หวัด ไอ
ในเด็ก
สาเหตุของไข้หวัด
เป็นเพราะเชื้อไวรัส
ซึ่งจะมีระยะในการเป็นอยู่
1-2 สัปดาห์
การรักษาจึงไม่จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะ
(
ซึ่งจะมีผลต่อเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น
)
จุดประสงค์ในการรักษาไข้หวัด
คือ
- บรรเทาอาการที่เป็นอยู่
ให้รู้สึกสบายตัวขึ้น
- ดูแลให้ร่างกายแข็งแรง
เพื่อให้มีภูมิต้านทานต่อโรค
- ป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนในช่วงที่ไม่สบาย
( secondary bacterial infection )
การดูแลสุขภาพในช่วงนี้
ได้แก่
- ดื่มน้ำมากๆ
เพราะการมีไข้
ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำได้มาก
และยังเป็นการทำให้น้ำมูก
เสมหะไม่เหนียว
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- น้ำซุปอุ่นๆ
หรือน้ำอุ่น
ช่วยให้อาการคัดจมูกดีขึ้น
รวมทั้งการอาบน้ำอุ่นด้วย
- ปรับความชื้นในห้องให้เหมาะสม
และให้อากาศถ่ายเทดีๆ
- ให้ยาตามอาการที่เป็น
โดยควรจะเป็นยาเดี่ยวๆ
ไม่ใช่ยาที่ผสมหลายอย่าง
- ยาที่ใช้
คือ ยาแก้แพ้ ( Antihistamine )
- ได้แก่
Diphenhydramine ( Benadryl ), Chlorpheniramine , Brompheniramine (
Dimetapp ) , Triprolidine ( Actifed ), Carbinoxamine ( Rhinopront )
- ควรใช้ระยะสั้น
และเท่าที่จำเป็นจริงๆ
เพราะ ยาทำให้น้ำมูกแห้ง
และเหนียวขึ้น
รวมถึงเสมหะเหนียวขึ้นด้วย
จึงทำให้การกำจัดออกจากโพรงจมูก
หลอดลมยากขึ้น
จึงควรระวังในผู้ที่เป็นโรคหอบ
หืด หลอดลมอักเสบ
- ผลข้างเคียง
คือ ปากแห้ง คอแห้ง
ง่วงนอน (
แต่ในเด็กบางคนเกิดผลตรงข้าม
คือ กระสับกระส่าย
หงุดหงิด ฝันร้าย )
- ไม่ควรให้ยานี้แก่เด็กที่เป็นโรคลมชัก
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Anti-Histamine
- คือ
อาการบวม
แดงของเยื่อโพรงจมูก
ทำให้ช่องโพรงจมูกที่เคยกว้างใหญ่
หดเล็กลง หายใจลำบาก
รบกวนการนอนหลับ
- ยาที่ใช้
คือ Nasal Decongestant
- มี ยา 2
รูปแบบ คือ
รับประทาน |
Pseudoephedrine,
Phenylpropanolamine |
เพิ่มการบีบตัวของหัวใจ
กระสับกระส่าย
กระวนกระวาย
ห้ามใช้ในเด็กที่มีปัญหากับหัวใจ
เบาหวาน ธัยรอยด์ |
หยอด
พ่นรูจมูก |
Phenylephrine
Xylometazoline
Oxymetazoline |
ไม่ควรใช้ติดต่อกันเกิน
7 วัน
เพราะทำให้เกิดอาการแย่ลง |
ทางเลือกที่ปลอดภัยกว่าโดยไม่ใช้ยา
คือ ใช้น้ำเกลือ 0.9%
ที่ฆ่าเชื้อแล้ว ( Sterile Normal Saline )
หยอด หรือล้างโพรงจมูก
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่...ยาพ่นจมูก
|
ไอ
ไอมี 2
ประเภทคือ
ไอไม่มีเสมหะ
ระคายเคือง |
Dextromethorphan
Codeine
Diphenhydramine |
เป็นยาบรรเทาอาการเท่านั้น
ห้ามใช้ในกรณีที่มีเสมหะ
เพราะทำให้เสมหะไม่ถูกขับออก
คั่งค้างภายในหลอดลม
ปอดมากขึ้น
จึงควรเลือกใช้ยานี้เมื่อรบกวนการทำงาน
นอนหลับเท่านั้น |
มีเสมหะ |
Bromhexine
Ambroxol
Acetylcysteine
Carbocysteine
Guaifenesin |
ผลของยายังเป็นที่สงสัย
ไม่ชัดเจน ในหลายกรณี
การหยุดยาลดน้ำมูก
ก็ทำให้ภาวะนี้ดีขึ้นได้เอง |
ยาละลายเสมหะที่ดีที่สุด
คือ น้ำ
เสมหะหายได้เอง
เมื่อสาเหตุแห่งโรคหายไป
ซึ่งสาเหตุที่พบบ่อย คือ
หวัด แพ้อากาศ อักเสบ
ระคายเคือง
การรักษาจึงต้องคำนึงถึงจุดนี้ด้วย
ยาอีกตัวหนึ่งที่อาจมีประโยชน์ที่จะช่วย
คือ ยาขยายหลอดลม ( Bronchodilator )
มีประโยชน์มากในกรณีที่มีเสมหะมาก
ช่วยให้หลอดลมไม่เกร็งเวลาที่ไอมาก
เจ็บคอ
เชื้อที่เป็นสาเหตุคือ
ไวรัส
ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ
หายได้เองถ้าดูแลสุขภาพดีๆ
กรณีที่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะคือ
การติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
ซึ่งอาการที่ทำให้ทราบ คือ
น้ำมูกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง
เขียว เจ็บคอมาก มีตุ่มหนอง
เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุมาก
คือ Streptococcus, Staphylococcus
ยาแก้อักเสบที่ใช้ได้ดีคือ
Amoxycillin , Erythromycin,
ซึ่งถือเป็นยาพื้นฐาน
ถ้าไม่หายจึงค่อยเปลี่ยนยาอื่นที่แรงขึ้นต่อไป
ไข้ ปวดหัว
ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว
อาการไข้
ปวดหัว
เป็นผลพวงจากการไม่สบาย
ภาวะการติดเชื้อ
เหมือนเป็นสัญญาณที่แจ้งให้ร่างกายรู้ว่า
เกิดอะไรขึ้น
บอกว่าถึงเวลาต้องพักผ่อน
เพื่อต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บ
ดังนั้นการใช้ยา
จึงเป็นการบรรเทาอาการให้รู้สึกสบายขึ้น
ไม่ได้รักษา
ยาที่ใช้ คือ
Paracetamol หรือ Acetaminophen , และ Ibuprofen
แนะนำให้ใช้
Paracetamol มากกว่า เพราะ
ไม่กัดกระเพาะ
และไม่มีผลข้างเคียงต่อการแข็งตัวของเลือด
ไม่เหมือนกับ Ibuprofen
ซึ่งอันตรายมากถ้าไปใช้กับผู้ที่เป็นไข้เลือดออก
มีการกล่าวกันมากว่า
Ibuprofen ลดไข้ได้เร็วกว่า Paracetamol
ซึ่งผมคิดว่าไม่จริง
สิ่งที่สำคัญมากกว่า คือ
การใช้ขนาดยาให้ถูกต้อง
ก็จะทำให้ได้ผลดีเท่าๆกัน
Things
to Remember |
Things
to Avoid |
-
ให้ดื่มน้ำมากๆ
- ก่อนใช้ยา
ควรปรึกษาเภสัชกร แพทย์
ทุกครั้ง
- ควรใช้ยาชนิดที่มีตัวยาเดียว
ไม่ควรใช้ยาสูตรผสม
เพราะท่านอาจได้รับยาซ้ำซ้อน
- ใช้ยาในขนาดที่ถูกต้อง
ใช้ช้อนตวงยาที่ได้มาตรฐาน
ในกรณีเด็กเล็ก
ท่านควรใช้หลอดฉีดยาตวง
- รักษาสภาพความอบอุ่น
ความชื้นในห้องให้เหมาะสม
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ถ้าอาการไม่ดีขึ้นภายใน
3 วัน ควรปรึกษาแพทย์
|
|
|