จากอดีตถึงปัจจุบัน
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ(สวช.)
ได้จัดให้มีโครงการเรียนการสอน ทางด้านดนตรีและนาฏศิลป์ไทย
นับแต่ ปี พ.ศ.๒๕๓๐เป็นต้น
มา
มีวัตถุประสงค์ที่จะปลูกฝังและสืบทอด ศิลปะวัฒนธรรมไทยด้านนี้ไปสู่เยาวชน
รวมทั้งได้แสวงหารูปแบบและวิธีการที่จะส่งเสริมการเรียนการสอน
ดนตรี-นาฏศิลป์ไทยให้คงอยู่เป็นทั้งศาสตร์แขนงศิลป์และวิชาชีพอันทรงคุณค่าและเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติสืบไป
พ.ศ.๒๕๓๐(เปิดอบรมดนตรีไทย รุ่นที่๑)
ทาง สวช.สอนดนตรีไทยให้เยาวชน
อายุระหว่าง ๖-๑๗ปี หลักสูตร
๖เดือนเป็นเวลา ๗๒ช.ม. สอนสัปดาห์ละ ๓ช.ม.
พ.ศ.๒๕๓๑(เปิดอบรมดนตรีไทย
รุ่นที่๒เป็นต้นมา)
พร้อมทั้งได้เปิดอบรมหลักสูตรต่อเนื่องขึ้นสำหรับผู้ที่ผ่านการอบรมจากรุ่นที่๑
โดยใช้ระยะเวลาการอบรมเท่าเดิม
พ.ศ.๒๕๓๒(จัดตั้งชมรมดนตรี-นาฏศิลป์ไทยขึ้น)
โดยการดำเนินงานของชมรมในลักษณะคล้าย
สโมสรดนตรีไทย ทั้งได้เริ่มเปิดอบรมนาฏศิลป์ไทยเบื้องต้นขึ้น
ต่อมาได้มีการปรับปรุงการจัดฝึกอบรม
มาเป็นรูปแบบของ
ศูนย์สาธิตส่งเสริมการเรียน
การสอน และ การถ่ายทอดดนตรี-นาฏศิลป์ไทย
พ.ศ.๒๕๓๖(ปรับปรุงหลักสูตรเป็น ๑ปี)
โดยขยายเวลาการรับการอบรมเป็น
๑ปี (๑๔๔ช.ม.เรียน)
ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมคุณภาพการเรียนการสอน และพัฒนาระบบการศึกษาให้เข้มแข็ง
กว้างขวาง
และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ในปีนี้
ได้มีโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับต่างประเทศ โดยได้จัดส่ง
ตัวแทนเยาวชนไทยรุ่นแรก
ไปร่วมเผยแพร่และ
แลกเปลี่ยนศิลปะวัฒนธรรมกับ ประเทศญี่ปุ่น
เป็นครั้งแรก
พ.ศ.๒๕๓๗(ส่งตัวแทนเยาวชนไทยไปญี่ปุ่น
ครั้งที่๒)
มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับประเทศญี่ปุ่น
เป็นครั้งที่ ๒
พ.ศ.๒๕๓๘(จัดตั้ง
สมาคมนาฏศิลป์และดนตรีไทยเยาวชน
สวช.)
ได้ปรับเปลี่ยนการดำเนินงาน
จากรูปแบบ
ชมรม มาเป็น
สมาคม
ในปีนี้มีโครงการ วัฒนธรรมไทยคืนถิ่น
ลอสแอนเจลิส(แอลเอ) ได้จัดส่งเยาวชน
ไป แอลเอ ประเทศ สหรัฐอเมริกา
แลกเปลี่ยนและเผยแพร่วัฒนธรรมกับเยาวชนไทยและเยาวชนต่างชาติในต่างแดน
พ.ศ.๒๕๔๐(จัดตั้ง
สมาคมศิลปะเพื่อเยาวชน สวช. ขึ้น)
ในปีนี้ได้ เลิก
สมาคมนาฏศิลป์และดนตรีไทยเยาวชน
สวช.แล้วจึงขอจัดตั้งสมาคมขึ้นใหม่ใช้ชื่อว่า
สมาคมศิลปะเพื่อเยาวชน
สำนักงานคณะกรรมการ
วัฒนธรรมแห่งชาติ
ตามมติคณะกรรมการอำนวยการฝึกอบรม นาฏศิลป์และดนตรีไทยเยาวชน สวช.
โดยดำเนินการบริหารงานในการจัดการส่งเสริม
การถ่ายทอดดนตรี-นาฏศิลป์ และ
โขนไทย ภายใต้การกำกับดูแล ของ
สวช.โดยได้รับการอนุญาต
ให้จัดตั้งสมาคมฯ.จาก
สำนักงานคณะกรรมการวัฒน
ธรรมแห่งชาติ ตามใบอนุญาตที่
ต.๒๘๓/๒๕๔๐ เมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน
๒๕๔๐ได้รับการจดทะเบียน
จากนายทะเบียนสมาคม
ประจำกรุงเทพมหานคร
เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๐
โดย นายพยุงศักดิ์ จันทรสุรินทร์
(เลขาธิการ สวช.) ผู้ขอก่อตั้ง
พ.ศ.๒๕๔๑(ส่งตัวแทนเยาวชนไทยไปญี่ปุ่น
งานเทศกาลเด็กนานาชาติแห่งเอเซีย ครั้งที่ ๑)
ในปีนี้ทางสมาคมได้ร่วมกับ
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติคัดเลือกเยาวชนไทยไปร่วมเผยแพร่แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมพื้นบ้าน
ในงาน
เทศกาลเด็กนานาชาติแห่งเอเซีย
ครั้งที่ ๑ จัดขึ้น ณ
ประเทศญี่ปุ่น
พ.ศ.๒๕๔๑-๒(จัดหา,จัดทำ,หนังสือ,อุปกรณ์,เครื่องแต่งกาย,สวัสดิการ
ฯลฯ.)
ในปีที่ผ่านมา
ทางสมาคมฯได้ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน
ดนตรี-นาฏศิลป์ไทย ให้สอดคล้อง
และเป็นไปตามหลักสูตร
ได้จัดทำหนังสือโน้ตดนตรี
ไทยสำหรับ
เครื่องดนตรีทุกประเภทที่เปิดอบรม
สำหรับเยาวชนแรกเริ่มฝึกอบรมใหม่
ยังได้จัดหา ครู, อาจารย์
ที่มีความรู้ และประสบการณ์ ความชำนาญ
มาเพิ่ม
เพื่อสอน ดนตรี-นาฏศิลป์ เช่น
เสริมการเรียน ด้านดนตรีพื้นบ้าน
อีสาน(โปงลาง) ฯลฯ
จัดซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติมอำนวยแก่ เยาวชน เช่น
เครื่อง
ดนตรี อีสาน
เครื่องเสียงใช้ประกอบวง,ชุดแสดง โขน-นาฏศิลป์
ฯลฯได้เปิดอบรมเยาวชนเพิ่มมากขึ้นจากเดิม จนมีความจำเป็นต้องจัดให้มีการอบรมใน
สถานที่
นอกศูนย์วัฒนธรรม
สมาคมฯได้จัดสวัสดิการ
ให้แก่ครู,อาจารย์,ผู้ปกครอง,และสมาชิกในเรื่องต่างๆ
เช่น เครื่องดื่มอาหารกลางวัน เสื้อชุด
แก่อาจารย์,กรรมการสมาคมฯ,
ทั้งจัดหาอาหาร,เครื่องดื่ม, ชุด,
เครื่องสำอางค์ส่วนกลาง
ให้แก่เยาวชน ยามฝึกซ้อมก่อนแสดงในงานต่างๆ จัดหาตู้ยาและยาประจำสมาคมฯสำหรับ
ฉุกเฉิน แก่สมาชิก ไว้ ณ
ที่ทำการสมาคมฯ
จัดหารางวัลจับสลากให้แก่สมาชิก ในวันประชุมใหญ่ประจำปีของสมาคมฯ.
จัดทำบัตรสมาชิก, จัดหาวิทยากร
ผู้มีความรู้ ประสบการณ์
มาอบรม การเป็น พิธีกร
ให้แก่เยาวชน และ สมาชิกที่สนใจ, ร่วมกับสวช.ให้มี
บริการห้องสมุดแก่ผู้ปกครอง
ที่มารอรับเยาวชน
ที่มาเรียน
ทั้งยังนำพาเยาวชน
ที่มารับการอบรมทั้งหมด ได้มีการแสดงออกในงานประชุมใหญ่ประจำปีของสมาคมฯ
และตัวแทนเยาวชนที่เข้าวง
ได้แสดง
ในงานต่างๆ ทั้งในและ
นอกศูนย์วัฒนธรรมฯ. ตลอดปีโดยสม่ำเสมอ
ได้จัดสรรงบประมาณหาพนักงานมาทำงานประจำ ณ ที่ทำการสมาคมฯ
จนสมาคมฯ
สามารถบริหารงานอย่างต่อเนื่องและก้าวหน้าสืบมา
พ.ศ.๒๕๔๓(ส่งเยาวชนไปจีน,จัดทำเว็บไซต์
ของสมาคมฯ)
สืบเนื่องมาจาก
จำนวนเยาวชนและสมาชิก
ที่รับการอบรมมีแต่เพิ่มมิได้ลดลง และการอบรมเยาวชนนอกศูนย์วัฒนธรรม
มีปัญหาและอุปสรรคต่อการติด
ต่อประสานงานกัน
งบประมาณที่มีจำกัด
และจำเป็นต้องใช้ในกิจการ ของขบวนการอบรมเยาวชนที่เรียนอยู่นอกศูนย์ฯ
ทางคณะกรรมการสมาคมฯ.และ
สวช.จึงได้ปรับเปลี่ยน
ให้ย้ายมาใช้สถานที่เรียนร่วมกัน
ณ ภายในศูนย์วัฒนธรรมฯเหมือนเช่นเดิม
โดยเปลี่ยนจากอบรมคาบละ ๓ช.ม.
เป็นคาบละ ๒ช.ม.
ในช่วงเช้า
ส่วนภาคบ่าย
สำหรับเยาวชนใหม่
ให้อบรมคาบละ
๓ช.ม.เช่นเดิม
ทั้งนี้เพื่อให้ได้หมุนเวียนกัน ใช้เนื้อที่เรียนได้เพียงพอ
แก่สมาชิกที่สมัครมา
เรียนเพิ่มมากขึ้นทุกๆปี ในปีนี้ได้คัดเลือก
ตัวแทนเยาวชนไทย
ไปร่วมงานแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมพื้นบ้านใน งานเทศกาลเด็กนานาชาติแห่งเอเซีย
ครั้งที่
๒ จัดขึ้น ณ
ประเทศจีน
(๓-๙ส.ค.๒๕๔๓)
โดยนำคณะ
ดนตรี-นาฏศิลป์ไทย
ชุด
รำ ๔ภาค ไปแสดง
ได้ริเริ่มโครงการ
ค่ายศิลปะ
เพื่อให้
เยาวชนได้อบรมกิจกรรมศิลปะและทัศนะศึกษา
ทางคณะกรรมการ
และฝ่ายประชาสัมพันธ์ของสมาคม
ได้เล็งเห็นความสำคัญของการติดต่อสื่อสารให้ทันยุคทันเหตุการณ์
ภายในสมาคมฯ.และเชื่อมโยง กับภายนอกได้ทั่วถึง
เพื่อเผยแพร่
กิจกรรม,งานของสมาคมฯ.
ทั้งยังเป็นสื่อกลาง ให้บุคคลโดยทั่วไปที่ไม่
ใช่สมาชิกได้รับรู้,
และเล็งเห็นถึงความสำคัญของ
ศิลปะวัฒนธรรมประจำชาติ
ที่น่าภาคภูมิ
เป็นเอกลักษณ์และควรค่า แก่การอนุรักษ์เผยแพร่สืบไป
จึงได้
จัดทำ
เว็บไซต์ขึ้นเผยแพร่
ข่าวและกิจกรรม ศิลปะวัฒนธรรมไทยของสมาคมฯ.
ทางอินเตอร์เน็ต ขึ้นในปีนี้เพื่อให้ทันกับ
ยุค
สหัสวรรษที่ ๒
(ค.ศ.๒๐๐๐) ที่ URL
http://
www.oocities.org/aayoncc
พ.ศ.๒๕๔๔(ส่งเยาวชนไปฝรั่งเศส,
เปิดอบรมตลาดนัดอาชีพศิลปะ )
ในปีนี้ได้คัดเลือก
ตัวแทนเยาวชนไทย
ไปร่วมงานแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมพื้นบ้านใน
งานเทศกาลพื้นบ้านนานาชาติ
ครั้งที่ ๒๘ จัดขึ้น
ณ ประเทศ
ฝรั่งเศส(๑๔-๓๐ก.ค.๒๕๔๔) โดยนำคณะดนตรี-นาฏศิลป์ไทย
ชุด
รำ ๔ภาค และ
โขน
ไปแสดงทั้งในปีนี้ได้เปิดจัดการอบรม ตลาดนัดอาชีพศิลปะ
ให้แก่เยาวชนที่สนใจ ได้เข้ามาสมัครเรียนเป็นครั้งๆไป
ทุกวันเสาร์ ณ ศูนย์วัฒนธรรม
ถ.รัชดา เช่น
การอัดกรอบรูปวิทยาศาสตร์, ประดิษฐ์ดอกไม้ใยบัว, ดอกไม้จากเกล็ดปลา,พับดอกกุหลาบจากธนบัตร, ประดิษฐ์ผ้าบาติค, ทำเทียนเจล, สลักลวดลายสบู่, ทำพวงกุญแจ,สร้อยข้อมือจากลูกปัด, ประดิษฐ์ตุ๊กตาผ้าขนหนู, ปั้นดินหอม, วัสดุจากใบตองแห้ง ฯลฯ
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการและทัศนศึกษานอกสถานที่ เช่น ที่
จ.ระยองฯลฯ และยัง
เปิดโอกาสให้เยาวชน
ที่มาอบรมดนตรี-นาฏศิลป์ ได้แสดง ณ ศูนย์วัฒนธรรม
เป็นประจำทุกวันเสาร์แรกของเดือน
พ.ศ.๒๕๔๕-๖(ได้ขยับขยายก่อสร้างที่ทำการสมาคมฯ,จัดหาชุดแสดงไว้ใช้ในกิจกรรมเอง)
ที่ตั้งของสมาคมในระยะแรกๆมาต้อง
เคลื่อนย้าย
และอาศัยบริเวณภายในศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
ถ.รัชดา มาโดยตลอด
จนกระทั่งในปี
พ.ศ.
๒๕๔๕
เมื่อกำลังของสมาคมมั่นคงขึ้น
จนสามารถ
จัดหาชุดแสดงของเยาวชนไว้ใช้ในสมาคมฯ จึงมีความจำเป็นที่ต้องขยับขยายเนื้อที่ของสมาคมฯ
เพื่อให้เป็นที่ทำการ และที่เก็บชุดและอุปกรณ์ดนตรี-นาฏศิลป์
ที่สะสมไว้มากขึ้น
ทางสมาคมฯได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างห้องที่ทำการสมาคมฯหลังหอไทยนิทัศน์
บริเวณชั้นล่าง
เพื่อเป็นที่ทำการ และที่สอนเยาวชนอีกด้วย
และได้ทำบุญเลี้ยงพระนิมนต์พระสงฆ์
มาในพิธีเปิดที่ทำการแห่งใหม่ เมื่อ ๒๖
เม.ย.
๒๕๔๖
พ.ศ.๒๕๔๗-๘(ได้มีการเลือกตั้งกรรมการบริหารสมาคมฯขึ้นเป็นครั้งแรก)
-
ส่งเยาวชนไปร่วมงานแสดงแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในต่างแดน
ตลอดระยะเวลา ๑๖
ปี(พ.ศ.๒๕๓๐-๒๕๔๖) แห่งการบุกเบิกและพัฒนา
จนมาเป็นสมาคมศิลปะเพื่อเยาวชน
สวช.
อันเป็นแหล่งส่งเสริม และขัดเกลาเยาวชนไทยให้รู้จัก
การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
เพื่ออนุรักษ์เผยแพร่ศิลปะวัฒนธรรมไทย ที่ล้ำค่าน่าหวงแหนออกสู่สายตาสังคม
เพื่อก่อให้เกิดพลัง
อันเป็นส่วนร่วมของผู้ปกครองเยาวชน ที่พาบุตรหลานมาเรียน
ณ ที่แห่งนี้อย่างเป็นรูปธรรม
จึงได้กำหนดให้มีกฏ ระเบียบ
ข้อบังคับ และ
การเลือกตั้งสมาชิกภายในสมาคมฯ ขึ้นเป็น
คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ
เป็นครั้งแรก โดยมีวาระชุดละ ๒ ปี
เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่างแท้จริงแก่
สมาชิกและเยาวชนของสมาคมฯ
และสู่สังคมภายนอก โดยเป็นที่ยอมรับและกล่าวถึง
ในผลงานที่ผ่านมา
ปีนี้เป็นปีแรกที่คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ
ได้มาจากการเลือกตั้ง
เพื่อสนองตอบต่อคณะผู้ปกครองเยาวชนที่นำบุตรหลานมาอบรมที่นี่
และให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมและการพัฒนาสมาคมฯไปตาม
ทิศทางที่ต้องการอย่างมั่นคงถาวร
โดยคณะกรรมการและผู้ปกครองเยาวชน สามารถร่วมกัน
ทำงานของสมาคมฯ เพื่อพัฒนาเยาวชนของสมาคมฯได้
อย่างมีประสิทธิภาพ
สมาคมฯได้ส่งเสริมให้โอกาสแก่เยาวชน
ได้เดินทางไปแสดงเผยแพร่แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม
ทั้งในประเทศและในต่างแดน(ญี่ปุ่น,สหรัฐอเมริกา,จีน,มาเลเซีย
ฯลฯ) ในงานเทศกาลที่สำคัญหลายคราว
ได้แก่งาน
1.มหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ
ครั้งที่๑๘ "
ตาปีศรีวิชัยเทิดไท้มหาราชินี(๒๕-๓๑ก.ค.๒๕๔๗)
2. International Seikai Festival Okayama Japan (19-23 Aug 2004)
3. 5th Annual Thai Food Festival 2004 San Fran.,USA (10-20th Sep 2004)
4. Huang Shan International Folk Song Arts Festival China (30 Sep-8 Oct
2004)
5. Nanning International Folk Song Arts Festival (1-8 Nov. 2004 )
6. The Changshu International Folklore Festival of China
2004
( C.I.O.F.F.= Conseil International Des Oganisations De Festivals De
Folklore Et D' Arts Traditionnels )
7.การแสดงนาฏศิลป์-โปงลาง ณ
เกาะปีนัง ประเทศมาเลเซีย
(๔-๘ธ.ค.๒๕๔๘) [
ในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ
๖๐ปี ]
พ.ศ.๒๕๔๙
คัดเลือกส่งเยาวชนไปร่วมงาน
เทศกาลวัฒนธรรมพื้นบ้านนานาชาติ
ที่ประเทศรัสเซีย
(International Festival of Folk Arts And Crafts ๘-๒๐มิ.ย.๒๕๔๙),
ไปเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยที่วัดไทยในประเทศ
เยอรมัน-เบลเยี่ยม-ฝรั่งเศส
(๒๒มิ.ย.-๖ก.ค.๒๕๔๙ ) เนื่องใน
วโรกาส
"
ฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี "
พ.ศ.๒๕๕๐
คัดเลือกเยาวชนไปเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย(นาฏศิลป์ไทย) ในงานเทศกาลศิลปะ
& อาหารไทย ณ
ห้าง Castra เมือง Haifa
ประเทศอิสราเอล
(๒๘มิ.ย.-๔ก.ค.๒๕๕๐)โดยคณะฯสถานทูตไทยให้การต้อนรับดูแลและประสานจัดการแสดง
ร่วมงานเทศกาลดนตรีพื้นบ้านนานาชาติ ครั้งที่ ๓๗
ประเทศอิตาลี
(๑๔-๑๙ส.ค.๒๕๕๐)
พ.ศ.๒๕๕๑
เปิดอบรมโขนช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อนฟรี!
แก่เยาวชนไทย โดยการสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
สมาคมฯได้จัดเยาวชนร่วมแสดง
ดนตรี-นาฏศิลป์-โขน
ในงานเฉลิมพระเกียรติ๗๖พรรษามหาราชินี ๑๒ส.ค.๒๕๕๑ร่วมกับ
สวช.
ณ เวทีหอประชุม
ใหญ่
ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
พ.ศ.๒๕๕๒
คัดเลือกเยาวชนไปเผยแพร่แลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมไทย
โครงการ
JENESYS ณ
ประเทศญี่ปุ่น
ผลงานของสมาคมฯ
ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วม
งานเทศกาลเด็กนานาชาติ ณ
ประเทศญี่ปุ่น,จีน,รัสเซีย ฯลฯ
งานมหกรรมวัฒนธรรมนานาชาติ ณ ต่างประเทศ (ฝรั่งเศส,ฯลฯ)
และคัดเลือกส่งเยาวชนไปเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยในต่างแดนภายใต้ความ
ร่วมมือช่วยเหลือประสานงานของ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, กระทรวงวัฒนธรรม, สถานทูตไทยในต่างประเทศ
ได้รับเชิญไปแสดงในโอกาสต่างๆทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติตลอดปี
ร่วมเฉลิมฉลองมหกรรมเพลงพระราชนิพนธ์
ปีพ.ศ.๒๕๔๓
ทั้งยังได้รับ
|