เบื้องหลังการทดสอบ/การตรวจวินิจฉัยโรคทางห้องปฏิบัติการชันสูตร ตั้งแต่การได้รับตัวอย่างเลือด / ปัสสาวะ / สารคัดหลั่งต่างๆ
จนถึงการแปลผลการตรวจ
I ข่าวสารด้านสุขภาพอนามัย I ปัญหาและอาการของโรคต่างๆ I  สรีระ I   การดูแลสุขภาพและป้องกันโรค I ข่าวสารด้านสุขภาพอนามัย I ปัญหาและอาการของโรคต่างๆ I  สรีระ I   การดูแลสุขภาพและป้องกันโรค

cdlogo.gif (7928 bytes)
Healthcare & Diagnostic

winshop.jpg (4697 bytes)
HealthShop l ช็อปปิ้งเพื่อสุขภาพ


สนใจรับข่าวสารสุขภาพใหม่ๆ 
พร้อมประโยชน์อื่นๆ เชิญสมัครฟรี !

Home ] Diagnostic ] Healthcare ] OurCompany ] Products ] Human Anatomy ] King Rama IX ] [ DonatePage ]
ban3.jpg (13652 bytes)

 

banner22.gif (17262 bytes)
หน้าประกาศข่าวสารสำคัญเกี่ยวกับการขอความช่วยเหลือ ร่วมมือเกี่ยวสุขภาพ อย่างเร่งด่วน
กรุณาแจ้งรายละเอียดมายัง vichai-cd@usa.net หลังการตรวจสอบแล้วจะนำประกาศ
ขอความช่วยเหลือจากท่านผู้มีจิตบริจาคต่อไป   ร่วมกันช่วยหลือผู้ที่มีทุกข์ปัญหาเรื่องสุขภาพ
เป็นสุขทั้งผู้บริจาคและผู้ได้รับการช่วยเหลือ   ด้วยความปราถนาดีจาก แล็ปออนไลน์

ปัญหาเรื่องสุขภาพอาจเกิดกับใครกับ   เมื่อไร  อย่างไร ก็ได้ การร่วมมือกันช่วยเหลือดูแลกันด้วยจิตศรัทธาบริสุทธิ์ จะช่วยสังคมความเป็นอยู่
คุณภาพชีวิตของพวกเราท่านทั้งหลายให้มีความสุขเพิ่มขึ้นไม่มากก็น้อย ดีกว่าอยู่อย่างตัวใครตัวมัน
เราสามารถช่วยเพื่อนๆได้
กลับสู่เมนู - Back to menu กลับสู่ห้องโถง - To restpage การทดสอบโรค - Diagnostic test ผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ - Healthcare
buttom3.JPG (2079 bytes)

วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2543

เรียน เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ และผู้มีจิตศรัทธาที่รัก

ดิฉัน นางสาวพร้อมลักษณ์ นันทาภิวัฒน์ อายุ 33 ปี ได้ป่วยเป็นโรคมะเร็งในเม็ดเลือดขาว (Leukemia) มาตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2542 และได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยการใช้เคมีบำบัดเป็นระยะเวลา 6 เดือน ก่อนที่จะได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูกโดยใช้ไขกระดูกของตัวดิฉันเอง เนื่องจากไขกระดูกของดิฉันไม่เหมือนกับของพี่ชายหรือน้องชาย

การรักษาดังกล่าวได้ผลอยู่เพียงช่วงเดียว ในขณะนี้อาการของดิฉันกลับกำเริบขึ้นมาใหม่ แพทย์ลง ความเห็นว่าวิธีเดียวที่จะรักษาให้โรคนี้หายขาด คือดิฉันต้องได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูกใหม่โดยใช้ไขกระดูกของ ผู้อื่นที่เหมือนกัน

ดิฉันจึงขอส่งจดหมายฉบับนี้ พร้อมทั้งแนบรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนการบริจาคไขกระดูกและวิธีการบริจาคเพื่อให้ท่านพิจารณา เพราะไขกระดูกของท่านอาจช่วยให้ดิฉันสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างเป็นปกติ ทั้งนี้ ดิฉันและครอบครัวจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการตรวจสอบร่างกาย และการบริจาคไขกระดูกของท่าน

หากท่านประสงค์จะขอข้อมูลเพิ่มเติมประการใด ขอความกรุณาติดต่อได้ที่บุคคลต่อไปนี้

  • ม.ร.ว. รัศมี นันทาภิวัฒน์ (คุณแม่)โทร. (ทำงาน) 234-1090
  • นายเรืองวิทย์ นันทาภิวัฒน์ (พี่ชาย)โทร. (ทำงาน) 263-0200 ต่อ 100
  • โทร. (มือถือ) 01-845-0825    email ging@thai.com

  • นายเอกวัฒน์ นันทาภิวัฒน์ (น้องชาย)โทร. (มือถือ) 01-443-8330
  • email ek_nandhabiwat@yahoo.com

ขอขอบคุณในการพิจารณาของท่านมา ณ ที่นี้

ขอแสดงความนับถือ
พร้อมลักษณ์ นันทาภิวัฒน์

ท่านที่สนใจ และมีจิตศรัทธาที่จะบริจาคไขกระดูกให้
น.ส. พร้อมลักษณ์ นันทาภิวัฒน์
ควรทราบข้อมูลต่อไปนี้

  1. ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับโรค Leukemia
  2. โรค Leukemia เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลส์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดซึ่งอยู่ที่ไขกระดูกของเรา ไขกระดูกเป็นอวัยวะที่มีลักษณะคล้ายฟองน้ำพบอยู่ในโพรงกระดูกชิ้นใหญ่ๆในร่างกาย มีหน้าที่ผลิตเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว
    เกล็ดเลือด และองค์ประกอบของเลือดอื่นๆ การที่เซลส์ดังกล่าวผิดปกติจะทำให้เม็ดเลือดขาวและเม็ดเลือดแดงที่ดีหมดไป ซึ่งทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อโรคต่างๆ และเกิดอาการตกเลือดอันนำไปสู่การเสียชีวิตใด้ง่าย

    การรักษาโรค Leukemia มีหลายทาง แต่ที่แพร่หลายมากที่สุดคือการใช้เคมีบำบัด (Chemotherapy) และการปลูกถ่ายไขกระดูกใหม่ให้กับผู้ป่วย โดยในวิธีหลังนี้จะต้องใช้ไขกระดูกที่เหมือนกับของผู้ป่วยมากที่สุด โดยตรวจจากองค์ประกอบของเลือด (HLA: Human Leukocyte Antigens) ไม่เช่นนั้นจะมีอันตรายถึงแก่ชีวิตใด้

  3. ขั้นตอนการบริจาคไขกระดูก
  1. การติดต่อนัดวันที่จะไปตรวจองค์ประกอบของเลือด
  2. ท่านที่ได้อ่านเอกสารฉบับนี้แล้วมีความประสงค์ที่จะบริจาคไขกระดูกให้ น.ส.พร้อมลักษณ์ กรุณาติดต่อ
    คุณปราณี ชัยวัฒนะ  โทร 234-1090 ระหว่างเวลา 8.30-17.00 น. ทุกวันทำการ
    เพื่อจัดเตรียมเอกสาร และอำนวยความสะดวกให้กับท่านต่อไป

  3. การตรวจองค์ประกอบของเลือด
  4. ครอบครัวของ น.ส.พร้อมลักษณ์ ได้ติดต่อศูนย์บริจาคโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ถนนอังรีดูนังต์ กทม. ไว้แล้ว ผู้มีความประสงค์ที่จะบริจาคไขกระดูกให้ น.ส.พร้อมลักษณ์ จะเข้าพบเจ้าหน้าที่เพื่อทำการเจาะเลือดประมาณ 20 ซีซี ไปตรวจองค์ประกอบของเลือด ว่าจะเข้ากับของ น.ส.พร้อมลักษณ์ หรือไม่ (ไม่สนใจกรุ๊ปเลือด) ถ้าองค์ประกอบหลักของเลือด
    ตรงกัน ผู้บริจาคจะได้รับการติดต่อให้ไปบริจาคเลือดเพิ่มอีกครั้งเพื่อตรวจในรายละเอียด

  5. การบริจาคไขกระดูก

ถ้าผลการตรวจองค์ประกอบของเลือดทั้งหมดแสดงให้เห็นว่าไขกระดูกของผู้บริจาคตรงกับของ น.ส. พร้อมลักษณ์ ผู้บริจาคจะได้รับการติดต่อเพื่อตรวจร่างกายและเตรียมความพร้อมในการบริจาคต่อไป
การบริจาคนั้นมี 2 แบบ มีขั้นตอนต่างกันดังนี้

                  ก. การเก็บเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดทางกระแสเลือด

  • วิธีนี้จะคล้ายกับการบริจาคเลือด แต่ใช้เวลานานกว่า คือประมาณครั้งละ 3 ชั่วโมง และโดยทั่วไปจะเก็บ 2-4 ครั้ง เพื่อให้ได้จำนวนเซลล์ที่มากพอ
  • ผู้บริจาคจะได้รับการฉีดยากระตุ้นเม็ดเลือดขาวก่อนวันบริจาคทุกวัน วันละ 1 ครั้ง เป็นระยะเวลา 4-5 วัน โดยผู้บริจาคไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
  • ผู้บริจาคจะได้แคลเซียมมารับประทาน เพื่อป้องกันอาการชาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการเก็บเซลล์
  • การเก็บเซลล์จะใช้เครื่องมือที่จะเลือกเก็บเฉพาะเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด แล้วส่งเลือดที่เหลือกลับเข้าสู่ร่างกายของผู้บริจาคต่อไป
  • ในระหว่างการเก็บเซลล์ ผู้บริจาคอาจเกิดอาการชารอบปาก ปลายมือหรือปลายเท้า ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการให้รับประทานแคลเซียม หรือฉีด calcium gluconate ในรายที่มีอาการมากๆ
  • ข. การเก็บไขกระดูกจากโพรงกระดูก

  • วิธีนี้จะเป็นการผ่าตัดขนาดเล็ก โดยแพทย์จะวางยาสลบแล้วทำการเจาะเอาไขกระดูกจากบริเวณสะโพกของผู้บริจาค
  • ก่อนวันบริจาคประมาณ 2 อาทิตย์ ผู้บริจาคจะต้องมาบริจาคเลือดเก็บไว้ที่ธนาคารเลือด เพื่อไว้ใช้หลังการบริจาค
  • เมื่อฟื้นจากยาสลบผู้บริจาคอาจรู้สึกเจ็บคอ คอแห้ง คลื่นไส้และอาเจียนจากการดมยาสลบ ซึ่งอาการต่างๆ จะหายไปในไม่ช้า หากผู้บริจาคมีอาการปวดแผล ซึ่งอาจมีอาการอยู่ 2-3 วัน แพทย์จะสั่งยา แก้ปวดให้รับประทาน นอกจากนี้ ผู้บริจาคจะได้รับเลือดของตัวเองที่เก็บไว้เมื่อ 2 อาทิตย์ก่อน และหลังทำแผลในวันรุ่งขึ้น ผู้บริจาคสามารถกลับบ้านได้ โดยต้องรับประทานยาบำรุงเลือดระยะหนึ่ง

3. คุณสมบัติของผู้บริจาค

  • เป็นผู้มีอายุระหว่าง 20 ถึง 55 ปี และน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 45 กก. (หากน้ำหนักน้อยไปจะไม่สามารถเก็บเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด
    ให้กับ น.ส. พร้อมลักษณ์ ได้เพียงพอต่อการปลูกถ่ายไขกระดูก)
  • เป็นผู้มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีประวัติการเป็นโรคติดเชื้อต่างๆ เช่น ตับอักเสบ เอดส์ เป็นต้น
  • เป็นผู้มีเชื้อชาติเอเซียตะวันออก/เอเซียใต้ (เนื่องจากโอกาสที่ผู้มีเชื้อชาติอื่น เช่น ชาวยุโรปหรือชาวอเมริกัน จะมีเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดที่เหมือนกันกับของ น.ส. พร้อมลักษณ์มีน้อยมาก)
  • ได้รับความเห็นชอบที่จะเป็นผู้บริจาคจากคู่สมรส หรือสมาชิกในครอบครัวแล้ว **

** ข้อสุดท้ายนี้สำคัญมาก และต้องให้ทราบก่อนขั้นตอนแรกในข้อ 2. (ขั้นตอนการบริจาคไขกระดูก) ด้วย เพราะจะเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง หากตรวจพบแล้วว่ามีผู้ที่มีองค์ประกอบของเลือดเหมือนกับของ น.ส. พร้อมลักษณ์ แต่คู่สมรสกลับไม่ยินยอมให้บริจาค (เคยมีตัวอย่างเกิดขึ้นแล้วในประเทศไทย)

 4. ข้อที่มีผู้สงสัยบ่อยๆ

ถาม ผู้บริจาคจะมีความเสี่ยงอะไรบ้างจากการบริจาค
ตอบ อาจเกิดการติดเชื้อในบริเวณที่เข็มแทงเช่นเดียวกับเวลาถูกฉีดยา ซึ่งป้องกันได้โดยการรักษาปากแผลให้สะอาด ในกรณีที่บริจาคไขกระดูกโดยเจาะจากโพรงกระดูก ผู้บริจาคอาจมีผลข้างเคียงจากยาสลบ เช่น เจ็บคอ คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น โดยทั่วไปแล้วก่อนการบริจาคไขกระดูก แพทย์จะตรวจร่างกายของผู้บริจาคและสอบถามข้อมูลส่วนตัวอย่างละเอียดก่อน

ถาม ผู้บริจาคต้องพักรักษาตัวนานแค่ไหนหลังการบริจาค
ตอบ ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน บางคนสามารถกลับไปทำงานตามปกติภายใน 1 หรือ 2 วัน บางคนอาจต้องพักผ่อนนานกว่านั้น

ถาม ผู้บริจาคต้องบริจาคไขกระดูกมากน้อยแค่ไหน
ตอบ ไขกระดูกที่บริจาคคิดเป็นร้อยละ 5-10 ของเซลล์ทั้งหมดที่ผู้บริจาคมีอยู่ ซึ่งร่างกายจะสามารถสร้างเซลล์เหล่านี้กลับขึ้นมาทดแทนภายใน 4-6 อาทิตย์

ถาม ใครเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ตอบ ในกรณีของ น.ส. พร้อมลักษณ์ ครอบครัวของ น.ส. พร้อมลักษณ์ จะเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด ซึ่งรวมถึงค่า ใชัจ่ายในการเดินทางไปทำการบริจาคไขกระดูกยังต่างประเทศด้วย (หากจำเป็น)

กลับสู่เมนู - Back to menu กลับสู่ห้องโถง - To restpage การทดสอบโรค - Diagnostic test ผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ - Healthcare

buttom3.JPG (2079 bytes)

ThaiL@bOnline - Crystal Diagnostics Co.,Ltd.

Tel (02) 803-7310-11  Fax (02) 803-6705 ext 0  Pager 1500-740848
Email : vichai-cd@usa.net