศ โดยคำนึงถึงลำดับความสำคัญและความจำเป็น คือ
- ๖.๑.๑ ระงับการเดินทางไปดูงานและทัศนศึกษา ณ ต่างประเทศของ วทอ.ฯ, รร.เสธ.ทอ.ฯ และ นนอ.ชั้นปีที่ ๕
- ๖.๑.๒ ระงับการเดินทางไปดูงานและทัศนศึกษาในประเทศของ รร.นฝ.ฯ และหลักสูตรต่าง ๆ สำหรับ วทอ.ฯ และ รร.เสธ.ทอ.ฯ ให้ยังคงศึกษาดูงานได้ ๑ ครั้งต่อหลักสูตร
- ๖.๑.๓ ระงับการให้ทุนแก่ข้าราชการไปศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ยกเว้น ทุน นนอ. ยังคงให้ทุนไปศึกษา
ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ สหพันธรัฐเยอรมัน ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลี แต่ให้ลดจำนวนทุนน้อยลง
- ๖.๑.๔ ระงับการอบรมหลักสูตรต่าง ๆ ในต่างประเทศ ยกเว้นหลักสูตรที่ได้รับการช่วยเหลือจากต่างประเทศ
- ๖.๑.๕ ลดค่าตอบแทน สำหรับวิทยากร ครู อาจารย์ที่อยู่ต่างหน่วย หรือนอก ทอ. ระงับการให้
ทุนแก่ข้าราชการไปศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ยกเว้น ทุน นนอ. ยังคงให้ทุนไปศึกษา
ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ สหพันธรัฐเยอรมัน ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลี แต่ให้ลดจำนวนทุนน้อยลง
- ๖.๒ การปรับปรุงหลักสูตรของสถาบันการศึกษาทางทหารของ ทอ.
- เนื่องจากสถานการณ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้าน
เศรษฐกิจ สังคม การเมืองและการทหาร มาสู่ยุคโลกาภิวัฒน์ ภัยคุกคามได้เปลี่ยนรูปแบบเป็นการแข่งขัน
และการพัฒนในด้านต่าง ๆ มากมาย ซึ่งกองทัพอากาศป็นองค์กรหนึ่งในระบบราชการที่กำลังเผชิญกับ
ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นกองทัพอากาศจำเป็นต้องปรับปรุง พัฒนาระบบต่าง ๆ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งด้านการศึกษา ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาเพื่อมุ่งเน้น เสริมสร้างศักยภาพบุคลากร ให้มี
ความรู้ ความชำนาญ และความสามารถในการปฏิบัติงานร่วมกัน โดยการนำเทคโนโลยีหรือวิทยาการใหม่ ๆ
มาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน ตลอดจนปรับปรุงเนื้อหาวิชาให้สอดคล้องและสามรถนำไปประยุกต์
ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในช่วงที่ผ่านมากองทัพอากาศได้ปรับปรุงหลักสูตรของ รร.จอ.ฯ จากเดิมรับผู้สำเร็จการศึกษา ม.๖
ปรับเป็นรับผู้สำเร็จการศึกษา ม.๓ และให้ได้รับคุณวุฒิ ปวช. ทั้งนี้เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถที่จะศึกษาต่อ
ในระดับสูงขึ้น อีกทั้งเพื่อเป็นการรองรับตลาดแรงงานของภาคเอกชนในอนาคต.
๗. การส่งเสริมและพัฒนาบทบาทของกองทัพให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ
ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๗๒ ได้บัญญัติให้
รัฐต้องจัดให้มีกำลังทหารไว้เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราชความมั่นคงของรัฐ สถาบันพระมหากษัตริย์ ผลประโยชน์
แห่งชาติ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นองค์ประมุข และเพื่อการพัฒนา
ประเทศ กองทัพอากาศในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของพลังอำนาจแห่งชาติด้านการทหาร ได้ให้ความสำคัญและมีส่วน
ในการพัฒนาประเทศและช่วยเหลือประชาชน ดังนี้
- ๗.๑ การดำเนินการสนองพระราชดำริ
- ด้วยความห่วงใยในความเดือดร้อนของพสกนิกรอันเนืองมาจากความแห้งแล้งของสภาพอากาศ ซึ่งส่งผลต่อการดำรงชีพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงมีพระราชดำริให้จัดตั้งโครงการฝนหลวงเพื่อบรรเทา
ปัญหาดังกล่าว โดยมีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับกองทัพอากาศเป็นหน่วยดำเนินการ ซึ่งกองทัพอากาศ
ได้เริ่มปฏิบัติการทำฝนหลวงตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๕ เป็นต้นมา สามารถช่วยให้พี่น้องเกษตรกรและประชาชน
ตามภาคต่าง ๆ มีน้ำไว้ใช้อุปโภคบริโภคได้ในยามขาดแคลน
- จากภารกิจอันสำคัญยิ่งที่กองทัพอากาศได้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องดังกล่าว กองทัพอากาศจึงได้พิจารณา
จัดทำโครงการปรับปรุงเครื่องบินลำเลียงแบบ ๒ หรือ C-47 ซึ่งเป็นเครื่องบินปฏิบัติภารกิจฝนหลวง จำนวน
๖ เครื่อง ให้มีสมรรถนะสูงขึ้น รวมทั้งมีความปลอดภัยในการบิน เพื่อให้มีความมั่นใจในการปฏิบัติภารกิจ
ฝนหลวง และได้ถือเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูหัว ทรงครอง
สิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๙
- สำหรับในการสนองพระราชดำริทางด้านอื่น ๆ นั้น กองทัพอากาศได้จัดเครื่องบินลาดตระเวนถ่ายภาพ
ทางอากาศสนับสนุนการสำรวจบริเวณต้นน้ำลำธาร และพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาการเกิดอุทกภัยตามแนวพระราชดำริ และการสำรวจการบุกรุกทำลายป่า
- ๗.๒ การบรรเทาสาธารณภัยและการช่วยเหลือประชาชน
- กองทัพอากาศได้จัดตั้งศูนย์บรรเทาสาธารณภัยของกองทัพอากาศขึ้น โดยได้จัดเตรียมอากาศยาน
เจ้าหน้าที่ และอุปกรณ์ พร้อมให้การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบสาธารณภัยในพื้นที่ต่าง ๆ ได้ตลอดเวลาและ
ได้มีแผนเตรียมการเคลื่อนย้ายหรืออพยพคนไทยออกจากพื้นที่อันตรายในทันที ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ในประเทศ
หรือนอกประเทศ ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ประเทศกัมพูชา เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ และในคราว
ที่ลูกเรือประมงไทยได้รับการปล่อยตัวจากทางการพม่า เมื่อเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๐ จำนวน ๙๘ คน กองทัพอากาศได้จัดเครื่องบินลำเลียงไปรับลูกเรือประมงดังกล่าวกลับสู่บ้านเกิดเมืองนอนโดยสวัสดิภาพ
- ๗.๓ ด้านการรักษาสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ
- กองทัพอากาศได้ให้ความสำคัญในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยได้ให้
ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยการจัดเครื่องบินทำการบินสำรวจสภาพป่าไม้ และแจ้งให้
หน่วยรับผิดชอบทราบเมื่อพบเห็นการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ อีกทั้งยังจัดให้มีโครงการปลูกป่า
ในพื้นที่ของกองทัพอากาศทั่วประเทศ รวมทั้งได้จัดทำโครงการอนุรักษ์แนวปะการังที่ กองบิน ๕๓ จังหวัดประจวบคีรีขันต์
- อนึ่ง กองทัพอากาศได้ร่วมกับหน่วยงานของรัฐในพื้นที่แก้ไขปัญหาจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งกองทัพอากาศได้ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเปิดเส้นทางให้ประชาชนทั่วไปใช้ถนน
ภายในกองทัพอากาศเป็นเส้นทางจราจรได้
- ๗.๔ ด้านการพิทักษ์เอกราช ผลประโยชน์ของชาติ
- กองทัพอากาศได้เตรียมและใช้กำลังทางอากาศในการปฏิบัติการทางอากาศยุทธศาสตร์ การปฏิบัติ
การทางอากาศยุทธวิธี และการป้องกันทางอากาศ เพื่อให้สามารถปกป้องอธิปไตย รักษาผลประโยชน์และ
ความมั่นคงของชาติ โดยเฉพาะการปกป้องผลประโยชน์ของชาติทั้งบนบกและทางทะเลได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
- การดำเนินการที่กองทัพอากาศได้ดำเนินการแล้วได้แก่ การเคลื่อนย้ายเครื่องบินรบสมรรถนะสูง
ไปวางกำลังในพื้นที่ภาคใต้ การเพิ่มประสิทธิภาพของกำลังทางอากาศ โดยการเพิ่มเที่ยวปฏิบัติการรบของ
อากาศยานด้วยการลดเวลาสำหรับการบริการเครื่องหลังปฏิบัติภารกิจ การปรับปรุงเครื่องบินที่มีอยู่เดิม
ได้แก่ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) และเครื่องบิน บ.ข.๑๙/ก (F-16 A/B) ให้มีขีดความสามารถในการปฏิบัติการ
ทางอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาระบบการป้องกันภัยทางอากาศอัตโนมัติ (RTADS) รวมทั้ง
ระบบบัญชาการและควบคุมให้สามารถปฏิบัติภารกิจได้ครอบคลุมประเทศ
- กองทัพอากาศตระหนักถึงบทบาทดังกล่าวเป็นอย่างดี และพร้อมที่จะดำเนินการทุกวิถีทางที่จะ
บริหารทรัพยากรที่มีอยู่ในปัจจุบันให้สามารถปฏิบัติภารกิจในการปกป้องผลประโยชน์ขงชาติ ตลอดจน
พัฒนาและร่วมแก้ไขวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ของประเทศให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีตลอดไป
- ๘. ด้านสวัสดิการ การปรับปรุงด้านสวัสดิการและงานด้านบริการกำลังพล และครอบครัว ให้มีชีวิต
ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รวมทั้งประโยชน์ต่าง ๆ ที่กำลังพลควรจะได้รับ โดยเฉพาะอย่างงยิ่งข้าราชการชั้นผู้น้อย
โดยได้มีการจัดดำเนินงานด้านต่าง ๆ ดังนี้
- ๘.๑ ด้านส่งเสริมอาชีพเพื่อเพิ่มพูนรายได้และลดรายจ่ายให้แก่ครอบครัว
- ๘.๒ ด้านสวัสดิการและงานด้านบริการ เช่น ดำเนินการที่ดินและอาคารสงเคราะห์, ปรับปรุงบ้านพักรับรองในเขตดอนเมือง, ปรับปรุง รค.ทอ.ดม.
- ๙. ด้านจริยธรรม กองทัพอากาศได้เล็งเห็นความสำคัญของคุณธรรมและจริยธรรม ในการที่จะช่วยพัฒนาจิตใจของกำลังพล ซึ่งจะมีผลต่อการปฏิบัติราชการทั้งทางตรงและทางอ้อม
จึงได้ดำเนินการเกี่ยวกับการให้การศึกษาอบรมด้านคุณธรรม จริยธรรมมาอย่างต่อเนื่อง
- ทั้งนี้ กองทัพอากาศมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กำลังพลได้ทราบหลักธรรมตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน จนถึงขั้นสูง เพื่อกล่อมเกลาจิตใจให้เกิดความเข้งแข็ง อดทน เสียสละ มีคุณธรรม อันจะเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงาน
ให้เกิดประสิทธิผลและปฏิบัติตนให้ประสบความสุขความก้าวหน้าสมภาวะของแต่ละคน
เหตุด่วน, เหตุร้าย แจ้ง ศูนย์ควบคุมและสั่งการ พัน.สห.ทอ. โทร. 534-2117 - 9 ทอ. 2-2197 - 9
แจ้งเบาะแสแหล่งอบายมุข, ยาเสพติดให้โทษ, แหล่งการพนัน ผบ.พัน.สห.ทอ. โทร. 534-2113 โทรสาร. 523-7596
E-mail:dmbc4@ksc.th.com
|
|