[ Map of Thailand ]
dp dmbc kk mp
สำนักงาน
ผู้บังคับทหารอากาศดอนเมือง

ประวัติ , ผังการจัด

การขอบัตรผ่านเข้า-ออก เขต ทอ.
การขับขี่ยานพาหนะในเขต ทอ.
กำหนดการปิด-เปิด ช่องทาง ทอ.
การขอใบอนุญาตประเภทบุคคล
การใช้ยานพาหนะในเขต บก.ทอ.
การแต่งเครื่องแบบ ทอ.
ส.ค.ส. 2541 พระราชทานสู่ชาวไทย
กองทัพอากาศของท่าน
Royal Thai Air Force Day
งบประมาณ กองทัพไทย ปี 41
นโยบาย ทอ. ปีงบประมาณ 41
ข่าวสารในกิจการของทหารไทย
รับสมัครบุคคลเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร
รับสมัครบุคคลเข้าเป็นนักเรียนจ่าอากาศ
แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับ F18
ฐานทัพเรือชางฮี, ประเทศสิงคโปร์
การประชุมร่วมไทยกับสหรัฐ

โทรศัพท์ฉุกเฉิน ทอ.
แจ้งเหตุด่วน, เหตุร้าย 191
เพลิงไหม้ 192
รถพยาบาลฉุกเฉิน 194
อากาศยานอุบัติเหตุ 196
พัน.สห.ทอ. 2-2197 - 9
ศูนย์รวมข่าวดับเพลิง 2-2126,7
สถานีดับเพลิงย่อยทุ่งสีกัน 2-2129, 3-0083

ศูนย์โทรศัพท์กลาง ทอ. 523-6151, 523-6161


Supreme Command Headqurters
,
Royal Thai Armed Forces"


406 ปี กองทัพไทย
บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 บัญญัติไว้ในมาตรา 72 ว่า "รัฐต้องจัดให้มีกำลังทหารไว้เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราชความมั่นคงของรัฐ สถาบัน พระมหากษัตริย์ ผลประโยชน์แห่งชาติ และ การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นองค์ประมุข และ เพื่อการพัฒนาประเทศ
กองทัพไทยที่เวียนมาบรรจบครบที่ 406 (25 มกราคม 2541)
นับจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์สงครามยุทธหัตถี ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราชา แห่งกรุงหงสาวดี ในวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง พุทธศักราช 2135 พร้อมกับการประกาศศักดากองทัพไทย และได้มีการ ถือเอาวันที่ 25 มกราคม เป็นวันกองทัพไทย ตามมติคณะรัฐมนตรีของรัฐบาล ชุดที่ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

งบประมาณกองทัพไทยในอดีต
  • พ.ศ. 2540
  • พ.ศ. 2541

  • นโยบายกองทัพอากาศ "งบประมาณปี 2541"


    โครงการจัดหายุทโธปกรณ์ของกองทัพที่ถูกสั่งชะลอโครงการ

    สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
    1. โครงการดาวเทียมทหาร 15,000 ล้านบาท
    2. โครงการที่ตั้ง สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมแห่งใหม่ 1,300 ล้านบาท
    กองบัญชาการทหารสูงสุด
    1. โครงการก่อสร้างที่พักอาศัยกำลังพล 7,500 ล้านบาท
    2. โครงการพัฒนาการสื่อสาร 10,000 ล้านบาท
    กองทัพบก
    1. โครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์เพื่อใช้งานทั่วไป 1,000 ล้านบาท
    2. โครงการซ่อมเฮลิคอปเตอร์แบบเบลล์ 100 ลำ มูลค่า 2,500 ล้านบาท
    3. โครงการปรับปรุงรถถังสกอร์เปี้ยน 1,000 ล้านบาท
    4. โครงการจัดซื้อรถถังใหม่ 3,000 ล้านบาท
    5. โครงการรถบรรทุกขนาดใหญ่ 1,000 ล้านบาท
    6. โครงการอาวุธปืนประจำกาย M 16 a2 มูลค่า 500 ล้านบาท
    7. โครงการจัดซื้อรถยานยนต์หุ้มเกราะล้อยาง 5,000 ล้านบาท
    กองทัพเรือ
    1. โครงการเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง 2,000 ล้านบาท
    2. โครงการเรดาร์ตรวจฝั่งและระบบอาวุธปล่อยนำวิถี 2,000 ล้านบาท
    3. โครงการเรือดำน้ำ 17,000 ล้านบาท
    กองทัพอากาศ
    1. โครงการเครื่องบินฝึกศึกษา 400 ล้านบาท
    2. โครงการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ไอพ่น F18 มูลค่า 12,000 ล้านบาท
    3. โครงการจัดซื้อเครื่องบินลำเลียงขนาดกลาง 17,000 ล้านบาท


    ฐานทัพเรือชางฮี ประเทศสิงคโปร์
    ม.ค.41, ก่อนมาเยือนประเทศไทยของ นายวิลเลียม โคเฮน รมต.กห.สหรัฐฯ (มาเยือนประเทศไทยเมื่อ 16 ม.ค.41) ได้ประสบความสำเร็จในการเยือนประเทศสิงคโปร์ ในการเจรจาตั้งฐานทัพเรือในภูมิภาคนี้ คือ ฐานทัพเรือชางฮี
    การก่อสร้างฐานทัพเรือชางฮีครั้งนี้สิงคโปร์จะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจำนวน 35 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะดำเนินการแล้วเสร็จและเปิดให้กองทัพสหรัฐเข้ามาใช้งานได้ในราว พ.ศ. 2543
    [ เดลินิวส์, วันเสาร์ที่ 31 ม.ค. 41, P. 1-2. ]


    การประชุมร่วมไทยกับสหรัฐ
    พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ ผบ.ทหารสูงสุด แถลงผลการประชุมร่วมระหว่างไทยกับสหรัฐ เกี่ยวกับการขอยืดเวลาในการชำระหนี้ว่า ทางสหรัฐฯ ก็เข้าใจ สถานการณ์และความยุ่งยากของกองทัพไทยในการบริหารงบประมาณ พร้อมทั้งบอกว่าจะให้ความช่วยเหลือเท่าที่จะทำได้
    ด้าน พล.ท.ไมเคิล เดวิดสัน หัวหน้าฝ่ายจัดซื้อจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ กล่าวว่า สหรัฐฯ เข้าใจในปัญหาที่ไทยกำลังเผชิญอยู่ จะพยายามหาทางช่วยให้ไทยแก้ปัญหาต่าง ๆ ไปก่อน อย่างไรก็ตาม หนทางทั้งหมดอยู่ที่กองทัพไทยจะเป็นผู้ตัดสินใจ และไม่ว่าจะเลือกหนทางใดสหรัฐฯ ก็จะให้การสนับสนุน

    แนวทางที่จะปฏิบัติเกี่ยวกับ F18
    หลายครั้งที่กองทัพออกมาสะกิดสะเการัฐบาล พูดจาเหน็บแนมถึงหายนะและความจำเป็น ในการหายุทโธปกรณ์เพื่อปกป้องน่านฟ้าและอธิปไตย ล่าสุด พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ ผบ.ทหารสูงสุด ได่กล่าวว่า แนวทางที่จะปฏิบัติมีอยู่ด้วยกัน 3 แนวทาง คือ
    1. ยอมให้มีการริบเงินมัดจำจำนวน 74 ล้านเหรียญสหรัฐ พร้อมเงินค่าปิดโครงการอีกจำนวน 250 ล้านเหรียญสหรัฐ
    2. ขายใบจองให้ให้แก่ประเทศที่ต้องการจะซื้อเครื่องบินขับไล่ไอพ่น F18
    3. เจรจายืดระยะเวลาชะระหนี้ออกไป
    ขณะนี้ก็ยังไม่มีข้อยุติในการดำเนินการว่าจะเดินแนวทางใด เพราะทั้ง 3 หนทางที่มีอยู่นั้น ก็มีการวิเคราะห์และประเมินแล้วว่า ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบทุกรูปแบบ กล่าวคือ
    หากเลือกแนวทางแรก ไทยต้องสูญเงินเปล่าถึง 17,000 ล้านบาท
    หากเลือกแนวทางที่สอง ก็ต้องเสียค่าคอมมิชชั่นอีก หลังจากที่เสียมาแล้วในตอนสั่งซื้อ
    เลือกแนวทางสุดท้าย ก็ต้องสูญเงินอีกกว่า 21,000 ล้านบาท
    ( หากอัตราแลกเปลี่ยนเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 55 บาท
    "หนทางที่ควรกระทำมากที่สุดก็คือ ต้องหาตัวนายหน้าที่มาขายเครื่องบินขับไล่เอฟ-18 ให้แก่กองทัพไทย เพื่อจะให้เป็นผู้เจราากับทาง สหรัฐในการดำเนินการตามแนวทางต่าง ๆ"
    (น.ส.พ.เดลินิวส์, วันเสาร์ที่ 31 ม.ค. 41, P. 2, จากคำบอกเล่าของนายทหารระดับสูงของทุ่งดอนเมืองระบุว่า บุรุษที่เข้ามาเป็น นายหน้าติดต่อขายเครื่องบินขับไล่ไอพ่น F18 รายนี้ชื่อว่า "มิสเตอร์เอ็กซอร์" กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
    บริษัทที่จัดจำหน่ายเครื่องบินขับไล่เอฟ-18 ให้ คือ บริษัทแม็คโดนัลล์ ดักกลาส)
    ทีมงานที่ปรึกษา "นายชวน หลีกภัย" ผ่าทางตันด้วยข้อเสนอใหม่ ถือเป็นการพบกันครึ่งทางระหว่างฝ่ายกองทัพ กับตัวแทนจากสหรัฐอเมริกา นั่นคือการเลือกแนวทางขอเช่าเอฟ-18 ทั้งหมดจากสหรัฐฯ โดยมีออฟชั่นพิเศษพ่วงไปด้วย
    เงื่อนไขข้อนี้คือ ฝ่ายสหรัฐฯ ยังคงดำเนินการผลิตเครื่องบินขับไล่เอฟ-18 ต่อไป โดยฝ่ายรัฐบาลไทยจะไม่ยอมเลิกสัญญา แต่กองทัพอากาศขอสงวนสิทธิ์ที่จะเปลี่ยนสัญญาจากการซื้อขายมาเป็นการเช่าแทน โดยจจะทำการจ่ายค่าเช่าเป็นงวด ๆ ไป ในแต่ ละงวดนั้นจะผูกพันด้วยเงื่อนไขที่ว่าทุก 10% ของวงเงินที่ชำระเป็นค่าเช่าจะถูกหักเป็นเงินจ่ายค่าจัดซื้ออาวุธ ขั้นตอนการทำสัญญา เช่นนั้นรัฐบาลได้เสนอให้สหรัฐฯ จัดหาบริษัทกลางเข้ามาจัดไฟแนนซ์ให้กับกองทัพอากาศด้วย
    ประโยชน์สูงสุดที่ไทยจะได้รับ คือ ในช่วง 4-5 ปีข้างหน้า ค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้น ซึ่งจุดนี้จะทำให้ต้นทุนค่าจัดซื้อต่ำลงมาก


    เอวังเอฟ 18 ลุงแซมขอซื้อคืน
    นสพ.เดลินิวส์ อังคารที่ 5 พ.ค.41 หน้า 3.
    นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รมว.ต่างประเทศ กล่าวถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับเรื่องการเจรจาขายเครื่องบินเอฟ 18 ต่อรัฐบาลคูเวตว่า ตนได้รับแจ้งจากทางสหรัฐฯ ว่าจะขอรับซื้อเครื่องบินคืน เพราะ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณของเขาได้ผ่านการพิจารณาแล้ว ซึ่งเรื่องทั้งหมดก็คงยุติ สำหรับเงินค่ามัดจำจำนวน 74.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ก็คงต้องเป็นไปตามข้อตกลงคือไม่มีการคืนให้ ....
    นายกอบศักดิ์ ชุติกุล อธิบดีกรมสารนิเทศ กล่าวถึงรายละเอียดว่า กองทัพอากาศได้แจ้งมายังกระทรวงการต่างประเทศ ว่า รมว.กลาโหมสหรัฐฯ ได้ติดต่อมาว่า รัฐสภาสหรัฐฯ ได้ผ่านงบประมาณพิเศษให้แก่กองทัพเรือสหรัฐฯ เพื่อซื้อเครื่องบินเอฟ 18 คืนจากไทย ซึ่งงบประมาณดังกล่าวเป็นงบฯ เสริมสำหรับปีงบประมาณ 1998 ทำให้ไทยไม่เหลือเวลาในการหาประเทศที่ 3 อีกแล้ว เวลานี้ต้องถือว่าเรื่องนี้ยุติแล้ว และถือว่าภาระของไทยในเรื่องนี้ไม่มีอีกแล้ว ซึ่งทางกองทัพอากาศก็แสดงความพอใจ ทั้งนี้รัฐบาลสหรัฐฯ รวมถึงรัฐสภามีเจตนาที่จะช่วยประเทศไทยปลดภาระที่จะต้องเสียเงินค่าปรับจึงเร่งออกงบประมาณพิเศษ ซึ่งเดิมสหรัฐฯ คาดว่าจะใช้งบประมาณปี 1999 ที่จะพิจารณาในวันที่ 1 ต.ค.
    "รัฐบาลไทยขอขอบคุณรัฐบาลคูเวตที่ได้แสดงเจตนาสนใจที่จะซื้อต่อเครื่องบินเอฟ 18 จากไทย รวมถึงสภาสหรัฐฯ ที่เร่งดำเนินการให้ สำหรับเงินงวดแรกกว่า 200 ล้านบาท ที่จ่ายไปแล้วไม่ใช่เงินมัดจำ แต่สหรัฐฯ แจ้งว่าเป็นเงินงวดแรก ซึ่งได้ส่งให้บริษัทผู้ผลิตนำไปผลิตหมดแล้ว ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะให้เงินจำนวนนี้คืน แต่อย่างไรก็ตาม ทางสถานทูตสหรัฐฯ ในไทยแจ้งว่าไทยไม่ต้องเสียค่าปรับอีกแล้ว" อธิบดีกรมสารนิเทศกล่าว.


    เหตุด่วน, เหตุร้าย แง ศูนย์ควบคุมและสั่งการ พัน.สห.ทอ. โทร. 534-2117 - 9 ทอ. 2-2197 - 9
    แจ้งเบาะแสแหล่งอบายมุข, ยาเสพติดให้โทษ, แหล่งการพนัน ผบ.พัน.สห.ทอ. โทร. 534-2113 โทรสาร. 523-7596
    E-mail:sonortaf@ksc.th.com

    .
    Return to the Top
    .