ATM Aynchronous transfer mode โพรโตคอลการรับส่งข้อมูลแบบ Connection-Oriented โดยข้อมูลที่วิ่งอยู่บนเน็ตเวิร์กจะมีขนาดคงที่ 53 ไบต์ ที่เรียกว่า แพ็กเกต ทางผู้พัฒนาได้ออกแบบ ATM ให้สามารถใช้รับส่งข้อมูงเสียงวิดีโอ และข้อมูลคอมพิวเตอร์รวมกันในเน็ตเวิร์กตัวเดียวกันได้ ก่อนการส่งข้อมูลแบบ ATM จะกำหนดเส้นทางเสมือนสำหรับจากต้นทางไปยังปลายทาง และกำหนดจัดการเรื่องคุณภาพของข้อมูล ( Qulity of Service : QoS ) ในช่วงที่กำหนดการเชื่อมต่อ ตัวโพรโตคอลไม่ขึ้นกับความเร็วที่ใช้ในการรับส่งข้อมูล ทำให้สามารถขยายเพิ่มความเร็วจากไม่กี่เมกะบิตต่อวินาทีไปเป็นหลาย ๆ กิกะบิตต่อวินาทีได้อย่างสะดวก
CSMA/CD Carrier sense multiple access/collision detection โพรโตคอลของอีเทอร์เน็ต ทุกโหนดที่ต่อกับเน็ตเวิร์กจะแย่งกันใช้มีเดียตัวเดียวกันและคอยฟังว่ามีใครส่งอะไรมาให้ ถ้ามีโหนดสองโหนดหรือมากกว่าส่งข้อมูลในเวลาเดียวกัน ก็จะเกิดการชนกันของข้อมูล ( Collision detect ) แต่ละโหนดก็จะคอยให้เวลาผ่านไปสักพัก ( รอเป็นเวลาสุ่มที่ไม่แน่นอนสำหรับแต่ละโหนด ) จึงสามารถส่งข้อมูลใหม่ได้ ขอบเขตของการชนกันของข้อมูล ( collision domain ) จะเป็นตัวกำหนดระยะห่างของสายเคเบิล ทางทฤษฎีแล้ว collision domain สำหรับอีเทอร์เน็ตจะมีค่า 2500 m ที่ความเร็ว 10 Mbps 250 M ที่ความเร็ว 100 Mbps และ 25 m ที่ความเร็ว1000 Mbps ซึ่งทาง กิกะบิตอีเทอร์เน็ตก็ได้หาวิธีที่จะเพิ่มระยะทางนี้
Ethernet มาตรฐานของ LAN ที่ใช้โพรโตคอล IEEE 802.3 CSMA/CD และทำงานที่ความเร็ว 10 Mbps ส่งข้อมูลเป็นแพ็กเกตที่มีความยาวจาก 64 ถึง 1500 ไบต์ ไม่สามารถนำไปใช้กับข้อมูลที่ต้องส่งแบบเวลาจริง มาตรฐานของ IEEE 802.3 ในส่วน physical layer จะระบุ 10Base5, 10Base2, 10BaseT
Fast Ethernet อีเทอร์เน็ตรุ่นใหม่ที่สามารถรับส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วถึง 100 Mbps โดยจะนำอีเทอร์เน็ตเดิมมาเปลี่ยนเฉพาะฟิสิคัลเลเยอร์ ทำให้ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนซอฟต์แวร์ของอีเทอร์เน็ตหรือตัวควบคุมการใช้มีเดีย ( MAC ) ทำให้สามารถอัพเกรดได้ง่าย Fast Ethernet จะถูกอยู่ใน IEEE 802.3u
IEEE P802.1p ( p ที่นำหน้าตัวเลขย่อจาก Propose แสดงว่าเป็นมาตรฐานของ IEEE ที่ยังไม่เสร็จ ) เริ้มจากคณะทำงาน The Traffic Class Expediting and Dynamic Multicast Filtering ได้ถกเถึยงกันถึงวิธีการที่จะเพิ่มระดับความสำคัญ ( Priority ) และการรับส่งข้อมูลแบบ isochronous ทางกลุ่มยังกำหนดระดับความสำคัญไม่เสร็จ เป้าหมายของทางกลุ่มจะปรับปรุงให้อีเทอร์เน็ตสนับสนุนแอพพลิเคชันที่ต้องรับส่งข้อมูลเวลาจริงและแอพพลิเคชันแบบ Multicast เช่น แอพพลิเคชันแบบมัลติมีเดียอินเทอร์แอคทีฟส่งผ่าน Bridged LAN ในปัจจุบันมาตรฐานฉบับร่างยังไม่เสร็จ
IEEE P802.1Q มาตรฐานที่ทางคณะทำงาน Virtual Bridged LANs ได้พัฒนาเพื่อกำหนดสถาปัตยกรรมและโพรโตคอลของ briged สำหรับการแบ่งลอจิคอลพาร์ติชันของ Bridged LANs ทำให้สามารถกำหนดกลุ่มของผู้ใช้ได้โดยไม่ขึ้นกับตำแหน่งที่อยู่จริง ทางคณะทำงานได้ถกเถียงกันเรื่องที่จะเพิ่ม QoS ลงไปในมาตรฐาน โดยยังไม่สามารถสรุปถึงวิธีที่จะเพิ่ม QoS ได้ มาตรฐานฉบับร่างยังไม่เสร็จ
IEEE 802.3 คณะกรรมการผู้กำหนดมาตรฐานสำหรับ Ethernet LANs เช่น CSMA/CD และส่วนของ physical layer เช่น 10BaseT, 101BaseT, 1000BaseT
Multiprotocol over ATM ( MPOA ) เป็นมาตรฐานที่ทำให้สามารถส่งแพ็กเกตของเน็ตเวิร์กที่มีโพรโตคอลต่าง ๆ สามารถส่งผ่าน ATM network
Reservation Protocol ( RSVP ) ReSerVation Protocol ทางคณะทำงานของ IETF ได้ร่วมมือกับทีมงานพัฒนา RSVP เพื่อทำให้ IP แอพพลิเคชันสามารถสนับสนุน QoS ได้
QoS Qulity of Service
เป็นการประกันคุณภาพของการรับส่งข้อมูลสำหรับแอพพลิเคชันที่ต้องการรับส่งข้อมูลในเวลาจริง
ไม่ถูกหน่วงเวลานานนัก ค่าพารามิเตอร์สมรรถนะที่แสดงคุณสมบัติเฉพาะของ QoS
ได้แก่ อัตราการส่งข้อมูล ( Transfer rate ) และการแปรปรวนที่ยอมรับได้สำหรับอัตราการส่งข้อมูลสูงสุด
เฉลี่ยและค่าน้อยสุด ค่าเวลาแฝงที่ใช้ในการส่งจากต้นทางไปปลายทาง ค่าความแปรปรวนของเวลาแฝงที่วัดจากผลต่างในค่าเวลาหน่วงของแพ็กเกตต่อแพ็กเกต
และค่าอัตราส่วนของแพ็กเกตที่ผิดพลาดและสูญหาย