โดย

Home

ยา

ผู้หญิง

เด็ก

เครื่องสำอาง

ปฐมพยาบาล

โรคทั่วไป

อื่นๆน่าสนใจ

สอบถามปัญหา

ผลข้างเคียงของยา - Side Effect
 
This Page
Related Topics
Interesting Links


เชิญ ติชม เสนอแนะ สอบถามครับ

ชื่อ
email
ติชม เรื่องที่อยากสอบถาม

ผลข้างเคียงเกิดจากฤทธิ์ของยาที่ไม่ได้ เฉพาะเจาะจงกับข้อบ่งใช้
ผลข้างเคียงบางอย่างก็กลับกลายเป็น ประโยชน์ได้เช่นเดียวกัน ขึ้นอยู่กับการใช้ประโยชน์ของยา ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ Aspirin ทำให้เลือดแข็งตัวยากขึ้น จึงนำมาใช้เพื่อลดการอุดตันของเลือดในเส้นเลือด

 

 

 

 

 

ผลข้างเคียง คือ        

อาการที่ไม่พึงประสงค์ที่เกิดกับคนไข้เมื่อใช้ยาในขนาดที่ใช้ในการรักษา โดยไม่ได้ทานยาเกินขนาดหรือเป็นผลที่เกิดจากการทานยาร่วมกับยาตัวอื่น

มีสาเหตุจากการที่ยาไม่มีผลเฉพาะเจาะจงกับอวัยวะเป้าหมายที่ต้องการรักษา แต่ยายังไปมีผลต่ออวัยวะส่วนอื่นๆที่ไม่ต้องการให้ยาออกฤทธิ์ด้วย เช่น

  • ยาแก้แพ้ ทานแล้วง่วง เพราะยาออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทด้วย หรือทานแล้วปากคอแห้ง ท้องผูก เพราะยามีฤทธิ์ต่อต่อมน้ำลาย กระเพาะ ลำไส้ด้วย
  • ยาแก้ปวดข้อ มีฤทธิ์ทำให้ผนังกระเพาะอ่อนแอลง เลือดหยุดยากด้วย
  • ยาแก้หอบ ขยายหลอดลม มีผลเพิ่มการเต้นหัวใจด้วย
  • อื่นๆ

ผลข้างเคียงที่เกิดมีได้ตั้งแต่ การเปลี่ยนแปลงของผลการตรวจเลือด ( อาจไม่แสดงอาการใดๆออกมาเลย ) จนถึงอาการที่ร้ายแรงได้

โดยทั่วๆไป เมื่อมีการค้นคว้าวิจัยยาใหม่ๆ และก่อนที่จะมีการนำมาใช้อย่างแพร่หลาย จะมีการศึกษาถึงความปลอดภัย ผลข้างเคียง การแพ้ยา ปฏิกิริยาระหว่างยา ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมโดยคณะกรรมการอาหารและยา อย่างไรก็ตาม หลายๆครั้งก็พบว่ายาที่ผ่านการอนุมัติให้ขายได้แล้ว ก็ยังถูกเพิกถอนออกไปในภายหลัง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะในขั้นตอนของการศึกษา ใช้ตัวอย่างคนไม่มากเหมือนกับการใช้ยาจริงๆ หรือบางคนตอบสนองต่อยาในลักษณะที่แปลกกว่าคนทั่วไป  ซึ่งย่อมมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ แต่เท่าที่พบว่าต้องเพิกถอนยา ก็มีไม่มากเท่าใดนัก

ทางการแพทย์ แบ่งผลข้างเคียงออกเป็น 3 รูปแบบคือ

  1. Intolerance เป็นผลข้างเคียงที่เกิดอาการเหมือนได้รับยามากเกินขนาด ทั้งที่ได้ยาถูกต้อง
  2. Idiosyncrasy เกิดจากการที่ร่างกายบางคนมีการจัดการกับยา หรือตอบสนองต่อยา ผิดปกติจากคนทั่วไป
  3. Allergy การแพ้ยา
วิธีการลดผลข้างเคียงของยา        
  • การลดขนาดการใช้ยาลง
  • การเปลี่ยนแปลงวิธีการใช้ยา เช่น จากการรับประทานยาเป็นยาทา หรือ ยาเหน็บ
  • การเปลี่ยนแปลงอาหาร
  • การเปลี่ยนยาตัวใหม่

ซึ่งแต่ละวิธี จะไม่สามารถใช้ได้กับทุกกรณี จึงควรปรึกษแพทย์ หรือเภสัชกรก่อน

การแพ้ยา        

การแพ้ยาก็เหมือนกับการแพ้อื่นๆ คือ ร่างกายจะต้องเคยได้รับยานั้นมาก่อนอย่างน้อย 1 ครั้ง หลังจากนั้นร่างกายจะสร้างสารแอนตี้บอดี้ Antibody ต่อ ยาหรือสารนั้นๆ เมื่อได้รับยานั้นอีก Antibody นั้นก็เริ่มแสดงบทบาท ทำให้เกิดการแพ้ ซึ่งมีระดับความรุนแรงได้แตกต่างกัน และด้วยความเร็วที่แตกต่างกัน โดยทั่วไป การแพ้ยาฉีดจะเกิดได้เร็วกว่า และบางครั้งก็ต้องรอไปอีกเป็นสัปดาห์จึงจะเกิดอาการ

ยาที่เกิดการแพ้ได้บ่อย ได้แก่ Insulin , Penicillin , Barbiturate

อาการของการแพ้        

ได้แก่ 

  • ไข้
  •  ผื่นแดงคัน 
  • ลมพิษ 
  • หลอดลมตีบตัว หอบ 
  • บวม 
  • เนื้อเยื่ออ่อนบวมแดง แสบ ไหม้
  •  เลือดออก 
  • อาเจียน 
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง  
  • ปวดหัว
  •  ช็อก 
Anaphylaxis        

อาการแพ้ที่ถือว่ารุนแรงที่สุด คือ Anaphylaxis อาการเริ่มแรกคือ

  •  คันทั้งตัวโดยเฉพาะที่ฝ่ามือ เท้า 
  • หน้าและหูบวม 
  • มีอาการแสบร้อนผิว เหมือนโดนแดดเผา 
  • หลอดลมตีบตัวทำให้เกิดอาการหอบ หายใจติดขัด
  • หลอดเลือดขยายตัว ความดันโลหิตลดต่ำลง
  • ซีด
  • สมองขาดเลือดไปเลี้ยง

ถ้าให้ยาช่วยชีวิตไม่ทัน คนไข้ก็จะตายในที่สุด

การรักษาคือ การใช้ยาฉีด Epinephrine ซึ่งทำให้หลอดเลือดหดตัว หลอดลมขยายตัว ความดันโลหิตกลับคืนมา

ยาอีกตัวที่มีบทบาทมากคือ Steroid ช่วยรักษาและกดภูมิต้านทาน ระงับการแพ้

สิ่งที่ควรปฏิบัติสำหรับผู้ที่เคยแพ้ยา        

ควรจดชื่อยานั้นไว้ติดตัวเสมอ และแจ้งแก่แพทย์ เภสัชกร ทันตแพทย์ ทุกครั้งที่ท่านต้องใช้ยา

ชื่อยาที่ท่านจดนั้นจะมีประโยชน์อย่างมากต่อท่านเอง เนื่องจากในทางยา สามารถจัดแบ่งกลุ่มยาตามโครงสร้างทางเคมี ทำให้ทราบว่า ถ้าท่านแพ้ยาตัวหนึ่ง ท่านจะแพ้ยาตัวไหนบ้าง เช่น ท่านแพ้ยาแอมพิซิลลิน แสดงว่าท่านจะแพ้ยาอม็อกซิซิลลิน เพนนิซิลลิน คลอกซาซิลลิน ไดคลอกซาซิลลิน ออ็กเม็นติน ยูนาซินด้วย และอาจจะแพ้ยากลุ่มเซฟาโลสปอรินด้วย

นอกจากนี้ถ้าท่านเคยมีประวัติการแพ้แบบ Anaphylaxis ต่อยา หรือต่อสารเคมี หรือพืช แมลง แพทย์ของท่านอาจสอนท่านหรือผู้ใกล้ชิด ถึงการใช้ยาฉีด เพื่อแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าด้วย

Post a Message in My Message Board!

ถ้าท่านชอบ web  นี้ 
ท่านที่ต้องการสอบถาม เสนอแนะ เชิญครับ mailto:vichiena@yahoo.com
ขอขอบคุณ Geocities.com ที่ให้พื้นที่ฟรีสำหรับการจัดทำ Web Site นี้
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลที่สำคัญ discoveryhealth | mediconsult | mayohealth | medscape.com | healthylives | สมาคมแพทย์โรคผิวหนัง USA | fda.gov | my.yahoo.com